วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561

การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่่อ



การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อ

           สื่อเป็นวิธีการซึ่งมีการนําเสนอสารสนเทศและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในขณะที่สือเป็น คําที่ใช้อ้างถึงแบบของการเรียนการสอน (mode of delivery) จึงเป็นความจําเป็นที่ต้องมีวัสดุอุปกรณ์ ที่จะส่งผ่านแบบการเรียนการสอนนั้น ในทางตรรกแล้วเป็นความจําเป็นทั้งส่วนที่เป็นอุปกรณ์ (hardware )และส่วนที่เป็นวัสดุ (software) สําหรับการเรียนรู้ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นฐานเช่นเดียวกัน กับสื่อโทรทัศน์ที่ต้องอาศัยโปรแกรมเป็นฐาน

         การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อสามารถทําได้ก่อน ทําตามหลัง หรือทําไปพร้อมๆกับการตกลงใจ เกี่ยวกับวิธีการโดยทั่วๆ ไปแล้ว จะทําตามหลังหรือทําไปพร้อมๆกัน การบรรยายอาจจะต้องการ องค์ประกอบของสื่อ หรืออาจจะอยู่ในรูปแบบของโปรแกรมโทรทัศน์ ในสมัยก่อนวัสดุอุปกรณ์ส่วน ใหญ่จะเป็นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์

         ในตอนนี้จะได้กล่าวถึงการแบ่งวิธีการ/สื่อ ออกเป็นสามประเภท คือ วิธีการ (methods) สื่อดั้งเดิม (traditional media) และเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า (newer technology) ในด้านวิธีการดําเนิน หลักสูตรโดยทั่วไป ซึ่งอาจจะรวมๆกัน แต่จะใช้สื่อรวมๆ กัน ส่วนสื่อเดิมๆจะรวมถึงงานพิมพ์ (print) และสื่อโสตทัศน์ (audiovisual media) และสําหรับเทคโนโลยีใหม่ คือ การสื่อสารโทรคมนาคมและ ไมโครโพรเซสเซอร์ (microprocessor) สือ (media) สามารถจัดกลุ่มเป็นวัสดุสิ่งพิมพ์ (print materials) ทัศน์วัสดุไม่ฉาย (nonprojected visuals) ทัศน์วัสดุฉาย (projected visuals) สื่อประเภทเสียง (audio media) ระบบสื่อผสม (multimedia systems) ภาพยนตร์ (films) และโทรทัศน์ (television) สือแต่ละ ประเภทเหล่านี้สามารถแตกออกให้เลือกได้ในหลายรูปแบบ

การตัดสินใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่
             เทคโนโลยีใหม่ ประกอบด้วย การเรียนการสอนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน (computer-based instruction) และการเรียนรู้ทางไกล ที่อาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเป็น พื้นฐาน (telecommunications-based distance learning technologies) การเรียนรู้ทางไกลเกิดขึ้นเมื่อ ผู้เรียนอยู่ในสถานที่หนึ่ง เทคโนโลยีใหม่มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ดังแสดงที่ตาราง 19 นิยามศัพท์เฉพาะสื่อและเทคโนโลยี 

             การพิจารณาเลือกสื่อ
             มีหลักการทั่วไปจํานวนมาก และข้อพิจารณาอื่นๆ ในการเลือกสื่อที่เหมาะสมสําหรับการ เรียนการสอน คือ กฏในการเลือกสื่อและปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสื่อ

กฎในการเลือกสื่อ
            การเลือกสื่อมีกฎอยู่ (6 ข้อ หรือเรียกว่าหลักการทั่วไปในการพิจารณาก่อนที่จะตัดสิน อย่างไม่เป็นทางการในการเลือกสื่อ
           กฏที่ 1 การเรียนการสอนโดยทั่วไปแล้วต้องการสื่อสองทาง (two way medium) นักเรียนจะ เรียนได้ดีที่สุดเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ สื่อการเรียนการสอน ครู สมุดทํางาน หรือ โปรแกรม คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
          กฎที่ 2 สื่อทางเดียว (one-way media) ควรจะได้รับการสนับสนุน โดยสื่อที่ให้ข้อมูล ป้อนกลับ ตัวอย่างคือ ภาพยนตร์ หรือวีดิทัศน์ จะให้ประสิทธิผลมากกว่า เมื่อมีคู่มือการใช้ควบค์ ไปด้วย หรือมีแบบฝึกปฏิบัติควบคู่ไปด้วย หรือมีครู ซึ่งสามารถที่จะถามคําถามและตอบคําถามได้
         กฎที่ 3 การเรียนรู้ของแต่ละบุคคล ต้องการสื่อที่มีความยืดหยุ่น ตัวอย่างคือ ผู้ที่เรียนเช้า อาจจะต้องการสื่อการเรียนที่แตกแขนงออกไปเป็นพิเศษ เช่นการฝึกเสริม (remedial exercises) ตัวอย่างเสริมเป็นพิเศษ สื่อภาพยนตร์ ควรจะส่งเสริมโดยการเยียวยาแก้ไขหรือมีกิจกรรมที่เหมาะสม กับความต้องการของแต่ละบุคคล โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถที่จะสนองตอบได้อย่างดี เลิศในความยืดหยุ่นที่มีต่อปัจจัยบุคคล
       กฎที่ 4 การนําเสนอ โลกแห่งความเป็นจริง ต้องการสื่อทางทัศนะวัสดุ ตัวอย่างนักเรียน พยาบาลเรียนรู้วิธีการตัดไหม จําเป็นต้องเห็นการสาธิต (ภาพยนตร์ วีดิทัศน์ การสาธิตของจริง) มากกว่าที่จะเขียนออกมาเป็นรายการของวิธีการตัดไหม
        กฎที่ 5 พฤติกรรมที่คาดหวังหลังจากการเรียนการสอน ควรจะให้มีการฝึกปฏิบัติในระหว่าง ที่มีการเรียนการสอน การได้ยิน หรือการได้เห็นทักษะที่แสดงออกมาไม่เป็นการเพียงพอ ตัวอย่าง ผู้ปฏิบัติจําเป็นต้องทําการตัดไหมตามที่เห็นในวีดิทัศน์ ไม่ว่าจะเป็นการตัดไหมเทียมๆหรือตัดไหม จริงๆ
       กฎที่ 6 เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ของบทเรียนอื่นๆ อาจต้องการการเลือกสื่อที่มีความ แตกต่างกัน ตัวอย่าง ทฤษฎีที่อยู่บนหลักการของวิธีการทําหมัน อาจจะต้องการวัสดุอุปกรณ ที่เป็นสิ่งพิมพ์ ในขณะที่วิธีการตัดไหม อาจจะต้องการสาธิตที่มีความเป็นจริงมากกว่า (วีดีทัศน ภาพยนตร์ ฯลฯ) 
 
        ปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการเลือกสื่อ
        ได้มีการเรียนรู้กฎซึ่งจําเป็นในการพิจารณา เมื่อมีการเลือกสื่อการเรียนการสอน เป็นความจําที่มองหาปัจจัยอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกสื่อ

แบบจําลองการเลือกสื่อ
            แบบจําลองการเลือกสื่อการเรียนการสอนมีหลายแบบ สําหรับการพิจารณาแต่ละแบบ วิธีการเลือกสื่อที่ต่างกัน สิ่งที่น่าสังเกตคือ แต่ละแบบมีความต่างกันอย่างไร และพิจารณาว่ามีอะไ. เป็นนัยของความต่าง แต่ละแบบจําลองพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการเลือกและการใช้ประโยชน์จาก ให้สังเกตภาพที่ 7 ซึ่งไม่ได้นํามาเสนอวิธีการเลือกสื่อที่ตายตัว และภาพที่ 8 ซึ่งใช้สําหรับโครง การพัฒนาการเรียนสอนของกองทัพอากาศ 

แบบจําลองของวิลเลี่ยม ออลเลน
             ในแบบจําลองของวิลเลี่ยม ออลเลน (William allen) ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้อง ตัดสินใจเกี่ยวกับการจําแนกจุดประสงค์และการจําแนกความสามารถสูงสุดของสื่อการเรียนสอนที่จะ พลิกแพลงให้เข้ากับจุดประสงค์ ออลเลน ได้ตรวจสอบประสิทธิผล สื่อสําหรับวัดชนิดของการเรียนรู้ ด้วยเหตุผลนี้ ออลเลน ได้สร้างตารางแจกแจงสองทาง ซึ่งจําแนกสื่อที่ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง และต่ํา ตามชนิดของการเรียนรู้ เมื่อใช้แบบจําลองนี้ ผู้ออกแบบควรพยายามหลีกเลี่ยงสื่อที่ ให้ผลสัมฤทธิ์ต่ํากับชนิดของการเรียนรู้ (aien, 1967 : 27-31) อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ออกแบบเลือกสื่อที่ ให้ผลสัมฤทธิ์ต่ําหรือปานกลางผู้ใช้ควรรับรู้ข้อจํากัด
             วิธีการที่แสดงด้วยภาพต่อไปนี้ สามารถที่จะช่วยให้เห็นกระบวนการของการตรวจสอบ จุดประสงค์และตัดสินใจว่าสื่อชนิดใดมีความเหมาะสม 

แบบจําลองของเยอร์ลาชและอีลี
             แบบจําลองเยอร์ลาชและอีลี (Gerlach and Ely) ได้เป็นที่รู้จักกันในปี ค.ศ. 1971 ในตําราที่ ชื่อว่าการสอนและสื่อ เยอร์ลาชและอีลีได้นําเสนอเกณฑ์ ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการเลือกสื่อการ เรียนการสอน หลังจากที่ระบุจุดประสงค์และระบุพฤติกรรมความพร้อมที่จะรับการสอน (entering behaviors) แล้วเกณฑ์ดังกล่าวประกอบด้วยประการที่ 1 ความเหมาะสมทางปัญญา (สื่อสามารถ ส่งผ่านตัวกระตุ้นตามเจตนารมณ์ของจุดประสงค์หรือไม่) ประการที่ 2 ระดับของความเข้าใจ (สอทา ให้ผู้เรียนเข้าใจหรือไม่) ประการที่ 3 ราคา ประการที่ 4 ประโยชน์ (เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุ ประโยชน์หรือไม่) และประการที่ 5 คุณภาพทางเทคนิค (คุณลักษณะทางการฟังและการดูของผลิตมีคุณภาพเพียงพอหรือไม่) (Gerlach and Ely,1980) ภาพที่ 12 จะแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของ จุดประสงค์กับทางเลือกในการเลือกสื่อตําราของเยอร์ลาชและอีลีได้มีการพิมพ์ครงการ ปี ค.ศ. 1980 โดยที่ผู้เขียนตั้งใจเขียนขึ้นสําหรับครูทุกระดับ

สรุป
             สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสําคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่ เป็นตัวนําความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียน เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สื่อการสอนจะ ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ทํากิจกรรมหลายๆ รูปแบบ ช่วยให้ครูผู้สอนได้สอนตรงตามจุดมุ่งหมาย การเรียนการสอน และยังช่วยในการขยายเนื้อหาที่เรียนทําให้การสอนง่ายขึ้น และยังจะช่วย ประหยัดเวลาในการสอน นักเรียนจะได้มีเวลาในการทํากิจกรรมการเรียนมากขึ้น ในการเลือกสื่อการ เรียนการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อการเรียนการสอนนั้น ผู้สอนจําเป็นต้องคํานึงถึง องค์ประกอบในการเลือกสื่อ ได้แก่ จุดมุ่งหมายของการสอน รูปแบบและระบบของการเรียนการสอน ลักษณะของผู้เรียน เกณฑ์เฉพาะของสื่อ วัสดุอุปกรณ์และตลอดจนสิ่งอํานวยความสะดวกที่มีอยู่ นอกจากนี้ยังต้องคํานึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของสื่อกับคุณสมบัติเฉพาะและจุดประสงค์ ของการเรียนการสอน


ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

ประเภทของสื่อ


ประเภทของสื่อ

           ผู้ออกแบบสามารถที่จะเลือกชนิดของสื่อให้มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งและมีอิทธิพลต่อ ประสิทธิผลของการเรียนรู้ที่คาดว่าจะเกิดได้ ถ้าผู้ออกแบบรับรู้ชนิดของสื่อที่มีอยู่ รวมทั้งข้อดีและ ข้อเสียด้วย ดังนั้น ผู้ออกแบบก็จะเป็นผู้ที่อยู่ในฐานะที่เป็นผู้ที่รู้จักเลือกชนิดของสื่อได้อย่างเหมาะสม เราสามารถจําแนกสื่อได้ สี่ ประเภท คือ สื่อทางหู (audio) ทางตา (Visual) ทางหูและทางตารวมกัน (audio- visual ) และสัมผัส (tactile) ผู้ออกแบบสามารถเลือกสื่อที่เหมาะสมที่สุดจากประเภทของสื่อ ต่างๆ สําหรับภาระงานการเรียนการสอนที่มีความเฉพาะเจาะจงสื่อต่างๆทั้ง 4 ประเภทและตัวอย่างที่ เกี่ยวข้อง มีดังต่อไปนี้

           1. สื่อทางหู ได้แก่ เสียงของผู้ฝึก ห้องปฏิบัติการทางเสียง การเตรียมเทปสําหรับผู้ฝึกเทป แผ่นเสียง วิทยุกระจายเสียง

          2. สื่อทางตา ได้แก่ กระดานชอล์ก กระดานแม่เหล็ก กราฟ คอมพิวเตอร์ วัตถุต่างๆ ที่เป็น ของจริงรูปภาพ แผนภูมิ กราฟภาพถ่าย หุ่นจําลอง สิ่งที่ครูแจกให้ หนังสือ ฟิล์ม สไลค์ แผ่นใส่

          3. สื่อทางหูและทางตา ได้แก่ เทปวีดิโอ ทีวีวงจรปิด โปรแกรมโสตทัศนวัสดุ สไลด์ เทป ภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม ทีวีทั่วไป เทคโนโลยีอื่นๆ เช่น ดิจิตอล วีดิโอ อินเตอร์แอคทิฟเทคโนโลยี (digital video interactive technology)

          4. สื่อทางสัมผัส ได้แก่ วัตถุของจริง แบบจําลองในการทํางาน เช่น ผู้แสดงสถานการณ์ จําลอง

ข้อดีและข้อเสียของสื่อบางประเภท

         ในการเลือกสื่อที่มีความเหมาะสมที่สุดสําหรับภาระงานการเรียนรู้ที่มีความเฉพาะเจาะจง ผู้ออกแบบจําเป็นต้องรู้ถึงความเป็นไปได้ในข้อดีและข้อเสียที่เกี่ยวข้องกับสื่อแต่ละประเภท ตารางที่ 10.1 จะแสดงให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของตัวอย่างสื่อจากประเภทของสื่อสําคัญ 4 ประเภทและ ตารางที่ 10.2 แสดงประเภทและคุณสมบัติของสื่อการเรียนการสอน การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการ

การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการและสื่อ 
         บางครั้งเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ในบางเวลาจะเลือก วิธีการก่อน และเลือกสื่อที่จําเป็นในการใช้ที่หลัง ดูแกน เลียด (Dugan laird: 180) เปรียบเทียบวิธีการว่าเป็นเหมือนทางหลวง (highway) ที่นําไปสู่จุดหมายปลายทาง (จุดประสงค์) และสื่อ (วัสดุฝึก) เป็น สิ่งที่เพิ่มเติม (accessories) บนทางหลวง เช่น สัญญาณ แผนที่ ซึ่งทําให้การเดินทางสะดวกขึ้น
       
       วิธีการ เป็นกลยุทธ์การเรียนการสอนที่มีระดับความชี้เฉพาะมาก เป็นวิธีการเรียนการสอนที่ ตัดสินธรรมชาติของบทเรียน จอยส์และวีล (Joyce and Weil, 1980) เรียกสิ่งเหล่านี้ว่าแบบจําลองการ ตอน (model of teaching) แบบจําลองเป็นวิธีการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ในระดับบทเรียน มากกว่าที่จะเป็นระดับหน่วยในหลักสูตร

          ออซูเบล (ausabel, 1968) กล่าวว่า มีความแตกต่างระหว่างวิธีการสําคัญ 2 วิธี คือ การเรียนรู้ เพื่อค้นพบ (discovery leaning) และการเรียนรู้เพื่อรับความคิด (reception learning) 1. การเรียนรู้เพื่อ รับความคิด คือ การเรียนรู้จากการบรรยาย หรือการเรียนรู้จากโสตทัศนูปกรณ์ ซึ่งเสนอสารสนเทศ 2. การเรียนรู้เพื่อค้นพบคือ การสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนมีอิสระที่จะสํารวจ และไม่ได้กําหนด จุดหมายปลายทางของการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้า การเรียนรู้เพื่อค้นพบมีองค์ประกอบทั้งการค้นพบและ การรับรู้ที่มากไปกว่า การที่จะบอกแต่เพียงนักเรียนจะต้องเรียนอะไร นักเรียนจะได้รับคําแนะนํา ซึ่งจะนําไปสู่การค้นพบ ออซูเบลเชื่อว่า วิธีการจะกลายเป็นสิ่งที่มีความหมาย

           ผู้ออกแบบสามารถเลือกวิธีการ เช่น การบรรยาย การใช้ห้องปฏิบัติการ การอภิปราย การอ่าน การทัศนศึกษา การจดบันทึก การสาธิต บทเรียนสําเร็จรูป กรณีศึกษาบทบาทสมมติ การศึกษาด้วยตัวเอง และสถานการณ์จําลอง วิธีการแต่ละวัยเหล่านี้มีรูปแบบให้เลือกมากมาย (Secols and Glasgow, 1990: 181) การบรรยายอาจะเป็นบทละคร เป็นการเสนอด้วย โสตทัศนูปกรณ์ การ อภิปรายมีหลายรูปแบบ เช่น การสนทนาถกเถียงปัญหา (panel) การประชุม โต้เถียงกัน (open foruun) และการระดมพลังสมอง (brainstorming) กรณีศึกษามีหลากหลายจากกรณีประวัติศาสตร์จนกระทั่ง ถึงการแก้ปัญหา และเช่นเดียวกับบทบาทสมมติ เป็นแบบหนึ่งของสถานการณ์จําลอง

            บทเรียนสําเร็จรูปต้องการคําตอบหรือการตอบสนองบ่อยๆและให้ข้อมูลป้อนกลับอย่าง ทันทีทันใด และสามารถเสนอผ่านทางหนังสือ แบบฝึกหัด หรือคอมพิวเตอร์ แบบของโปรแกรม อาจจะเป็นเส้นตรง เส้นสาขา หรือบ้างกรณีเป็นคอมพิวเตอร์ แบบฝึกหัด ปฏิบัติแบบติว และแบบ สถานการณ์จําลอง การสาธิตสามารถนําเสนอด้วยปฏิกิริยาสัมพันธ์และการอภิปรายการศึกษาด้วย ตัวเอง ทําได้ด้วยการใช้โมดูล (modules) ใช้ชุดของสื่อ (media kits) หรือใช้วิธีการติวด้วยอุปกรณ์โสต

ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

บทบาทของผู้ออกแบบ



บทบาทของผู้ออกแบบ


             ผู้ออกแบบมีหน้าที่หลายอย่างที่จะเติมเต็มความสมบรูณ์ในระหว่างขั้นตอนการตัดสินใจ นระยะนีผู้ออกแบบมีหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจเลือกวิธีการสื่อเช่นเดียวกับตํารวจ ที่มองเห็นว่าคําแนะนํา ในการออกแบบการเรียนการสอนนําไปใช้ได้หรือเป็นเหมือนผู้จัดการผู้ซึ่งริเริ่ม และประเมินผลผลิต พบกันจะเกี่ยวกับบทบาทของผู้ออกแบบที่มองเห็น การเลือกวิธีการสื่อที่มีประโยชน์ เราจะเลือกสือ อย่างไร จะรับวัสดุอุปกรณ์ทางการค้าอย่างไร และจะริเริ่มและเฝ้าระวังกระบวนการผลิตอย่างไร
            
           ผู้ออกแบบต้องจํากัดบทบาทในการทําหน้าที่ ต้องสามารถปฏิบัติให้แล้วเสร็จและมี ประสิทธิภาพ ต้องรับรู้การกระทําหน้าที่เป็นผู้ผลิตสื่อ ผู้ถ่ายภาพ หรือผู้วางโปรแกรมด้วยและเป็นการท้าทายสําหรับผู้ออกแบบในการที่จะพยายามทําให้ผู้อื่นเข้าใจได้ โดยลําพังตนเองแล้วไม่สามารถที่จะผลิตสื่อได้ทั้งหมดหรืออาจต้องการคําแนะนําเพิ่มจากผู้ร่วมงานในทีมมากกว่าที่จะทําคนเดียว ความรับผิดชอบที่จําเป็นคือ การตัดสินใจเลือกวิธีการสื่อในขณะที่สมาชิกของทีมหรือผู้นําทีมริเริ่ม หรือแนะนํากระบวนการผลิต ผู้ออกแบบจะทําสิ่งนี้ได้ดีถ้ารู้จักทําหน้าที่ในลักษณะของผู้วิจัย ผู้เขียน สคริป ผู้ถ่ายภาพ และผู้เรียบเรียง สิ่งเหล่านี้ไม่ได้หมายความว่าไม่เคยผลิตหรือไม่เคยช่วยเรียบเรียงแต่ หมายความว่า รับรู้หน้าที่ในการให้คําแนะนําและจํากัดทักษะตัวอย่างเช่น มีการพัฒนาทักษะ กระบวนการกลุ่มมากขึ้น และใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นกว่าทักษะด้านการถ่ายภาพ


ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน



การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน

            คําว่า สื่อ (medium หรือ media) ในที่นี้มีความหมายกว้างมาก การเรียนการสอนในบางครั้ง อาจเกิดขึ้นจากเสียงของผู้สอน ตํารา เทป วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ และคอมพิวเตอร์ medium หรือ media มาจากภาษาลาติน หมายถึง บางสิ่งบางอย่างที่อยู่ตรงกลาง (intermediate หรือ middle) หรือเครื่องมือ (instrument) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นวิธีการของการสื่อสารที่ส่งไปถึงประชาชน เป็นพาหนะของการ โฆษณา (Guralnikjv07, 1970) ดังนั้น เมื่อพิจารณาในด้านของการสื่อสารแล้ว สื่อจึงหมายถึง สิ่งที่เป็น พาหนะนําความรู้หรือสารสนเทศจากแหล่งกําเนิดไปสู่ผู้รับ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ รูปภาพ วัสดุฉาย สิ่งพิมพ์ และสิ่งดังกล่าวนี้ เมื่อนํามาใช้กับการเรียนการสอน เราเรียกว่าสื่อการเรียนการสอน
           มีอยู่บ่อยครั้งที่ผู้ออกแบบจํากัดการเลือกสื่อของตนเอง เพราะว่าได้ตัดสินใจไปเรียบร้อย แล้ว (เช่น การพิจารณานโยบายงบประมาณ) สิ่งที่จะกล่าวต่อไปไม่ได้เป็นเพียงสถานการณ์ใน อุดมคติเท่านั้น การเลือกสื่อควรจะได้มีการกระทําหลังจากที่ได้มีการวิเคราะห์เนื้อหาวิชาแล้ว ในสถานการณ์เช่นนี้ ผู้ออกแบบสามารถที่จะเลือกสื่อที่เหมาะสม เพื่อการสื่อสารเหตุการณ์ต่างๆ ในการเรียนการสอน
        กลยุทธ์การสอนและการตัดสินใจเลือกสื่อ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างกัน และควรจะทําไป พร้อมกันหลังจากที่ได้มีการพัฒนาจุดประสงค์ของการเรียนการสอนแล้ว แบบจําลองในการเลือกซื้อ มีทั้งแบบที่มีความเรียบง่าย และแบบที่มีความซับซ้อน โรเบิร์ต เมเจอร์ (Robert Mager) (Knirk and Gustafson, 1986 : 169) ผู้ซึ่งเป็นนักออกแบบการสอน เพื่อการค้าที่ประสบความสําเร็จ ได้กล่าวว่า กระดาษเป็นตัวกลางอย่างหนึ่งของการเลือก นอกจากว่าในกรณีที่ดีที่จะสามารถเลือกใช้สิ่งที่ทําจาก อย่างอื่น วัสดุที่เป็นกระดาษมีราคาแพงในการออกแบบและผลิต ง่ายที่จะผลิตเพิ่มใช้ง่าย และนักเขียน ส่วนใหญ่มีความเข้าใจ สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างของแบบจําลองง่ายๆ สําหรับการเลือกซื้อ ส่วนแบบจําลองที่ซับซ้อนเป็นวิธีการที่ส่วนใหญ่ควรจะหลีกเลี่ยงเท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อเปรียบเทียบ กับหลักเกณฑ์ของทหาร ก็คือ อย่าโง่เลย ทําให้ดูง่ายๆ เถอะ (KISS : Keep It Simple, stupid)
         การนําเสนอสื่อการเรียนการสอน ควรเป็นการกระตุ้นทางการเรียนการสอนทีม ประสิทธิภาพ ง่ายแก่การเข้าใจ สื่อที่ซับซ้อนมีแนวโน้มของการสิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่ายสูงและ บ่อยครั้งพิสูจน์ได้ว่ามีประสิทธิภาพและเชื่อถือไม่ได้ ควรใช้สื่อการเรียนการสอนที่ถูกที่สุดที่ทําให้ ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ตามเจตนารมณ์ภายในระยะเวลาที่สมเหตุสมผล อย่างไรก็ตามข้อควรจํา คือ การสื่อราคาย่อมเยาที่ผลิตไม่ดีทําให้การเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการใช้สื่อที่ ซับซ้อนดังกล่าวแล้วเช่นกัน
          การเลือกและการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน เป็นเรื่องสําคัญอีกประการหนึ่งใน
การออกแบบการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ นักออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจ เรี่ยวกับการเลือกวิธีการ/สื่อ หรือเลือกวิธีการ เลือกวัสดุอุปกรณ์ ระบุประโยชน์ของวัสดุอุปกรณ์ทาง
การค้าริเริ่มและเฝ้าระวัง
           กระบวนการผลิตสื่อ นักออกแบบอาจจะทําเพียงการวางแผนมโนทัศน์ สคริปและนานๆ อาจจะผลิตวัสดุ (software) สําหรับจําหน่ายความจํากัดสําหรับบทบาทของผู้ออกแบบในการ ตัดสินใจเกี่ยวกับวิธี สื่อ จะหลากหลายไปตามสถานการณ์ และแม้ว่าจะมีวิธีการหลายวิธีในการ จําแนกสื่อเป็นประเภทๆ ก็ตาม ก็ยังไม่มีอนุกรมภิธานสื่อ (taxonomy of media) ที่พัฒนาขึ้นจนเป็นที่ น่าพอใจ (Seels and Glasgow, 1990 : 179) ในบทนี้จึงเป็นการเสนอสื่อ 3 ประเภท คือ วิธีการ สื่อ ดั้งเดิม เทคโนโลยีใหม่ภายในแต่ละประเภทจะมีทางเลือกและรูปแบบมาก เช่น กราฟฟิก และฟิล์ม หรือโทรทัศน์เฉพาะกราฟิกก็มีหลายรูปแบบ ได้แก่ แผนภูมิ การ์ตูน และภาพประกอบการเลือก วิธีการ สื่อ อยู่บนพื้นฐานของเกณฑ์จะมีความเหมาะสมสําหรับผู้เรียนสิ่งที่เรียนและข้อจํากัด คุณลักษณะของผู้เรียน จุดประสงค์ สถานการณ์การเรียนรู้ และข้อจํากัดนั้นต้องระบุขึ้นก่อนที่จะเลือก วิธีการและสื่อหลังจากที่ได้มีการระบุวิธีการสื่อแล้วผู้ออกแบบต้องแสวงหาสื่อจากดัชนีสื่อจากสื่อที่ สร้างขึ้นเพื่อการค้าซึ่งสามารถที่จะนํามาใช้หรือนํามาปรับใช้ได้ถ้าสื่อเหล่านั้นไม่มีประโยชน์ก็ต้อง ผลิตสื่อขึ้นเอง
            ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจว่าใครจะเป็นผู้ผลิตสื่อทีม ในการผลิตควรจะ ประกอบไปด้วยใครบ้าง ผู้ออกแบบต้องริเริ่ม เฝ้าระวังติดตามกระบวนการผลิต เป็นความรับผิดชอบ ของผู้ออกแบบที่จะต้องมีความแน่ใจในบูรณาภาพของการออกแบบและคุณภาพของวัสดุอุปกรณ์ด้วย การเฝ้าระวังติดตามการผลิต

วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561

บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฎิรูปการศึกษา



บทบาทของผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา

          การจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัย ความร่วมมือของหลายฝ่าย ร่วมมือกันพัฒนาและปรับปรุง ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ศึกษานิเทศก์ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กร สถาบันวิชาการ หน่วยงานและสื่อมวลชน

          พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 24 กําหนดบทบาทของผู้เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้อย่างชัดเจน โดยการประสานเชื่อมโยง บทบาทของทุกคนให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาโดยมีลักษณะสําคัญดังนี้

         บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา 
          1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารจัดการเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้
          2. กําหนดแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาโรงเรียนไว้ในธรรมนูญ โรงเรียน มีแผน ยุทธศาสตร์ในการปฏิรูปการเรียนรู้ตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวด 4 ที่ว่าด้วยแนวทางการจัดการศึกษา
         3. ปรับปรุงการบริหารจัดการให้เอื้ออํานวยความสะดวกให้ครูผู้สอนได้มีเสรีภาพในการคิด พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ ทําการวิจัยในชั้นเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในระหว่างเพื่อนครู การ ทํางาน โดยการผนึกกําลังของกลุ่มวิชาต่างๆ เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ให้ได้มาตรฐานหลักสูตร ที่สุด
         4. พัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้มีบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสําคัญ
        5. จัดให้มีระบบนิเทศภายใน ช่วยเหลือครูในด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

         บทบาทของครูผู้สอน 
         1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดให้เอื้อต่อการปฏิรูปการเรียนรู้ เป็นตัวอย่างในการพัฒนาวินัยในตนเอง
         2. พัฒนาตนเองอยู่เสมอให้มีความรู้และความสามารถในการปลูกฝังค่านิยมที่ดีและ จริยธรรมให้ผู้เรียนให้ความรักความเมตตาต่อผู้เรียน
         3. ออกแบบการจัดการเรียนรู้และการวัดประเมินผลตามสภาพจริง 
        4. ทําวิจัยในชั้นเรียนควบคู่กับการเรียนการสอนนําผลมาพัฒนาปรับปรุง
       5.สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกําหนดบทบาทของผู้เรียน
       6.ช่ววยให้ผู้เรียนยอมรับและพัฒนาตนเอง มีความเข้าใจตนเอง ยอมรับความรู้สึกของตนเอง มีความเชื่อมั่นในตนเองว่าเป็นคนมีคุณค่า
       7.ให้คําปรึกษาในด้านการเรียน การวางแผนชีวิต และแนวทางการพั สนาตนเองสู่อาชีพ ช่วยให้ผู้เรียนตั้งจุดมุ่งหมายในชีวิตตามสภาพความเป็นจริงที่เป็นไปได้
       8. ช่วยให้ผู้เรียนมีวุฒิภาวะ รู้จักข้อดี ข้อเสียของตนเอง 
      9. กระตุ้นให้ผู้เรียนกล้าเผชิญปัญหาและ สถานการณ์ต่างๆ
     10. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจลีลาการเรียนรู้ของตนเอง เข้าใจกระบวนการเรียนรู้และรู้จักวิธีการ พัฒนาตนเองให้เป็นผู้ใฝ่รู้อยู่เสมอ
       11. ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง ประเมินตนเองและทบทวนการ ปฏิบัติเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
     12. เป็นกัลยาณมิตรกับนักเรียน เพื่อนครู และบุคลากรในโรงเรียน 
   
       บทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครอง 
         1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ 
         2. ให้ความรักและความอบอุ่น
         3. ให้การอบรมเลี้ยงดู เอาใจใส่ในการสร้างสุขนิสัยที่ดี พัฒนาพฤติกรรม สุขภาพและ ป้องกันปัญหาต่างๆ
        4. เป็นตัวอย่างแก่บุตรธิดา และปลูกจิตสํานักในเรื่องวินัยในตนเอง ความรับผิดชอบ ความ ปลอดภัย
        5. สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในบ้าน 
        6. ทําหน้าที่ให้คําปรึกษาแนะนําและการเสริมแรง 
        7. ร่วมมือกับโรงเรียนในการให้ข้อมูลและประเมินผู้เรียน 
        8. เป็นแบบอย่างที่ดีในการดําเนินชีวิต 

        บทบาทของชุมชน 
         1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดความเชื่อในเรื่องการปฏิรูปการศึกษา 
         2. ให้ความร่วมมือในการระดมทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ 
         3. ร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในการพัฒนาสถานศึกษาในทุก ๆ ด้าน
        4. ประสานสัมพันธ์กับสถานศึกษาเพื่อสร้างบรรยากาศให้ชุมชน เป็นแหล่งการเรียนรู้และ
พัฒนาชุมชนเป็นสังคมแห่งปัญญา
         5. ดูแลเอาใจใส่พฤติกรรมของเด็กและเยาวชนในชุมชน

          บทบาทของผู้เรียน
          ความมุ่งหวังของการปฏิรูปการเรียนรู้ คือ ต้องการให้ผู้เรียนมีลักษณะเก่ง ดี มีความสุข ผู้เรียนจึงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้จากผู้รับความรู้มาเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจและความสามารถของตนเอง ดังนั้นบทบาทหน้าที่ของผู้เรียนควรมีดังนี้
           1. กําหนดเป้าหมายการศึกษาให้สอดคล้องกับความสามารถ ความถนัดและความสนใจของ
ตนเอง
           2. มีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ วางแผนการเรียนรู้ของตนเอง ร่วมกับผู้ปกครองและครู
          3. รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง รู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์บริหารจัดการ เรียนรู้ของตนเอง
         4. ตระหนักถึงความสําคัญของการศึกษาที่มีความสําคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต 
        5. ปฏิบัติตนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้รู้วิธีแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง 
        6. รู้จักประเมินตนเองและผู้อื่น 
        7.ศรัทธาต่อผู้สอน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับครูและเพื่อน
สรุป
           การปฏิรูปการศึกษาครั้งสําคัญในปัจจุบัน มุ่งเน้นการปฏิรูปการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดยองค์รวม ดังนั้น การจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา จึงเป็น การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ เน้นการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตาม ธรรมชาติและเต็มศักยภาพโดยให้มีลักษณะเป็นการเรียนรู้ที่สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง เรียนรู้เรื่องด้วยตนเอง ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการดํารงชีวิตการ ประกอบชีวิต การพัฒนากระบวนการคิด การผสมผสานความรู้ การพัฒนาประชาธิปไตย เรียนรู้ เรื่องภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม ครอบครัวและชุมชน นอกจากนี้ยังมีการเสนอแนะประเด็นต่างๆ ที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสําคัญ จากหน่วยงานนักวิชาการและนักการศึกษาอีก มากมาย ดังที่ได้นําเสนอไว้ในข้างต้น รวมทั้งทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สําคัญ อาทิ ทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีพุทธินิยม และทฤษฎี มนุษยนิยม ตลอดจนบทบาทของบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องที่จะทําให้การจัดการเรียนรู้ตามแนวการ ปฏิรูปการศึกษาประสบผลสําเร็จ

ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ



ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ

          ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญมีทฤษฎีที่มีความเกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
         1. ทฤษฎีการสรรค์สร้างความรู้ (Constructivism) เป็นทฤษฎีที่มุ่งความสนใจไปที่บทบาท องผู้เรียนในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ นักจิตวิทยาการเรียนรู้แนวคอนสตรัคติวิซึมที่มีชื่อเสียงกลุ่มนี้ ได้แก่ Dewey, Piaget, Vigosky และ Ausubel เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นการพยายามเชิงสังคม เป็นการ เรียนรู้แบบร่วมมือกัน ซึ่งเน้นความสําคัญของการสร้างความรู้โดยกลุ่มคน ซึ่งกล่าวโดยสรุปได้ว่า ทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมมีแนวคิดพื้นฐาน ดังนี้
      1.1 ผู้เรียนสร้างระบบความเข้าใจด้วยตนเองมากกว่าการส่งผ่านหรือการถ่ายทอดจาก ผู้สอน
      1.2 การเรียนรู้ใหม่สร้างบนพื้นฐานของการเรียนรู้ที่ผ่านมา (Prior Under - Standing) ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้โดยอาศัยประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
     1.3 การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Social Interaction) ซึ่งการมี ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจะทําให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทําความเข้าใจกับ แนวคิดต่าง ๆ และทําให้ผู้เรียนได้มีโอกาสประเมินความเข้าใจของตนเอง
    1.4 การเรียนรู้ด้วยประสบการณ์จริง สร้างเสริมให้การเรียนรู้ที่มีความหมาย (Meaningful learning) การเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิซึม นั้นยอมรับข้อมูลที่มีอยู่เดิมและ ข้อมูลใหม่ที่เกิดขึ้น

      2. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavionsm) เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากพลังกระตุ้น จากภายนอกในรูปของการให้รางวัลและการลงโทษ ผู้เรียนมีบทบาทคอยรับ (Passive) สิ่งเร้าและมี บฎสมพันธ์ ส่วนผู้สอนมีบทบาทในการควบคุมและกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่คาดหมายด้วยการให้ รางวัลหรือการลงโทษ

        3. ทฤษฎีพุทธินิยม (Cognitivism) เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการรับข่าวสาร ขอเกบข่าวสารและการนําข่าวสารออกมาใช้ ผู้เรียนต้องตื่นตัว (Active) ในการพัฒนากลยุทธ์ที่จะสร้างความไม่
เข้าใจอย่างมีความหมาย ส่วนผู้สอนถือเป็นผู้ร่วมกระบวนการพัฒนากลยุทธ์และการใช้กลยุทธ์อย่างมีความหมาย

         4.ทฤษฎีมนุษยนิยม (Humanism) เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดความพร้อมกับความ "ควมาแต่กําเนิด มีอิสระที่จะนําตนเองและพึ่งตนเองได้ มีความคิดสร้างสรรค์ที่จะทําประโยชน์ "งคม มีอิสระในการเลือกทําสิ่งต่างๆ ที่จะไม่ทําให้ผู้ใดเดือนร้อน ในการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีนี้ควรให้ผู้เรียนมีสมรรถภาพในด้านความรู้ อารมณ์ ความรู้สึก และทักษะไปพร้อมๆ กัน ซึ่ง หมายความว่า ครูควรฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิด รู้จักใช้เหตุผล มีความชื่นชมต่อสิ่งที่เรียน และให้ผู้เรียน ลงมือทํากิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง



ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

วิธีการสอนตามแนวปฎิรูปการศึกษา



 วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา

          วิธีการสอนในปัจจุบันตามแนวปฏิรูปการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) เรียกว่า วิธีการจัดการเรียนรู้ซึ่งในมาตรา 22 ระบุว่าการจัด การศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ โดยมีหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ 2551 เป็นกรอบหรือทิศทางมุ่งให้แสวงหาวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ มุ่งให้เกิดความสมดุลทั้งด้านปัญญา ความคิด และด้านอารมณ์ โดยความสามารถ ทางปัญญาและ ความคิด ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ และความคิดวิจารณญาณ ส่วนความสามารถทางอารมณ์ 

           การสอนแบบโครงงาน (Project Design)
           เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นหาความสามารถ ความ ถนัด และความสนใจของตนเองในด้านต่างๆ มาจากแนวคิดพื้นฐานของการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็น ศูนย์กลาง (Child Center) และการเรียนรู้ตามสภาพจริง โดยมีการศึกษาหลักการ และวิธีเกี่ยวกับ โครงงานที่เลือกศึกษา วิเคราะห์ วางแผนการทํางาน ลงมือทํางาน และปรับปรุง เพื่อให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ ในกระบวนการเรียนการสอนได้ใช้ทักษะกระบวนการ สอดแทรกคุณธรรม ทำงานเป็นกลุ่ม ฝึกปฎิบัติจริง เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วม มีครูเป็นผู้ชี้แนะ ให้คําปรึกษาตลอดเวลา เน้นฝึกคนให้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

ประโยชน์ของการจัดทําโครงงาน
        1. ทํางานตามความถนัด ความสนใจของตนเอง
        2. ฝึกทักษะกระบวนการทํางานด้วยตนเอง หรือร่วมกันทํางานเป็นกลุ่ม
        3. สามารถวางแผนการทํางานเป็นระบบ
        4. พัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
       5. ศึกษา ค้นคว้า และแก้ปัญหาจากการทํางาน
       6. เป็นสิ่งยืนยันว่าเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในโครงงานที่ทําจริง ใน กรณีที่ต้องนําแสดงต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
ความหมายของโครงงาน
        โครงงาน หมายถึง การกําหนดรูปแบบในการทํางานอย่างเป็นระเบียบ มีกระบวนการ ทํางานที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถผลิตชิ้นงาน / ผลงานที่สัมพันธ์กับหลักสูตรและนําไปใช้ประโยชน์ กับชีวิตจริงประเภทของโครงงาน แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ (ชูชาติ เชิงฉลาด, 2546, หน้า 245)
         1. ประเภทการศึกษาทดลอง เป็นการศึกษาเปรียบเทียบหรือพิสูจน์ความจริงตามหลัก วิชาการอย่างเป็นเหตุเป็นผลหรือค้นหาข้อเท็จจริงในสิ่งที่ต้องการรู้ เช่น แสงมีผลต่อการเจริญเติบโต ของพืช, อาหารพื้นบ้านกับการเจริญเติบโตของไก่
        2. ประเภทสํารวจข้อมูล เป็นการสํารวจรวบรวมข้อมูลแล้วนําข้อมูลนั้นๆ มาจําแนกเป็น หมวดหมู่ และนําเสนอในรูปแบบต่างๆ เพื่อนําไปใช้ในการวางแผนหรือพัฒนางาน หรือปรับปรุงงาน เช่น การสํารวจการขาดสารไอโอดีนในชุมชน, การสํารวจการเรียนต่อของเยาวชนอําเภอสําโรงทาบ ในปี 2542
        3. ประเภทสิ่งประดิษฐ์ เป็นการผลิตชิ้นงานใหม่ และศึกษาคุณภาพ ประสิทธิภาพ ประโยชน์คุณค่าของชิ้นงานนั้นๆ เช่น เครื่องฟักไข่ ระบบน้ําหยดเพื่องานเกษตร โดยใช้กระป๋อง น้ํามันเครื่อง
        4. ประเภทพัฒนาผลงาน เป็นการค้นคว้าหรือพัฒนาชิ้นงานให้สามารถใช้ประโยชน์ได้มาก - หรือมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น การประดิษฐ์อุปกรณ์นับจํานวนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ นกมาทของผู้เรียนการสอนแบบโครงงาน (Project Design)
1. โครงงาน
2. ศึกษาข้อมูล
3. วิเคราะห์ข้อมูล
4. ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
5. เขียนโครงงานวางแผนการทํางาน
6. ปฏิบัติตามโครงงาน
7. ประเมินผลโครงงาน 

วิธีการสอนแบบ 4 MAT
          เป็นนวัตกรรมการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับแนวคิดใน แตกต่างระหว่างบุคคลการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางรวมทั้งการพัฒนา ผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญา รวมทั้งมีความสุข แนวคิดนี้มาจากเบอร์นิส แมคคาร์ที ซึ่งใน สังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน และผลการศึกษาด้านพัฒนาสมอ ได้แก่ ความสามารถของสมองซีกขวา คือการคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การใช้สามอง การคิดแบบหลากหลาย และความสามารถของสมองซีกซ้าย คือ การคิดวิเคราะห์ การคิดหาเห การคิดแบบปรนัย การคิดแบบมีทิศทาง การตอบสนองการพัฒนาศักยภาพทุกด้านของผู้เรียนที่มี รูปแบบและลักษณะการเรียนรู้แตกต่างกัน ดังนี้ (ชูชาติ เชิงฉลาด, 2546, หน้า 232)
          ขั้นที่ 1 การนําเสนอประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กับผู้เรียนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ขั้นย่อย ดังนี้
          1.1 การเสริมสร้างประสบการณ์
          1.2 การวิเคราะห์ประสบการณ์ที่ได้
        ขั้นที่ 2 การเสนอเนื้อหา สาระ ข้อมูลแก่ผู้เรียน สามารถแบ่งเป็น 2 ขั้นย่อย ดังนี้
         2.1 การบูรณาการประสบการณ์สร้างความคิดรวบยอด
         2.2 การพัฒนาเป็นความคิดรวบยอด
         ขั้นที่ 3 การฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาความคิดรวบยอด แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนย่อย ดังนี้
         3.1 การปฏิบัติงานตามขั้นตอน
         3.2 การนําเสนอผลการปฏิบัติ 
          ขั้นตอนที่ 4 การนําความคิดรวบยอดไปสู่การประยุกต์ใช้ แบ่งเป็น 2 ขั้นย่อย ดังนี้
          4.1 การนําความรู้ไปประยุกต์ใช้หรือการพัฒนางาน
          4.2 การนําเสนอผลงานหรือการเผยแพร่ 

วิธีการสอนการสอนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
         สเปนเซอร์ คาบกัน (Spenser Kagan) นักศึกษาชาวสหรัฐอเมริกา ได้ทําการวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) อย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1985 และได้เผยแพร่ผลงานอย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกาและในหลายประเทศในแถบเอเชีย โดยมีการ 1.การเรียนการสอนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์และได้ แนวคิดหลักที่จะนําไปสู่การเรียนรู้แบบร่วมอย่างมีประสิทธิผลไว้ 6 ประการดังนี้
          1. การจัดกลุ่ม (TEAMS) หมายถึง การจัดกลุ่มผู้เรียนที่จะเข้าร่วมกิจกรรมด้วยกันเพื่อให้ เกิดประสิทธิผลมากที่สุด ซึ่งควรจัดผู้เรียนเข้ากลุ่มไว้ดังนี้
          1. จํานวนผู้เรียนในกลุ่ม 4 คน 
          2. ประกอบด้วยผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง และต่ําคละกันไป 
          3. จัดให้มีผู้เรียนทั้งชายและหญิงในกลุ่มเดียวกัน 
         4. จัดให้ผู้เรียนอยู่ในกลุ่มเดียวกันประมาณ 6 สัปดาห์
         5. บางกรณีอาจจัดกลุ่มโดยวิธีอื่นๆ เช่นจัดกลุ่มผู้เรียนที่มีความสนใจเหมือนๆกันใน เรื่องเดียวกันในการศึกษาเฉพาะกรณีเช่นการทําโครงงานวิทยาศาสตร์หรือจัดกลุ่มแบบสุ่มเมื่อ ต้องการทบทวนความรู้

          2. ความมุ่งมั่น (will) หมายถึงความมุ่งมั่นและอุดมการณ์ของผู้เรียนที่จะทํางานร่วมกันซึ่ง จะต้องมีความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้และมีความกระตือรือร้นในการทํากิจกรรมต่างๆ ร่วมกันเพื่อให้เกิด ประสิทธิผลร่วมกันสามารถสร้างความมุ่งมั่นร่วมกันให้เกิดขึ้นได้โดยใช้กิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่ กิจกรรมทางวิชาการ เช่น การเล่นเกมการสัมภาษณ์โดยใช้วิธีการต่อไปนี้
          2.1 สร้างความมุ่งมั่นของกลุ่มที่จะทํางานร่วมกัน 2.2 สร้างความมุ่งมั่นของชั้นเรียน
           2.3 การทํางานร่วมกันโดยเลือกกิจกรรมที่คนเดียวไม่สามารถทําได้สําเร็จ

       3. การจัดการ (management) หมายถึงการจัดการกลุ่มไห้สามารถทํากิจกรรมได้อย่างมี บระสทธิภาพและรวมถึงการจัดการของผู้เรียนเพื่อให้การทํากิจกรรมของกลุ่มประสบผลสําเร็จอย่างมี ประสิทธิภาพเช่น
        3.1 การจัดที่นั่งของนักเรียนในกลุ่ม 
        3.2 การแบ่งงานกันภายในกลุ่ม 
        3.3 การสร้างกฏของห้อง (class rule) 
        3.4 การให้สัญญาณเงียบ (Quiet Signal) 
        3.5 การดูแลกลุ่มไม่ให้วุ่นวายกับกลุ่มเพื่อน
      
        4.ทักษะทางสังคม (social skills)หมายถึง การพัฒนาให้เด็กมีทักษะในการทํางานทํา กรรมร่วมกันให้มีการร่วมมือช่วยเหลือกันอย่างจริงใจ

        5. กฎพื้นฐาน 4 ข้อ (Basics principles : Pies ) หมายถึง หลักการพื้นฐานของการเรียนรู้ แบบร่วมใจกันซึ่งจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบที่สําคัญ 4 ประการ อย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้
        5.1.การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 
        5.2 การยอมรับความสามารถซึ่งกันและกัน 
        5.3 ความเสมอภาค
        5.4 การมีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง

        6. รูปแบบของกิจกรรม (structures) หมายถึง รูปแบบของกิจกรรมในการทํางานกลุ่ม หลากหลายทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาหรือสถานการณ์ที่จะศึกษา วิธีสอนแบบซิปปา (cippa model)เป็นวิธีสอนหรือการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้มี องค์ประกอบสําคัญ 5 ประการคือ (ชูชาติ เชิงฉลาด, 2546, หน้า 229)
        1. C Construct หมายถึง การสร้างความรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ความรู้
(constructivism) 
        2. I interaction หมายถึง การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว 
        3. P physical participation หมายถึง การมีส่วนรวมทางกาย
       4. P process learning หมายถึง การเรียนรู้กระบวนการต่างๆ ที่เป็นทักษะต่อการ
ดํารงชีวิต 
       5. A application หมายถึง การนําความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์
ต่างๆ
         การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแบบซิปปา มีองค์ประกอบสําคัญ 5 ประการดังกล่าวแล้ว ครูผู้สอนสามารถเลือกรูปแบบวิธี การจัดการเรียนรู้ หรือกิจกรรมใดก็ได้ที่สามารถจัดกิจกรรมใด ก่อน-หลังได้โดยไม่ต้องเรียงลําดับ วิธีสอนแบบบูรณาการ
วิธีสอนแบบบูรณาการ 
          เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยเชื่อมโยงระหว่าง ประสบการณ์-เดิมและประสบการณ์ใหม่ และเป็นประสบการณ์ตรงที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ใน วิชาการหลายๆแขนงในลักษณะสหวิทยาการโดยใช้กระบวนการเรียนรู้กระบวนการคิดกระบวนการ แก้ปัญหาและกระบวนการแสวงหาความรู้ที่เชื่อมโยงทั้งหลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนรู้ตลอดจน แนวคิดของผู้เรียนเพื่อให้เกิดความรู้แบบองค์รวมเพื่อนําไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจําวัน

วิธีการสอนแบบบูรณาการมีขั้นตอนในการสอนดังต่อไปนี้ (ชาตรี เกิดธรรม, 2546, หน้า 99)
          1. กําหนดหัวข้อสาระการเรียนรู้ 
          2. กําหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ 
          3. กําหนดเนื้อหาของเรื่อง
         4. กําหนดขอบเขตการเรียนรู้ 
         5. ดําเนินกิจกรรม
         6. ประเมินผล 

วิธีการสอนแบบเล่าเรื่อง
            คําว่าวิธีการสอนแบบเล่าเรื่องตรงกับคําภาษาอังกฤษว่า STORY LINE นํามาใช้กับ ภาษาไทยว่าเล่าเรื่อง คําเนินเรื่อง เรื่องราว โครงเรื่อง เป็นวิธีสอนวิธีหนึ่งที่จะจัดเนื้อหาสาระของแต่ ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ มาบูรณาการกัน โดยใช้กลุ่มสาระการเรียนรู้ใดกลุ่มสาระการเรียนรู้หนึ่งเป็น แกนเรื่อง ส่วนมากจะยึดเนื้อหาสาระสังคมศึกษาหรือวิทยาศาสตร์หรือสุขศึกษาเป็นแกนเรื่อง แล้วนํา กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ในหลักสูตรมาบูรณาการ ทั้งภาษาไทย ศิลปะ คณิตศาสตร์การจัดการ เรียนรู้แบบนี้จะเป็นการสมมติเรื่องราวหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้สอดคล้องกันเนื้อหาสาระที่จะ เรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการจัดการเรียนรู้โดยใช้เล่าเรื่อง มีหลักการจัดการเรียนรู้ดังนี้
            1. สร้างหน่วยการเรียน โดยใช้กลุ่มสาระการเรียนใดกลุ่มสาระการเรียนรู้หนึ่งเป็นแกนเรื่อง และกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นมาบูรณาการด้วยการสร้างแผนผังสาระการเรียนรู้และกิจกรรมก่อนอื่น ครูผู้สอนจะต้องกําหนดชื่อเรื่องหรือหัวเรื่องที่จะจัดการเรียนรู้และกําหนดหัวข้อย่อยโดยบูรณาการ เนื้อหาสาระกิจกรรมแล้วกําหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้ชัดเจน
            2. สร้างสถานการณ์หรือเรื่องราวจากหน่วยการเรียน ผู้สอนต้องสมมติสถานการณ์หรือ เรื่องราวขึ้น ซึ่งต้องมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ ฉาก ตัวละคร วิถีชีวิต เหตุการณ416
กก ตัวละคร วิถีชีวิต เหตุการณ์และสถานการณ์ที่ สนองต่อผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
            3. การจัดการเรียนรู้ต้องจัดทําเส้นทางการดําเนินเรื่อง คําถามนํา กิจกรรม สื่อการ และลักษณะการเรียน โดยทําเป็นแผนการเรียนรู้
          4. การสอนตามแผนการเรียนรู้จะแบ่งเวลาการเรียนตามเส้นทางการดําเนินเรื่องในตาราง แผนการเรียนรู้อาจกําหนดเวลาการเรียนแต่ละเส้นทางการดําเนินเรื่อง ซึ่งอาจใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง
วิธีสอนแบบใช้เส้นเล่าเรื่องตามตัวอย่างแผนการเรียนรู้ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่าผู้เรียนจะ ลงมือปฏิบัติ ความรู้จากการเรียนเป็นความรู้ที่เป็นองค์รวม (Holistic Knowledge) และการนํา สถานการณ์ไปใช้ในชีวิตจริง จะใช้เวลาค่อนข้างมาก เพราะผู้เรียนต้องค้นคว้า ทดลอง ครูผู้สอนจะเปลี่ยนบทบาทของครูผู้สอนจะเป็นผู้บอกความรู้มาเป็นผู้จัดกิจกรรม และสภาพการเรียนรู้สื่อการ เรียนรู้ บทบาทของครูผู้สอนจะเป็นผู้เพิ่มเติมความคิดความรู้ให้กับผู้เรียน
 
วิธีการสอนแบบปุจฉาวิสัชนา
            วิธีการสอนแบบปุจฉาวิสัชนา เป็นการเรียนรู้แบบถามตอบ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิด และรู้จักหาคําตอบด้วยตนเอง การตั้งคําถามผู้ตั้งคําถามจะต้องใช้ความคิดในการตั้งคําถาม ขณะเดียวกันผู้ตั้งคําถามจะต้องมีคําตอบอยู่ในใจ การสอนแบบนี้ ในการจัดการเรียนรู้จึงส่งเสริมให้ ผู้เรียนได้คิด วิเคราะห์ วิจารณ์ และผู้เรียนรู้เกี่ยวกับภาษาในการสื่อสารวิธีการสอนแบบนี้ปุจฉา วิสัชนา จะใช้ในการเรียนรู้ได้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ (ชูชาติ เชิงฉลาด, 2546 หน้า 251)
           ขั้นตอนการสอนแบบปุจฉาวิสัชนามี 6 ขั้นตอน ดังนี้
           ขั้นที่ 1 แนะนํารูปแบบการเรียน ผู้สอนกับผู้เรียนจะกําหนดหัวข้อการเรียนและจุดประสงค์ การเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและขั้นตอนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนกําหนดหัวข้อของการตั้ง คําถามให้ตรงจุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนกําหนดหัวข้อของการตั้งคําถามให้ตรงจุดประสงค์
          ขั้นที่ 2 อ่านหรือดูสื่อเพื่อหาความรู้และเตรียมคําถาม ผู้เรียนศึกษาความรู้จากแหล่งต่างๆ หรือสื่อที่ผู้สอนเตรียมไว้ให้ โดยแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน ผู้เรียนศึกษาสื่อและตั้งคําถาม ลักษณะของคําถามจะแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
             1.เป็นคําถามที่เป็นข้อเท็จจริง 
             2. คําถามที่ต้องการคําอธิบายชี้แจง
             3. คําถามเกี่ยวกับการประเมินคุณค่าเนื้อหาหรือความคิด
         ขั้นที่ 3 วางแผนและการจัดกลุ่มคําถาม ผู้เรียนแต่ละกลุ่มจะจัดกลุ่มคําถามของตนตาม เนื้อหาสาระที่เป็นเรื่องเดียวกันเข้าด้วยกันคัดเลือกประเด็นคําถามที่ไม่ตรงประเด็นออก แล้วนําคําถาม ขอทุกกลุ่มมารวมกัน
         ขั้นที่ 4 ดําเนินการถามตอบ ควรมีการจัดที่นั่งในการดําเนินการ โดยผู้ตอบคําถามจะนั่งหน้า ชั้นส่วนผู้ถามจะนั่งด้านข้างของผู้ตอบคําถามมุมใดมุมหนึ่งของห้องเรียน
         ขั้นที่ 5 ทบทวนและสรุปความรู้ ครูผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันสรุปเนื้อหาสาระตามประเด็น คําถาม โดยจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาสาระความรู้เข้าด้วยกัน และตั้งเป็นหัวข้อเรื่องที่เป็นคําตอบ คล้ายกันเข้าด้วยกัน
          ขั้นที่ 6 กิจกรรมสร้างสรรค์ เมื่อตอบประเด็นคําถามหมดทุกประเด็นแล้ว ผู้เรียนแต่ละ กลุ่มจะประชุมเพื่อวางแผนกิจกรรม เช่น ทําสมุดถามตอบ เขียนบทความ ประกวดสมุดบันทึกความรู้ เขียนบทวิจารณ์ เขียนแผนภูมิด้วยแผนความคิด (Mind Mapping) จัดทําป้ายนิเทศ สรุปความคิด
รวมกันทั้งชั้น

วิธีการสอนแบบโครงสร้างความรู้
         วิธีการสอนแบบโครงสร้างความรู้ หรือ แผนผังความคิด (Graphic Organizer) เป็นการ ศึกให้ผู้เรียนรวบรวมข้อมูล หรือ ความรู้จากการศึกษาค้นคว้า การอ่าน การฟังคํา บรรยาย แล้วนํา ข้อมูลมาจัดกลุ่ม เขียนเป็นภาพแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างความคิด กระบวนการคิด และ ความสัมพันธ์ของ กระบวนการ โดยใช้รูปภาพ ซึ่งสามารถแสดงโครงสร้างความคิดได้หลายรูปแบบ (ชาตรี เกิดธรรม, 2546 หน้า 86) ดังนี้
        1. แผนผังความคิด ( Mind Mapping หรือ Mind Map)
        แผนผังความคิดแผนที่ความคิด เป็นรูปแบบที่ใช้แสดงการเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใด เรื่องหนึ่ง ระหว่าง การคิด กระบวนการคิด และความสัมพันธ์ของกระบวนการคิดตั้งแต่ต้นจนจบซึ่ง จะช่วยทําให้มองเห็นภาพรวมของความคิดและโครงสร้างของความคิดในเรื่องที่กําลังคิดมองเห็น ความสัมพันธ์ ระหว่างความคิดหลัก ความคิดรองและความคิดย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหากศึกษา จากภาพที่ 7 จะช่วยให้เข้าใจมากขึ้น
 ภาพที่ 7 ลักษณะการเขียนแผนผังความคิด


         จากภาพที่ 7 ลักษณะการเขียนแผนผังความคิด จะเห็นว่าจากความคิดหลักจะเชื่อ ความคิดรองในหลายประเด็นก็จะประกอบด้วย ความคิดย่อยและจากความคิดย่อย ๆ ประกอบด้วยความคิดย่อยลงไปอีกก็ได้

          2.ผังแสดงความสัมพันธ์แบบโครงสร้างต้นไม้ (Tree Structure)
         ผังแสดงความสัมพันธ์แบบโครงสร้างต้นไม้ จะใช้ในการแสดงความสัมพันธ์ของเรื่องที่ส ความสําคัญลดหลั่งกันเป็นลําดับจากใหญ่ไปหาจุดเล็กๆ รูปร่างของการเขียนจะมีโครงสร้างลักษณะ คล้ายต้นไม้ที่มีกิ่งก้าน หรืออาจจะมีลักษณะคล้ายแผนภูมิการบริหารองค์กรวิธีการเขียนให้เริ่มต้น หัวข้อเรื่องไว้ข้างบนหรือตรงกลางแล้วลากเส้นให้เชื่อมโยงกับความคิดรวมยอดอื่นๆ ที่มีความสําคัญ รองๆ ลงไปตามลําดับ ดังในภาพที่ 8

ภาพที่ 8 ลักษณะการเขียนผังแสดงความสัมพันธ์แบบโครงสร้างต้นไม้


        จากภาพที่ 8 ลักษณะการเขียนผังแสดงความสําพันธ์แบบโครงสร้างต้นไม้ จะเห็นวางบน รูปแบบที่เหมาะสมในการนําไปใช้ในการนําเสนอโครงสร้างของเรื่องที่ต้องเรียงลําดับ ความสัมพันธ ของข้อมูลอย่างเป็นระบบและมีการสรุปเป็นประเด็นๆ ของแต่ละเรื่อง

        3. แผนผังความคิดแบบเวนน์ (Venn Diagram)
       แผนผังความคิดแบบเวนน์นี้เป็นแผนผังที่ไว้แสดงข้อมูลเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดที่ หมายถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ของบุคคล สถานที่ หรือสิ่งของในลักษณะต่างๆ เป็น การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของแนวคิด ตั้งแต่ 2 แนวคิดขึ้นไป โดยสามารถเขียนแผนผังแสดง ความคิดดังต่อไปนี้

ภาพที่ 9 แผนผังความคิดของเวนน์

          จากภาพที่ 9 แผนผังความคิดของเวนน์ จะเห็นว่า ผู้หญิงและผู้ชายมีลักษณะที่เหมือนกัน คือ เป็นสิ่งที่มีชีวิตที่เรียกว่า คน เหมือนกัน ส่วนลักษณะอื่นๆ จะแตกต่างกัน

         4. แผนผังความคิดแบบวงจร หรือแบบวัฏจักร (Cycle Graph)
         แผนผังความคิดแบบวงจร หรือแบบวัฏจักร เป็นการคิดแบบวงจร ที่ใช้แสดงข้อมูลที่มี ความสัมพันธ์กันระหว่างเหตุการณ์ต่างๆ กับระยะเวลาที่มีการเรียงลําดับการเคลื่อนไหว ของข้อมูลที่ เป็นวัฏจักรที่ไม่มีจุดเริ่มต้น ณ ที่ใดที่หนึ่ง ดังในภาพที่ 10 ต่อไปนี้


รูปที่ 10 รูปแบบของกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์




       5. แผนผังก้างปลา (fish boone)
       แผนผังก้างปลาเป็นแผนผังความคิดที่นิยมเพื่อแสดงสาเหตุ และผลต่างๆ ของปัญหาที่ 3กคขนนน จะเห็นว่า การเขียนแผนผังก้างปลา เพื่อแสดงสาเหตุของปัญหาจะทําให้มองเห็นสาเหตุ ของปัญหาได้ละเอียดรอบคอบครบถ้วน เหมาะสมในการนําไปใช้ในการระดมความคิดเพื่อหาสาเหตุ ของปัญหา ทั้งที่เป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม
      6. แผนผังแบบลําดับขั้นตอน (sequence chart)
แผนผังแบบลําดับขั้นตอนเป็นแผนผังที่แสดงให้เห็นถึงสภาพเหตุการณ์หรือเนื้อหาสาระที่ เป็นกระบวนการเรียงลําดับขั้นตอน เป็นแผนผังที่แสดงให้เห็นถึงสภาพเหตุการณ์หรือเนื้อหาสาระที่ เป็นกระบวนการเรียงตามลําดับต่อเนื่อง ภาพที่ 11 ต่อไปนี้
ภาพที่ 11 กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ


       จากภาพที่ 11 กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ที่แสดงด้วยแผนผังแบบ ลําดับเป็นขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มต้น โดยมีเครื่องหมายลูกศรแสดงเส้นทางของลําดับขั้นตอนให้เห็นอย่าง ชัดเจน

แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพการสอน
         การสอนเน้นกระบวนการกระทําหรือการจัดประสบการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ อย่างคุ้มค่า และให้ได้รับประสบการณ์ตามความคาดหวังหรือวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้เพื่อเป็น แนวทางในการกําหนดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ดําเนินไปตามวัตถุประสงค์ของการสอนผส ควรพิจารณาเลือกวิธีสอนต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนนั้นๆ โดยอาศัยปัจจัยต่างๆ อาทิ เหมาะสมกับเนื้อหาที่จะสอน วัย ความสามารถ ประสบการณ์ และความสําคัญ

       การประเมินประสิทธิภาพการสอน นอกจากจะใช้วิธีเทียบเคียงกับหลักและลักษณะการสอนที่ดีในข้างต้นแล้ว อาจจะใช้เกณฑ์ในการพิจารณาจากความหมายของประสิทธิภาพการสอนที่ที่หมายถึง ผลของการสอนที่ทําให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยอาศัยความสามารถในการ ๑ะการสอนของผู้สอน หรือการดําเนินการสอน ในการวางแผนการเรียนรู้ออกแบบ และเลือก 4 จัดการการเรียนรู้ ตลอดบุคคลิก ลักษณะหรือพฤติกรรมต่างๆ ของผู้สอนที่จะทําให้การเรียน การสอนนั้นๆ บรรลุผลสําเร็จอย่างราบรื่นตามความมุ่งหมาย ส่วนวิธีการที่จะได้มาซึ่งข้อมูลนั้น อาจ ได้มาจากการพูดคุย สัมภาษณ์ สังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ในที่นี้ขอนําเสนอการได้มา ซึ่งข้อมูลในการประเมินประสิทธิภาพการสอนจาก 4 แหล่ง คือ
      1. ประเมินตนเอง (teacher self-report) 
      2. การสังเกตการณ์สอนในชั้นเรียน (observation reports) 
      3. การประเมินโดยผู้เรียน (student report) 
      4. การประเมินจากกลุ่มเพื่อน (teacher peers)
       การประเมินประสิทธิภาพการสอนไม่ว่าจะใช้วิธีใด หรือจากแหล่งข้อมูลในการประเมิน ประสิทธิภาพการสอนควรมุ่งพิจารณาในประเด็นต่างๆ ดังนี้
       1. จุดมุ่งหมายของการสอน 
       2. วิธีสอนเป็นเทคนิคหรือกลวิธีที่ผู้สอนจะต้องเลือกใช้
       3. สื่อการสอนเป็นส่วนประกอบที่ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ที่สมบูรณ์แก่ผู้เรียน 
       4. การวัดผลเป็นกระบวนการติดตามผลการปฏิบัติการสอนว่า ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะต่างๆ 
       5. ควรพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อคุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้สอนการจัดการเรียนการสอน

กิจกรรมการเรียนการสอน
        กิจกรรมการเรียนการสอน หมายถึง การจัดกิจกรรมโดยวิธีต่างๆ อย่างหลากหลายที่มุ่งให้ " เรียนรู้อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จําเป็นสําหรับการเป็น องสังคมของประเทศชาติต่อไป การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนจึงต้องใช้เทคนิควิธีการเรียนรู้รูปแบบการสอนหรือกระบวนการเรียนการสอนใน หลากหลายวิธี

กิจกรรมการเรียนการสอนตามขั้นตอนของการใช้ในการเรียนการสอน
         กิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนหรือในการสอนแต่ละครั้งมักถูกออกแบบเป็น 3 ขั้นตอน คือ กิจกรรมขั้นนําเข้าสู่บทเรียน กิจกรรมขั้นการสอน และกิจกรรมขั้นสรุป โดย กิจกรรมมีรายละเอียดดังนี้
        1. กิจกรรมขั้นนําเข้าสู่บทเรียน เป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ ดึงดูดชักนําให้ ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเรียนเนื้อหาที่ผู้สอนจําเป็นจะต้องให้เสริมประสบการณ์ใดก่อนหรือไม่ และในการนํากิจกรรมต่างๆ ไปใช้นี้ก็ควรได้มีการพิจารณาเรื่องของการแบ่งเวลาให้เหมาะสมไม่ใช้ เวลามากจนเกินไป กิจกรรมที่นําเข้าสู่บทเรียนมีได้ หลากหลาย ตัวอย่างเช่น กิจกรรมเล่าเรื่องต่างๆ
       2. กิจกรรมขั้นการสอนผู้สอนสามารถนํามาใช้ได้หลายรูปแบบตามวิธีการสอนต่างๆ โดย ผู้สอนจะต้องพิจารณาตามความสมควรเหมาะสมในการนํามาใช้ โดยพิจารณาตามหลักทฤษฎีต่างๆ และข้อจํากัดของการสอนนั้นๆ กิจกรรรมการสอนมีหลายวิธีการด้วยกัน เช่น การสอนแบบรายงาน การสอนแบบการแก้ปัญหา หรือการสอนแบบวิทยาศาสตร์การสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ การสอนโดยกระบวนการเป็นกลุ่ม การสอนแบบศูนย์การเรียนการสอนแบบหน่วยเป็นต้น
        3. กิจกรรมขั้นสรุป เป็นการประมวลสาระสําคัญ ของบทเรียนแต่ระบทเรียนที่ได้เรียนจบ ลงเพื่อให้ผู้เรียนได้แนวคิดที่ถูกต้องในบทเรียนนั้นๆ และเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้ในเนื้อหาต่อไป โดยทั่วไปแล้วการสรุปบทเรียนส่วนใหญ่จะเป็นเพื่อสรุปใจความสําคัญแต่ละตอนในระหว่าง บทเรียนหรือสรุปเมื่อจบบทเรียน หรือเมื่อผู้เรียนฝึกปฏิบัติจบลงก็เป็นไปได้ กิจกรรมขั้นสรุป บทเรียนหรือเนื่องหาที่สอนนี้สามารถทําได้หลายวิธี ดังนี้
       3.1 การสรุปทบทวน 
       3.2 การสรุปจากการปฏิบัติ 
       3.3 สรุปการใช้อุปกรณ์
       3.4 สรุปจากการสร้างสถานการณ์ 

ลักษณะของกิจกรรมการเรียนการสอนที่ดี
        1. กิจกรรมที่จัดขึ้นต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์ของการเรียนการสอน 
        2. ต้องเป็นกิจกรรมที่สามารถทําให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอด 
        3. ควรมีการจัดลําดับชั้นของกิจกรรมจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยาก 
       4. ต้องเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย 
       5. ต้องมีลักษณะของกิจกรรมที่ท้าทาย 
       6. ควรเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดกว้าง 
       7. เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการใช้ความคิด
       8. ควรเป็นกิจกรรมที่ผู้สอนมีบทบาทเพียงผู้ชี้แนะ



ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

การปฎิรูปการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ



การปฏิรูปการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสําคัญ

          คําว่า ผู้เรียนเป็นสําคัญ มาจากบทบัญญัติในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ ที่บัญญัติไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในเรียนรู้และ พัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสําคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษา ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ สําหรับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญนี้ เป็นหลักการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีการเรียนรู้หลายทฤษฎี เช่น พุทธปรัชญา จิตวิทยาสาขามนุษยนิยม (Humanistic Approach) ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning) ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้มีนักคิดกล่าวไว้หลายท่าน (กรมวิชาการ, 2543, หน้า 3-4) เช่น

          พระราชวรมณี (ประยูร ธมมจิตโต, 2540, หน้า 13) กล่าวว่า เด็กเป็นศูนย์กลางแห่งการ เรียนรู้ครูต้องสร้างความใฝ่รู้ขึ้นในจิตใจของเด็กให้ได้ คือ ให้มีธรรม ฉันทะ คือ ความใฝ่รู้และกัตศ กมยตาฉันทะ คือ ความใฝ่ทํา เด็กมีความสุขในการเรียนรู้ ครูสร้างบรรยากาศในโรงเรียนให้เป็น สัปปุริสสังเสวะ หมายความว่า ครูเป็นกัลยาณมิตร คือ เพื่อนที่ดี มีเมตตา ให้ความรักความอบ ผู้เรียน ครูอาจจะใช้วิธีการการเสริมแรงทางบวกให้มากขึ้น จัดการเรียนการสอนโดยคํานึงถึงความ แตกต่างระหว่างบุคคล โดยถือว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนใน สอดคล้องกับความสนใจและความสามารถของผู้เรียน

            ส่วนประเวศ วะสี (2541, หน้า 1) มองในเชิงหลักการว่า การจัดการเรียนรู้ที่เอาชีวิตจริง ของผู้เรียนเป็นตัวตั้ง เรียนรู้เพื่อสร้างปัญญาให้รู้จักตนเอง รู้จักโลก สามารถพึ่งตนเองได้ทั้งทาง เศรษฐกิจ จิตใจ สังคม อยู่ร่วมกันอย่างมีคุลยภาพ เรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง มีความสุข สนุกสนาน และ เกิดฉันทะในการเรียนรู้

           สําหรับสุมน อมรวิวัฒน์ (2547, หน้า 12) มีแนวคิดว่า การเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีอิสรภาพได้รับ การพัฒนาเต็มศักยภาพของความเป็นมนุษย์เรียนรู้อย่างมีความสุข เน้นกระบวนการคิด ปฏิบัติได้จริง สอดคล้องกับความถนัด ความสอดคล้องกับคติสอนให้ทํา นําให้คิด ลงมือทํา เรียนรู้สอนตนเอง เอาความจริงเป็นตัวตั้งเอาวิชาเป็นตัวประกอบ

           แต่โกวิท ประวาลพฤกษ์ (2545, หน้า 8) มีแนวคิดสู่ปฏิบัติการให้เกิดจริงว่าการเรียนรู้ที่ เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญที่สุด ภายหลังจากการเรียนรู้ต้องการให้ผู้เรียนมีแนวความคิดบางอย่าง และลงมือปฏิบัติได้ถูกต้องแม่นยํา ด้วยความรู้สึกชื่นชมยินดี อันเป็นการสร้างบุคลิกภาพที่ดี คุณธรรมและพัฒนาการรอบด้านของผู้เรียน ถ้าการศึกษาจัดได้ครบถ้วนด้วยกระบวนการดังกล่าว มาแล้ว ผู้เรียนก็จะเป็นผู้คิดได้เอง ตัดสินใจได้เอง ลงมือปฏิบัติควบคุมตนเองได้ มีศักยภาพในการ ตัดสินใจ และทําตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมเป็นประจํา คิดและทําเพื่อประโยชน์ของสังคมไทย โดยส่วนรวมอันเป็นค่านิยมที่พึงประสงค์ของชาติสืบไป

           และทิศนา แขมมณี (2548, หน้า 32) มีแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าการเรียนการสอนโดยยึด ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หมายถึง การเรียนการสอนที่ผู้เรียนมีบทบาทสําคัญที่สุด กล่าวคือ ผู้เรียนเป็นผู้ มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้งทางร่างกาย ปัญญา สังคมและอารมณ์ ได้มีโอกาสแสวงหา ความรู้ ข้อมูลคิดวิเคราะห์ และสร้างความหมายความเข้าใจในสาระและกระบวนการต่าง ๆ ด้วย ตนเองรวมทั้งได้ลงมือปฏิบัติและนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน

           จากแนวคิดของผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าว สามารถสรุปเป็นความหมายเชิงปรัชญาและเชิง ปฏิบัติการได้ ดังนี้

           1. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสําคัญที่สุดหรือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นการจัดการเรียนรู้ ที่เอาชีวิตจริงและเงื่อนไขการรับรู้ของผู้เรียนเป็นตัวตั้ง ผู้เรียนมีอิสรภาพ ได้รับการส่งเสริมให้พัฒนา เต็มศักยภาพของความเป็นมนุษย์ทั้งจิตใจ ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม ผู้เรียนได้รับการพัฒนา แบบองค์รวมได้รับการฝึกให้มีศักยภาพในการสร้างรูปแบบคิด ผู้เรียน เป็นผู้กระทํากิจกรรมการ เรียนรู้ได้ถูกต้องแม่นยําด้วยความรู้สึกที่ดีงามอันเป็นการสร้างบุคลิกภาพที่ดีงาม เรียนรู้วิธีการเรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติของตนเอง คิดอย่างมีระบบและมีวิจารณญาณอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข เรียนรู้ตลอดชีวิตและเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
           2. เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริง ได้พัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์ ศึกษาค้นคว้า ทดลอง และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ตามความถนัดความสนใจด้วย วิธีการ กระบวนการและใช้แหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งในและนอกห้องเรียน ผู้เรียนมีผลการ เรียนรู้ได้มาตรฐานตามที่หลักสูตรกําหนด มีความรู้ชื่นชมยินดีในผลการปฏิบัติของตน สามารถนํา ความรู้และประสบการณ์ไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน สังคมและส่วนร่วม
          3. เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้จัดหรือครูผู้สอนดําเนินการให้สอดคล้องกับผู้เรียนตามความ แตกต่างระหว่างบุคคล ความสามารถทางด้านปัญญา วิธีการเรียนรู้ โดยบูรณาการคุณธรรม ค่านิยม อันพึงประสงค์ วางแผนการจัดกิจกรรม และประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ให้ผู้เรียนได้ พัฒนาสติปัญญา อารมณ์ และทักษะการปฏิบัติส่งเสริมสนับสนุนการนําความรู้ไปใช้ให้มีการ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในสถานศึกษาให้พัฒนากระบวนการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ ครูผู้สอนทําวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนให้เหมาะสมกับผู้เรียนและสนับสนุนด้านทรัพยากร การลงทุน เพื่อการศึกษาพร้อมทั้งดูแลตรวจสอบกระบวนการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตลอดชีวิต

           จากข้อสรุปและแนวคิดของผู้ทรงวุฒิต่างๆ ข้างต้น ในขณะนี้ทุกหน่วยงานทั้งในและนอก กระทรวงศึกษาธิการได้ตระหนักในความสําคัญของการปฏิรูปการเรียนรู้จึงได้พัฒนาแนวทางการ จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญอย่างหลากหลาย และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อาทิ หน่วยงาน ต่างๆ ดังต่อไปนี้
          สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2545, หน้า 8-10) ได้สรุปการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียน เป็นสําคัญ ไว้ดังนี้
          1. การจัดการศึกษาต้องเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและ ประสบการณ์การเรียนรู้ ยึดหลักดังนี้
          1.1 ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ดังนั้นจึงต้องจัด สภาพแวดล้อมบรรยากาศรวมทั้งแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ให้หลากหลายเพื่อเอื้อต่อความสามารถของแต่ละ บุคคล เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติที่สอดคล้องกับความถนัดและความสนใจเหมาะสม แก่วัยและศักยภาพของผู้เรียน เพื่อให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่และเป็นการเรียนรู้กัน และกัน อันก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง ชุมชน สงคม และประเทศชาติโดยการประสานความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองบุคคล ชุมชน และทุกส่วนของสังคม
          1.2 ผู้เรียนมีความสําคัญที่สุด การเรียนการสอนมุ่งเน้นประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสําคัญ จึงต้องจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกให้เกิดการใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

         2. มุ่งปลูกฝังและสร้างลักษณะที่พึงประสงค์ให้กับผู้เรียน โดยเน้นความรู้ คุณธรรม ค่านิยม ที่ดีงามและบูรณาการความรู้ในเรื่องต่างๆ อย่างสมดุล รวมทั้งการฝึกทักษะกระบวนการคิดการ จัดการอย่างมีวิจารณญาณ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ใช้ความรู้โดยให้ผู้เรียนมีความรู้ และประสบการณ์ในเรื่องต่างๆ ดังนี้
          2.1 ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคม โลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของสังคมไทยและ ระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
         2.2 ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและ ประสบการณ์ เรื่องการจัดการบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
        2.3 ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปวัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการรู้จัก ประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
        2.4 ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
        2.5 ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดํารงชีวิตอย่างมีความสุข
        3. กระบวนการเรียนรู้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้กําหนดแนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของสถานศึกษาและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
         3.1 จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรม ให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคํานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
        3.2 ให้มีการฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ เผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
        3.3 จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทําได้คิดเป็น ทําเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
       3.4 จัดการเรียนการสอน โดยผสมผสานความรู้ต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้ง ปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
       3.5 ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมสื่อการสอนและ อํานวยความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วน หนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
        3.6 ผู้เรียนและผู้สอนเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการ
ประเภทต่างๆ
        3.7 การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา เกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
         สํานักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร (อ้างใน สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543,หน้า 36-37) ได้ระบุถึงการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสําคัญ และมุ่งพัฒนาศักยภาพ ของผู้เรียนให้เป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข โดยมีกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทั้งหมด 11 กิจกรรม คือ
          1. กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านมนุษยสัมพันธ์ 
          2. กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านวิทยาศาสตร์และมิติสัมพันธ์ 
          3. กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านเหตุผลคณิตศาสตร์ 
          4. กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านภาษา 
          5. กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านดนตรี 
          6. กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านศิลปะ 
          7. กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านพลศึกษา 
          8. กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 
          9. กิจกรรมศูนย์เพื่อนเด็ก จิตวิทยาแนะนําและสภาพแวดล้อมในโรงเรียน 
         10. กิจกรรมศูนย์วิทยาการเป็นแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน 
         11. กิจกรรมการวัดและประเมินผลที่เสริมสร้างศักยภาพผู้เรียน
         สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2543, หน้า 31-32) ในฐานะหน่วย ปฏิบัติที่ดูแลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา ได้กําหนดแนวทางการ จัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสําคัญที่สุด เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ลักษณะ คือ
          1. การเรียนรู้อย่างมีความสุข เป็นสภาพการจัดการเรียนการสอนในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย มีอิสระยอมรับความแตกต่างของบุคคลมีหลากหลายในวิธีการเรียนรู้
          2. การเรียนรู้แบบองค์รวม เป็นการเรียนรู้สิ่งต่างๆ อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงต่อเนื่องกลมกลืน กันทั้งในเรื่องใกล้ตัวในท้องถิ่น สิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ เรื่องของสากล การเปลี่ยนแปลงและ แนวโน้มต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมโลก
          3. การเรียนรู้จากการเกิดและการปฏิบัติจริง เป็นการจัดการเรียนให้ได้ฝึกคิดและปฏิบัติจริง โดยฝึกจากประสบการณ์ตรงจากแหล่งความรู้ สื่อ เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบตัวต่างๆ แล้วสรุปเป็นองค์ความรู้แก่ตนเอง
          4. การเรียนรู้ร่วมกับบุคคลอื่น เป็นกระบวนการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กันโดยมีการ ถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ วัฒนธรรม อารมณ์และสังคมร่วมกันทําให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย
          5. การเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ของตนเอง เป็นการรับรู้ลีลาการเรียนรู้และความถนัดของ ตนเอง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนวิเคราะห์ ประเมินจุดดีจุดด้อย และปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ของ ตนเอง เพื่อ
นําไปสู่การปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ให้เหมาะสม
           จากแนวคิดและหลักการของการปฏิรูปการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสําคัญที่นําเสนอในข้างต้น สามารถนํามาเป็นกรอบในการออกแบบวิธีการจัดการเรียนรู้หรือวิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาได้ หลากหลายวิธี ได้แก่
             1. วิธีสอนแบบโครงงาน 
             2. วิธีสอนแบบ 4 Mat 
             3. วิธีสอนแบบร่วมมือ 
             4. วิธีสอนแบบซิปปา 
             5. วิธีสอนแบบบูรณาการ 
             6. วิธีสอนแบบใช้เส้นเล่าเรื่อง 
            7. วิธีสอนแบบปุจฉาวิสัชนา 
             8. วิธีสอนแบบโครงสร้างความรู้


ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฎิรูปการศึกษา



แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา

          การจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษายึดหลักการตามพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดผู้เรียนเป็น สําคัญ และมุ่งประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน ซึ่งเป็นความหมายเดียวกันกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง คือ การยึดผู้เรียนเป็นหลักวิธีนี้ ได้พัฒนาเป็นเวลานานมากกว่า 80 ปี แล้วปัจจุบันได้มีผู้ นําเสนอแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสําคัญ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่จะทําให้ผู้เรียน ไปสู่จุดหมายปลายทางที่พึงประสงค์ได้ 2 วิธี คือ

           1. การจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยผู้เรียนจะเป็นผู้ทํากิจกรรมเพื่อให้เกิด การเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้สอนเป็นผู้อํานวยความสะดวก ความรู้เป็นผลพลอยได้จากการทํากิจกรรม ระหว่างทํากิจกรรมเด็กผู้เรียนก็จะได้พัฒนาตนเอง ทางการคิด การปฏิบัติ การแก้ปัญหา การทํางาน ร่วมกัน การวางแผนการจัดการ และเทคนิควิธีการต่าง ๆ ที่เรียกว่าเรียนรู้วิธีการหาความรู้

           2. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นกระบวนการ หมายถึง การมีขั้นตอนต่างๆ ให้ ผู้เรียนได้แสดงออกหรือปฏิบัติโดยใช้ร่างกาย ความคิด การพูด เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ คือ ความรู้หลังจาก ทํากิจกรรมและมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคุณสมบัติทางความรู้ ความคิด ทักษะความสามารถ ทางการปฏิบัติ ตลอดทั้งเกิดเจตนาคติค่านิยมที่ดีงาม

           นอกจากนี้สํานักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ (2543, หน้า 7) ได้สรุปประเด็น สาระสําคัญของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญไว้ดังนี้

          ประเด็นที่ 1 การเรียนรู้โดยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง หมายถึง การเรียนรู้ที่เป็น กระบวนการสร้างประสบการณ์และสิ่งต่างๆ ที่ให้ความหมายต่อตนเองจากการปฏิสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อม โดยใช้กระบวนการคิดและแสวงหาความรู้ควบคู่ไปกับการปฏิบัติจริง ให้ผู้เรียนค้นพบ องค์ความรู้และประสบการณ์ด้วยตนเอง ครูเป็นผู้อํานวยการเรียนรู้ จัดบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมและ แหล่งวิทยาการให้เอื้อต่อการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการเรียนรู้

          ประเด็นที่ 2 การเรียนรู้เรื่องของตนเอง ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การเรียนรู้เพื่อ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจของตนเองการรับรู้และตระหนักในตนเอง สามารถ ปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมให้สอดคล้องกับค่านิยมที่ดีงาม ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม มี ความเพียรพยายามในการทําความดีอย่างไม่ย่อท้อ การเสริมสร้างลักษณะนิสัยและสุนทรียภาพความดี งามในตนเอง การเรียนรู้เพื่อให้สามารถดํารงชีวิตอยู่ได้อย่างสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพสังคม การ ตระหนักถึงคุณค่าและพัฒนาคุณภาพธรรมชาติสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 

          ประเด็นที่ 3 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการดํารงชีวิต และการประกอบอาชีพ มีลักษณะ

ดังนี้

           3.1 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการดํารงชีวิต หมายถึง การเรียนรู้ที่ทําให้ผู้เรียนมีทักษะ ชีวิตที่สําคัญและจําเป็น ดังต่อไปนี้ การรู้จักคิดวิเคราะห์วิจารณ์มีความคิดสร้างสรรค์ มีความ ตระหนักรู้ในตนเอง มีความเห็นใจผู้อื่น มีความภูมิใจในตนเอง มีความรับผิดชอบต่อสังคม รู้จักการ สร้างสัมพันธภาพและการสื่อสาร รู้จักตัดสินใจและแก้ปัญหา รู้จักจัดการกับอารมณ์และความเครียด

           3.2 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพ หมายถึง การเรียนรู้เพื่อค้นพบและ ใช้ศักยภาพของตน เพื่อเตรียมตัวประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับตนเอง รู้จักวิธีเลือกประกอบอาชีพที่ สุจริตเหมาะสม สามารถพึ่งตนเอง และเลี้ยงตนเองได้อย่างพอเพียงแก่อัตภาพ

          ประเด็นที่ 4 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหาโดยเน้นประสบการณ์และ การฝึกปฏิบัติ หมายถึง การใช้ทักษะการคิดเพื่อค้นหาคําตอบในสถานการณ์ต่างๆ โดยอาศัย ประสบการณ์และการฝึกปฏิบัติจริง เพื่อให้สามารถเผชิญและผจญกับปัญหาและจัดการกับภาวะต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมเป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม

          ประเด็นที่ 5 การเรียนรู้โดยผสมผสานความรู้ คุณธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ หมายถึง การเรียนรู้ที่มุ่งให้มีความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ควบคู่กับการพัฒนาตนเอง ทางจิตใจ บุคคลิกภาพ และลักษณะนิสัย

           ประเด็นที่ 6 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาประชาธิปไตย หมายถึง การเรียนรู้ในเรื่องสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและการปฏิบัติตามหน้าที่ของตน การเคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น โดยคํานึงถึง ความคิดเห็นและผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก

          ประเด็นที่ 7 การเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม หมายถึง การเรียนรู้เพื่อให้เกิด ความรู้ ความเข้าใจความตระหนักในคุณค่าของความรู้ต่าง ๆ ที่ได้คิดค้นและสั่งสมประสบการณ์โดย ภูมิปัญญาไทย ตลอดจนมีความรัก ชื่นชมและหวงแหนในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทย สามารถ นําไปใช้ประโยชน์ในชีวิตและสืบสานให้ยั่งยืนตลอดจนเชื่อมโยงสู่สากล

          ประเด็นที่ 8 การวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ หมายถึง การศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อ นํามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปผล เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของสถานศึกษา

           ประเด็นที่ 9 การเรียนรู้โดยความร่วมมือของครอบครัวและชุมชน หมายถึง การที่ครอบครัว ชุมชนและสถานศึกษามีบทบาทร่วมกันในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เพื่อให้เรียนรู้ได้ อย่างเต็มตามศักยภาพ

           ประเด็นที่ 10 การประเมินผลผู้เรียน หมายถึง กระบวนการพิจารณาตัดสินคุณภาพ คุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้เรียนว่าเป็นไปตามจุดประสงค์การเรียนรู้หรือไม่อย่างไร

          ดังนั้น แนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่จะทําให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีควรจะต้องเป็นการ เรียนการสอนที่ดี ซึ่งการเรียนการสอนที่ดีมีควรมีลักษณะดังนี้

           1. ต้องคํานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 
           2. ต้องยึดความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก 
           3. ต้องพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน 
          4. ต้องเป็นที่น่าสนใจ ไม่ทําให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่าย 
          5. ต้องดําเนินไปด้วยความเมตตา กรุณาต่อผู้เรียน 
          6. ต้องท้าทายให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ 
          7. ต้องตระหนักถึงเวลาที่เหมาะสมที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ 
           8. ต้องสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง 
           9. ต้องสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ 
          10. ต้องมีจุดมุ่งหมายของการสอน 
          11. ต้องสามารถเข้าใจผู้เรียน 
          12. ต้องคํานึงถึงภูมิหลังของผู้เรียน 
           13. ต้องไม่ยึดวิธีการใดวิธีหนึ่งเท่านั้น
           14. การเรียนการสอนที่ดีเป็นพลวัตร (Dynamic) คือ มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ได้ ตลอดเวลาทั้งในด้านของการจัดกิจกรรม การสร้างบรรยากาศ รูปแบบ เนื้อหาสาระ เทคนิควิธี
          15. ต้องสอนในสิ่งที่ไม่ไกลตัวผู้เรียนมากเกินไป 
          16. ต้องมีการวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ



ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

ความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฎิรูปการศึกษา



ความจําเป็นในการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา

           สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2543, หน้า 4-5) จําเป็นในการจัดการเรียนรู้หรือปฏิรูปการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา ซึ่งสามารถสังเคราะห์ได้ ดังนี้

         1. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของคนไทย การปฏิรูปวัฒนธรรมการ 4. ช่วยพัฒนาคนไทยให้เป็นคนที่มีความรู้คู่คุณธรรม ตระหนักในคุณค่าของตนเอง ผู้อื่นและสรรพสิ่งทั้งหลาย รู้จักควบคุมตนเองให้อยู่ในครรลองแห่งความดีงาม รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน ๆ เหตุผลยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพกติกาของสังคม มีความขยัน ซื่อสัตย์ และเสียง ส่วนรวม มีความสามารถในการใช้ศักยภาพของสมองได้ทั้งซีกซ้ายและซีกขวาอย่างได้สัดส่วน กัน คือ ความสามารถในด้านการใช้ภาษาสื่อสาร การคิดคํานวณ การคิดวิเคราะห์แบบวิทยาศาสต คิดเป็นระบบ สามารถใช้สติปัญญาอย่างเฉลียวฉลาดลึกซึ้งเพื่อเรียนรู้ให้บรรลุ ความจริง ความดี ความงามของสรรพสิ่ง เป็นคนที่มีสุขภาพกายดี มีวุฒิภาวะทางอารมณ์บุคคลิกภาพร่าเริง แจ่มใส จิตใจอ่อนโยนและเกื้อกูล มีมนุษยสัมพันธ์ดี เผชิญและแก้ปัญหาได้ ดํารงชีวิตอย่างอิสระและอยู่ ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

        2. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนความเข้มแข็งของสังคมไทย ให้สมาชิกของสังคมมีจิตสํานึก ร่วมกันในการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหาของส่วนรวม มีการบริหารอย่างถูกต้องแยบยน ลด ความขัดแย้ง ทุกคนมีความรับผิดชอบที่จะนําพาสังคมให้ก้าวหน้าและเข้มแข็ง

        3. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและบริบทการเรียนรู้ในยุคโลกาภิวัตน์ การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องจัดให้สอดคล้องกับโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่วิทยาการเจริญรุดหน้า ความรู้ และสรรพวิทยาการเดินทางไปในที่ต่าง ๆ ด้วยความรวดเร็วข้อมูลและข่าวสารต่างๆ เกิดขึ้น และ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผู้เรียนต้องมีความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และรู้จักสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสารเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตของ ตน ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ

        4. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน การปฏิรูปการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ครู ผู้สอน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และสังคมไทย ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการค"
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 เป็น เปิดแนวทางให้ครู พ่อแม่ ผู้ปกครองและชุมชนมีอิสระในการอบรมเลี้ยงดูให้การศึกษา จัดหลก อันจะเป็นการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน

         5. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย การปฏิรูปการเรียนรู้เป็นหัวใจของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 จึงเป็นภารกิจที่มีกฎหมายรองรับ ครูอาจารย์และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องถือปฏิบัติให้บรรลุผลสําเร็จตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย




ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

การจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฎิรูปการศึกษา



การจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา


          โฉมหน้าการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน มุ่งไปสู่การให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ซึ่งการ เรียนรู้มิใช่เป็นเพียงการเรียนเพื่อรู้เท่านั้น แต่เป็นการเรียนเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์เรียนเพื่อรู้จัก ตนเอง เรียนเพื่อรู้จักอยู่ร่วมกับผู้อื่น เรียนรู้เพื่อการเจริญงอกงามทั้งร่างกายและจิตใจ เรียนรู้เพื่อการ ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ต่างๆ ได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นแกนหลักของการปฏิรูป และเป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา ดังที่ ประเวศ วะสี (2541, หน้า 68) กล่าวว่า การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้เป็นหัวใจของการปฏิรูป การศึกษาเพราะเป็นการปฏิรูปแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษา จากเดิมที่การมองคนเป็นวัตถุที่จะต้องหล่อ หลอมปั้นตกแต่งโดยการสั่งสอน อบรม ไปเป็นการมองคนในฐานะคนเป็นผู้มีศักยภาพในการเรียนรู้ และงอกงามอย่างหลากหลาย
          สําหรับประเทศไทยได้จัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษามาระยะหนึ่ง โดยมี พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 เป็นแม่บท หรือเทศทางและนําลงสู่การปฏิบัติด้วยการกําหนดเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องและสําคัญหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 และพัฒนาเป็นหลักสูตรสถานศึกษาสําหรับสถานศึกษาแต่ละ แห่งตามความเหมาะสม จากผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษานี้ พบว่า บางพื้นที่ยังมี ปัญหาอยู่บ้าง ตัวอย่างเช่น ผลการวิจัยของสําราญ ตติชรา (2547, หน้า 1) การศึกษาปัญหาการ จัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสํานักงานการ ประถมศึกษาอําเภอเมืองตราด พบว่า การจัดการเรียนการสอนหรือการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูป การศึกษาของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสํานักงานการประถมศึกษาอําเภอเมืองตราด ยังมี ปัญหาอยู่หลายประเด็นตามลําดับ คือ การประชาสัมพันธ์การสอน การจัดทําหลักสูตรท้องถิ่น การ สอนที่เน้นกระบวนการคิด วิเคราะห์ การจัดสภาพแวดล้อมทางการสอน การให้ชุมชนมีส่วนร่วมใน การจัดการเรียนการสอน การประเมินผลตามสภาพจริง การสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสําคัญ การทํา อในชั้นเรียน การให้ผู้เรียนค้นคว้าด้วยตนเอง และเมื่อเปรียบเทียบปัญหาต่างๆ ในการจัดการ นรู้ปรากฏว่าผลของปัญหาไม่แตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามการปฏิรูปการศึกษาจําเป็นจะต้องศึกษาและทําความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานเรื่องนี้ อย่างถ่องแท้ จนสามารถนําไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2561

รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง



รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง


          ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีรูปแบบการเรียนรู้ วิธีการและการ จัดการเรียนการสอนที่หลากหลายกล่าวคือ

          รูปแบบการเรียนรู้หลากหลาย เช่น การเรียนรู้แบบสืบสวน การเรียนรู้การใช้เหตุผลเชิง จริยธรรม การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบโครงงาน การเรียนรู้แบบกระบวนการทาง ปัญญาการเรียนรู้โดยใช้แผนการออกแบบประสบการณ์วิธีการจัดการเรียนการเรียนการสอนที่ หลากหลาย เช่น เกมการศึกษา สถานการณ์จําลอง กรณีตัวอย่าง บทบาทสมมติ การแก้ปัญหา โปรแกรมสําเร็จรูป ศูนย์การเรียน ชุดการเรียน คอมพิวเตอร์ 

          การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
          ในชั้นเรียนหนึ่งๆ จะมีความแตกต่างระหว่างบุคคลอยู่มาก ไม่มีใครสองคนที่เหมือนกันทุก ประการ แม้กระทั่งลูกแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน และผู้เรียนแต่ละคนก็จะมีสไตล์การเรียนรู้ที่เป็น ของตัวเอง และมีความถนัดในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันทั้ง 4 แบบ (จิตนาการ วิเคราะห์ สามัญสํานึก เรียนรู้ด้วยตนเอง : พลวัต) เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข สนุกสนานและมีส่วนร่วมในรูปแบบ

          การสอนโดยใช้วิธีบทบาทสมมติ
           บทบาทสมมติเป็นรูปแบบการสอนที่มีรากฐานมาจากแนวคิดทางการศึกษาของบุคคลและ สังคมที่จะช่วยให้หาลักษณะเฉพาะของตนในสังคม และรู้จักแก้ปัญหาด้วยความช่วยเหลือของกลุ่ม สังคมยอมรับให้บุคคลทํางานด้วยกันเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหา ระหว่างบุคคล และพัฒนาวิถีประชาธิปไตยเพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ เราใช้บทบาทสมมติใน การแก้ปัญหาครอบครัวของมนุษย์ เพราะว่าสังคมเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการของมนุษย์ และ บทบาทสมมติได้รับการนําเสนอว่าจะแก้ปัญหาระหว่างบุคคลและสังคมได้
          สาระสําคัญของบทบาทสมมติ อยู่ที่การมีส่วนร่วมในสถานการณ์จริง รวมถึงความ ปรารถนาในการแก้ปัญหาและความเข้าใจ กระบวนการของบทบาทสมมตินําพฤติกรรมง่ายๆ ของ มนุษย์ที่ทําให้ผู้เรียนได้มีโอกาส แสดงความรู้สึก พัฒนาเจตคติ ค่านิยม และการรับรู้ พัฒนาทักษะ การแก้ปัญหาและเจตคติในการแก้ปัญหา และมองสิ่งต่างๆ ด้วยมุมมองที่หลากหลายเป้าหมายเหล่านี้ สะท้อนสมมติฐานของบทบาทสมมติดังนี้
          1. บทบาทสมมติสนับสนุนการเรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์ 
          2. บทบาทสมมติสามารถทําให้ผู้เรียนแสดงความรู้สึกที่จริงใจ
          3. อารมณ์และความคิดสามารถจะนําไปสู่ความมีสติและปฏิกิริยาของกลุ่มเพื่อจะนําไปสู่ ความคิดใหม่ๆ
          4. กระบวนการทางจิตวิทยาที่แฝงอยู่จะสร้างความมีสติด้วยการประสานกันของการแสดง และวิเคราะห์ 

          การสอนโดยอาศัยการเรียนรู้บนพื้นฐานของปัญหา
          ปกติคนไทยโดยทั่วไปมักจะไม่ค่อยกล้าแสดงออกซึ่งความคิดเห็นของตนในที่สาธารณะ มากนัก แต่มักจะเก็บไปบ่นหรือปรารถนากันตามลําพัง ซึ่งไม่เกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ นั้นอาจเป็นเพราะว่าในวัยเด็กไม่ได้รับการฝึกหรือกระตุ้นให้เกิดความคิด และกล้าที่จะเสนอความ คิดเห็นของตนต่อที่ประชุมชน ดังนั้น การนําวิธีการเรียนรู้บนพื้นฐานของปัญหาหรือบางครั้งเรียกว่า วิธีการแก้ปัญหาสมมติ หรือการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ซึ่งต่อไปจะเรียกว่าการเรียนด้วยวิธี ปัญหาสมมติ มาใช้ในการจัดการเรียน การสอนจะเป็นการช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งเรียกว่าคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ซึ่งเชื่อว่าเป็นวิธีการฝึกคนให้มีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ความหมาย ของการเรียนด้วยวิธีปัญหาสมมติมีหลากหลาย แต่ที่เหมาะสมมากที่สุดคือ ความหมายที่ให้โดยเบาห์ และแฟลแลทที่ ซึ่งกล่าวว่า การเรียนด้วยวิธีปัญหาสมมติเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรและวิธีการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นและเน้นที่กิจกรรมของผู้เรียน ไม่ใช้วิธีการเรียนการแก้ปัญหาในหลักสูตรเดิมอย่างง่ายๆแต่เป็นวิธีจัดหลักสูตรให้มีกิจกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้น โดยอาศัย เป็นจริงในการปฏิบัติของวิชาชีพนั้นเป็นตัวแกนหลักสูตร การเรียนด้วยวิธีการปัญหาสมมติ จะเริ่มต้นด้วยการให้ปัญหาที่เป็นสถานการณ์จริงแก่ผู้เรียนก่อน แทนที่จะให้ความรู้ทางสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องก่อนเพื่อแก้ปัญหา ด้วยวิธีนี้หลักสูตรและการสอนจึงนําผู้เรียนไปสู่การแสวงหาวิชา ความรู้ และทักษะด้วยตนเอง โดยผ่านขั้นการแก้ปัญหาที่จัดไว้ให้โดยอาศัยวัตถุการเรียนการสอนและ ที่กําหนดให้ตามหลักสูตร 

          การเรียนรู้แบบร่วมมือกันในชั้นเรียนบูรณาการ
          เนื้อหาในส่วนนี้มุ่งทบทวนวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือกันในชั้นเรียนปกติ ซึ่งรวมถึง นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษด้วย การอภิปรายมุ่งเน้นที่ข้อได้เปรียบของโครงสร้างเป้าประสงค์ใน การร่วมมือกัน รูปแบบของการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน ตลอดจนตรรกะของการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน โครงสร้างของสิ่งจูงใจที่มีประสิทธิภาพและปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนําไปใช้
           เมื่อกว่ายี่สิบปีที่ผ่านมาได้มีการประชุมที่เมืองเทลาวีฟ ประเทศอิสราเอล และมีการจัด องค์กรเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้แบบร่วมมือกันระหว่างประเทศมีสํานักงานที่เมืองลอสแองเจลลีส ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีสมาชิกหลายประเทศแต่ละปีจะมีการจัดสัมมนาโดยประเทศต่างๆผลัด กันเป็นเจ้าภาพและมีหนังสือชื่อ (Cooperative Learning) ออกวางตลาดองค์กรดังกล่าวนี้เพิ่มการ เติบโตประมาณยี่สิบกว่าปี หนังสือพิมพ์ ได้วิจารณ์ว่ากระบวนการนี้เขย่าวงการศึกษา ต่อไปนี้ วงการศึกษาจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง โดยเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมให้มากขึ้น งานในปัจจุบันส่วน ใหญ่ต้องการคนทํางานร่วมกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป 

           ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน
          ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบร่วมมือกันในที่นี้ จะหมายรวมถึงนิยาม ลักษณะและ องค์ประกอบพื้นฐาน โครงสร้างทางทฤษฎีและกิจกรรมเริ่มต้น อุ่นเครื่อง นิยาม

           การเรียนรู้แบบร่วมมือกันเป็นการเรียนรู้ที่เน้นการร่วมมือกันของสมาชิกในทีมและระหว่าง ทีม กล่าวคือนักเรียนในแต่ละทีมต้องให้ความร่วมมือกันและสนับสนุนกันภายในทีมของตน

           เป้าหมาย เป็นเป้าหมายของการเรียนรู้ที่ประสงค์จะให้เกิดความเชี่ยวชาญ รอบรู้ในวิชา เรียนสามารถทําทุกอย่างได้มากไปกว่าที่เขียนไว้ในหนังสือ เน้นกระบวนการคิดและใช้เวลาในการ ไตร่ตรอง

           วิธีการเรียนรู้ หมายถึงว่า จะทําอย่างไร จึงจะนําไปสู่ความเชี่ยวชาญได้ ซึ่งมีอยู่ : รูปแบบด้วยกันคือ รูปแบบแรกเป็นวิธีการทางบวก คือ แบบพึ่งพากับหรือแบบร่วมมือกัน แบบที่สองเป็นวิธีการที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นลบในบางโอกาส คือ การแข่งขันกัน และแบบสุดท้าย เป็น กลางหรือเรียกว่าตัวคนเดียว กล่าวคือ
          1. วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ 
          2. การเรียนรู้แบบแข่งขันกัน 
         3. วิธีการเรียนรู้แบบตัวคนเดียว
           จอห์สันและจอห์สัน (Johnhon&Johnhon, 1991) จัดให้มียุทศาสตร์ 5 ประการที่อนุญาตให้ เรียนรู้แบบร่วมมือกันไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพในเชิงวิชาการด้านใดๆคือ
         1. ระบุจุดประสงค์ของบทเรียนให้ชัดเจน 
         2.ตัดสินใจในการกําหนดให้นักเรียนอยู่ในกลุ่มการเรียนรู้ใดก่อนที่จะสอน 
         3. อธิบายภาระงาน โครงสร้างของเป้าประสงค์และกิจกรรมการเรียนรู้อย่างชัดเจน 
         4. เฝ้าระวังประสิทธิผลของกลุ่ม และคอยให้ความช่วยเหลือ
         5. ประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน 

ลักษณะและองค์ประกอบพื้นฐาน
           1. ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน หรือการพึ่งพาในทางบวก
           2. ความสัมพันธ์แบบหันหน้าเข้าหากัน 
           3. มาตรฐานการตรวจสอบรายบุคคล 
          4. การใช้ทักษะระหว่างบุคคลและทักษะการทํางานกลุ่มย่อย
          5. การใช้กระบวนการกลุ่ม 

รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน
           การเรียนแบบร่วมมือกันมีหลายรูปแบบ แต่รูปแบบที่นิยมใช้กันมากในประเทศ สหรัฐอเมริกามี 7 รูปแบบ คือ แบบรวมหัวกันคิด แบบร่วมมือกัน แบบประสานความรู้ แบบประชุม ตะ กลมแบบสนทนาโต๊ะกลม แบบอาศัยผลสัมฤทธิ์ของทีมและแบบเกมแข่งขัน กล่าวคือ 

แบบรวมหัวกันคิด
           แบบรวมหัวกันคิด เมื่อครูต้องการสอบความรู้ความเข้าใจของนักเรียนในเรื่องที่ครูสอนไป แล้ว ตามวิธีการแบบดั้งเดิมครูจะใช้วิธีเรียกชื่อนักเรียนตอบคําถามทีละคน หรือนักเรียนยกมือเพื่อ ตอบคําถามแล้วคนก็เรียกนักเรียนคนใดคนหนึ่งให้ตอบคําถาม จุดอ่อนของวิธีดังกล่าวคือ จะมี นักเรียนเพียงไม่กี่คนในห้องที่จะได้ตอบคําถาม นักเรียนส่วนใหญ่ที่ไม่มีโอกาสตอบคําที่จะเกิด ความรู้สึกผิดหวัง ไม่มีส่วนร่วมเป็นสาเหตุ

แบบร่วมมือกัน
          การเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มขนาดเล็กได้ทํางานร่วมกับ การเรียนรู้แบบร่วมมือกัน เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มขนาดเล็ก มากที่สุด โดยเอาความรู้ความเข้าใจสมาชิกของกลุ่มบูรณาการเป็นผลงานของกลุ่ม และ หรือประสบการณ์ที่ได้นําเสนอต่อสมาชิกในชั้นเรียน เพื่อให้สมาชิกคนอื่นๆ ได้รับอน ประสบการณ์ที่กลุ่มไปศึกษานั้นด้วย ขั้นตอนในการปฏิบัติของการเรียนแบบนี้มี 10 ขั้นตอน
           1. การอธิปรายทั้งชั้นเรียนโดยให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง 
           2. การคักเลือกกลุ่มนักเรียน 
           3. การสร้างทีมพัฒนาทักษะ
           4. การคัดเลือกหัวเรื่อง 
           5. การคักเลือกหัวข้อย่อย
           6. การเตรียมหัวข้อย่อย 
           7. การนําเสนอหัวข้อย่อย 
           8. การเตรียมเสนอผลงานของทีม 
           9. การนําเสนอผลงานของทีม 
          10. การประเมินผลด้วยวิธีการสามอย่างคือ
               10.1 สมาชิกในทีมงานประเมินผลงานของแต่ละคนที่นําเสนอหัวข้อย่อยในทีมของตน เพื่อนร่วมชั้นประเมินผลงานของแต่ละทีมที่นําเสนอต่อชั้นเรียน
               10.2 ครูประเมินในส่วนที่เป็นรายงานเฉพาะบุคคล 

แบบประสานความรู้
           การเรียนในลักษณะประสานความรู้ เริ่มต้นโดยการแบ่งนักเรียนในชั้นเรียนออกเป็นกลุ่ม ย่อย ครูให้หัวข้อหรือปัญหาแล้วแบ่งหัวข้อให้สมาชิกแต่ละคนไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ด้วย วิธีการต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ ทั้งนี้เมื่อแต่ละคนได้ความรู้มาแล้วก็จะนําไปร่วมศึกษากับสมาชิก กลุ่มอื่นที่ได้หัวข้อเหมือนตนเอง จนได้ความรู้เพิ่มเติม ครบบริบูรณ์ การอภิปรายงานกลุ่ม โดยมีขั้นตอนดังนี้
             1. ครูแจ้งเรื่องที่จะเรียน จะเรียนอย่าง หรือจะขยายความรู้อย่างไร ติดภาพไว้ให้เด็กเคย กิจกรรมที่จะจัด
             2. จัดกลุ่ม/ทีม ถ้ากลุ่มเดิมยังไม่หมดอายุ ก็ให้ใช้ก่อน (ประมาณ 6 สัปดาห์) หากหมดอายุแล้ว 
ก็จัดกลุ่มใหม่
             3. แบ่งงานศึกษาเรื่องที่กําหนด 
             4. ศึกษากับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
             5. รายงานผลหรือให้ความรู้กับผู้ร่วมทีม 
             6. ทดสอบ คํานวณคะแนน และประเมินผล
            7.การยอมรับของกลุ่ม/ทีม และให้การชมเชย แบบประชุมโต๊ะกลม

การประชุมโต๊ะกลม 
             เป็นกระบวนการเรียนแบบร่วมมือกัน ซึ่งเป็นการฝึกให้นักเรียนได้ แสดงความคิดเห็นด้วยการเขียนลงบนกระดาษ จากปัญหาเดียวกัน เหมาะกับนักเรียนที่เขียนหนังสือ ได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้
              1. การเสนอปัญหา โดยครูจะถามคําถามซึ่งมีคําตอบหลายคําตอบ
              2. คําตอบของนักเรียน ให้นักเรียนเขียนคําตอบของตนลงในกระดาษแผ่นเดียวกันเวียนทาง เดียวกันจนครบทุกคน 

การสอนด้วยวิธีการคิดแบบหมวกหกใบ
             ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนให้ได้คุณภาพสูง ต้องอาศัย การคิด และการสอนให้คิด วงการศึกษาไทยได้มีความเคลื่อนไหวในเรื่องของการคิดมาหลายปีแล้ว ความคิดเหล่านี้ทําให้เกิด แนวคิดที่จะนํามาใช้ในการสอนหลายเรื่อง เช่น แนวการสอนคิดเป็น ทําเป็น และแก้ปัญหาเป็น การสอนตามแนวพุทธศาสตร์ ซึ่งได้แก่ การคิดอย่างถูกวิธีตามหลักโยนิโสมนสิกา และการสอน แผนที่ความคิด แต่แนวคิดเหล่านี้ยังไม่ได้นําไปใช้อย่างกว้างขวาง และปัญหาด้านคุณภาพของการ คิดขั้นสูงก็ยังคงมีอยู่เรื่อยมา เมื่อมีการปฏิรูปการศึกษาเกิดขึ้น การมุ่งเน้นการปฏิรูปการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพด้านกระบวนการคิด จึงเป็นกระบวนการสําคัญที่จําเป็นต้องเร่งปรับและพัฒนา อย่างจริงจัง การสอนกระบวนการคิดหรือการสอนให้ผู้เรียนคิดเป็น เป็นเรื่องที่คลุมเครือ เพราะ กระบวนการคิดไม่มีเนื้อหาที่ครูจะสามารถมองเห็นได้ง่าย และนําไปอธิบายได้ง่าย หรือเพราะผู้สอน ไม่สามารถก้าวเข้าไปในห้องสมองของเด็กเพื่อที่จะสังเกตองค์ประกอบของกระบวนการเรียนรู้ จะสังเกตได้เพียงผลที่ได้รับขั้นสุดท้ายของกระบวนการที่ซ่อนอยู่เท่านั้นการคิดเป็นกระบวนการ ดังนั้นการสอนจึงเป็นกระบวนการด้วย

แนวการสอนเพื่อพัฒนาความคิดมีสามแนวทาง
             1. การสอนเพื่อพัฒนาการคิดโดยตรง ด้วยการใช้สื่อการเรียนการสอนประเภทบทเรียน สําเร็จรูป หรือกิจกรรมสําเร็จรูป
            2. การสอนเนื้อหาสาระต่างๆ โดยใช้รูปแบบหรือกระบวนการสอนที่เน้นการพัฒนาการคิด สอนลักษณะนี้มุ่งรวมเนื้อหาสาระตามจุดประสงค์ของหลักสูตร แต่เพื่อช่วยให้การสอนเป็นการ
นาความสามารถในการคิดของผู้เรียนไปในตัว ผู้สอนสามารถนํารูปแบบการสอนเป็นการ ช่วยพัฒนาความสามารถในการคิดของผู้เรียนไปในตัว
           3. การสอนเนื้อหาสาระต่างๆ โดยพยายามส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาลักษณะการคิดแบบ รวมทั้งทักษะการคิดทักษะย่อยและทักษะผสมผสานในกิจกรรมการเรียนการสอน

           หมวกหกใบ เป็นตัวแทนของการคิดหกลักษณะ และเป็นทิศทางที่นําไปสู่การคิด ที่จะให้ชื่อว่าเป็นความคิด นั่นคือ เป็นหมวกที่ใช้ในเชิงรุกมากกว่าที่จะใช้ในเชิงรับ(ตอบสนอง)
           จุดประสงค์สําคัญ คือว่า หมวกแต่งใบจะเป็นทิศทางในการคิด มากกว่านี้ ความคิด เหตุผลทางทฤษฎีที่สําคัญในการใช้การคิดแบบหมวกหกใบ คือ 1. ส่งเสริมความคิด คู่ขนาน 2. ส่งเสริมการคิดที่เต็มรูปแบบ 3. แยกตัวเองออกจากการปฏิบัติ
          ความคิดแบบหมวกสีขาว ความคิดแบบหมวกสีขาวจะครอบคลุมความต้องการจําเป็น สาระสนเทศและช่องว่างที่เกี่ยวกับข้อความจริงและตัวเลข ไม่ถกเถียงกันว่าข้อมูลใครดีกว่ากัน ไม่ว่า เรื่องความคิดส่วนตัวมาพูด แต่ให้ดูพื้นฐานจากข้อมูลต่างๆแสดงถึงความเป็นกลาง ถ้าจะตั้งคําถาม ให้เกิดความคิด ก็จะถามว่า มีข้อมูลอะไรบ้าง ต้องการข้อมูลอะไร และข้อมูลที่ต้องการจะได้มาด้วย วิธีใด ตัวอย่างเช่น การสอนความคิดเกี่ยวกับดอกทานตะวัน ข้อมูลและข้อความจริงเกี่ยวกับดอก ทานตะวันคือ 1. ดอกสีเหลืองใหญ่ ใบสีเขียวหนา มีขน 2. ดอกจะหันหน้าไปรับแสงอาทิตย์ 3. มีเมล็ดเล็กๆรวมกลางดอกมาก 4. เมล็ดใช้ทําน้ํามันและใช้รับทานได้ 5. ดอกบานในฤดูหนาว 6. สัญลักษณ์ของพรรคความหวังใหม่

          ความคิดแบบหมวกสีแดง ความคิดแบบหมวกสีแดงครอบคลุมเรื่องของสัญชาตญาณ ความรู้สึกอารมณ์ หมวกสีแดงจะยอมให้ผู้คิดใช้สัญชาตญาณ โดยปราศจากการตัดสิน ความรู้สึกและ สัญชาตญาณ โดยปกติแล้วสามารถนําไปสู่การอภิปรายได้ถ้าอาศัยตรรกะเป็นหลักโดยปกติแล้ว ความรู้สึกก็เป็นของแท้ แต่เหตุผลจะเป็นของปลอม ความคิดแบบหมวกแดงจะอนุญาตเต็มที่ให้ผู้คิด ใส่ความรู้สึกไปในเรื่องที่กําลังคิดกันอยู่ในขณะนั้น ถ้าจะตั้งคําถามให้เกิดความคิดก็จะถามว่า ผู้สอน อย่างไร ผู้เรียนรู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่ทํา และผู้เรียนมีความรู้สึกอย่างไรกับความคิดนี้ตัวอย่างความรู้สึก และอารมณ์ที่มีต่อดอกทานตะวัน เช่น 1. ฉันชอบดอกทานตะวันเพราะดอกใหญ่ มีสีสันสดใส สวยงาม ให้ความรู้สึกแข็งแรง 2. ใบมีขนและรู้สึกคันเมื่อเข้าใกล้ 3. ทุ่งทานตะวันดูเหลืองอร่ามนาตน ตาตื่นใจ

           ความคิดแบบหมวกดํา ความคิดแบบหมวกดําจะเป็นเรื่องของการใช้ดุลพินิจพิจารณา ข้อความระวัง เป็นหมวกที่มีคุณค่ามากที่สุด ไม่ได้เป็นหมวกที่มีความรู้สึกผิดหรือด้อยคุณคา 8 เป็นหมวกที่ให้ความรู้สึกในทางลบ หมวกดําจะใช้ในการชี้ว่าทําไมข้อเสนอแนะจึงไม่สอดคล้องกับ ข้อความจริง ประสบการณ์ที่มีอยู่ ระบบที่ใช้อยู่ หรือนโยบายที่ปฏิบัติอยู่หมวกสีดําต้องใช้เหตุผลหร ตรรกะเสมอในการตรวจสอบหาหลักฐาน ตรวจสอบหาความเป็นเหตุเป็นผลตรวจสอบ ความเป็นไปได้ ตรวจสอบผลกระทบ ตรวจสอบความเหมาะสม และตรวจสอบหาความ
หาความบกพร่องและหากตั้งคําถามให้คิด จะถามว่า อะไรคือจุดอ่อน อะไรคือสิ่งที่ยุ่งยาก อะไรคือสิ่งที่พลาด และเรื่อง สุจดอ่อนที่ใด ตัวอย่างความคิดเรื่องดอกทานตะวัน เช่น 1. คนที่จะไปเที่ยวจะทําลายต้นไม้ทําให้เกิด
รามเสียหายหรือไม่ 2. ใบทานตะวันมีขนถูกแล้วจะคันหรือไม่ และ 3. แมลงวันในทุ่งทานตะวัน มีมาก เป็นแมลงมลพิษ เป็นอันตรายหรือไม่

           ความคิดแบบหมวกสีเหลือง ความคิดแบบหมวกสีเหลืองเป็นความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล ทางบวก ทําไมบางสิ่งบางอย่างจึงทําได้ และทําไมบางสิ่งบางอย่างจึงให้ประโยชน์เป็นความคิดที่ สามารถมองไปข้างหน้าถึงเหตุผลของการปฏิบัติ หรือสามารถใช้ในการดูผลลัพธ์ที่จะตามมาของการ นําเสนอการกระทําของคนบางคนแต่ใช้ในการค้นหาอะไรบางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นแล้วอย่างมีคุณค่า และหากตั้งคําถามให้คิดว่า จุดที่ดีคืออะไร ผลดีคืออะไร ตัวอย่างความคิดเรื่องทางบวกให้กําลังใจ ให้ ความมั่นใจ ยอมรับหรือประโยชน์ที่จะได้มาจากดอกทานตะวัน 1. ทําให้การท่องเที่ยวของเมืองลพบุรี คึกคัก 2. เศรษฐกิจและการค้าของคนลพบุรีจะดีขึ้น 3. คนรู้จักเมืองลพบุรีมากขึ้นเพราะทุ่งดอก ทานตะวัน และ 4. ทานตะวันเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ของจังหวัดลพบุรี

           ความคิดแบบหมวกสีเขียว ความคิดแบบหมวกสีเขียว เป็นการนําเสนอความคิดที่ สร้างสรรค์ มีทางเลือกหลากหลาย น่าสนใจ ท้าทาย และมีการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างคําถามคือผู้เรียน จะนําความคิดนี้ไปทํา (สร้าง ปรับปรุง พัฒนา) อะไรได้ ถ้าจะให้สิ่งนี้ (ดีขึ้น) จะต้องเปลี่ยนอย่างไร ตัวอย่างความคิดสร้างสรรค์และความคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับดอกทานตะวัน เช่น 1. จะจัดทัวร์ ทุ่งทานตะวันอย่างไรจึงจะน่าสนใจ 2. น่าจะมีการประดิษฐ์ดอกไม้ผ้าเป็นดอกทานตะวัน 3. น่าจะเป็น การนําเมล็ดทานตะวันมาทําอาหารแปลกๆ 4. ควรเก็บค่าเข้าชมทานตะวันเพื่อนํารายได้มาพัฒนา ทุ่งทานตะวัน และ 5. น่าจะมีการแต่งกลอนชมดอกทานตะวันและทุ่งทานตะวัน

           ความคิดแบบหมวกสีน้ําเงิน การคิดแบบหมวกสีน้ําเงิน เป็นการมองภาพรวมหรือเป็น หมวกที่ควบคุมกระบวนการ จะไม่ดูที่เนื้อหาวิชาเอง แต่จะคิดเกี่ยวกับเนื้อหารายวิชานั้นๆ หมวกสีน้ํา เงินทําให้ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนของตนเอง สามารถติดตามความผิดพลาด และความเชื่อผิดๆ ของตนเอง เพื่อแก้ไขให้ถูกต้องเป็นตัวแทนของการควบคุมกระบวนการคิดให้ประสานกัน หมวกสี นําเงินจะเกี่ยวข้องกับการคิดที่ยิ่งใหญ่ ตัวอย่างคําถาม เช่น การคิดอะไรที่ต้องการ ขั้นตอนต่อไปนี้คือ อะไร และการคิดอะไรที่ทําไปก่อนแล้ว ดังนั้นผู้เรียนจะต้องนําข้อมูลที่ได้มาจัดหมวดหมู่เรียงลําดับ ขั้นตอน และเรียบเรียงเป็นโครงเรื่องเกี่ยวกับดอกทานตะวันเพื่อที่จะนําไปเรียบเรียงเนื้อหาให้ สมบูรณ์ต่อไป ในขั้นตอนนี้ผู้เรียนจะเลือกข้อมูลมาจัดหมวดหมู่แล้วคิดเพิ่มเติมหรืออาจจะศึกษา ความรู้จากแหล่งอื่นๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ขึ้น จะเห็นได้ว่าหมวกความคิดใบที่หกสี สามารถ นามาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจการการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้เกิดทักษะการคิด การพูด การเขียนไปตามเนื้อหาสาระของวิชานั้นๆ ได้ ผู้สอนก็จะมีคําถามหรือแนวทางที่กระตุ้นความคิดของผู้เรียนได้อย่างหลากหลาย
           เดอ โบโน ได้ยกตัวอย่างการนําวิธีคิดแบบหมวกหกใบใช้ในการบริหารองค์กร
, ประชุมแทนสิ่งที่ทุกคนจะตั้งหน้าตั้งตาเหตุผลมาหักล้างกัน ผู้บริหารอาจเริ่มให้ทุกคน ขาว คิดค้วยการนําเสนอข้อมูลข่าวสารของแต่ละคนออกมา ไม่ต้องวิเคราะห์หรือถูกเอียง ของใครดีกว่ากัน ต่อมาถึงขั้นตอนการคิดแบบหมวกสีแดง ทุกคนแสดงอารมณ์ความรู้สึกใจ ได้อย่างเต็มที่ จากนั้นเป็นหมวกสีดํา ขั้นตอนของการใช้เหตุผล วิเคราะห์ ตั้งข้อสังเกตข้อความ ตามด้วยหมวกสีเหลือง ซึ่งเป็นหมวกของความหวังที่ทุกคนจะหาแง่มุมด้านบวกของประเด็นนี้ เช่น ช่วงเวลาของหมวกสีเขียวจะเป็นโอกาสที่ทุกคนต้องแสดงความคิดสร้างสรรค์ กล่าวคือ หาทาง หรือแนวคิดใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาที่มีอยู่ ลําดับสุดท้ายเมื่อทุกคนสวมหมวกสีน้ําเงิน จะเป็นการมอง ภาพรวมหาข้อสรุป และสํารวจความคืบหน้าของการคิดหรือการอภิปรายที่ได้ดําเนินมาตั้งแต่ต้น
         อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนการคิดแบบหมวกหกใบ ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวว่าจะต้องเริ่มคิดที่ หมวกสีขาวก่อนแล้วจบลงที่หมวกสีน้ําเงิน แต่จะสามารถใช้ความคิดแบบหมวกสีใดก่อนก็ได้หรือ กลับไปกลับมายังหมวกสีใดกี่รอบก็ได้ตามความต้องการ ที่สําคัญคือ ควรคิดให้ครบทั้งหกแบบเพื่อ ความสมบูรณ์ในการคิดรอบด้าน
          วิธีการคิดแบบหมวกหกใบ ทําให้การโต้แย้งในที่ประชุมลดน้อยลงเพราะไม่นําความคิด หลากหลายด้านมาปะปนกัน ทําให้ช่วยประหยัดเวลาได้มาก ดังกรณีตัวอย่างบริษัทไอบีเอ็มที่นําวิธี แบบนี้มาคิดใช้ สามารถลดเวลาในการประชุมแต่ละครั้งได้ถึง 75%ด้วยเหตุที่วิธีการนี้เป็นวิธีที่ง่าย ไม่ ซับซ้อน และใช้ได้ผลดีจึงมีองค์กรขนาดใหญ่หลายแห่งทั่วโลก ดังได้กล่าวถึงข้างต้นแล้ว นําวิธีนี้ไป ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาองค์กร และนอกจากจะมีการนําไปใช้ในองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและ เอกชนแล้ว หลายประเทศทั้งโลกยังได้นําความคิดแบบหมวกหกใบไปฝึกทักษะของผู้เรียน เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย อิสราเอล สวีเดน และสิงคโปร์ เป็นต้น ในบางประ" เช่น เวเนซูเอลา กฎหมายการศึกษาได้กําหนดให้ครูทุกคนต้องผ่านการฝึกตามหลักสูตรการก หมวกหกใบก่อนจึงเข้าเป็นครูได้
แนวของเดอ โบโน โดยเปิด บนผู้บริหารหรือพนักงานของ
          สําหรับประเทศไทย ได้มีเอกชนตั้งศูนย์ความคิดสร้างสรรค์ตามแนวของเดอ เบ* หลักสูตรอบรมการคิดแบบหมวกหกใบผู้เข้าร่วมการอบรมส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารหรือพน องค์การธุรกิจเอกชนที่สนใจนําทักษะการคิดดังกล่าวไปพัฒนาตนเองและองค์กร และ นําไปใช้ในการเรียนการสอนยังไม่มีโรงเรียนใดนําไปรวมไว้ในหลักสูตรโดยตรง แตมน" เขียนบทความเผยแพร่และผู้สอนที่สนใจส่วนตัวนําไปใช้สอนในโรงเรียน เช่น ชาตรี สาขา โรงเรียนคุรุชนพัฒนา อําเภอเมือง จังหวัดยะลาและเป็นครูต้นแบบภาษาไทยของสํานักคณะกร ศึกษาแห่งชาติ ประจําปี 2541 ได้นําแนวคิดนี้ไปสอนกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 เรื่องการอ่านง่าย และได้อธิบายถึงการคิดแบบหมวกหกใบว่า การที่จะให้คนมีความรับผิดชอบร่วมกันนั้น ทุกคน จะต้องมีความคิดที่ไม่ยึดที่อยู่กับตนเอง ต้องคิดแบบมุมมองไม่ยึดติดกรอบความคิดเก่าๆ ที่เห็นแก่ได้ และเห็นแก่ตนและที่จะให้ผู้เรียนเปลี่ยนกรอบความคิดได้นั้นต้องสอนให้ผู้เรียนรู้จักคิดได้ทดลองนํา ความคิดหมวกหกใบไปใช้ในการเขียนในขั้นเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อให้ผู้เรียนมีความคิดและแนวทาง ในการเขียน และพบว่า เดิมเรามักใช้วิธีการระดมความคิด แต่บางครั้งผู้เรียนก็ยังจะอับจนถ้อยคําที่จะ ร่วมคิดร่วมพูด เมื่อทดลองวิธีการนี้ไปใช้ปรากฏว่าผู้เรียนคิดได้หลากหลายและคิดเป็นประโยคหรือ ข้อความเพราะมีแนวทางในการคิดชัดเจนขึ้นมีระบบการคิดไปที่ละลําดับทําให้เราได้ข้อมูลมาก พอที่จะนํามาจัดหมวดหมู่ ซึ่งหมวดแต่ละสีได้จัดหมวดหมู่ของข้อมูลไว้อย่างคร่าวๆ แล้ว จึงทําให้ ผู้เรียนจัดหมวดหมู่ความคิดได้ง่ายจุดเด่นการคิดแบบหมวกหกใบ อยู่ตรงที่ผู้เรียนได้ใช้ความคิดของ ตนเองในการวิเคราะห์ และเป็นการขยายการวิเคราะห์อย่างร่วมมือกันจากผู้เรียนอีกคนหนึ่งไปสู่อีก คนหนึ่ง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทําให้ผู้เรียนแต่ละคนทํางานร่วมกันอย่างสนุกสนานทําให้ผู้เรียน พัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบและมีเหตุผลโดยไม่ทําให้ผู้เรียนแต่ละคนต้องทํางานหนักอย่างลําพัง

           สรุป การคิดแบบหมวกหกใบพัฒนาขึ้น โดย เดอ โบโน ชาวอังกฤษ การคิดในลักษณะนี้ ได้รับความนิยมมากในวงการธุรกิจและการเรียนการสอน เพราะเชื่อว่าสามารถพัฒนาความคิดของ ผู้เรียนได้โดยไม่จํากัดเชื้อชาติ วัฒนธรรม และระดับชั้นเรียน ง่ายแก่การนําไปใช้เพราะเป็นกิจกรรมที่ ไม่ซับซ้อน ประโยชน์ของการใช้หมวกคือ จะช่วยให้ผู้เรียนได้พยายามคิดอย่างรอบคอบ สร้างสรรค์ ทั้งจุดดี จุดด้อย จุดที่น่าสนใจ ตลอดจนความรู้สึกที่มีต่อสิ่งนั้นๆแทนที่จะยึดติดอยู่กับความคิดใน รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือยึดติดอยู่กับความคิดด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว หมวกแห่งความคิดมี ทั้งหมดหกใบและหกสี คือ สีขาว สีแดง สีดํา สีเหลือง สีเขียว และสีน้ําเงินหมวกทั้งหกสีไม่มีลําดับ ขนตอนหรือข้อกําหนดตายตัวว่า ควรใช้สีใดก่อน ผู้สวมหมวกจะเป็นใครก็ได้ ผู้สอน หรือผู้เรียน หรือคนอื่นๆ เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์หรือเป็นตัวแทนให้ผู้สวมได้แสดงความคิดประเด็นต่างๆตามสี อองหมวกที่สวม ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้สอนสามารถนําความคิดแบบหมวกหกใบมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสําคัญได้ เพราะผู้เรียนจะได้มีโอกาสพัฒนาความคิดอย่างหลากหลาย เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้ค้นพบสาระสําคัญของบทเรียน โดยฝึกการคิด การวิเคราะห์ การสร้างสรรค์จิตนาการ และการแสดงออกได้อย่างชัดเจน ผู้เรียนจึงมีบทบาทในการกระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นหาคําตอบด้วยตนเองสอดคล้องกับการปฏิรูปการเรียนรู้


ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.