วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2561

รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง



รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง


          ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีรูปแบบการเรียนรู้ วิธีการและการ จัดการเรียนการสอนที่หลากหลายกล่าวคือ

          รูปแบบการเรียนรู้หลากหลาย เช่น การเรียนรู้แบบสืบสวน การเรียนรู้การใช้เหตุผลเชิง จริยธรรม การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบโครงงาน การเรียนรู้แบบกระบวนการทาง ปัญญาการเรียนรู้โดยใช้แผนการออกแบบประสบการณ์วิธีการจัดการเรียนการเรียนการสอนที่ หลากหลาย เช่น เกมการศึกษา สถานการณ์จําลอง กรณีตัวอย่าง บทบาทสมมติ การแก้ปัญหา โปรแกรมสําเร็จรูป ศูนย์การเรียน ชุดการเรียน คอมพิวเตอร์ 

          การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
          ในชั้นเรียนหนึ่งๆ จะมีความแตกต่างระหว่างบุคคลอยู่มาก ไม่มีใครสองคนที่เหมือนกันทุก ประการ แม้กระทั่งลูกแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน และผู้เรียนแต่ละคนก็จะมีสไตล์การเรียนรู้ที่เป็น ของตัวเอง และมีความถนัดในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันทั้ง 4 แบบ (จิตนาการ วิเคราะห์ สามัญสํานึก เรียนรู้ด้วยตนเอง : พลวัต) เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข สนุกสนานและมีส่วนร่วมในรูปแบบ

          การสอนโดยใช้วิธีบทบาทสมมติ
           บทบาทสมมติเป็นรูปแบบการสอนที่มีรากฐานมาจากแนวคิดทางการศึกษาของบุคคลและ สังคมที่จะช่วยให้หาลักษณะเฉพาะของตนในสังคม และรู้จักแก้ปัญหาด้วยความช่วยเหลือของกลุ่ม สังคมยอมรับให้บุคคลทํางานด้วยกันเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหา ระหว่างบุคคล และพัฒนาวิถีประชาธิปไตยเพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ เราใช้บทบาทสมมติใน การแก้ปัญหาครอบครัวของมนุษย์ เพราะว่าสังคมเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการของมนุษย์ และ บทบาทสมมติได้รับการนําเสนอว่าจะแก้ปัญหาระหว่างบุคคลและสังคมได้
          สาระสําคัญของบทบาทสมมติ อยู่ที่การมีส่วนร่วมในสถานการณ์จริง รวมถึงความ ปรารถนาในการแก้ปัญหาและความเข้าใจ กระบวนการของบทบาทสมมตินําพฤติกรรมง่ายๆ ของ มนุษย์ที่ทําให้ผู้เรียนได้มีโอกาส แสดงความรู้สึก พัฒนาเจตคติ ค่านิยม และการรับรู้ พัฒนาทักษะ การแก้ปัญหาและเจตคติในการแก้ปัญหา และมองสิ่งต่างๆ ด้วยมุมมองที่หลากหลายเป้าหมายเหล่านี้ สะท้อนสมมติฐานของบทบาทสมมติดังนี้
          1. บทบาทสมมติสนับสนุนการเรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์ 
          2. บทบาทสมมติสามารถทําให้ผู้เรียนแสดงความรู้สึกที่จริงใจ
          3. อารมณ์และความคิดสามารถจะนําไปสู่ความมีสติและปฏิกิริยาของกลุ่มเพื่อจะนําไปสู่ ความคิดใหม่ๆ
          4. กระบวนการทางจิตวิทยาที่แฝงอยู่จะสร้างความมีสติด้วยการประสานกันของการแสดง และวิเคราะห์ 

          การสอนโดยอาศัยการเรียนรู้บนพื้นฐานของปัญหา
          ปกติคนไทยโดยทั่วไปมักจะไม่ค่อยกล้าแสดงออกซึ่งความคิดเห็นของตนในที่สาธารณะ มากนัก แต่มักจะเก็บไปบ่นหรือปรารถนากันตามลําพัง ซึ่งไม่เกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ นั้นอาจเป็นเพราะว่าในวัยเด็กไม่ได้รับการฝึกหรือกระตุ้นให้เกิดความคิด และกล้าที่จะเสนอความ คิดเห็นของตนต่อที่ประชุมชน ดังนั้น การนําวิธีการเรียนรู้บนพื้นฐานของปัญหาหรือบางครั้งเรียกว่า วิธีการแก้ปัญหาสมมติ หรือการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ซึ่งต่อไปจะเรียกว่าการเรียนด้วยวิธี ปัญหาสมมติ มาใช้ในการจัดการเรียน การสอนจะเป็นการช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งเรียกว่าคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ซึ่งเชื่อว่าเป็นวิธีการฝึกคนให้มีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ความหมาย ของการเรียนด้วยวิธีปัญหาสมมติมีหลากหลาย แต่ที่เหมาะสมมากที่สุดคือ ความหมายที่ให้โดยเบาห์ และแฟลแลทที่ ซึ่งกล่าวว่า การเรียนด้วยวิธีปัญหาสมมติเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรและวิธีการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นและเน้นที่กิจกรรมของผู้เรียน ไม่ใช้วิธีการเรียนการแก้ปัญหาในหลักสูตรเดิมอย่างง่ายๆแต่เป็นวิธีจัดหลักสูตรให้มีกิจกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้น โดยอาศัย เป็นจริงในการปฏิบัติของวิชาชีพนั้นเป็นตัวแกนหลักสูตร การเรียนด้วยวิธีการปัญหาสมมติ จะเริ่มต้นด้วยการให้ปัญหาที่เป็นสถานการณ์จริงแก่ผู้เรียนก่อน แทนที่จะให้ความรู้ทางสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องก่อนเพื่อแก้ปัญหา ด้วยวิธีนี้หลักสูตรและการสอนจึงนําผู้เรียนไปสู่การแสวงหาวิชา ความรู้ และทักษะด้วยตนเอง โดยผ่านขั้นการแก้ปัญหาที่จัดไว้ให้โดยอาศัยวัตถุการเรียนการสอนและ ที่กําหนดให้ตามหลักสูตร 

          การเรียนรู้แบบร่วมมือกันในชั้นเรียนบูรณาการ
          เนื้อหาในส่วนนี้มุ่งทบทวนวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือกันในชั้นเรียนปกติ ซึ่งรวมถึง นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษด้วย การอภิปรายมุ่งเน้นที่ข้อได้เปรียบของโครงสร้างเป้าประสงค์ใน การร่วมมือกัน รูปแบบของการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน ตลอดจนตรรกะของการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน โครงสร้างของสิ่งจูงใจที่มีประสิทธิภาพและปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนําไปใช้
           เมื่อกว่ายี่สิบปีที่ผ่านมาได้มีการประชุมที่เมืองเทลาวีฟ ประเทศอิสราเอล และมีการจัด องค์กรเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้แบบร่วมมือกันระหว่างประเทศมีสํานักงานที่เมืองลอสแองเจลลีส ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีสมาชิกหลายประเทศแต่ละปีจะมีการจัดสัมมนาโดยประเทศต่างๆผลัด กันเป็นเจ้าภาพและมีหนังสือชื่อ (Cooperative Learning) ออกวางตลาดองค์กรดังกล่าวนี้เพิ่มการ เติบโตประมาณยี่สิบกว่าปี หนังสือพิมพ์ ได้วิจารณ์ว่ากระบวนการนี้เขย่าวงการศึกษา ต่อไปนี้ วงการศึกษาจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง โดยเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมให้มากขึ้น งานในปัจจุบันส่วน ใหญ่ต้องการคนทํางานร่วมกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป 

           ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน
          ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบร่วมมือกันในที่นี้ จะหมายรวมถึงนิยาม ลักษณะและ องค์ประกอบพื้นฐาน โครงสร้างทางทฤษฎีและกิจกรรมเริ่มต้น อุ่นเครื่อง นิยาม

           การเรียนรู้แบบร่วมมือกันเป็นการเรียนรู้ที่เน้นการร่วมมือกันของสมาชิกในทีมและระหว่าง ทีม กล่าวคือนักเรียนในแต่ละทีมต้องให้ความร่วมมือกันและสนับสนุนกันภายในทีมของตน

           เป้าหมาย เป็นเป้าหมายของการเรียนรู้ที่ประสงค์จะให้เกิดความเชี่ยวชาญ รอบรู้ในวิชา เรียนสามารถทําทุกอย่างได้มากไปกว่าที่เขียนไว้ในหนังสือ เน้นกระบวนการคิดและใช้เวลาในการ ไตร่ตรอง

           วิธีการเรียนรู้ หมายถึงว่า จะทําอย่างไร จึงจะนําไปสู่ความเชี่ยวชาญได้ ซึ่งมีอยู่ : รูปแบบด้วยกันคือ รูปแบบแรกเป็นวิธีการทางบวก คือ แบบพึ่งพากับหรือแบบร่วมมือกัน แบบที่สองเป็นวิธีการที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นลบในบางโอกาส คือ การแข่งขันกัน และแบบสุดท้าย เป็น กลางหรือเรียกว่าตัวคนเดียว กล่าวคือ
          1. วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ 
          2. การเรียนรู้แบบแข่งขันกัน 
         3. วิธีการเรียนรู้แบบตัวคนเดียว
           จอห์สันและจอห์สัน (Johnhon&Johnhon, 1991) จัดให้มียุทศาสตร์ 5 ประการที่อนุญาตให้ เรียนรู้แบบร่วมมือกันไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพในเชิงวิชาการด้านใดๆคือ
         1. ระบุจุดประสงค์ของบทเรียนให้ชัดเจน 
         2.ตัดสินใจในการกําหนดให้นักเรียนอยู่ในกลุ่มการเรียนรู้ใดก่อนที่จะสอน 
         3. อธิบายภาระงาน โครงสร้างของเป้าประสงค์และกิจกรรมการเรียนรู้อย่างชัดเจน 
         4. เฝ้าระวังประสิทธิผลของกลุ่ม และคอยให้ความช่วยเหลือ
         5. ประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน 

ลักษณะและองค์ประกอบพื้นฐาน
           1. ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน หรือการพึ่งพาในทางบวก
           2. ความสัมพันธ์แบบหันหน้าเข้าหากัน 
           3. มาตรฐานการตรวจสอบรายบุคคล 
          4. การใช้ทักษะระหว่างบุคคลและทักษะการทํางานกลุ่มย่อย
          5. การใช้กระบวนการกลุ่ม 

รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน
           การเรียนแบบร่วมมือกันมีหลายรูปแบบ แต่รูปแบบที่นิยมใช้กันมากในประเทศ สหรัฐอเมริกามี 7 รูปแบบ คือ แบบรวมหัวกันคิด แบบร่วมมือกัน แบบประสานความรู้ แบบประชุม ตะ กลมแบบสนทนาโต๊ะกลม แบบอาศัยผลสัมฤทธิ์ของทีมและแบบเกมแข่งขัน กล่าวคือ 

แบบรวมหัวกันคิด
           แบบรวมหัวกันคิด เมื่อครูต้องการสอบความรู้ความเข้าใจของนักเรียนในเรื่องที่ครูสอนไป แล้ว ตามวิธีการแบบดั้งเดิมครูจะใช้วิธีเรียกชื่อนักเรียนตอบคําถามทีละคน หรือนักเรียนยกมือเพื่อ ตอบคําถามแล้วคนก็เรียกนักเรียนคนใดคนหนึ่งให้ตอบคําถาม จุดอ่อนของวิธีดังกล่าวคือ จะมี นักเรียนเพียงไม่กี่คนในห้องที่จะได้ตอบคําถาม นักเรียนส่วนใหญ่ที่ไม่มีโอกาสตอบคําที่จะเกิด ความรู้สึกผิดหวัง ไม่มีส่วนร่วมเป็นสาเหตุ

แบบร่วมมือกัน
          การเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มขนาดเล็กได้ทํางานร่วมกับ การเรียนรู้แบบร่วมมือกัน เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มขนาดเล็ก มากที่สุด โดยเอาความรู้ความเข้าใจสมาชิกของกลุ่มบูรณาการเป็นผลงานของกลุ่ม และ หรือประสบการณ์ที่ได้นําเสนอต่อสมาชิกในชั้นเรียน เพื่อให้สมาชิกคนอื่นๆ ได้รับอน ประสบการณ์ที่กลุ่มไปศึกษานั้นด้วย ขั้นตอนในการปฏิบัติของการเรียนแบบนี้มี 10 ขั้นตอน
           1. การอธิปรายทั้งชั้นเรียนโดยให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง 
           2. การคักเลือกกลุ่มนักเรียน 
           3. การสร้างทีมพัฒนาทักษะ
           4. การคัดเลือกหัวเรื่อง 
           5. การคักเลือกหัวข้อย่อย
           6. การเตรียมหัวข้อย่อย 
           7. การนําเสนอหัวข้อย่อย 
           8. การเตรียมเสนอผลงานของทีม 
           9. การนําเสนอผลงานของทีม 
          10. การประเมินผลด้วยวิธีการสามอย่างคือ
               10.1 สมาชิกในทีมงานประเมินผลงานของแต่ละคนที่นําเสนอหัวข้อย่อยในทีมของตน เพื่อนร่วมชั้นประเมินผลงานของแต่ละทีมที่นําเสนอต่อชั้นเรียน
               10.2 ครูประเมินในส่วนที่เป็นรายงานเฉพาะบุคคล 

แบบประสานความรู้
           การเรียนในลักษณะประสานความรู้ เริ่มต้นโดยการแบ่งนักเรียนในชั้นเรียนออกเป็นกลุ่ม ย่อย ครูให้หัวข้อหรือปัญหาแล้วแบ่งหัวข้อให้สมาชิกแต่ละคนไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ด้วย วิธีการต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ ทั้งนี้เมื่อแต่ละคนได้ความรู้มาแล้วก็จะนําไปร่วมศึกษากับสมาชิก กลุ่มอื่นที่ได้หัวข้อเหมือนตนเอง จนได้ความรู้เพิ่มเติม ครบบริบูรณ์ การอภิปรายงานกลุ่ม โดยมีขั้นตอนดังนี้
             1. ครูแจ้งเรื่องที่จะเรียน จะเรียนอย่าง หรือจะขยายความรู้อย่างไร ติดภาพไว้ให้เด็กเคย กิจกรรมที่จะจัด
             2. จัดกลุ่ม/ทีม ถ้ากลุ่มเดิมยังไม่หมดอายุ ก็ให้ใช้ก่อน (ประมาณ 6 สัปดาห์) หากหมดอายุแล้ว 
ก็จัดกลุ่มใหม่
             3. แบ่งงานศึกษาเรื่องที่กําหนด 
             4. ศึกษากับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
             5. รายงานผลหรือให้ความรู้กับผู้ร่วมทีม 
             6. ทดสอบ คํานวณคะแนน และประเมินผล
            7.การยอมรับของกลุ่ม/ทีม และให้การชมเชย แบบประชุมโต๊ะกลม

การประชุมโต๊ะกลม 
             เป็นกระบวนการเรียนแบบร่วมมือกัน ซึ่งเป็นการฝึกให้นักเรียนได้ แสดงความคิดเห็นด้วยการเขียนลงบนกระดาษ จากปัญหาเดียวกัน เหมาะกับนักเรียนที่เขียนหนังสือ ได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้
              1. การเสนอปัญหา โดยครูจะถามคําถามซึ่งมีคําตอบหลายคําตอบ
              2. คําตอบของนักเรียน ให้นักเรียนเขียนคําตอบของตนลงในกระดาษแผ่นเดียวกันเวียนทาง เดียวกันจนครบทุกคน 

การสอนด้วยวิธีการคิดแบบหมวกหกใบ
             ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนให้ได้คุณภาพสูง ต้องอาศัย การคิด และการสอนให้คิด วงการศึกษาไทยได้มีความเคลื่อนไหวในเรื่องของการคิดมาหลายปีแล้ว ความคิดเหล่านี้ทําให้เกิด แนวคิดที่จะนํามาใช้ในการสอนหลายเรื่อง เช่น แนวการสอนคิดเป็น ทําเป็น และแก้ปัญหาเป็น การสอนตามแนวพุทธศาสตร์ ซึ่งได้แก่ การคิดอย่างถูกวิธีตามหลักโยนิโสมนสิกา และการสอน แผนที่ความคิด แต่แนวคิดเหล่านี้ยังไม่ได้นําไปใช้อย่างกว้างขวาง และปัญหาด้านคุณภาพของการ คิดขั้นสูงก็ยังคงมีอยู่เรื่อยมา เมื่อมีการปฏิรูปการศึกษาเกิดขึ้น การมุ่งเน้นการปฏิรูปการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพด้านกระบวนการคิด จึงเป็นกระบวนการสําคัญที่จําเป็นต้องเร่งปรับและพัฒนา อย่างจริงจัง การสอนกระบวนการคิดหรือการสอนให้ผู้เรียนคิดเป็น เป็นเรื่องที่คลุมเครือ เพราะ กระบวนการคิดไม่มีเนื้อหาที่ครูจะสามารถมองเห็นได้ง่าย และนําไปอธิบายได้ง่าย หรือเพราะผู้สอน ไม่สามารถก้าวเข้าไปในห้องสมองของเด็กเพื่อที่จะสังเกตองค์ประกอบของกระบวนการเรียนรู้ จะสังเกตได้เพียงผลที่ได้รับขั้นสุดท้ายของกระบวนการที่ซ่อนอยู่เท่านั้นการคิดเป็นกระบวนการ ดังนั้นการสอนจึงเป็นกระบวนการด้วย

แนวการสอนเพื่อพัฒนาความคิดมีสามแนวทาง
             1. การสอนเพื่อพัฒนาการคิดโดยตรง ด้วยการใช้สื่อการเรียนการสอนประเภทบทเรียน สําเร็จรูป หรือกิจกรรมสําเร็จรูป
            2. การสอนเนื้อหาสาระต่างๆ โดยใช้รูปแบบหรือกระบวนการสอนที่เน้นการพัฒนาการคิด สอนลักษณะนี้มุ่งรวมเนื้อหาสาระตามจุดประสงค์ของหลักสูตร แต่เพื่อช่วยให้การสอนเป็นการ
นาความสามารถในการคิดของผู้เรียนไปในตัว ผู้สอนสามารถนํารูปแบบการสอนเป็นการ ช่วยพัฒนาความสามารถในการคิดของผู้เรียนไปในตัว
           3. การสอนเนื้อหาสาระต่างๆ โดยพยายามส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาลักษณะการคิดแบบ รวมทั้งทักษะการคิดทักษะย่อยและทักษะผสมผสานในกิจกรรมการเรียนการสอน

           หมวกหกใบ เป็นตัวแทนของการคิดหกลักษณะ และเป็นทิศทางที่นําไปสู่การคิด ที่จะให้ชื่อว่าเป็นความคิด นั่นคือ เป็นหมวกที่ใช้ในเชิงรุกมากกว่าที่จะใช้ในเชิงรับ(ตอบสนอง)
           จุดประสงค์สําคัญ คือว่า หมวกแต่งใบจะเป็นทิศทางในการคิด มากกว่านี้ ความคิด เหตุผลทางทฤษฎีที่สําคัญในการใช้การคิดแบบหมวกหกใบ คือ 1. ส่งเสริมความคิด คู่ขนาน 2. ส่งเสริมการคิดที่เต็มรูปแบบ 3. แยกตัวเองออกจากการปฏิบัติ
          ความคิดแบบหมวกสีขาว ความคิดแบบหมวกสีขาวจะครอบคลุมความต้องการจําเป็น สาระสนเทศและช่องว่างที่เกี่ยวกับข้อความจริงและตัวเลข ไม่ถกเถียงกันว่าข้อมูลใครดีกว่ากัน ไม่ว่า เรื่องความคิดส่วนตัวมาพูด แต่ให้ดูพื้นฐานจากข้อมูลต่างๆแสดงถึงความเป็นกลาง ถ้าจะตั้งคําถาม ให้เกิดความคิด ก็จะถามว่า มีข้อมูลอะไรบ้าง ต้องการข้อมูลอะไร และข้อมูลที่ต้องการจะได้มาด้วย วิธีใด ตัวอย่างเช่น การสอนความคิดเกี่ยวกับดอกทานตะวัน ข้อมูลและข้อความจริงเกี่ยวกับดอก ทานตะวันคือ 1. ดอกสีเหลืองใหญ่ ใบสีเขียวหนา มีขน 2. ดอกจะหันหน้าไปรับแสงอาทิตย์ 3. มีเมล็ดเล็กๆรวมกลางดอกมาก 4. เมล็ดใช้ทําน้ํามันและใช้รับทานได้ 5. ดอกบานในฤดูหนาว 6. สัญลักษณ์ของพรรคความหวังใหม่

          ความคิดแบบหมวกสีแดง ความคิดแบบหมวกสีแดงครอบคลุมเรื่องของสัญชาตญาณ ความรู้สึกอารมณ์ หมวกสีแดงจะยอมให้ผู้คิดใช้สัญชาตญาณ โดยปราศจากการตัดสิน ความรู้สึกและ สัญชาตญาณ โดยปกติแล้วสามารถนําไปสู่การอภิปรายได้ถ้าอาศัยตรรกะเป็นหลักโดยปกติแล้ว ความรู้สึกก็เป็นของแท้ แต่เหตุผลจะเป็นของปลอม ความคิดแบบหมวกแดงจะอนุญาตเต็มที่ให้ผู้คิด ใส่ความรู้สึกไปในเรื่องที่กําลังคิดกันอยู่ในขณะนั้น ถ้าจะตั้งคําถามให้เกิดความคิดก็จะถามว่า ผู้สอน อย่างไร ผู้เรียนรู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่ทํา และผู้เรียนมีความรู้สึกอย่างไรกับความคิดนี้ตัวอย่างความรู้สึก และอารมณ์ที่มีต่อดอกทานตะวัน เช่น 1. ฉันชอบดอกทานตะวันเพราะดอกใหญ่ มีสีสันสดใส สวยงาม ให้ความรู้สึกแข็งแรง 2. ใบมีขนและรู้สึกคันเมื่อเข้าใกล้ 3. ทุ่งทานตะวันดูเหลืองอร่ามนาตน ตาตื่นใจ

           ความคิดแบบหมวกดํา ความคิดแบบหมวกดําจะเป็นเรื่องของการใช้ดุลพินิจพิจารณา ข้อความระวัง เป็นหมวกที่มีคุณค่ามากที่สุด ไม่ได้เป็นหมวกที่มีความรู้สึกผิดหรือด้อยคุณคา 8 เป็นหมวกที่ให้ความรู้สึกในทางลบ หมวกดําจะใช้ในการชี้ว่าทําไมข้อเสนอแนะจึงไม่สอดคล้องกับ ข้อความจริง ประสบการณ์ที่มีอยู่ ระบบที่ใช้อยู่ หรือนโยบายที่ปฏิบัติอยู่หมวกสีดําต้องใช้เหตุผลหร ตรรกะเสมอในการตรวจสอบหาหลักฐาน ตรวจสอบหาความเป็นเหตุเป็นผลตรวจสอบ ความเป็นไปได้ ตรวจสอบผลกระทบ ตรวจสอบความเหมาะสม และตรวจสอบหาความ
หาความบกพร่องและหากตั้งคําถามให้คิด จะถามว่า อะไรคือจุดอ่อน อะไรคือสิ่งที่ยุ่งยาก อะไรคือสิ่งที่พลาด และเรื่อง สุจดอ่อนที่ใด ตัวอย่างความคิดเรื่องดอกทานตะวัน เช่น 1. คนที่จะไปเที่ยวจะทําลายต้นไม้ทําให้เกิด
รามเสียหายหรือไม่ 2. ใบทานตะวันมีขนถูกแล้วจะคันหรือไม่ และ 3. แมลงวันในทุ่งทานตะวัน มีมาก เป็นแมลงมลพิษ เป็นอันตรายหรือไม่

           ความคิดแบบหมวกสีเหลือง ความคิดแบบหมวกสีเหลืองเป็นความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล ทางบวก ทําไมบางสิ่งบางอย่างจึงทําได้ และทําไมบางสิ่งบางอย่างจึงให้ประโยชน์เป็นความคิดที่ สามารถมองไปข้างหน้าถึงเหตุผลของการปฏิบัติ หรือสามารถใช้ในการดูผลลัพธ์ที่จะตามมาของการ นําเสนอการกระทําของคนบางคนแต่ใช้ในการค้นหาอะไรบางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นแล้วอย่างมีคุณค่า และหากตั้งคําถามให้คิดว่า จุดที่ดีคืออะไร ผลดีคืออะไร ตัวอย่างความคิดเรื่องทางบวกให้กําลังใจ ให้ ความมั่นใจ ยอมรับหรือประโยชน์ที่จะได้มาจากดอกทานตะวัน 1. ทําให้การท่องเที่ยวของเมืองลพบุรี คึกคัก 2. เศรษฐกิจและการค้าของคนลพบุรีจะดีขึ้น 3. คนรู้จักเมืองลพบุรีมากขึ้นเพราะทุ่งดอก ทานตะวัน และ 4. ทานตะวันเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ของจังหวัดลพบุรี

           ความคิดแบบหมวกสีเขียว ความคิดแบบหมวกสีเขียว เป็นการนําเสนอความคิดที่ สร้างสรรค์ มีทางเลือกหลากหลาย น่าสนใจ ท้าทาย และมีการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างคําถามคือผู้เรียน จะนําความคิดนี้ไปทํา (สร้าง ปรับปรุง พัฒนา) อะไรได้ ถ้าจะให้สิ่งนี้ (ดีขึ้น) จะต้องเปลี่ยนอย่างไร ตัวอย่างความคิดสร้างสรรค์และความคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับดอกทานตะวัน เช่น 1. จะจัดทัวร์ ทุ่งทานตะวันอย่างไรจึงจะน่าสนใจ 2. น่าจะมีการประดิษฐ์ดอกไม้ผ้าเป็นดอกทานตะวัน 3. น่าจะเป็น การนําเมล็ดทานตะวันมาทําอาหารแปลกๆ 4. ควรเก็บค่าเข้าชมทานตะวันเพื่อนํารายได้มาพัฒนา ทุ่งทานตะวัน และ 5. น่าจะมีการแต่งกลอนชมดอกทานตะวันและทุ่งทานตะวัน

           ความคิดแบบหมวกสีน้ําเงิน การคิดแบบหมวกสีน้ําเงิน เป็นการมองภาพรวมหรือเป็น หมวกที่ควบคุมกระบวนการ จะไม่ดูที่เนื้อหาวิชาเอง แต่จะคิดเกี่ยวกับเนื้อหารายวิชานั้นๆ หมวกสีน้ํา เงินทําให้ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนของตนเอง สามารถติดตามความผิดพลาด และความเชื่อผิดๆ ของตนเอง เพื่อแก้ไขให้ถูกต้องเป็นตัวแทนของการควบคุมกระบวนการคิดให้ประสานกัน หมวกสี นําเงินจะเกี่ยวข้องกับการคิดที่ยิ่งใหญ่ ตัวอย่างคําถาม เช่น การคิดอะไรที่ต้องการ ขั้นตอนต่อไปนี้คือ อะไร และการคิดอะไรที่ทําไปก่อนแล้ว ดังนั้นผู้เรียนจะต้องนําข้อมูลที่ได้มาจัดหมวดหมู่เรียงลําดับ ขั้นตอน และเรียบเรียงเป็นโครงเรื่องเกี่ยวกับดอกทานตะวันเพื่อที่จะนําไปเรียบเรียงเนื้อหาให้ สมบูรณ์ต่อไป ในขั้นตอนนี้ผู้เรียนจะเลือกข้อมูลมาจัดหมวดหมู่แล้วคิดเพิ่มเติมหรืออาจจะศึกษา ความรู้จากแหล่งอื่นๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ขึ้น จะเห็นได้ว่าหมวกความคิดใบที่หกสี สามารถ นามาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจการการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้เกิดทักษะการคิด การพูด การเขียนไปตามเนื้อหาสาระของวิชานั้นๆ ได้ ผู้สอนก็จะมีคําถามหรือแนวทางที่กระตุ้นความคิดของผู้เรียนได้อย่างหลากหลาย
           เดอ โบโน ได้ยกตัวอย่างการนําวิธีคิดแบบหมวกหกใบใช้ในการบริหารองค์กร
, ประชุมแทนสิ่งที่ทุกคนจะตั้งหน้าตั้งตาเหตุผลมาหักล้างกัน ผู้บริหารอาจเริ่มให้ทุกคน ขาว คิดค้วยการนําเสนอข้อมูลข่าวสารของแต่ละคนออกมา ไม่ต้องวิเคราะห์หรือถูกเอียง ของใครดีกว่ากัน ต่อมาถึงขั้นตอนการคิดแบบหมวกสีแดง ทุกคนแสดงอารมณ์ความรู้สึกใจ ได้อย่างเต็มที่ จากนั้นเป็นหมวกสีดํา ขั้นตอนของการใช้เหตุผล วิเคราะห์ ตั้งข้อสังเกตข้อความ ตามด้วยหมวกสีเหลือง ซึ่งเป็นหมวกของความหวังที่ทุกคนจะหาแง่มุมด้านบวกของประเด็นนี้ เช่น ช่วงเวลาของหมวกสีเขียวจะเป็นโอกาสที่ทุกคนต้องแสดงความคิดสร้างสรรค์ กล่าวคือ หาทาง หรือแนวคิดใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาที่มีอยู่ ลําดับสุดท้ายเมื่อทุกคนสวมหมวกสีน้ําเงิน จะเป็นการมอง ภาพรวมหาข้อสรุป และสํารวจความคืบหน้าของการคิดหรือการอภิปรายที่ได้ดําเนินมาตั้งแต่ต้น
         อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนการคิดแบบหมวกหกใบ ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวว่าจะต้องเริ่มคิดที่ หมวกสีขาวก่อนแล้วจบลงที่หมวกสีน้ําเงิน แต่จะสามารถใช้ความคิดแบบหมวกสีใดก่อนก็ได้หรือ กลับไปกลับมายังหมวกสีใดกี่รอบก็ได้ตามความต้องการ ที่สําคัญคือ ควรคิดให้ครบทั้งหกแบบเพื่อ ความสมบูรณ์ในการคิดรอบด้าน
          วิธีการคิดแบบหมวกหกใบ ทําให้การโต้แย้งในที่ประชุมลดน้อยลงเพราะไม่นําความคิด หลากหลายด้านมาปะปนกัน ทําให้ช่วยประหยัดเวลาได้มาก ดังกรณีตัวอย่างบริษัทไอบีเอ็มที่นําวิธี แบบนี้มาคิดใช้ สามารถลดเวลาในการประชุมแต่ละครั้งได้ถึง 75%ด้วยเหตุที่วิธีการนี้เป็นวิธีที่ง่าย ไม่ ซับซ้อน และใช้ได้ผลดีจึงมีองค์กรขนาดใหญ่หลายแห่งทั่วโลก ดังได้กล่าวถึงข้างต้นแล้ว นําวิธีนี้ไป ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาองค์กร และนอกจากจะมีการนําไปใช้ในองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและ เอกชนแล้ว หลายประเทศทั้งโลกยังได้นําความคิดแบบหมวกหกใบไปฝึกทักษะของผู้เรียน เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย อิสราเอล สวีเดน และสิงคโปร์ เป็นต้น ในบางประ" เช่น เวเนซูเอลา กฎหมายการศึกษาได้กําหนดให้ครูทุกคนต้องผ่านการฝึกตามหลักสูตรการก หมวกหกใบก่อนจึงเข้าเป็นครูได้
แนวของเดอ โบโน โดยเปิด บนผู้บริหารหรือพนักงานของ
          สําหรับประเทศไทย ได้มีเอกชนตั้งศูนย์ความคิดสร้างสรรค์ตามแนวของเดอ เบ* หลักสูตรอบรมการคิดแบบหมวกหกใบผู้เข้าร่วมการอบรมส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารหรือพน องค์การธุรกิจเอกชนที่สนใจนําทักษะการคิดดังกล่าวไปพัฒนาตนเองและองค์กร และ นําไปใช้ในการเรียนการสอนยังไม่มีโรงเรียนใดนําไปรวมไว้ในหลักสูตรโดยตรง แตมน" เขียนบทความเผยแพร่และผู้สอนที่สนใจส่วนตัวนําไปใช้สอนในโรงเรียน เช่น ชาตรี สาขา โรงเรียนคุรุชนพัฒนา อําเภอเมือง จังหวัดยะลาและเป็นครูต้นแบบภาษาไทยของสํานักคณะกร ศึกษาแห่งชาติ ประจําปี 2541 ได้นําแนวคิดนี้ไปสอนกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 เรื่องการอ่านง่าย และได้อธิบายถึงการคิดแบบหมวกหกใบว่า การที่จะให้คนมีความรับผิดชอบร่วมกันนั้น ทุกคน จะต้องมีความคิดที่ไม่ยึดที่อยู่กับตนเอง ต้องคิดแบบมุมมองไม่ยึดติดกรอบความคิดเก่าๆ ที่เห็นแก่ได้ และเห็นแก่ตนและที่จะให้ผู้เรียนเปลี่ยนกรอบความคิดได้นั้นต้องสอนให้ผู้เรียนรู้จักคิดได้ทดลองนํา ความคิดหมวกหกใบไปใช้ในการเขียนในขั้นเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อให้ผู้เรียนมีความคิดและแนวทาง ในการเขียน และพบว่า เดิมเรามักใช้วิธีการระดมความคิด แต่บางครั้งผู้เรียนก็ยังจะอับจนถ้อยคําที่จะ ร่วมคิดร่วมพูด เมื่อทดลองวิธีการนี้ไปใช้ปรากฏว่าผู้เรียนคิดได้หลากหลายและคิดเป็นประโยคหรือ ข้อความเพราะมีแนวทางในการคิดชัดเจนขึ้นมีระบบการคิดไปที่ละลําดับทําให้เราได้ข้อมูลมาก พอที่จะนํามาจัดหมวดหมู่ ซึ่งหมวดแต่ละสีได้จัดหมวดหมู่ของข้อมูลไว้อย่างคร่าวๆ แล้ว จึงทําให้ ผู้เรียนจัดหมวดหมู่ความคิดได้ง่ายจุดเด่นการคิดแบบหมวกหกใบ อยู่ตรงที่ผู้เรียนได้ใช้ความคิดของ ตนเองในการวิเคราะห์ และเป็นการขยายการวิเคราะห์อย่างร่วมมือกันจากผู้เรียนอีกคนหนึ่งไปสู่อีก คนหนึ่ง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทําให้ผู้เรียนแต่ละคนทํางานร่วมกันอย่างสนุกสนานทําให้ผู้เรียน พัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบและมีเหตุผลโดยไม่ทําให้ผู้เรียนแต่ละคนต้องทํางานหนักอย่างลําพัง

           สรุป การคิดแบบหมวกหกใบพัฒนาขึ้น โดย เดอ โบโน ชาวอังกฤษ การคิดในลักษณะนี้ ได้รับความนิยมมากในวงการธุรกิจและการเรียนการสอน เพราะเชื่อว่าสามารถพัฒนาความคิดของ ผู้เรียนได้โดยไม่จํากัดเชื้อชาติ วัฒนธรรม และระดับชั้นเรียน ง่ายแก่การนําไปใช้เพราะเป็นกิจกรรมที่ ไม่ซับซ้อน ประโยชน์ของการใช้หมวกคือ จะช่วยให้ผู้เรียนได้พยายามคิดอย่างรอบคอบ สร้างสรรค์ ทั้งจุดดี จุดด้อย จุดที่น่าสนใจ ตลอดจนความรู้สึกที่มีต่อสิ่งนั้นๆแทนที่จะยึดติดอยู่กับความคิดใน รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือยึดติดอยู่กับความคิดด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว หมวกแห่งความคิดมี ทั้งหมดหกใบและหกสี คือ สีขาว สีแดง สีดํา สีเหลือง สีเขียว และสีน้ําเงินหมวกทั้งหกสีไม่มีลําดับ ขนตอนหรือข้อกําหนดตายตัวว่า ควรใช้สีใดก่อน ผู้สวมหมวกจะเป็นใครก็ได้ ผู้สอน หรือผู้เรียน หรือคนอื่นๆ เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์หรือเป็นตัวแทนให้ผู้สวมได้แสดงความคิดประเด็นต่างๆตามสี อองหมวกที่สวม ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้สอนสามารถนําความคิดแบบหมวกหกใบมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสําคัญได้ เพราะผู้เรียนจะได้มีโอกาสพัฒนาความคิดอย่างหลากหลาย เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้ค้นพบสาระสําคัญของบทเรียน โดยฝึกการคิด การวิเคราะห์ การสร้างสรรค์จิตนาการ และการแสดงออกได้อย่างชัดเจน ผู้เรียนจึงมีบทบาทในการกระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นหาคําตอบด้วยตนเองสอดคล้องกับการปฏิรูปการเรียนรู้


ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น