วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561

การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่่อ



การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อ

           สื่อเป็นวิธีการซึ่งมีการนําเสนอสารสนเทศและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในขณะที่สือเป็น คําที่ใช้อ้างถึงแบบของการเรียนการสอน (mode of delivery) จึงเป็นความจําเป็นที่ต้องมีวัสดุอุปกรณ์ ที่จะส่งผ่านแบบการเรียนการสอนนั้น ในทางตรรกแล้วเป็นความจําเป็นทั้งส่วนที่เป็นอุปกรณ์ (hardware )และส่วนที่เป็นวัสดุ (software) สําหรับการเรียนรู้ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นฐานเช่นเดียวกัน กับสื่อโทรทัศน์ที่ต้องอาศัยโปรแกรมเป็นฐาน

         การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อสามารถทําได้ก่อน ทําตามหลัง หรือทําไปพร้อมๆกับการตกลงใจ เกี่ยวกับวิธีการโดยทั่วๆ ไปแล้ว จะทําตามหลังหรือทําไปพร้อมๆกัน การบรรยายอาจจะต้องการ องค์ประกอบของสื่อ หรืออาจจะอยู่ในรูปแบบของโปรแกรมโทรทัศน์ ในสมัยก่อนวัสดุอุปกรณ์ส่วน ใหญ่จะเป็นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์

         ในตอนนี้จะได้กล่าวถึงการแบ่งวิธีการ/สื่อ ออกเป็นสามประเภท คือ วิธีการ (methods) สื่อดั้งเดิม (traditional media) และเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า (newer technology) ในด้านวิธีการดําเนิน หลักสูตรโดยทั่วไป ซึ่งอาจจะรวมๆกัน แต่จะใช้สื่อรวมๆ กัน ส่วนสื่อเดิมๆจะรวมถึงงานพิมพ์ (print) และสื่อโสตทัศน์ (audiovisual media) และสําหรับเทคโนโลยีใหม่ คือ การสื่อสารโทรคมนาคมและ ไมโครโพรเซสเซอร์ (microprocessor) สือ (media) สามารถจัดกลุ่มเป็นวัสดุสิ่งพิมพ์ (print materials) ทัศน์วัสดุไม่ฉาย (nonprojected visuals) ทัศน์วัสดุฉาย (projected visuals) สื่อประเภทเสียง (audio media) ระบบสื่อผสม (multimedia systems) ภาพยนตร์ (films) และโทรทัศน์ (television) สือแต่ละ ประเภทเหล่านี้สามารถแตกออกให้เลือกได้ในหลายรูปแบบ

การตัดสินใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่
             เทคโนโลยีใหม่ ประกอบด้วย การเรียนการสอนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน (computer-based instruction) และการเรียนรู้ทางไกล ที่อาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเป็น พื้นฐาน (telecommunications-based distance learning technologies) การเรียนรู้ทางไกลเกิดขึ้นเมื่อ ผู้เรียนอยู่ในสถานที่หนึ่ง เทคโนโลยีใหม่มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ดังแสดงที่ตาราง 19 นิยามศัพท์เฉพาะสื่อและเทคโนโลยี 

             การพิจารณาเลือกสื่อ
             มีหลักการทั่วไปจํานวนมาก และข้อพิจารณาอื่นๆ ในการเลือกสื่อที่เหมาะสมสําหรับการ เรียนการสอน คือ กฏในการเลือกสื่อและปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสื่อ

กฎในการเลือกสื่อ
            การเลือกสื่อมีกฎอยู่ (6 ข้อ หรือเรียกว่าหลักการทั่วไปในการพิจารณาก่อนที่จะตัดสิน อย่างไม่เป็นทางการในการเลือกสื่อ
           กฏที่ 1 การเรียนการสอนโดยทั่วไปแล้วต้องการสื่อสองทาง (two way medium) นักเรียนจะ เรียนได้ดีที่สุดเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ สื่อการเรียนการสอน ครู สมุดทํางาน หรือ โปรแกรม คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
          กฎที่ 2 สื่อทางเดียว (one-way media) ควรจะได้รับการสนับสนุน โดยสื่อที่ให้ข้อมูล ป้อนกลับ ตัวอย่างคือ ภาพยนตร์ หรือวีดิทัศน์ จะให้ประสิทธิผลมากกว่า เมื่อมีคู่มือการใช้ควบค์ ไปด้วย หรือมีแบบฝึกปฏิบัติควบคู่ไปด้วย หรือมีครู ซึ่งสามารถที่จะถามคําถามและตอบคําถามได้
         กฎที่ 3 การเรียนรู้ของแต่ละบุคคล ต้องการสื่อที่มีความยืดหยุ่น ตัวอย่างคือ ผู้ที่เรียนเช้า อาจจะต้องการสื่อการเรียนที่แตกแขนงออกไปเป็นพิเศษ เช่นการฝึกเสริม (remedial exercises) ตัวอย่างเสริมเป็นพิเศษ สื่อภาพยนตร์ ควรจะส่งเสริมโดยการเยียวยาแก้ไขหรือมีกิจกรรมที่เหมาะสม กับความต้องการของแต่ละบุคคล โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถที่จะสนองตอบได้อย่างดี เลิศในความยืดหยุ่นที่มีต่อปัจจัยบุคคล
       กฎที่ 4 การนําเสนอ โลกแห่งความเป็นจริง ต้องการสื่อทางทัศนะวัสดุ ตัวอย่างนักเรียน พยาบาลเรียนรู้วิธีการตัดไหม จําเป็นต้องเห็นการสาธิต (ภาพยนตร์ วีดิทัศน์ การสาธิตของจริง) มากกว่าที่จะเขียนออกมาเป็นรายการของวิธีการตัดไหม
        กฎที่ 5 พฤติกรรมที่คาดหวังหลังจากการเรียนการสอน ควรจะให้มีการฝึกปฏิบัติในระหว่าง ที่มีการเรียนการสอน การได้ยิน หรือการได้เห็นทักษะที่แสดงออกมาไม่เป็นการเพียงพอ ตัวอย่าง ผู้ปฏิบัติจําเป็นต้องทําการตัดไหมตามที่เห็นในวีดิทัศน์ ไม่ว่าจะเป็นการตัดไหมเทียมๆหรือตัดไหม จริงๆ
       กฎที่ 6 เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ของบทเรียนอื่นๆ อาจต้องการการเลือกสื่อที่มีความ แตกต่างกัน ตัวอย่าง ทฤษฎีที่อยู่บนหลักการของวิธีการทําหมัน อาจจะต้องการวัสดุอุปกรณ ที่เป็นสิ่งพิมพ์ ในขณะที่วิธีการตัดไหม อาจจะต้องการสาธิตที่มีความเป็นจริงมากกว่า (วีดีทัศน ภาพยนตร์ ฯลฯ) 
 
        ปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการเลือกสื่อ
        ได้มีการเรียนรู้กฎซึ่งจําเป็นในการพิจารณา เมื่อมีการเลือกสื่อการเรียนการสอน เป็นความจําที่มองหาปัจจัยอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกสื่อ

แบบจําลองการเลือกสื่อ
            แบบจําลองการเลือกสื่อการเรียนการสอนมีหลายแบบ สําหรับการพิจารณาแต่ละแบบ วิธีการเลือกสื่อที่ต่างกัน สิ่งที่น่าสังเกตคือ แต่ละแบบมีความต่างกันอย่างไร และพิจารณาว่ามีอะไ. เป็นนัยของความต่าง แต่ละแบบจําลองพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการเลือกและการใช้ประโยชน์จาก ให้สังเกตภาพที่ 7 ซึ่งไม่ได้นํามาเสนอวิธีการเลือกสื่อที่ตายตัว และภาพที่ 8 ซึ่งใช้สําหรับโครง การพัฒนาการเรียนสอนของกองทัพอากาศ 

แบบจําลองของวิลเลี่ยม ออลเลน
             ในแบบจําลองของวิลเลี่ยม ออลเลน (William allen) ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้อง ตัดสินใจเกี่ยวกับการจําแนกจุดประสงค์และการจําแนกความสามารถสูงสุดของสื่อการเรียนสอนที่จะ พลิกแพลงให้เข้ากับจุดประสงค์ ออลเลน ได้ตรวจสอบประสิทธิผล สื่อสําหรับวัดชนิดของการเรียนรู้ ด้วยเหตุผลนี้ ออลเลน ได้สร้างตารางแจกแจงสองทาง ซึ่งจําแนกสื่อที่ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง และต่ํา ตามชนิดของการเรียนรู้ เมื่อใช้แบบจําลองนี้ ผู้ออกแบบควรพยายามหลีกเลี่ยงสื่อที่ ให้ผลสัมฤทธิ์ต่ํากับชนิดของการเรียนรู้ (aien, 1967 : 27-31) อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ออกแบบเลือกสื่อที่ ให้ผลสัมฤทธิ์ต่ําหรือปานกลางผู้ใช้ควรรับรู้ข้อจํากัด
             วิธีการที่แสดงด้วยภาพต่อไปนี้ สามารถที่จะช่วยให้เห็นกระบวนการของการตรวจสอบ จุดประสงค์และตัดสินใจว่าสื่อชนิดใดมีความเหมาะสม 

แบบจําลองของเยอร์ลาชและอีลี
             แบบจําลองเยอร์ลาชและอีลี (Gerlach and Ely) ได้เป็นที่รู้จักกันในปี ค.ศ. 1971 ในตําราที่ ชื่อว่าการสอนและสื่อ เยอร์ลาชและอีลีได้นําเสนอเกณฑ์ ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการเลือกสื่อการ เรียนการสอน หลังจากที่ระบุจุดประสงค์และระบุพฤติกรรมความพร้อมที่จะรับการสอน (entering behaviors) แล้วเกณฑ์ดังกล่าวประกอบด้วยประการที่ 1 ความเหมาะสมทางปัญญา (สื่อสามารถ ส่งผ่านตัวกระตุ้นตามเจตนารมณ์ของจุดประสงค์หรือไม่) ประการที่ 2 ระดับของความเข้าใจ (สอทา ให้ผู้เรียนเข้าใจหรือไม่) ประการที่ 3 ราคา ประการที่ 4 ประโยชน์ (เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุ ประโยชน์หรือไม่) และประการที่ 5 คุณภาพทางเทคนิค (คุณลักษณะทางการฟังและการดูของผลิตมีคุณภาพเพียงพอหรือไม่) (Gerlach and Ely,1980) ภาพที่ 12 จะแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของ จุดประสงค์กับทางเลือกในการเลือกสื่อตําราของเยอร์ลาชและอีลีได้มีการพิมพ์ครงการ ปี ค.ศ. 1980 โดยที่ผู้เขียนตั้งใจเขียนขึ้นสําหรับครูทุกระดับ

สรุป
             สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสําคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่ เป็นตัวนําความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียน เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สื่อการสอนจะ ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ทํากิจกรรมหลายๆ รูปแบบ ช่วยให้ครูผู้สอนได้สอนตรงตามจุดมุ่งหมาย การเรียนการสอน และยังช่วยในการขยายเนื้อหาที่เรียนทําให้การสอนง่ายขึ้น และยังจะช่วย ประหยัดเวลาในการสอน นักเรียนจะได้มีเวลาในการทํากิจกรรมการเรียนมากขึ้น ในการเลือกสื่อการ เรียนการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อการเรียนการสอนนั้น ผู้สอนจําเป็นต้องคํานึงถึง องค์ประกอบในการเลือกสื่อ ได้แก่ จุดมุ่งหมายของการสอน รูปแบบและระบบของการเรียนการสอน ลักษณะของผู้เรียน เกณฑ์เฉพาะของสื่อ วัสดุอุปกรณ์และตลอดจนสิ่งอํานวยความสะดวกที่มีอยู่ นอกจากนี้ยังต้องคํานึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของสื่อกับคุณสมบัติเฉพาะและจุดประสงค์ ของการเรียนการสอน


ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

ประเภทของสื่อ


ประเภทของสื่อ

           ผู้ออกแบบสามารถที่จะเลือกชนิดของสื่อให้มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งและมีอิทธิพลต่อ ประสิทธิผลของการเรียนรู้ที่คาดว่าจะเกิดได้ ถ้าผู้ออกแบบรับรู้ชนิดของสื่อที่มีอยู่ รวมทั้งข้อดีและ ข้อเสียด้วย ดังนั้น ผู้ออกแบบก็จะเป็นผู้ที่อยู่ในฐานะที่เป็นผู้ที่รู้จักเลือกชนิดของสื่อได้อย่างเหมาะสม เราสามารถจําแนกสื่อได้ สี่ ประเภท คือ สื่อทางหู (audio) ทางตา (Visual) ทางหูและทางตารวมกัน (audio- visual ) และสัมผัส (tactile) ผู้ออกแบบสามารถเลือกสื่อที่เหมาะสมที่สุดจากประเภทของสื่อ ต่างๆ สําหรับภาระงานการเรียนการสอนที่มีความเฉพาะเจาะจงสื่อต่างๆทั้ง 4 ประเภทและตัวอย่างที่ เกี่ยวข้อง มีดังต่อไปนี้

           1. สื่อทางหู ได้แก่ เสียงของผู้ฝึก ห้องปฏิบัติการทางเสียง การเตรียมเทปสําหรับผู้ฝึกเทป แผ่นเสียง วิทยุกระจายเสียง

          2. สื่อทางตา ได้แก่ กระดานชอล์ก กระดานแม่เหล็ก กราฟ คอมพิวเตอร์ วัตถุต่างๆ ที่เป็น ของจริงรูปภาพ แผนภูมิ กราฟภาพถ่าย หุ่นจําลอง สิ่งที่ครูแจกให้ หนังสือ ฟิล์ม สไลค์ แผ่นใส่

          3. สื่อทางหูและทางตา ได้แก่ เทปวีดิโอ ทีวีวงจรปิด โปรแกรมโสตทัศนวัสดุ สไลด์ เทป ภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม ทีวีทั่วไป เทคโนโลยีอื่นๆ เช่น ดิจิตอล วีดิโอ อินเตอร์แอคทิฟเทคโนโลยี (digital video interactive technology)

          4. สื่อทางสัมผัส ได้แก่ วัตถุของจริง แบบจําลองในการทํางาน เช่น ผู้แสดงสถานการณ์ จําลอง

ข้อดีและข้อเสียของสื่อบางประเภท

         ในการเลือกสื่อที่มีความเหมาะสมที่สุดสําหรับภาระงานการเรียนรู้ที่มีความเฉพาะเจาะจง ผู้ออกแบบจําเป็นต้องรู้ถึงความเป็นไปได้ในข้อดีและข้อเสียที่เกี่ยวข้องกับสื่อแต่ละประเภท ตารางที่ 10.1 จะแสดงให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของตัวอย่างสื่อจากประเภทของสื่อสําคัญ 4 ประเภทและ ตารางที่ 10.2 แสดงประเภทและคุณสมบัติของสื่อการเรียนการสอน การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการ

การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการและสื่อ 
         บางครั้งเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ในบางเวลาจะเลือก วิธีการก่อน และเลือกสื่อที่จําเป็นในการใช้ที่หลัง ดูแกน เลียด (Dugan laird: 180) เปรียบเทียบวิธีการว่าเป็นเหมือนทางหลวง (highway) ที่นําไปสู่จุดหมายปลายทาง (จุดประสงค์) และสื่อ (วัสดุฝึก) เป็น สิ่งที่เพิ่มเติม (accessories) บนทางหลวง เช่น สัญญาณ แผนที่ ซึ่งทําให้การเดินทางสะดวกขึ้น
       
       วิธีการ เป็นกลยุทธ์การเรียนการสอนที่มีระดับความชี้เฉพาะมาก เป็นวิธีการเรียนการสอนที่ ตัดสินธรรมชาติของบทเรียน จอยส์และวีล (Joyce and Weil, 1980) เรียกสิ่งเหล่านี้ว่าแบบจําลองการ ตอน (model of teaching) แบบจําลองเป็นวิธีการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ในระดับบทเรียน มากกว่าที่จะเป็นระดับหน่วยในหลักสูตร

          ออซูเบล (ausabel, 1968) กล่าวว่า มีความแตกต่างระหว่างวิธีการสําคัญ 2 วิธี คือ การเรียนรู้ เพื่อค้นพบ (discovery leaning) และการเรียนรู้เพื่อรับความคิด (reception learning) 1. การเรียนรู้เพื่อ รับความคิด คือ การเรียนรู้จากการบรรยาย หรือการเรียนรู้จากโสตทัศนูปกรณ์ ซึ่งเสนอสารสนเทศ 2. การเรียนรู้เพื่อค้นพบคือ การสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนมีอิสระที่จะสํารวจ และไม่ได้กําหนด จุดหมายปลายทางของการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้า การเรียนรู้เพื่อค้นพบมีองค์ประกอบทั้งการค้นพบและ การรับรู้ที่มากไปกว่า การที่จะบอกแต่เพียงนักเรียนจะต้องเรียนอะไร นักเรียนจะได้รับคําแนะนํา ซึ่งจะนําไปสู่การค้นพบ ออซูเบลเชื่อว่า วิธีการจะกลายเป็นสิ่งที่มีความหมาย

           ผู้ออกแบบสามารถเลือกวิธีการ เช่น การบรรยาย การใช้ห้องปฏิบัติการ การอภิปราย การอ่าน การทัศนศึกษา การจดบันทึก การสาธิต บทเรียนสําเร็จรูป กรณีศึกษาบทบาทสมมติ การศึกษาด้วยตัวเอง และสถานการณ์จําลอง วิธีการแต่ละวัยเหล่านี้มีรูปแบบให้เลือกมากมาย (Secols and Glasgow, 1990: 181) การบรรยายอาจะเป็นบทละคร เป็นการเสนอด้วย โสตทัศนูปกรณ์ การ อภิปรายมีหลายรูปแบบ เช่น การสนทนาถกเถียงปัญหา (panel) การประชุม โต้เถียงกัน (open foruun) และการระดมพลังสมอง (brainstorming) กรณีศึกษามีหลากหลายจากกรณีประวัติศาสตร์จนกระทั่ง ถึงการแก้ปัญหา และเช่นเดียวกับบทบาทสมมติ เป็นแบบหนึ่งของสถานการณ์จําลอง

            บทเรียนสําเร็จรูปต้องการคําตอบหรือการตอบสนองบ่อยๆและให้ข้อมูลป้อนกลับอย่าง ทันทีทันใด และสามารถเสนอผ่านทางหนังสือ แบบฝึกหัด หรือคอมพิวเตอร์ แบบของโปรแกรม อาจจะเป็นเส้นตรง เส้นสาขา หรือบ้างกรณีเป็นคอมพิวเตอร์ แบบฝึกหัด ปฏิบัติแบบติว และแบบ สถานการณ์จําลอง การสาธิตสามารถนําเสนอด้วยปฏิกิริยาสัมพันธ์และการอภิปรายการศึกษาด้วย ตัวเอง ทําได้ด้วยการใช้โมดูล (modules) ใช้ชุดของสื่อ (media kits) หรือใช้วิธีการติวด้วยอุปกรณ์โสต

ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

บทบาทของผู้ออกแบบ



บทบาทของผู้ออกแบบ


             ผู้ออกแบบมีหน้าที่หลายอย่างที่จะเติมเต็มความสมบรูณ์ในระหว่างขั้นตอนการตัดสินใจ นระยะนีผู้ออกแบบมีหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจเลือกวิธีการสื่อเช่นเดียวกับตํารวจ ที่มองเห็นว่าคําแนะนํา ในการออกแบบการเรียนการสอนนําไปใช้ได้หรือเป็นเหมือนผู้จัดการผู้ซึ่งริเริ่ม และประเมินผลผลิต พบกันจะเกี่ยวกับบทบาทของผู้ออกแบบที่มองเห็น การเลือกวิธีการสื่อที่มีประโยชน์ เราจะเลือกสือ อย่างไร จะรับวัสดุอุปกรณ์ทางการค้าอย่างไร และจะริเริ่มและเฝ้าระวังกระบวนการผลิตอย่างไร
            
           ผู้ออกแบบต้องจํากัดบทบาทในการทําหน้าที่ ต้องสามารถปฏิบัติให้แล้วเสร็จและมี ประสิทธิภาพ ต้องรับรู้การกระทําหน้าที่เป็นผู้ผลิตสื่อ ผู้ถ่ายภาพ หรือผู้วางโปรแกรมด้วยและเป็นการท้าทายสําหรับผู้ออกแบบในการที่จะพยายามทําให้ผู้อื่นเข้าใจได้ โดยลําพังตนเองแล้วไม่สามารถที่จะผลิตสื่อได้ทั้งหมดหรืออาจต้องการคําแนะนําเพิ่มจากผู้ร่วมงานในทีมมากกว่าที่จะทําคนเดียว ความรับผิดชอบที่จําเป็นคือ การตัดสินใจเลือกวิธีการสื่อในขณะที่สมาชิกของทีมหรือผู้นําทีมริเริ่ม หรือแนะนํากระบวนการผลิต ผู้ออกแบบจะทําสิ่งนี้ได้ดีถ้ารู้จักทําหน้าที่ในลักษณะของผู้วิจัย ผู้เขียน สคริป ผู้ถ่ายภาพ และผู้เรียบเรียง สิ่งเหล่านี้ไม่ได้หมายความว่าไม่เคยผลิตหรือไม่เคยช่วยเรียบเรียงแต่ หมายความว่า รับรู้หน้าที่ในการให้คําแนะนําและจํากัดทักษะตัวอย่างเช่น มีการพัฒนาทักษะ กระบวนการกลุ่มมากขึ้น และใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นกว่าทักษะด้านการถ่ายภาพ


ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน



การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน

            คําว่า สื่อ (medium หรือ media) ในที่นี้มีความหมายกว้างมาก การเรียนการสอนในบางครั้ง อาจเกิดขึ้นจากเสียงของผู้สอน ตํารา เทป วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ และคอมพิวเตอร์ medium หรือ media มาจากภาษาลาติน หมายถึง บางสิ่งบางอย่างที่อยู่ตรงกลาง (intermediate หรือ middle) หรือเครื่องมือ (instrument) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นวิธีการของการสื่อสารที่ส่งไปถึงประชาชน เป็นพาหนะของการ โฆษณา (Guralnikjv07, 1970) ดังนั้น เมื่อพิจารณาในด้านของการสื่อสารแล้ว สื่อจึงหมายถึง สิ่งที่เป็น พาหนะนําความรู้หรือสารสนเทศจากแหล่งกําเนิดไปสู่ผู้รับ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ รูปภาพ วัสดุฉาย สิ่งพิมพ์ และสิ่งดังกล่าวนี้ เมื่อนํามาใช้กับการเรียนการสอน เราเรียกว่าสื่อการเรียนการสอน
           มีอยู่บ่อยครั้งที่ผู้ออกแบบจํากัดการเลือกสื่อของตนเอง เพราะว่าได้ตัดสินใจไปเรียบร้อย แล้ว (เช่น การพิจารณานโยบายงบประมาณ) สิ่งที่จะกล่าวต่อไปไม่ได้เป็นเพียงสถานการณ์ใน อุดมคติเท่านั้น การเลือกสื่อควรจะได้มีการกระทําหลังจากที่ได้มีการวิเคราะห์เนื้อหาวิชาแล้ว ในสถานการณ์เช่นนี้ ผู้ออกแบบสามารถที่จะเลือกสื่อที่เหมาะสม เพื่อการสื่อสารเหตุการณ์ต่างๆ ในการเรียนการสอน
        กลยุทธ์การสอนและการตัดสินใจเลือกสื่อ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างกัน และควรจะทําไป พร้อมกันหลังจากที่ได้มีการพัฒนาจุดประสงค์ของการเรียนการสอนแล้ว แบบจําลองในการเลือกซื้อ มีทั้งแบบที่มีความเรียบง่าย และแบบที่มีความซับซ้อน โรเบิร์ต เมเจอร์ (Robert Mager) (Knirk and Gustafson, 1986 : 169) ผู้ซึ่งเป็นนักออกแบบการสอน เพื่อการค้าที่ประสบความสําเร็จ ได้กล่าวว่า กระดาษเป็นตัวกลางอย่างหนึ่งของการเลือก นอกจากว่าในกรณีที่ดีที่จะสามารถเลือกใช้สิ่งที่ทําจาก อย่างอื่น วัสดุที่เป็นกระดาษมีราคาแพงในการออกแบบและผลิต ง่ายที่จะผลิตเพิ่มใช้ง่าย และนักเขียน ส่วนใหญ่มีความเข้าใจ สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างของแบบจําลองง่ายๆ สําหรับการเลือกซื้อ ส่วนแบบจําลองที่ซับซ้อนเป็นวิธีการที่ส่วนใหญ่ควรจะหลีกเลี่ยงเท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อเปรียบเทียบ กับหลักเกณฑ์ของทหาร ก็คือ อย่าโง่เลย ทําให้ดูง่ายๆ เถอะ (KISS : Keep It Simple, stupid)
         การนําเสนอสื่อการเรียนการสอน ควรเป็นการกระตุ้นทางการเรียนการสอนทีม ประสิทธิภาพ ง่ายแก่การเข้าใจ สื่อที่ซับซ้อนมีแนวโน้มของการสิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่ายสูงและ บ่อยครั้งพิสูจน์ได้ว่ามีประสิทธิภาพและเชื่อถือไม่ได้ ควรใช้สื่อการเรียนการสอนที่ถูกที่สุดที่ทําให้ ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ตามเจตนารมณ์ภายในระยะเวลาที่สมเหตุสมผล อย่างไรก็ตามข้อควรจํา คือ การสื่อราคาย่อมเยาที่ผลิตไม่ดีทําให้การเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการใช้สื่อที่ ซับซ้อนดังกล่าวแล้วเช่นกัน
          การเลือกและการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน เป็นเรื่องสําคัญอีกประการหนึ่งใน
การออกแบบการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ นักออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจ เรี่ยวกับการเลือกวิธีการ/สื่อ หรือเลือกวิธีการ เลือกวัสดุอุปกรณ์ ระบุประโยชน์ของวัสดุอุปกรณ์ทาง
การค้าริเริ่มและเฝ้าระวัง
           กระบวนการผลิตสื่อ นักออกแบบอาจจะทําเพียงการวางแผนมโนทัศน์ สคริปและนานๆ อาจจะผลิตวัสดุ (software) สําหรับจําหน่ายความจํากัดสําหรับบทบาทของผู้ออกแบบในการ ตัดสินใจเกี่ยวกับวิธี สื่อ จะหลากหลายไปตามสถานการณ์ และแม้ว่าจะมีวิธีการหลายวิธีในการ จําแนกสื่อเป็นประเภทๆ ก็ตาม ก็ยังไม่มีอนุกรมภิธานสื่อ (taxonomy of media) ที่พัฒนาขึ้นจนเป็นที่ น่าพอใจ (Seels and Glasgow, 1990 : 179) ในบทนี้จึงเป็นการเสนอสื่อ 3 ประเภท คือ วิธีการ สื่อ ดั้งเดิม เทคโนโลยีใหม่ภายในแต่ละประเภทจะมีทางเลือกและรูปแบบมาก เช่น กราฟฟิก และฟิล์ม หรือโทรทัศน์เฉพาะกราฟิกก็มีหลายรูปแบบ ได้แก่ แผนภูมิ การ์ตูน และภาพประกอบการเลือก วิธีการ สื่อ อยู่บนพื้นฐานของเกณฑ์จะมีความเหมาะสมสําหรับผู้เรียนสิ่งที่เรียนและข้อจํากัด คุณลักษณะของผู้เรียน จุดประสงค์ สถานการณ์การเรียนรู้ และข้อจํากัดนั้นต้องระบุขึ้นก่อนที่จะเลือก วิธีการและสื่อหลังจากที่ได้มีการระบุวิธีการสื่อแล้วผู้ออกแบบต้องแสวงหาสื่อจากดัชนีสื่อจากสื่อที่ สร้างขึ้นเพื่อการค้าซึ่งสามารถที่จะนํามาใช้หรือนํามาปรับใช้ได้ถ้าสื่อเหล่านั้นไม่มีประโยชน์ก็ต้อง ผลิตสื่อขึ้นเอง
            ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจว่าใครจะเป็นผู้ผลิตสื่อทีม ในการผลิตควรจะ ประกอบไปด้วยใครบ้าง ผู้ออกแบบต้องริเริ่ม เฝ้าระวังติดตามกระบวนการผลิต เป็นความรับผิดชอบ ของผู้ออกแบบที่จะต้องมีความแน่ใจในบูรณาภาพของการออกแบบและคุณภาพของวัสดุอุปกรณ์ด้วย การเฝ้าระวังติดตามการผลิต