วันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2561

สมรรถภาพของผู้ออกแบบการเรียนการสอน






7. สมรรถภาพของผู้ออกแบบการเรียนการสอน

           การออกแบบการเรียนการสอนเป็นกระบวนการทางเชาว์ปัญญา ที่ต้องการทักษะความคิด ในระดับสูง (Nelson, Macliaro and Sherman, 1998 : 29-35) ในการปฏิบัติกิจกรรมนี้จําเป็นต้อง เกี่ยวข้องกับทักษะ และความถนัดตลอดจนการฝึกอบรมและการศึกษา วอลลิงตัน (Wallington 100 : 28-33) ได้ให้รายการทักษะที่จําเป็นในการปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอน ซึ่งเป็นทักษะ ระหว่างบุคคล ทักษะในการสื่อสาร ทักษะในการแก้ปัญหา และทักษะในการสกัดและดูดซึม สารสนเทศ และทําให้สิ่งเหล่านั้นอยู่ในกรอบของความมีเหตุมีผล การประยุกต์หลักการทาง พฤติกรรมศาสตร์ และการค้นหาสารสนเทศที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบในระบบ ในการพัฒนา สมรรถภาพของการออกแบบการเรียนการสอน ผู้พัฒนาพยายามที่จะปรับปรุงความถนัดพื้นฐานใน สาขาของตน เช่น การเขียนและการเรียบเรื่องทักษะต่างๆ
จากการทํางานอย่างต่อเนื่องในสาขาที่คนมี สมรรถภาพทางวิชาชีพนั้น

7.1 ความถนัดของบุคคล

           การออกแบบการเรียนการสอนต้องอาศัยความถนัด (aptitude) ด้วย ผู้ออกแบบการเรียนการ สอนจําเป็นต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการคิดทั้งในเชิงรูปธรรมและนามธรรม งานการออกแบบที่ ยิ่งใหญ่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบความคิดที่มีความคงเส้นคงวา มีเหตุมีผล ในเวลาเดียวกัน นักออกแบบก็ต้องมองดูสิ่งที่เป็นเรื่องทั่วๆ ไป และสิ่งที่เป็นนามธรรมด้วย อย่างไรก็ตามนักออกแบบ ต้องให้ความสนใจกับรายละเอียดอย่างเต็มที่ โดยคลอด เพื่อผลิตผลที่มีคุณภาพด้วยเหมือนกัน
           ผู้ออกแบบต้องมีความสนุกสนานในการทํางานด้วยแบบจําลอง ที่นําเสนอด้วยทัศนะและ การเขียน เพราะว่างานการออกแบบที่ดีจํานวนมากต้องอาศัยการเขียน และการเรียบเรียง ถ้านักออกแบบไม่ชอบที่จะเขียนหรือทํางานกับทัศนวัสดุ ก็ไม่ควรจะเป็นนักออกแบบการเรียน การสอน


7.2 ประกาศนียบัตร
           เราจําเป็นต้องรู้ถึงสมรรถภาพของนักออกแบบการเรียนการสอนตามต้องการ เพื่อที่จะได้ เพิ่มพูนสมรรถภาพเหล่านั้น สมาคมเพื่อการปฏิบัติและการเรียนการสอนแห่งชาติ (The National Society for Performance and Instruction) และ แผนกการพัฒนาการเรียนการสอนของสมาคมเพื่อการ สื่อสาร และเทคโนโลยีการศึกษา (The Division of Instructional Development of Association for Educational Communication and Technology) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ตั้งคณะกรรมการ ดําเนินงานเพื่อสืบสวนความเป็นไปได้และความสามารถตามต้องการของการให้คํารับรอง (certifying) นักออกแบบการเรียนการสอน
           คณะกรรมการดําเนินงานได้ตั้งมูลนิธิเพื่อช่วยส่งเสริมความพยายามดังกล่าวนี้ ในแต่ละ องค์กรได้มีการแสดงทัศนะตอบโต้กันถึงความต้องการประกาศนียบัตร จนเป็นที่กระจ่างว่า ใครควร จะได้รับการรับรอง ใครควรเป็นผู้ให้การรับรอง และทําไม อย่างไร และพฤติกรรมอะไรที่แท้จริงที่ ระบุว่าเป็นสมรรถภาพ
         คณะกรรมการได้เสนอรายการของสมรรถภาพสําหรับประกาศนียบัตร ดังแสดงในตาราง ที่ 8 ตําแหน่งการออกแบบการเรียนการสอนบางตําแหน่งไม่ได้กําหนดสมรรถภาพทั้งหมดเหล่านี้ เช่น ทักษะการวางแผนการเฝ้าระวังติดตาม (การจัดการโครงการ) หรืออีกนัยหนึ่ง มีสมรรถภาพต่างๆ มากมายในหลายสาขาวิชา เช่น การออกแบบการเรียนการสอนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน ซึ่งใน รายการดังกล่าวนี้ไม่ได้แนะนําไว้ และเนื่องจากว่า สาขาวิชาการออกแบบการเรียนการสอนมีการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงจําเป็นต้องปรับปรุงรายการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง



ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

งานและผลิตผลของการออกแบบการเรียนการสอน



6. งานและผลิตผลของการออกแบบการเรียนการสอน
           งานของผู้ปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอนอาจจะหลากหลายในความต้องการ ด้านความรู้ความชํานาญ ผลิตผลที่ได้และสถานการณ์ของงาน ผู้ปฏิบัติการออกแบบการเรียน การสอนอาจจะวิเคราะห์ภาระงานภายใต้การนิเทศของผู้จัดการ โครงการในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับ การวิจัยและการพัฒนา ผู้จัดการโครงการอาจจะนําทีมซึ่งพัฒนาการประชุมเชิงปฏิบัติการสามวัน สําหรับการอุตสาหกรรม (three-day Workshop) การออกแบบไม่จําเป็นต้องเป็นทีมเสมอไป ในองค์กรเล็กๆ อาจจะใช้ผู้ออกแบบเพียงคนเดียว ในการทําภาระการออกแบบการเรียนการสอน

6.1 งานออกแบบ
           พิสัยของงาน (job) เป็นไปตามสถานการณ์ และระดับที่แตกต่างกันของผู้ชํานาญการ บางครั้งผู้ออกแบบการเรียนการสอนทําหน้าที่เหมือนเป็นผู้ชํานาญการในขั้นตอนหนึ่งของ กระบวนการ ในบางงานเรียกผู้ออกแบบว่าเป็นผู้ปฏิบัติที่มีสมรรถภาพในการดําเนินโครงการตั้งแต่ เริ่มต้นจนสิ้นสุด พิสัยของงานไม่เพียงแค่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ที่มีความเฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษแต่บาง งานต้องการระดับความแตกต่างของผู้ชํานาญการ (expertise) ในตารางที่ 6 แสดงให้เห็นถึงระดับของ ผู้ชํานาญการในงานการออกแบบการเรียนการสอน
          โดยปกติงานในโรงเรียนรวมถึงหน้าที่ในการออกแบบการเรียนการสอน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของตําแหน่งอื่นๆ เช่น ผู้นิเทศหลักสูตร (curriculum Supervisor) ผู้ชํานาญการด้านสือ (media specialist) นักเทคโนโลยีการเรียนการสอน (instructional technologist) เมื่อเปรียบเทียบกับ สถานการณ์อื่นๆ แล้ว ผลกระทบที่เกิดจากการออกแบบการเรียนการสอนอยู่ในระดับต่ํา
         เหตุผลบางประการที่การออกแบบการเรียนการสอนให้ผลกระทบในระดับต่ํา คือ ครูยึดติด กับธรรมชาติดั้งเดิมของโรงเรียน ติดแน่นอยู่กับตารางกําหนดงานประจําวัน การพิจารณาให้ทุนกับ โรงเรียนมีน้อย การที่จะทําให้การออกแบบการเรียนการสอนมีความโดดเด่นขึ้นในสถานการณ์ภายใน โรงเรียนต้องมีการเปลี่ยนแปลงสามประการ คือ 1.ลดจํานวนเวลาที่ใช้โดยครูและนักเรียนในชั้นเรียน แบบดั้งเดิม (traditional classers) 2. ส่งเสริมการเรียนการสอนรายบุคคลในหลักสูตรให้มากขึ้น และ 3. ใช้ระบบการสอนที่สิ้นเปลืองงบประมาณน้อย (low cost) (Sees, and Glasgow, 1990 : 14)
        ภาพความหวังสําหรับตําแหน่งการออกแบบการเรียนการสอนเป็นสิ่งที่ดีเลิศ เพราะสถิติ ของความต้องการการฝึกอบรมซ้ํา และความต้องการผู้ทํางานในด้านนี้มากกว่าร้อยละ 40 ของนายจ้าง ที่มีความยากลําบากในการหาผู้ที่มีคุณภาพสําหรับงาน
        ร้อยละ 36 ของ 322 บริษัทเฟอร์จูน (Fortune 1500 companies) ได้รายงานการเคลื่อนย้าย ลูกจ้างไปสู่ตําแหน่งที่ต้องการการฝึกอบรมเพิ่มเติม แต่มีความขาดแคลนบุคคลสําคัญที่จะฝึกอบรมใน หลายๆ สาขา และการที่จะบรรลุลูกจ้างที่ไม่ได้ผ่านการฝึกอบรมในหลายๆ สาขา และการที่จะบรรลุ ลูกจ้างที่ไม่ได้ผ่านการฝึกอบรมก็เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ (Seels, and Glasgow, 1990 : 14)

6.2 ผลิตผลของการออกแบบ
           ไม่ว่าจะเป็นงานที่ตั้งสมมติฐานไว้ หรืองานในหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลาย ของผลิตผลก็ตาม จะมีขอบเขตที่แตกต่างและซับซ้อน งานการออกแบบการเรียนการสอนก็เช่นกัน ขอบเขตรวมถึงความแตกต่างของขนาดและเนื้อหาความซับซ้อนรวมถึงความแตกต่างของหลักสูตร หรือสื่อ ในระดับที่เล็กที่สุดของขอบเขต คือ แผนการสอน (lesson plans) และหน่วยหรือชุดโมดุล (modules) ระดับต่อไปรวมถึงรายวิชา (courses) และหน่วย (unit) รายวิชาหลักสูตรและสิ่งแวดล้อม เป็นตัวอย่างของผลิตผลที่มีขอบเขตกว้างใหญ่ ระดับสูงสุดของระดับความซับซ้อน คือ สื่อการเรียนรู้ ซึ่งมีปฏิกิริยาสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยอาศัยสื่อทางโทรคมนาคม และคอมพิวเตอร์เข้าช่วย ระดับ ต่ําสุดของความซับซ้อน คือ กระดาษและดินสอน และสําหรับโสดทัศนวัสดุ เป็นระดับกลาง




ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน

5. บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน

บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน (designer's role) สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่ กับสิ่งที่นําเสนอ
ว่าต้องอาศัยเทคนิค หรือไม่ต้องอาศัยเทคนิค และขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของทีมการ ออกแบบ เนื้อหาที่ต้อง
ใช้เทคนิคสูง ผู้ออกแบบจําเป็นต้องให้คําแนะนําในการออกแบบกับ ผู้ชํานาญการด้านเนื้อหา (content expert)
ถ้าเนื้อหานั้นไม่ต้องใช้เทคนิคที่สูงมากจนเกินไป ผู้ออกแบบก็สามารถจัดทําได้อย่างอิสระมากขึ้นด้วยความช่วย
เหลือของผู้ชํานาญการด้านเนื้อหา ผู้ออกแบบสามารถที่จะทํางานเป็นผู้ให้คําปรึกษาจากภายนอก และรับผิด
ชอบภาระงานทั้งหมด เหมือนกับเป็นคนในสํานักงาน (in-house employers) ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากผู้ชํานาญ
การด้าน เนื้อหา บทบาทของผู้ออกแบบสามารถมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้ชํานาญการ
ด้านเนื้อหา บทบาทของผู้ออกแบบสามารถมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่มีต่อ ผู้ชํานาญการด้าน
เนื้อหาวิชา ดังตัวอย่างทั้งสาม (Seels and Glasgow, 1990 : 7-9) คือ
1. ผู้ชํานาญการด้านเนื้อหาและมีสมรรถภาพในการออกแบบการเรียนการสอนและ เทคโนโลยี และเป็นผู้ที่
รู้บทบาทของการออกแบบด้วย ไม่จําเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือด้าน ความรู้ ความชํานาญทางเนื้อหาวิชา
2. ผู้ออกแบบการเรียนการสอน ที่ได้รับการร้องขอให้ทํางานในด้านเนื้อหาที่อาจจะมี ความคุ้นเคย แต่ผู้ออกแบบ
ยังคงรู้สึกมีความจําเป็นที่จะทํางานกับผู้ชํานาญการด้านเนื้อหา
3. ผู้ออกแบบอาจจะได้รับการร้องขอให้พัฒนาหรือวิจัยในด้านเนื้อหาที่ไม่มีความคุ้นเคย และดังนั้นจึงจําเป็น
ต้องเลือกและทํางานกับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาจํานวนมาก

แบบจําลองการออกแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไป

4. แบบจําลองการออกแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไป
ออกแบบการเรียนการสอนนําความรู้จากหลายสาขาวิชามาประยุกต์เข้าด้วยกันเป็นขั้นตอน กระบวนการเชิงระบบเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน โดยพื้นฐานแล้ววิธีการเชิงระบบกําหนดให้ต้อง ระบุว่า จะเรียนอะไร วางแผนการสอนว่าจะยอมให้การเรียนรู้อะไรเกิดขึ้น วัดผลการเรียนรู้เพื่อ ตัดสินว่า การเรียนรู้นั้นบรรลุตามจุดประสงค์หรือไม่และกลั่นกรองตัวสอดแทรก (intervention) จนกระทั่งบรรลุจุดประสงค์ จากลักษณะนี้เองจึงทําให้เกิดแบบจําลองการออกแบบการเรียนการสอน ทั่วไป (generic Instruction Design Imodel : ID model) ขึ้น (Gibbons 1981 : 5, Hannum and Hansen, 1989)
แบบจําลองการออกแบบการเรียนการสอนทั่วไป มีความง่ายในการใช้มาก แต่ต้องใช้ด้วย ความประณีต และปรับปรุงอยู่เสมอ อย่างไรก็ตามแบบจําลองการออกแบบการเรียนการสอน โดยทั่วไปได้จัดเตรียมการแนะนําขั้นตอนในกระบวนการของการออกแบบไว้อย่างดี แบบจําลองใน ลักษณะนี้มีความหมายว่าการออกแบบการเรียนการสอนเป็นกระบวนการเชิงระบบที่ประกอบด้วย ขั้นตอนทั่วไปเหล่านี้ คือ 1. การวิเคราะห์ (analysis) ซึ่งเป็นกระบวนการของการระบุว่าอะไรคือสิ่งที่ ต้องเรียน 2. การออกแบบ (design) ซึ่งเป็นกระบวนการของการระบุว่าจะเรียนอย่างไร 3. การพัฒนา (development) เป็นกระบวนการของการจัดการและการผลิตวัสดุอุปกรณ์ 4. การนําไปใช้ (implementation) เป็นกระบวนการของการกําหนดโครงการในบริบทของโลกแห่งความจริง และ 5. การประเมินผล (evaluation) เป็นกระบวนการของการตัดสินตกลงใจต่อความเพียงพอของการเรียน การสอน
เกี่ยวกับระบบการเรียนการสอนนี้ แฮนนัมและบริกส์ (Hannum and Briggs) ได้เปรียบเทียบ การเรียนการสอนแบบดั้งเดิม และการเรียนการสอนเชิงระบบ ดังรายละเอียดในตารางที่ 1
ในการออกแบบการเรียนการสอน กระบวนการมีความสําคัญพอๆ กับผลิตผล เพราะว่า ความเชื่อมั่นในผลิตผลจะขึ้นอยู่กับกระบวนการ ในการที่จะมีความเชื่อมั่นในผลิตผล ต้องดําเนินตาม ขั้นตอนของแบบจําลองการออกแบบการเรียนการสอน

ประโยชน์ของการออกแบบการเรียนการสอน

3. ประโยชน์ของการออกแบบการเรียนการสอน
การลงทุน ที่ประสบความสําเร็จ หมายถึงการที่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนได้ประโยชน์ หากเปรียบเทียบกับการทํางาน
ทางธุรกิจแล้ว ประโยชน์ย่อมหมายถึงกําไร เจ้าของกิจการ ได้กําไร ลูกค้าพอใจในราคา คุณภาพ และบริการ คนงาน
และลูกจ้างได้รับค่าจ้างแรงงานที่เหมาะสม และมี ความรู้สึกที่ดีต่อบริษัท ในทํานองเดียวกัน นักศึกษาที่เกี่ยวข้อง
กับการเรียนการสอนย่อมได้ประโยชน์ จากการเรียนการสอน ไม่มากก็น้อย ดังที่ ไชยยศ เรืองสุวรรณ ได้กล่าวว่า
1. ผู้บริหารหรือผู้จัดการโปรแกรมการศึกษาและการเรียนการสอนย่อมต้องการความมั่นใจ ในประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลของการเรียนโดยใช้งบประมาณประหยัดที่สุด
2. นักออกแบบการสอน ย่อมต้องการความมั่นใจว่า โปรแกรมที่ออกแบบไว้เป็นโปรแกรม ที่น่าพอใจ ซึ่งตัวบ่งชี้
ที่สําคัญในความพอใจก็คือผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ในเวลาที่เหมาะสม
3. ครูผู้สอนย่อมต้องการที่จะเห็นผู้เรียนได้รับความรู้ ความสามารถอื่นๆ ที่จําเป็น รวมทั้ง ต้องการมีความสัมพันธ์
ที่ดีกับผู้เรียน
4. ผู้เรียนต้องการความสําเร็จในการเรียน ได้รับประสบการณ์การเรียนด้วยความสนุกสนาน และพอใจ
(ไชยยศ, 2533 : 14)
ออร์แลนสกี และสตริง (Oransky and Stering, 1981) ได้สรุปผลจากการวิจัยการสอน รายวิชาเทคนิคต่างๆ
ด้านการทหารที่มีการออกแบบระบบการเรียนการสอนเป็นอย่างดีว่าสามารถ ลดเวลาการสอนราชวิชาเหล่านั้นลง
ได้จาก 25.30 สัปดาห์ เหลือเพียง 9.6 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม รายวิชาดังกล่าวที่เป็นรายงานผลการวิจัยนั้น เป็นรายวิชา
ด้านการทหาร ยังไม่มีรายงานผลการวิจัย รายวิชาอื่น (ในต่างประเทศ) ที่พัฒนาขึ้นมาโดยกระบวนการออกแบบ
การเรียนการสอนแล้วกดเวลา การสอนได้ สําหรับในประเทศไทยอาจกล่าวได้ว่า ระบบการสอนของโครงการส่งเสริม
สมรรถภาพ การสอน (Reduce Instructional Time : RIT) นั้นเป็นการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน
ที่ผลการวิจัยระบุว่าสามารถลดเวลาการสอนของครู และเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี (ไชยยศ, 2533 : 14)
เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีบางคนได้แย้งว่า การออกแบบการเรียนการสอนไม่ส่งเสริมให้เกิดการ สร้างสรรค์
ในการสอนหรือการออกแบบการเรียนการสอนเป็นการวางแผนการสอนที่ดูเหมือนว่าคน เป็นเครื่องจักรกล
มากกว่าที่จะเป็นวิถีทางของมนุษย์ ซึ่งไชยยศ เรืองสุวรรณ ได้แสดงแนวคิดต่อข้อได้ แย้งดังกล่าวว่า ถ้าการสร้างสรรค์
หมายถึง การกําหนด การพัฒนาและการแสดงออก ซึ่งแนวคิดใหม่เพื่อนําไปแก้ปัญหาต่างๆ แล้ว กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนย่อมเป็นการสร้างสรรค์ ทั้งนี้ เพราะกระบวนการดังกล่าวมีความยืดหยุ่น ซึ่งหมายความว่า องค์ประกอบต่างๆ ในระบบการเรียน การสอนนั้นสามารถพัฒนาได้หลายรูปแบบแตกต่างกันตามแนวคิดของนักออกแบบการเรียน การสอนแต่ละคน การสร้างสรรค์อาจจะเกิดในช่วงใดก็ได้ การออกแบบการเรียนการสอนคํานึงถึง การสอนตามวิธีมนุษย์นิยมที่พิจารณาความเป็นปัจเจกบุคคล และความแตกต่างของบุคคล ในด้านต่างๆ และยังไม่ได้เน้นต่อไปอีกว่า คําอธิบายของคนอาจมีข้อโต้แย้งเช่นกัน และวิธีขจัด ข้อโต้แย้งที่ดีวิธีหนึ่ง คือ การนําไปทดลองใช้ (ไชยยศ. 2533 :15)

สําหรับผู้เขียน เห็นว่าการออกแบบการเรียนการสอนเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่อบุคลากร ทางการศึกษาทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประโยชน์ต่อผู้เรียน เพราะการออกแบบการเรียนการสอน จะเน้นที่ความแตกต่างระหว่างบุคคล ดังเห็นได้จากมีการประเมินความต้องการจําเป็นของผู้เรียนใน ด้านกลวิธีการสอนเน้นที่การเรียนการสอนรายบุคคล เป็นส่วนใหญ่และการประเมินผลเน้นที่ การประเมินเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน และใช้การประเมินในลักษณะของการประเมินแบบ อิงเกณฑ์ ซึ่งถ้าแยกพิจารณาโดยละเอียด อาจเป็นดังนี้
ความแตกต่างระหว่างบุคคล จากข้อความจริงที่ว่า บุคคลย่อมแตกต่างกัน ไม่มีคนสองคน ใดเหมือนกันทุกประการ นักเรียนบางคนเรียนเพื่อหาวิชาได้เร็วมาก บางคนเรียนได้ช้า บางคนเรียน ได้ดีที่สุดด้วยการปฏิบัติ บางคนเรียนได้ดีเมื่อมีกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น บางคนเรียนได้ดีด้วยการสังเกต ด้วยการอ่าน บางคนเรียนได้ดีเมื่อมีกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น บางคนเรียนได้ดีด้วยการสังเกต ด้วยการอ่าน บางเรียนได้ดีที่สุดด้วยตนเอง บางคนรู้จักประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนในชีวิตประจําวัน การที่ผู้สอนจะ เพิกเฉยต่อแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน (different learning style) ของแต่ละบุคคลจะทําให้ ประสิทธิภาพในการเรียนการสอนไม่เกิดผลเท่าที่ควร เป็นการเสียเวลาทั้งครูและนักเรียนที่ได้ พยายามมาโดยตลอด การออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเอกัตภาพของผู้เรียนแต่ละคน จะช่วยสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลได้
กลยุทธ์การสอน การออกแบบการเรียนการสอนที่เน้นการสอนรายบุคคล โดยอาศัยสือ ต่างๆ เข้าช่วย ทั้งที่เป็นสื่อประเภทที่มีความซับซ้อนน้อย เช่น กระดาษ ดินสอ สื่อที่มีความซับซ้อน ปานกลาง เช่น โสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ และสื่อที่มีความซับซ้อนมาก ซึ่งหมายถึงสื่อที่มีปฏิกิริยา สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยอาศัยสื่อโทรคมนาคม (interactive learning media) และคอมพิวเตอร์ เข้าช่วย การเรียนการสอนรายบุคคลทําให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ พัฒนามโนทัศน์ของตนเอง เป็นการเสาะแสวงหาความสามารถพิเศษของผู้เรียน และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ศักยภาพของคนที่ ซ่อนเร้นอยู่ภายใน ทําให้ผู้เรียนช้าไม่เหนี่ยวรั้งผู้เรียนเร็ว และผู้เรียนเร็วสามารถไปได้ไกลที่สุดจนสุด พรมแดนความรู้ตนเอง การออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคนจะช่วยในจุดนี้

การประเมินผลเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน จะทําให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนปรับปรุงตนเอง อยู่เสมอ เพราะการประเมินผลเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนอาศัยการประเมินตัวต่อตัว ประเมินคน ย่อยและการทดลองภาคสนาม การออกแบบการเรียนการสอนจะทําให้การประเมินในลักษณะนี้มี ความชัดเจนขึ้น และใช้การประเมินแบบอิงเกณฑ์ โดยประเมินผู้เรียนแต่ละคนเปรียบเทียบกับเกณฑ์ มาตรฐานที่กําหนดไว้ หรือเปรียบเทียบกับจุดประสงค์ ในลักษณะนี้จะทําให้ผู้เรียนเรียนด้วยความ ร่วมมือกันมากกว่าที่จะแข่งขันกัน เพราะการสร้างสถานการณ์ในชั้นเรียน หรือในสถานศึกษาให้ ผู้เรียนเรียนด้วยความร่วมมือกันนั้นย่อมมีประโยชน์ต่อผู้เรียนมากกว่าการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียน เกิดการแข่งขันกันแน่นอน เพราะไม่ต้องมีผู้แพ้ให้เกิดปมด้อย ไม่ต้องมีการสร้างศัตรู และที่สําคัญคือ ผู้เรียนสามารถทํางานของตนเองด้วยความสบายใจ ไม่ต้องพะวงว่าจะสู้คนอื่นไม่ได้ ในขณะเดียวกัน หากเพื่อนมาขอความช่วยเหลืออันใด ก็จะยินดีให้ความร่วมมือด้วยดี โดยไม่ต้องเกรงว่าเพื่อนจะดีกว่า ตน นอกจากนี้ยังเป็นการเพาะนิสัยที่พึงปรารถนา ให้แก่ผู้เรียนอีกด้วย เพราะหากจัดการเรียนการ สอนแบบร่วมมือกันเป็นพื้นฐานแล้ว ผู้เรียนจะติดนิสัยการให้ความร่วมมือกับผู้อ่านในภายหน้า จะทําให้สังคมได้เยาวชน นักการเมือง และผู้ประกอบวิชาชีพในสาขาต่างๆ ที่เห็นแก่ส่วนรวม มีความเป็นประชาธิปไตย ยอมรับความคิดเห็น และปฏิบัติตามมติของกลุ่ม แม้ว่าตนเอง จะไม่เห็นด้วย รู้จักช่วยให้กลุ่มประสบความสําเร็จในงาน เพราะงานบางอย่าง บางประเภท ไม่อาจ ทําสําเร็จได้โดยลําพังผู้เดียว ต้องอาศัยความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ส่วนการแข่งขันนั้น บางครั้งเพราะนิสัยเห็นแก่ตัว หรือเอาตัวรอดให้กับเด็กได้ และหากจะยังมีการแข่งขันกันอยู่ การแข่งขันนั้นควรจะเป็นการเสริมแรงทางบวก คือ การแข่งขันกับตนเองเพื่อที่จะเอาชนะใจตนเอง มีวินัยในตนเอง และพัฒนาตนเองในที่สุด ซึ่งการออกแบบการเรียนการสอนจะสนองความต้องการ ของผู้เรียนและผู้สอนในจุดนี้ได้ด้วยการวางแผนออกแบบการเรียนการสอนที่สมบูรณ์ (กาญจนาและ ลัดดา, 2537)


ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

นิยามการออกแบบการเรียนการสอน



2. นิยามการออกแบบการเรียนการสอน



           ริตา ริชชีย์ (Rita Richey, 1986 : 9) ได้นิยามการออกแบบการเรียนการสอนว่า หมายถึง วิทยาศาสตร์การสร้างสรรค์รายละเอียดที่ชี้เฉพาะเพื่อการพัฒนา การประเมินผลและการบํารุงรักษา สถานการณ์ หรือเงื่อนไขที่อํานวยความสะดวกให้กับการเรียนรู้ในหน่วยของเนื้อหาวิชา (Unit of subject matter) ทั้งหน่วยใหญ่และหน่วยย่อย การนิยามของริชชีย์เป็นการให้ความกระจ่างกับ ความสัมพันธ์ของนักวิจัยซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับ การออกแบบการเรียนการสอน แต่เป็นผู้ให้ความ ช่วยเหลือบนพื้นฐานของความรู้ ในขณะที่ไชยยศ เรืองสุวรรณ ได้นิยามว่า การออกแบบการเรียนการ สอน เป็นการวางแผนการเรียนการสอนอย่างมีระบบ เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุจุดหมาย จุดเริ่มต้นของการออกแบบการเรียนการสอนควรเป็นการพิจารณาองค์ปรกอบเบื้องต้นของระบบ และพิจารณาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการเรียนการสอน และไชยยศ เรืองสุวรรณ (ไชยยศ, 2533 : 12) ยังได้เสนอกรอบแนวคิดของกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนด้วยว่า มีองค์ประกอบสี่ประการ คือ ผู้เรียน จุดหมาย วิธีสอน และการประเมินผล โดยตั้งคําถามที่คล้ายคลึงกับคําถามของไทเลอร์ (Tyler, 1974 : 1) คือ 1.จะออกแบบและพัฒนาโปรแกรมนี้ไว้เพื่อใครเป็นการพิจารณาคุณลักษณะ ผู้เรียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรม 2.ต้องการให้ผู้เรียน หรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้อะไร หรือมี ความสามารถที่จะทําอะไรได้บ้าง เป็นการกําหนดจุดหมายของการเรียน 3. ผู้เรียนจะเรียนรู้ เนื้อหาวิชาหรือทักษะต่างๆ ได้ดีที่สุดอย่างไร เป็นการกําหนดวิธีการสอนและกิจกรรมของการเรียน การสอน และ 4. จะได้รู้อย่างไรว่า ผู้เรียนประสบผลสําเร็จในการเรียนรู้ เป็นการกําหนดกระบวนการ ประเมินผล ส่วนชีลส์ และกลาสไคว์ ได้นิยามว่า การออกแบบการเรียนการสอน เป็นทั้งกระบวนการ และสาขาวิชา (process and discipline) ในฐานะที่เป็นกระบวนการจะเป็นการพัฒนาระบบการเรียน การสอนเฉพาะที่ใช้การเรียนรู้และทฤษฎีการเรียนการสอนที่ให้ความแน่ใจในคุณภาพของการเรียน การสอน ในฐานะที่เป็นสาขาวิชา (discipline of an area of study) จะเป็นสาขาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ การวิจัยและทฤษฎีเกี่ยวกับความเฉพาะเจาะจงในเรื่องของการเรียนการสอนและกระบวนการ ในการพัฒนาความเฉพาะเจาะจงนั้นๆ การออกแบบการเรียนการสอนรวมถึง การสร้างสรรค์ความ เฉพาะเจาะจงสําหรับสถานการณ์การเรียนการสอนและเพื่อการพัฒนา การประเมิน การบํารุงรักษา การเผยแพร่สถานการณ์เหล่านั้น การออกแบบการเรียนการสอนมีขอบเขตตั้งแต่หน่วยหรือชุด(module) บทเรียน (lesson) หรือประสบการณ์ระดับเล็กๆ น้อยๆ ที่ได้จากหลักสูตรหรือสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงระดับใหญ่ๆ คุณลักษณะสําคัญสี่ประการของการออกแบบการเรียนการสอนคือ 1. เนื้อหาวิชาที่เลือกมาจากข้อมูลในสาขาวิชานั้นๆ 2. ยุทธวิธีการเรียนการสอนที่อยู่บนพื้นฐานของ การวิจัยและทฤษฎี 3. ข้อมูลการทดสอบที่อยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานการปฏิบัติ และ 4. เทคโนโลยี ที่ใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและราคา (Seels and Glassgow, 1990 : 4) ส่วนกาเย่ บริกส์และวาเกอร์ (Gagne, Briggs and Wager 1992 : 20) ได้ให้ความหมายของการออกแบบ การเรียน การสอน โดยเริ่มตั้งแต่การนิยามระบบการเรียนการสอน (instructional systems) โดยนิยามว่าระบบ การเรียนการสอนเป็นการจัดทรัพย์กรและวิธีการที่ใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบการเรียน การสอนมีรูปแบบเฉพาะที่หลากหลายและเกิดขึ้นในหลายสถาบัน เช่น ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ระบบ การเรียนการสอนจะเป็นที่ได้รู้จักอย่างกว้างขวาง ในกองทหารก็มีระบบการเรียนการสอนซึ่งอาจ กล่าวได้ว่า เป็นระบบการเรียนการสอนที่ใหญ่ที่สุด ในวงการอุตสาหกรรมที่มีระบบการเรียนการ สอนด้วยเช่นกัน และบ่อยครั้งเรียกว่าเป็นระบบการฝึกอบรม (training systems) สถาบันใดๆ ก็ตามที่ มีจุดหมายในการพัฒนาความสามารถของมนุษย์ อาจกล่าวได้ว่าสถาบันนั้นๆ มีเรื่องของระบบการ เรียนการสอนควบคู่อยู่ด้วย
           การออกแบบระบบการเรียนการสอน (instructional systems design) เป็นกระบวนการเชิง ระบบของการวางแผนระบบการเรียนการสอนและการพัฒนาการเรียนการสอน (instructional development) เป็นกระบวนการของการนําแผนไปใช้ เมื่อรวมหน้าที่ทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน ก็จะ กลายเป็นองค์ประกอบของเทคโนโลยีการเรียนการสอน (instructional technology) ซึ่งเป็นคําที่กว้าง กว่าระบบการเรียนการสอน และอาจนิยามได้ว่า เป็นการประยุกต์ระบบของทฤษฎีและความรู้ที่ใช้ใน ภาระงานของการออกแบบการเรียนการสอนและการพัฒนา เทคโนโลยีการสอน หมายรวมถึงคําถาม ที่เป็นความรู้ใหม่เกี่ยวกับว่า บุคคลเรียนรู้อย่างไร และจะออกแบบระบบการเรียนการสอน หรือวัสดุ อุปกรณ์อย่างไรจึงจะดีที่สุด
           การออกแบบการเรียนการสอน อาจเรียกได้หลายชื่อ เช่น การออกแบบระบบการเรียน การสอน (Instructional Systems Designs : ISD) การพัฒนาระบบการเรียนการสอน (Instructional Systems Designs : ISD) การออกแบบการเรียนรู้ (Learning Systems Designs : LSD) การเรียน การสอนแบบสมรรถภาพ (Competency-Based Instruction) การเรียนการสอนแบบอิงเกณฑ์(Criterion reference instruction) และ เทคโนโลยีการปฏิบัติ (performance technology) (ไชยยศ, 2533: 13)
           อาจสรุปได้ว่า การออกแบบการเรียนการสอน หมายถึง กระบวนการแก้ปัญหาการเรียน การสอนโดยการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือเงื่อนไขการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แล้วจึงวางแผนการ เรียนการสอนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดหมาย โดยอาศัยความรู้จากหลายๆ ทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนการสอน ทฤษฎีการติดต่อสื่อสาร ตลอดจนทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์




ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอน



1. ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอน

           คิดและคาเรย์ กล่าวว่า ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอน คือ ความจำเป็นเร่งด่วนทันทีทันใด โดยยกตัวอย่างว่า นักออกแบบการเรียนการสอน จํานวน 12 คน ที่ทำงานเกี่ยวกับเตาปฏิกรณ์ปรมาณูในท้องถิ่นต้องมีปริญญาทางเทคโนโลยีการเรียนการสอนและต้องรับผิดชอบเพื่อที่จะให้เกิดความแน่ใจในคุณภาพของการเรียนการสอนทุกระดับ (Disk and Carey 1995:8)
           การประกาศรับสมัครในตําแหน่งดังกล่าวนี้ ได้จัดทําขึ้นโดยบริษัทคู่สัญญาหลังจากเกิดอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ขึ้นที่เกาะทรี ไมล์และเชอร์โนบิล (Three mile and Chernobyl) ซึ่งแสดงให้เห็นความกดดันเกี่ยวกับคุณภาพการเรียนการสอนที่พบในหลายๆ สถานการณ์ วิธีการหนึ่งที่ ข้อผูกพันที่มีต่อคุณภาพการเรียนการสอนที่พบในหลายๆ สถานการณ์ คือ การผ่านการรับรองใน เรื่องของการพัฒนา และการเฝ้าระวังติดตามการเรียนการสอน การออกแบบการเรียนการสอนเป็น การแก้ปัญหาคุณภาพ การเรียนการสอนในสถานการณ์ต่างๆ ที่ หลากลาย
           ในกรณีของเตาปฏิกรณ์ปรมาณู (nuclear power plants) มีความต้องการที่ควบคุมการเรียน การสอนให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ทั้งในด้านการป้องกันและความพยายามที่จะป้องกันอุบัติเหตุ สถาบันปฏิบัติการพลังงานนิวเคลียร์และการอุตสาหกรรมในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ก่อตั้งองค์กร เพื่อจัดทํานโยบายของตนเอง โดยมีมาตรฐานคําสั่งสําหรับโปรแกรมการฝึกอบรมมาตรฐาน ประกอบด้วยการใช้กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน สถาบันจะ เป็นผู้ประเมินและรับรองการปฏิบัติทางปฏิกรณ์ปรมาณู และรวมถึงองค์ประกอบของการฝึกอบรม ในเรื่องดังกล่าวนี้ด้วย (Vandergrit, 1983)
           งานของผู้ออกแบบการเรียนการสอน คือ นําจุดประสงค์และการเรียงลําดับของจุดประสงค์ ไปสู่กระบวนการวางแผนการเรียนการสอนเพื่อที่จะให้เกิดความแน่ใจที่คุณภาพของการเรียนการ สอน วิธีการในลักษณะนี้จะแล้วเสร็จได้ด้วยการประยุกต์ใช้กระบวนการเชิงระบบ และใช้การวิจัย และความรู้ทางทฤษฎีจากการออกแบบการเรียนการสอน และจากสาขาวิชาอื่นๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ จิตวิทยา และศิลปะ (Vandergrift, 1983) ดังข้อสันนิษฐานของกาเย่ บริกส์ และ เวเกอร์ (Gagne, Briggs, and Wager) ที่มีต่อการออกแบบการเรียนการสอนว่า เป็นวิธีการหนึ่งที่เชื่อว่ามีความเป็นไปได้และมีคุณค่าโดยมีการออกแบบการเรียนการสอนต้องอาศัยคุณสมบัติที่เกี่ยวข้อง ดังนี้คือ (1) มีจุดหมายที่จะช่วยการเรียนรู้ของปัจเจกบุคคล (2) เป็นแผนระยะสั้นและระยะยาว ที่จะให้ผลในการพัฒนามนุษย์ (3) ควรดําเนินการด้วยวิธีการเชิงระบบที่สามารถให้ผลอันยิ่งใหญต่อ การพัฒนามนุษย์ และ (4) ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ว่ามนุษย์มีการเรียนรู้ได้อย่างไร (Gagne Briggs, and Wager, 1992 : 4-5)
           ดังนั้นอาจสรุปได้ว่าความต้องการจําเป็นในการออกแบบการเรียนการสอน คือ การ แก้ปัญหาคุณภาพการเรียนการสอนในสถานการณ์ที่หลากหลาย เพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ ด้วยวิธีการเชิงระบบที่ให้ผลอันยิ่งใหญ่ต่อการพัฒนาปัจเจกบุคคล และมนุษย์โดยทั่วไปและตั้งอยู่บน พื้นฐานของความรู้ว่ามนุษย์เรียนรู้ได้อย่างไร



ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

ตัวอย่างการสอน

การออกแบบการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิง

การออกแบบอีเลิร์นนิงเริ่มจากการออกแบบการเรียนการสอน  การออกแบบการเรียนการสอน : ADDIE Model และการออกแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิง

1. การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional design)
           ความหมายของการออกแบบ เป็นการถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงานที่ผู้อื่นสามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้  การออกแบบต้องใช้ศาสตร์แห่งความคิดและศิลป์ร่วมกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ หรือปรับปรุงพัฒนาสิ่งเดิมให้ดีขึ้น มีการใช้การออกแบบในทุก ๆ ด้าน เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์  การออกแบบสินค้า  การออกแบบโฆษณาประชาสัมพันธ์ รวมถึงการออกแบบการเรียนการสอน
          การออกแบบการเรียนการสอน จึงเป็นกระบวนการวางแผนการเรียนการสอนอย่างมีระบบ โดยมีการวิเคราะห์องค์ประกอบการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนการสอน สื่อกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ รวมถึงการประเมินผล เพื่อให้ผู้สอนสามารถถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียน  เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
        ผู้สอนที่มีประสบการณ์การสอนอย่างดีจะสามารถใช้ประสบการณ์ และความรู้ความสามารถของตนเอง ในการคิด การเลือกวิธีการสอน สื่อการสอน และกิจกรรมการเรียน ทำให้คุณภาพของการเรียนการสอนต่างกันไปตามความสามารถของผู้สอนแต่ละคน การออกแบบการเรียนการสอนจะเป็นแนวทางที่ผู้สอนทุกคนต้องออกแบบการสอนของตนได้
           การออกแบบการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้สอนวางแผนการสอนอย่างมีระบบ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดมุ่งหมาย และประสบความสำเร็จผู้สอนต้องพิจารณาหลักการในการออกแบบการเรียนการสอน คือ
       1. การออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนนี้เพื่อใคร ใครเป็นผู้เรียนหรือกลุ่มเป้าหมาย ผู้ออกแบบควรมีความเข้าใจและรู้จักลักษณะของกลุ่มผู้เรียนที่เป็นเป้าหมายในการเรียนอีเลิร์นนิง
       2. ต้องการให้ผู้เรียนเรียนอะไร มีความรู้ความเข้าใจ และมีความสามารถอะไร ผู้สอนจึงต้องกำหนดจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนให้ชัดเจน
       3. ผู้เรียนจะเรียนรู้เนื้อหาวิชานั้น ๆ ได้ดีที่สุดอย่างไร ควรใช้วิธีการและกิจกรรมการเรียนรู้อะไรที่จะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ และมีสิ่งใดที่ต้องคำนึงถึงบ้าง
       4. เมื่อผู้เรียนเข้าสู่กระบวนการเรียน จะทราบได้อย่างไรว่าผู้เรียนมีการเรียนรู้เกิดขึ้น และประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ จะใช้วิธีใดประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
           สรุปได้ว่า การออกแบบการเรียนการสอน ควรมีการวางแผนเพื่อพิจารณาว่าผู้เรียนเป็นใครมีคุณลักษณะพื้นฐานอย่างไร กำหนดจุดมุ่งหมายในการสอนครั้งนั้นอย่างไร จะใช้วิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ และวิธีการประเมินผลการเรียนอะไรบ้าง จึงจะสามารถทำให้การสอนนั้นบรรลุเป้าหมาย คือภายหลังเรียนแล้วรู้ เข้าใจ จดจำ นำไปใช้ ทำได้ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้ เป็นต้น


2. การออกแบบการเรียนการสอน: แบบจำลอง ADDIE
           รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ในการออกแบบระบบการเรียนการสอน ซึ่งมักจะเขียนในรูปแบบของผังแสดงลำดับการทำงาน (Flowchart) เพื่อแสดงรูปแบบให้เข้าใจได้ง่าย และรวดเร็ว โดยหลักการพื้นฐานในการออกแบบการเรียนการสอนที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ แบบจำลอง ADDIE ที่มีองค์ประกอบ 5 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ (Analysis) การออกแบบ (Design) การพัฒนา (Development) การนำไปใช้ (Implementation) และการประเมินผล (Evaluation) โดยรายละเอียดของการออกแบบการเรียนการสอนแบบจำลอง ADDIE ทั้ง 5 ขั้นตอนมีดังนี้

1. ขั้นการวิเคราะห์
การวิเคราะห์เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน ผู้ออกแบบจะต้องกำหนดความจำเป็นในการเรียน ทำการวิเคราะห์เนื้อหาหรือกิจกรรมการเรียนการสอน คุณลักษณะของผู้เรียน และวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนเพื่อรวบรวมข้อมูล สำหรับใช้เป็นแนวทางในการกำหนดขอบเขตของบทเรียน ขั้นการวิเคราะห์ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ดังนี้
       1.1 วิเคราะห์ความจำเป็น (Need Analysis) คือการวิเคราะห์เพื่อกำหนดเลือกว่าควรจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับอะไร โดยอาจหาข้อมูลจากความต้องการของผู้เรียน หรืออาจหาข้อมูลจากการกำหนดความจำเป็น ปัญหาขัดข้อง หรืออุปสรรคที่ทำให้การเรียนการสอนไม่บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ และพิจารณาว่ามีความจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องจัดการเรียนการสอน หากจำเป็นหรือสมควรจัด และควรจัดอย่างไร
       1.2 วิเคราะห์เนื้อหา หรือ กิจกรรมการเรียนการสอน (Content and Task Analysis) คือ การวิเคราะห์เพื่อจัดการเรียนการสอนให้ครอบคลุม หรือสอดคล้องกับความต้องการ ความจำเป็นในการเรียนการสอน โดยพิจารณาอย่างละเอียดด้านเนื้อหา มีการแบ่งเนื้อหาเป็นหัวข้อใหญ่ และหัวข้อย่อย ๆ เพื่อให้มีความชัดเจน กำหนดเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
      1.3 วิเคราะห์ผู้เรียน (Analyze Learner Characteristic) เป็นการวิเคราะห์เพื่อสรุปเป็นข้อมูลสำหรับการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน โดยวิเคราะห์ทั้งลักษณะทั่วไป เช่น อายุ ระดับ ความรู้ความสามารถ เพศ สังคม วัฒนธรรม เป็นต้น และควรวิเคราะห์ ลักษณะเฉพาะของผู้เรียนด้วย เช่น ความรู้พื้นฐาน ทักษะความชำนาญ หรือความถนัด รูปแบบการเรียน ทัศนคติ เป็นต้น
      1.4 วิเคราะห์วัตถุประสงค์ (Analyze Objective) วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน คือ จุดหมายปลายทางที่กำหนดไว้เพื่อให้ผู้เรียนและผู้สอนรู้ว่าเมื่อเรียนบทเรียนนั้น ๆ แล้วจะเกิดการเรียนรู้อะไรบ้าง ดังนั้นการกำหนดวัตถุประสงค์จึงต้องมีการวิเคราะห์อย่างละเอียดและรอบคอบ โดยอาจกำหนดจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายหลักของการเรียนการสอนก่อน แล้วจึงกำหนดเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถประเมินผลได้ชัดเจนเป็นรูปธรรมว่าผู้เรียนบรรลุผลการเรียนตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมแยกเป็น 3 ด้านคือ ตัวอย่าง
       1) วัตถุประสงค์ทางด้านพุทธิพิสัย คือ พฤติกรรมเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจ
      2) วัตถุประสงค์ด้านจิตพิสัย คือ พฤติกรรมเกี่ยวกับความรู้สึก ค่านิยม ทัศนคติ
      3) วัตถุประสงค์ด้านทักษะพิสัย คือ พฤติกรรมเกี่ยวกับการกระทำหรือการปฏิบัติ
      1.5 วิเคราะห์สภาพแวดล้อม (Analyze Environment) วัตถุประสงค์การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการสอน เพื่อเป็นการเตรียมการล่วงหน้าว่า สถานที่ เวลา และบริบทในการเรียนการสอนที่จะดำเนินการนั้นจะอยู่ในสภาพใด เช่น ขนาดห้องเรียน อุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนที่จะใช้คืออะไร

2. ขั้นการออกแบบ
การออกแบบเป็นกระบวนการกำหนดว่าจะดำเนินการเรียนการสอนอย่างไร โดยมีการเขียนวัตถุประสงค์จัดทำลำดับขั้นตอนของการเรียน กำหนดวิธีสอน เลือกสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสม และกำหนดวิธีการประเมินผลว่าผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ขั้นการออกแบบประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ทั้งด้านการระบุวัตถุประสงค์ ระบุวิธีสอน ระบุสื่อการสอน และระบุวิธีการประเมินผล


3. ขั้นการพัฒนา
การพัฒนาเป็นกระบวนการดำเนินการเตรียมการจัดการเรียนการสอน หรือ สร้างแผนการเรียนการสอน เลือกใช้สื่อการเรียนการสอนโดยพิจารณาสื่อที่มีอยู่ว่าเหมาะสมที่จะใช้ ควรปรับปรุงก่อนใช้หรือควรสร้างสื่อใหม่ และทำการประเมินผลขณะดำเนินการพัฒนาหรือสร้างเพื่อปรับปรุง แก้ไขให้ได้ ระบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ พัฒนาแผนการเรียนการสอน พัฒนาสื่อการเรียนการสอน ประเมินผลขณะดำเนินการพัฒนา ขั้นการพัฒนาประกอบด้วยขั้นตอนย่อย เช่น การพัฒนาแผนการเรียนการสอน การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน และการประเมินผลระหว่างดำเนินการพัฒนา

4. ขั้นการนำไปใช้
การนำไปใช้เป็นขั้นตอนการดำเนินการเรียนการสอนตามที่ได้ออกแบบและพัฒนาไว้แล้ว ในสภาพจริง

การนำการออกแบบการสอนไปใช้
5. ขั้นการประเมินผล
การประเมินผลเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการออกแบบระบบการเรียนการสอน เพื่อประเมินผลขั้นตอนต่าง ๆ ว่าเป็นไปตามที่ได้วางแผนหรือไม่ และทำการปรับปรุง แก้ไขให้ได้ระบบการสอนที่มีประสิทธิภาพ

รายละเอียดแบบจำลองการเรียนการสอนแบบ ADDIE สามารถแสดงได้ ดังภาพ


3. การออกแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิง (Instructional design for e-Learning)
         การออกแบบการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิง ไม่แตกต่างจากการออกแบบการเรียนการสอนที่ได้กล่าวมาแล้ว โดยสามารถกระทำได้เช่นเดียวกับการออกแบบการเรียนการสอนในห้องเรียนปกติทั้งนี้ผู้สอนแบบอีเลิร์นนิงนอกจากจะมีความสามารถในการสื่อสารการสอนเช่นเดียวกับการสอนห้องเรียนปกติแล้วยังต้องมีความรู้ความสามารถเข้าใจและมีความสามารถอย่างดีในการเลือกใช้เครื่องมือการสอนจากระบบบริหารจัดการเรียนการสอน และเครื่องมือทางอินเทอร์เน็ต เพื่อเป็นเครื่องมือในการสื่อสารปฏิสัมพันธ์ทางการเรียน เนื่องจากผู้เรียนและผู้สอนไม่ได้พบกันแบบเผชิญหน้าแเหมือนห้องเรียนปกติ
           การออกแบบระบบการเรียนการสอนเป็นกระบวนการ มีขั้นตอนในการวางแผนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้ระบบการเรียนการสอนที่ดี สำหรับการออกแบบระบบการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิงจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากแหล่งทรัพยากรที่มากกว่าการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนปกติ รูปแบบระบบการเรียนการสอนจึงมีส่วนสำคัญในการดำเนินการเพื่อประสานกับกลุ่มบุคคลที่เป็นแหล่งทรัพยากรและช่วยดำเนินการให้การเรียนการสอนอีเลิร์นนิงเกิดขึ้นได้
           การจัดการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงมีความแตกต่างไปจากการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนปกติ เนื่องจากผู้เรียนและผู้สอนอาจมีความแตกต่างกันในเรื่องของเวลา และสถานที่ ผู้ที่จัดการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงจึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจลักษณะและธรรมชาติของการเรียนการสอนทางไกลที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางซึ่งผู้เรียนมักคาดหวังการได้รับปฏิสัมพันธ์จากผู้สอนรวมถึงการตอบสนองความแตกต่างรายบุคคลที่มากกว่าในห้องเรียนปกติตลอดจนต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการการศึกษาทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต ทฤษฎีการสื่อสาร ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีระบบ และรูปแบบระบบการเรียนการสอน เพื่อเป็นฐานในการออกแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงได้อีกทั้งการออกแบบการสอนไม่ได้เป็นการเน้นที่การถ่ายโอนความรู้ (Transfer of knowledge) จากผู้สอนไปยังผู้เรียนเท่านั้น การเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิงจำเป็นต้องคำนึงถึงการออกแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญซึ่งประกอบด้วยการเรียนตามอัตราความก้าวหน้ารายบุคคลการมีปฏิสัมพันธ์ในการเรียนการสอนเป็นสำคัญ และสภาพแสวดล้อมทางการเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ตด้วย
สำหรับการจัดการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงนั้น แบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงสามารถนำหลักการพื้นฐานในการออกแบบการเรียนการสอน คือ แบบจำลอง ADDIE Model ทั้งองค์ประกอบ 5 ขั้นตอนคือ การวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้ และการประเมินผล มาเป็นแนวทางเพื่อการออกแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงได้เช่นเดียวกับการสอนในห้องเรียนปกติ มีรายละเอียดและตัวอย่างดังนี้
1. การวิเคราะห์
1.1 วิเคราะห์ความจำเป็น
จัดการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงในหลักสูตร รายวิชา หรือเนื้อหาอะไร
จัดการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิงเต็มรูปแบบ หรือแบบผสมผสาน หรือเสริมการเรียนการสอน
1.2 วิเคราะห์เนื้อหา หรือกิจกรรมการเรียนการสอน
     - การแบ่งเนื้อหาเป็นหัวข้อใหญ่ และหัวข้อย่อย ๆ เพื่อให้มีความชัดเจน กำหนดเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.3 วิเคราะห์ผู้เรียน
      - ข้อมูลผู้เรียน เช่น ระดับชั้น อายุ ความรู้พื้นฐาน เพื่อให้ได้บทเรียนที่มีคุณภาพ และเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
1.4 วิเคราะห์วัตถุประสงค์
       - กำหนดวัตถุประสงค์ทางด้านพุทธิพิสัย คือ พฤติกรรมเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจ ด้านจิตพิสัย คือ พฤติกรรมเกี่ยวกับความรู้สึก ค่านิยมทัศนคติ และด้านทักษะพิสัย คือ พฤติกรรมเกี่ยวกับการกระทำหรือการปฏิบัติ
         - ระดับชั้น อายุ ความรู้พื้นฐาน เพื่อให้ได้บทเรียนที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
1.5 วิเคราะห์สภาพแวดล้อม
       - อุปกรณ์สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น เครื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แม่ข่าย จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในสถาบัน ระบบจัดการสอน
           - จำนวนผู้เรียนที่มีคอมพิวเตอร์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพา สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ความเร็ว
2. ออกแบบ
         - การเขียนผังงาน การออกแบบ storyboard เพื่อจัดลำดับความสัมพันธ์ของเนื้อหาแต่ละส่วน บทดำเนินเรื่อง และการออกแบบบทเรียน ภาพ ข้อความ เสียง หรือมัลติมีเดีย กิจกรรมการเรียน การกำหนดปฏิสัมพันธ์การเรียน และการประเมินผล
              - การนำตัวบทเรียนที่ผ่านการออกแบบและวิเคราะห์จากขั้นวิเคราะห์มาพัฒนาเป็นการเรียนอีเลิร์นนิง
       - การออกแบบหน้าจอภาพ (screen design) การจัดพื้นที่และองค์ประกอบของจอภาพเพื่อใช้ในการนำเสนอเนื้อหา ภาพ กราฟิก เสียง สี ตัวอักษร และส่วนประกอบอื่น ๆ ให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของผู้เรียน
3. พัฒนา
ขั้นพัฒนาเป็นขั้นตอนของการลงมือปฏิบัติการสร้างบทเรียนตามผลการออกแบบจากขั้นตอนที่สอง ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยผู้มีความเชี่ยวชาญหลายด้าน เช่น นักออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก นักคอมพิวเตอร์ผู้ดูแลและจัดการระบบการจัดการเรียนการสอน (LMS: learning management system) เช่น
1. ตัวอักษรของเนื้อหาข้อความภาษาไทยและภาษาอังกฤษควรใช้ตัวหัวกลม แบบธรรมดา หนึ่งหน้าจอควรมีเนื้อหาไม่เกิน 8 - 10 บรรทัดและควรใช้ลักษณะเหมือนกัน รูปแบบเดียวตลอดหนึ่งบทเรียน
2.ภาพกราฟิกควรใช้ภาพการ์ตูนภาพวีดีทัศน์ ภาพล้อเสมือนจริงที่เป็นภาพเคลื่อนไหว 2 มิติ (animation) และ 3 มิติ (3 D animation) จำนวน 1 ถึง 3 ภาพภายในหนึ่งหน้าจอ และภาพพื้นหลัง (ถ้ามีควรใช้ภาพลายน้ำ สีจางลักษณะเดียวกันตลอดหนึ่งบทเรียน
3. สีที่ปรากฏในจอภาพและสีของตัวอักษร ข้อความไม่ควรใช้เกินจำนวน 3 สี โดยคำนึงถึงสีพื้นหลังประกอบด้วย
4. สื่อชั้นนำในการนำทาง (navigational aids) ควรเลือกใช้สัญรูป (icon) แบบปุ่มรูปภาพ แบบรูปลูกศรพร้อมทั้งอธิบายข้อความสั้น ๆ ประกอบสัญลักษณ์หรือแสดงข้อความ hypertext และใช้เมนูแบบปุ่ม (button) แบบ Pop Up ที่แสดงสัญลักษณ์สื่อความหมายได้เข้าใจชัดเจน
5. ปัจจัยสนับสนุนเพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนาบทเรียน เช่น การเลือกใช้ระบบบริการจัดการเนื้อหา (CMS: content management system) แหล่งสนับสนุนการเรียนรู้ การใช้เครื่องมือสื่อสารปฏิสัมพันธ์


4. นำไปใช้
การนำเสนอการเรียนผ่านระบบบริหารจัดการเรียนการสอนเผยแพร่บนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (network) และสู่การนำไปจัดการเรียนการสอนจริง
5. ประเมิน
                การประเมินการวิเคราะห์ การประเมินการออกแบบ การประเมินการพัฒนา และการประเมินเมื่อนำไปใช้จริงของระบบอีเลิร์นนิง โดยกระทำระหว่างดำเนินการ คือการประเมินระหว่างดำเนินงาน (formative evaluation) และประเมินภายหลังการดำเนินงาน (summative evaluation) การประเมินจะทำใหผู้พัฒนาทราบข้อมูลเพื่อการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในขั้นตอนต่าง ๆ 

การนำแบบจำลอง ADDIE เพื่อการออกแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงสู่การปฏิบัตินั้น นอกจากจะดำเนินการตามขั้นตอนตามแบบจำลองแล้ว การให้ความสำคัญขั้นตอนต่าง ๆ ในแบบจำลอง ADDIE นั้น ผู้เขียนเองแบ่งสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน โดยให้ความสำคัญกับ 3 ลำดับแรก คือ การวิเคราะห์ การนำไปใช้ และการประเมิน ในสัดส่วนที่เท่ากันคือร้อยละ 33 ลำดับถัดมา คือการพัฒนาร้อยละ 23 และลำดับสุดท้าย คือการออกแบบร้อยละ 10
แบบจำลองการออกแบบการสอน ADDIE นี้ สามารถนำมาใช้เพื่อการออกแบบการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิงโดยกว้าง ๆ ที่ผู้ประสงค์จะพัฒนาอีเลิร์นนิงสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา หรือไปขยายรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนเพื่อการพัฒนาอีเลิร์นนิงตามหลักการที่ถูกต้องต่อไป