วันจันทร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2561

ปัญหาหลักของการออกแบบการสอน

ปัญหาหลักของการออกแบบการเรียนการสอน
ผู้ออกแบบการเรียนการสอนจะต้องตระหนักและพยายามหลีกเลี่ยงปัญหาหลักดังนี้
1. ปัญหาด้านทิศทาง (Direction)
2. ปัญหาด้านการวัดผล (Evaluation)
3. ปัญหาด้านเนื้อหาและการลำดับเนื้อหา (Content and Sequence)
4. ปัญหาด้านวิธีการ (Method)
5. ปัญหาข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraint)


1.ปัญหาด้านทิศทาง (Direction)
         ปัญหาด้านทิศทางของผู้เรียนก็คือ ผู้เรียนไม่ทราบว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร ไม่รู้ว่าจะต้องเรียนอะไร
ต้องสนใจจุดไหน สรุปแล้วพูดไว้ว่าเป็นปัญหาด้านจุดมุ่งหมาย
2.ปัญหาด้านการวัดผล 
(Evaluation)
         ปัญหาการวัดผลนี้จะเกิดขึ้นกับทั้งผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะมีปัญหา เช่น จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนของตนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ จะรู้ได้อย่างไรว่าวิธีการที่ตนใช้อยู่นั้นใช้ได้ผลดี ถ้าจะปรับปรุงเนื้อหาที่สอนจะปรับปรุงตรงไหน จะให้คะแนนอย่างยุติธรรมได้อย่างไร
ปัญหาของผู้เรียนเกี่ยวกับการวัดผลอาจเป็น ฉันเรียนรู้อะไรบ้างจากสิ่งนี้ ข้อสอบยากเกินไป ข้อสอบกำกวม อื่น ๆ
3.ปัญหาด้านเนื้อหา และการลำดับเนื้อหา 
(Content and Sequence)
         ปัญหานี้เกิดขึ้นกับครูและผู้เรียนเช่นเดี่ยวกัน ในส่วนของครูอาจจะสอนเนื้อหาที่ไม่ต่อเนื่องกัน เนื้อหายากเกินไป เนื้อหาไม่ตรงกับจุดมุ่งหมาย เนื้อหาไม่สัมพันธ์กัน และอื่น ๆ อีกมากมาย ในส่วนของผู้เรียนก็จะเกิดปัญหาเช่นเดี่ยวกับที่กล่าวข้างต้นอันเป็นผลมาจากครู 
4.ปัญหาด้านวิธีการ (Method)
         การสอนหรือวิธีการสอนของครูทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่าย ไม่อยากเข้าห้องเรียน มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียนสิ่งนั้น ๆ หรือปัญหาการสอนที่ไม่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ตั้งเอาไว้ เช่น ตั้งเป้าหมายไว้ว่าให้ผู้เรียนสามารถใช้กล้องถ่ายวิดีโอได้อย่างชำนาญ แต่วิธีสอนกลับบรรยายให้ฟังเฉย ๆ และผู้เรียนไม่มีสิทธิจับกล้องเลย เป็นต้น
5.ปัญหาข้อจำจัดต่างๆ (Constraint)
         ในการสอนหรือการฝึกอบรมนั้นต้องใช้แหล่งทรัพยากร 3 ลักษณะ คือ บุคลากร ครูผู้สอน และสถาบันต่าง ๆ บุคลาการที่ว่านี้อาจจะเป็นวิทยากร ผู้ช่วยเหลือต่าง ๆ เช่น พนักงานพิมพ์ ผู้ควบคุมเครื่องไม้เครื่องมือ หรืออื่น ๆ

         สถาบันต่าง ๆ หมายถึง แหล่งที่เป็นความรู้ แหล่งที่จะให้ความร่วมมือสนับสนุนต่าง ๆ อาจเป็นห้องสมุด หน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้น

หลักการขั้นตอนของการออกแบบการสอน

หลักการพื้นฐานในการออกแบบการเรียนการสอน 

        ในการออกแบบการเรียนการสอนมีหลักการพื้นฐานที่ผู้ออกแบบการเรียนการสอนควร คำนึงถึงเพื่อช่วยให้การออกแบบการเรียนการสอนมีคุณภาพ ดังนี้ (Gagné, Wager, Golas, & Keller, 2005, pp. 2-3; Smith & Ragan, 1999, p.18) 


        1. คำนึงถึงผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นเป้าหมายสำคัญ การออกแบบการเรียนการสอนมี จุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ มากกว่ากระบวนการสอน ผู้ออกแบบการเรียนการสอน จะต้องพิจารณาผลการเรียนรู้อย่างชัดเจน เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับการเลือกกระบวนการเรียน การสอน กิจกรรมการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

        2. คำนึงถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ ได้แก่ การอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้กับ ผู้เรียน เวลาที่ใช้ คุณภาพการสอน เจตคติและความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน ปัจจัยเหล่านี้ควร นำมาพิจารณาในการออกแบบการเรียนการสอน

        3. รู้จักประยุกต์ใช้หลักการเรียนการสอน วิธีสอน รูปแบบการเรียนการสอน ให้เหมาะสมกับ ระดับวัยของผู้เรียนและเนื้อหาสาระ เพื่อให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ และมีส่วนร่วมทั้ง ทางด้านร่างกาย สติปัญญาและจิตใจในกิจกรรมการเรียนการสอน

        4. ใช้วิธีการและสื่อที่หลากหลาย ผู้ออกแบบการเรียนการสอนควรเลือกใช้สื่อที่ช่วยให้การ เรียนรู้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และความแตกต่างในการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจและกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น

        5. มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การเรียนการสอนที่มีคุณภาพควรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการวางแผน การนำไปทดลองใช้จริง และนำผลการทดลองและข้อเสนอแนะจากผู้เรียนมา ปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมากขึ้น การพัฒนาอย่างต่อเนื่องเช่นนี้จะทำให้การเรียนการสอน มีคุณภาพ

        6. มีการประเมินผลครอบคลุมทั้งกระบวนการเรียนการสอนและการประเมินผลผู้เรียน ทั้งนี้ เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และน่าสนใจ มากขึ้น การประเมินผลผู้เรียน ไม่ควรมีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อทราบผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเท่านั้น แต่ ควรให้ได้ข้อมูลที่นำไปพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้

        7. องค์ประกอบการเรียนการสอนมีความสัมพันธ์กัน องค์ประกอบการเรียนการสอน เช่น จุดประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดประเมินผล ควรมีความสัมพันธ์สอดคล้อง กัน และเหมาะสมกับผู้เรียนและบริบทการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการ

        หลักการพื้นฐานในการออกแบบการเรียนการสอนที่นำมากล่าวข้างต้นนี้เป็นแนวทางทั่วไป สำหรับนักออกแบบการเรียนการสอนที่เริ่มต้นการท างานในด้านนี้ได้นำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับ สภาพและบริบทการเรียนการสอน

ประโยชน์ของการออกแบบการสอน

ประโยชน์และข้อจำกัดของการใช้ระบบการเรียนการสอน

          ระบบการเรียนการสอนและวิธีการเชิงระบบ ได้มีบทบาทสำคัญในการออกแบบและ พัฒนาการเรียนการสอน  อย่างไรก็ตามพบว่าระบบการเรียนการสอนและวิธีการเชิงระบบที่ใช้อยู่เดิมแม้ จะมีประโยชน์อย่างมากแต่ก็มีข้อจำกัดบางประการ ซึ่งนำไปสู่แนวคิดใหม่ในการออกแบบระบบการ เรียนการสอน และรูปแบบของการออกแบบการเรียนการสอน ดังนี้

ประโยชน์ของการใช้ระบบการเรียนการสอน
 ระบบการเรียนการสอนมีประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน ดังนี้ (Smith & Ragan, 1999, pp. 8-9., Dick, carey, Carey, 2001, p.11)
 1) ระบบการเรียนการสอนเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวที่จัดวางองค์ประกอบของการเรียนการสอน ต่าง ๆ ไว้อย่างเป็นระเบียบ ทำให้ครูรู้จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน การดำเนินการจัดการเรียนการสอน และการวัดผลผู้เรียน ซึ่งอำนวยความสะดวกแก่ครูในการเตรียมการสอนทำให้เกิดความพร้อมในการ ดำเนินงาน
          2) ส่งเสริมให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ คือสามารถควบคุมการดำเนินงานให้ บรรลุจุดมุ่งหมายได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มีคุณภาพ และประหยัดทรัพยากร รวมทั้งเวลา ดีกว่าการ
จัดการเรียนการสอนที่ขาดระบบ เพราะจะทำให้เกิดความสับสน เพราะไม่ทราบจุดมุ่งหมายชัดเจนและ ไม่สามารถควบคุมการดำเนินงานได้
          3) ช่วยให้ครูทราบปัญหาและหาแนวทางในการแก้ปัญหาการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม  เพราะมีระบบควบคุมกระบวนการดำเนินการทำให้ทราบว่าผลการเรียนรู้ของนักเรียนเกิดจากปัญหาการ ดำเนินงานในส่วนใด เพื่อหาทางแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
 4) ช่วยให้ครูได้นำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ไปใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุง การเรียนการสอนให้มีคุณภาพดีขึ้น
  5) การน าวิธีการเชิงระบบไปใช้ในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ทาง การศึกษาต่าง ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีคุณภาพ เป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้อย่าง กว้างขวาง 

 ข้อจำกัดของการใช้ระบบการเรียนการสอน
นักออกแบบการเรียนการสอน มีความเห็นว่าระบบการเรียนการสอนแบบเดิมที่จัด องค์ประกอบการเรียนการสอนแบบเส้นตรง มีข้อจำกัดในการนำไปใช้ ดังนี้
 1) การน าแนวคิดระบบและวิธีการเชิงระบบมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนนั้นมี ค่าใช้จ่ายสูง และใช้ระยะเวลาในการดำเนินการนานกว่าจะเสร็จสมบูรณ์ตามขั้นตอนการดำเนินงานที่ กำหนด แม้ว่าจะมีคุณค่า จึงไม่เหมาะกับการพัฒนาการเรียนการสอนที่ทำในระบบที่ต้องการการปรับตัว อย่างรวดเร็ว เช่น การออกแบบสื่อคอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์ที่ต้องมีการปรับตัวตามความก้าวหน้าของ เทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
 2) ระบบการเรียนการสอนแบบเดิมมีความซับซ้อน ยุ่งยาก เพราะ เน้นการรวบรวมข้อมูลเชิง ประจักษ์มากมายเกินความจำเป็น เนื่องจากเน้นคุณภาพของผลผลิต เป็นสำคัญ จึงเป็นกระบวนการที่ไม่ เหมาะสมในการปฏิบัติจริงในระบบเล็ก ๆ เช่นการพัฒนาการเรียนการสอนของครูในห้องเรียน

          3) ระบบการเรียนการสอนที่กำหนดไว้ตายตัว ไม่สอดคล้องกับบริบทที่มีเงื่อนไขแตกต่างกัน การพัฒนาการเรียนการสอน ควรเริ่มต้นจากความเป็นไปได้ ณ จุดเริ่มต้นใดก็ได้ ตามเงื่อนไขของเวลา และทรัพยากรที่มีอยู่ และค่อย ๆ ปรับปรุงกระบวนการไปตามบริบทและเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงไป

ที่มา : https://sites.google.com/site/bthreiyn1234/prayochn-laea-khx-cakad-khxng-kar-chi-rabb-kar-reiyn-kar-sxn

ความหมายการออกแบบการสอน

ความหมายของการออกแบบการเรียนการสอน

 การออกแบบการเรียนการสอน เป็นคำที่ประกอบด้วยคำสำคัญ 2 คำคือ “การออกแบบ” และ “การเรียนการสอน” ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจความหมายของการออกแบบการเรียนการสอน อย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับการออกแบบในเรื่องอื่น ๆ และงานของนักออกแบบการเรียนการสอน ว่าเป็นอย่างไร จึงขอกล่าวถึงในรายละเอียดของคำทั้งสองดังนี้

 การออกแบบ  
 การออกแบบ (design) เป็นคำที่มีการใช้ในศาสตร์สาขาต่าง ๆ เช่น การออกแบบสถาปัตยกรรม การออกแบบมัณฑนศิลป์ การออกแบบเครื่องประดับ เป็นต้น คำว่า “การออกแบบ” หมายถึง การแก้ปัญหา อย่างเป็นระบบและเป็นกระบวนการที่ดำเนินการก่อนการพัฒนาหรือสร้างบางสิ่งบางอย่าง หรือมี จุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่มีเป้าหมายเฉพาะเจาะจงไม่ใช่ การแก้ปัญหาทั่วไป ดังนั้นเมื่อนำการออกแบบมาใช้กับการเรียนการสอน การออกแบบการเรียน การสอนจึงแตกต่างจากการวางแผนการเรียนการสอนทั่วไปตรงที่การออกแบบการเรียนการสอนมี จุดมุ่งหมายที่มีความเฉพาะเจาะจง มุ่งเน้นเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้อย่างใดอย่างหนึ่งของนักเรียน การออกแบบโดยทั่วไปเป็นกระบวนการที่รวมถึงการวางแผน การพัฒนาและการประเมินผล ทั้งสาม ส่วนนี้ล้วนส่งผลต่อจุดประสงค์หรือเป้าหมายที่ต้องการ เช่นเดียวกับการออกแบบการเรียนการสอนที่ มุ่งผลการเรียนรู้ของนักเรียน ดังนั้นจึงต้องทำด้วยความแน่นอนระมัดระวังและใช้ความชำนาญการ สิ่งที่นักออกแบบต้องคำนึงถึงคือ ด้านประสิทธิผล หรือผลการเรียนรู้ที่ต้องการ ประสิทธิภาพ คือ การประหยัดในด้านของเวลาและการใช้ทรัพยากรและความพึงพอใจที่มีต่อผลงาน นอกจากนี้การ ออกแบบยังเป็นงานที่ต้องอาศัยทั้งความคิดสร้างสรรค์และความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการออกแบบ ดังนั้น ผลงานของการออกแบบแม้จะมีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกัน ใช้แนวคิดและหลักการอย่างเดียวกัน ผลงาน การออกแบบก็อาจจะแตกต่างกันได้ จากการรวบรวมข้อสังเกตในการออกแบบในงานต่าง ๆ จำนวนมากรวมถึงงานการออกแบบการเรียนการสอน โดยโรว์แลนด์ (Rowland, 1993 cited in Smith & Ragan, 1999, pp. 4-5) ได้สรุปลักษณะที่สำคัญของการออกแบบไว้ดังนี้
 1) การออกแบบเป็นกระบวนการที่มีเป้าหมายเป็นสิ่งนำทางเพื่อสร้างสิ่งใหม่
2) สิ่งใหม่ที่เป็นผลงานการออกแบบต้องนำไปใช้ได้และมีประโยชน์ 3) งานพื้นฐานในการออกแบบคือการแปลงสารสนเทศจากความต้องการไปสู่สารสนเทศ ในการออกแบบผลงาน
4) การออกแบบต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
5) การออกแบบเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา แต่การแก้ไขปัญหาทั้งหลายไม่จำเป็นต้องผ่าน การออกแบบ
 6) ในการออกแบบนั้นกระบวนการแก้ปัญหาเป็นได้ทั้งกระบวนการที่มีขั้นตอนเป็นลำดับขั้น หรือเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ
7) การออกแบบเป็นศาสตร์ หรือผสมผสานระหว่างศาสตร์และศิลป์
8) การออกแบบต้องอาศัยทักษะทางเทคนิค ความคิดสร้างสรรค์ ความเป็นเหตุผลและใช้ กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ
9) กระบวนการออกแบบเป็นกระบวนการพัฒนา

การเรียนการสอน
            ทิศนา  แขมมณี (2555, หน้า 2-6) ได้วิเคราะห์วิวัฒนาการของการสอนไว้อย่างชัดเจนโดย กล่าวว่า การสอนเป็นพฤติกรรมทางธรรมชาติของมนุษย์ในการที่จะช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้ สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิต ในยุคแรก ๆ การสอนมีลักษณะของการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความเชื่อ ทักษะและเจตคติ ในยุคนั้นเชื่อว่าความสามารถที่สอนผู้อื่นได้เป็นความสามารถ พิเศษเฉพาะที่บางคนมี เป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิด ไม่สามารถฝึกฝนกันได้ การสอนในช่วงนี้จึงมีลักษณะ เป็นศิลป์มากกว่าศาสตร์ คำศัพท์ที่ใช้ในช่วงนี้ ได้แก่   “การครอบงำ” (indoctrination) ใช้ในความหมายที่เป็นการใช้อิทธิพลในการดำเนินการโดย มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนละทิ้งความคิด ความเชื่อเดิม  “การปลูกฝัง” (inculcation) ใช้ในความหมายที่เป็นการพร่ำสอนความคิดความเชื่อด้วย วิธีการชักจูง โน้มน้าวให้ผู้เรียนคล้อยตาม   “การสอน” (teaching) เป็นการดำเนินการสอนในลักษณะที่เป็นทางการในเรื่องอื่น ๆ นอกเหนือจาก ลัทธิความเชื่อ เช่นในเรื่องของอาชีพ การสอนเป็นการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความเชื่อ ทักษะและ เจตคติ โดยเน้นหนักที่บทบาทของผู้สอน และความสัมพันธ์ของผู้สอนกับผู้เรียน หรือ “ครูกับศิษย์”  การถ่ายทอดโดยครู เรียกว่าเป็น “การสั่งสอน” หรือ “การสอน”   ต่อมาเมื่อวิทยาการทางการศึกษาก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ การสอนก็เริ่มเปลี่ยนแปลงเป็นศาสตร์ มากขึ้นเนื่องจากมีการศึกษาวิจัยซึ่งชี้ว่า การจัดการเรียนการสอนที่มีการวางแผนและมีการใช้หลักการ ทางการศึกษาต่าง ๆ อย่างเหมาะสมจะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ที่ก าหนดไว้ ในยุคนี้ จึงนิยมใช้คำว่า “การเรียนการสอน” (instruction) ดังนั้น การเรียนการสอนจึงหมายถึงการจัดเตรียม เงื่อนไขการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้อย่างตั้งใจเพื่อทำให้ ผู้เรียนเกิดความสามารถในด้านใดด้านหนึ่งตามที่ต้องการ นอกจากนี้คำว่า “การสอน” และ “การเรียน การสอน” ก็เป็นคำที่มักใช้แทนกัน (Smith & Ragan, 1999, p. 3)  ในยุคที่การสอนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์นี้ ยังมีคำศัพท์อื่น ๆ ที่ใช้สื่อความหมายเช่นเดียวกับ คำว่า “การสอน” แต่ต่างกันในรายละเอียด ซึ่งทิศนา  แขมมณี (2555, หน้า 7-11) ได้แจกแจงไว้อย่าง ชัดเจน สรุปได้ดังนี้   การศึกษา (education) เป็นคำที่ใช้ในวงกว้าง หมายถึง ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ไม่เจาะจง ส่วนใหญ่มิได้มีการวางแผน เกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ   การฝึกอบรม (training) หมายถึง ประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีโครงสร้างเฉพาะเพื่อพัฒนา ทักษะเฉพาะซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันที เช่น การฝึกอบรมทักษะวิชาชีพต่าง ๆ   การติวหรือกวดวิชา (tutoring) หมายถึง การสอนซ่อมเสริมเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในจุดที่เป็นปัญหาหรือเป็นความต้องการของผู้เรียน ซึ่งมักเป็นการสอนแบบกลุ่มเล็กหรือตัวต่อตัวเพื่อให้ ได้ผลต่อผู้เรียนสูงสุด  การชี้แนะ (coaching) หมายถึง การสอนเป็นรายบุคคลโดยผู้สอนท าหน้าที่สาธิตและกำกับ การปฏิบัติของผู้เรียน ให้คำชี้แนะเพื่อปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติของผู้เรียนจนผู้เรียนประสบความสำเร็จ มักนิยมใช้ในวงการที่เน้นลักษณะงานที่เป็นการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น วงการกีฬา เป็นต้น  การนิเทศ (supervising) ใช้ในความหมายเดียวกับการชี้แนะ มักนิยมใช้ในวงวิชาชีพ เช่น  ในวงการศึกษามีศึกษานิเทศก์ทำหน้าที่ในการนิเทศการศึกษา ในวงการธุรกิจมีบุคลทำหน้าที่นิเทศ การปฏิบัติงาน เป็นต้น การสอนทางไกล (distance learning) เป็นการสอนที่ผู้เรียนและผู้สอนไม่จำเป็นต้องอยู่ที่ เดียวกัน ผู้เรียนจำนวนมากไม่ว่าจะอยู่ที่ใดสามารถจะเรียนรู้จากครูผู้สอนคนเดียวกันได้ในเวลาเดียวกัน โดยอาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วีดีทัศน์ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร  การสอนแบบไม่มีครู (instruction without teacher) เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้โปรแกรม สำเร็จรูป (programmed instruction) ที่มีผู้จัดทำไว้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โปรแกรมสำเร็จรูปนี้มีทั้งที่อยู่ในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์ ตำรา เอกสารหรือแผ่นดิสก์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า “คอมพิวเตอร์ช่วยสอน” (computer-assisted instruction หรือ CAI) ซึ่งการเรียนรู้ในลักษณะนี้ จะมีบทบาทมากขึ้นในอนาคต  การสร้างความรู้โดยผู้เรียน (construction) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ซึ่งมี พื้นฐานจากแนวคิดการเรียนรู้ที่เปลี่ยนบทบาทของครูจากผู้ดำเนินการเรียนการสอนมาเป็นผู้อำนวย ความสะดวกในการเรียนรู้ของผู้เรียน และเน้นบทบาทของผู้เรียนเป็นผู้กระทำ (acting on) เพื่อสร้าง ความรู้ความเข้าใจประสบการณ์ เหตุการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ในสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ได้ประสบ ด้วยกระบวนการทางปัญญาและกระบวนการทางสังคม ไม่ใช่การรับเข้ามา (taking in) จากการที่ครูเป็น ผู้ถ่ายทอด  คำศัพท์ที่ใช้กับการสอนที่มีอยู่อย่างหลากหลายดังกล่าวข้างต้น สะท้อนให้เห็นแนวโน้มของ บทบาทของครูในกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจนจากผู้ที่มีบทบาทเด่นและ เป็นฝ่ายกระทำ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้มาเป็นผู้เรียนมีบทบาทเด่นและเป็นฝ่ายลงมือกระทำเองเพื่อ สร้างความรู้ ซึ่งตรงกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545) ซึ่งกล่าวถึงแนวการจัดการศึกษาในมาตรา 22 ไว้ดังนี้   “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้  และถือว่าผู้เรียนมีความส าคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตาม ธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ”  การสอนจึงเป็นกระบวนการที่เน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการดำเนินการที่เกิดขึ้นนั้นเป็นไปอย่างมีการวางแผนหรือตั้งใจให้ เกิดขึ้นมิใช่การเกิดขึ้นตามยถากรรม ส่วนการเรียนการสอนอาจมีครูหรือไม่มีครูก็ได้ สมิทและราแกน (Smith & Ragan, 1999, p. 3) ได้แสดงภาพความสัมพันธ์ของคำที่มีการใช้มากที่สุดคือคำว่าการศึกษา (education) การเรียนการสอน (instruction) การฝึกอบรม (training) และการสอน (teaching) ดัง ภาพที่ 1.1 

ภาพที่ 1.1  ความสัมพันธ์ของคำที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ที่มา:  Smith & Ragan, 1999, p. 3

จากภาพที่ 1.1 จะเห็นว่าการศึกษาเป็นคำที่มีความหมายกว้างที่สุด ทั้งการสอนและการเรียน การสอนก็เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่อยู่ในการศึกษาด้วย ซึ่งคำว่าการสอนและการเรียนการสอน มักเป็นคำที่ใช้แทนกัน แต่การสอนเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดโดยผู้สอนเท่านั้นไม่สามารถจัดได้ ด้วยสื่ออื่น ๆ เช่น วีดีทัศน์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือสื่ออื่น ๆ โดยไม่มีผู้สอนร่วมด้วย ซึ่งแตกต่างจาก การเรียนการสอนซึ่งไม่จำเป็นต้องมีผู้สอนก็ได้ ส่วนคำว่าการฝึกอบรมนั้นเป็นการจัดการเรียนการสอน ที่มีจุดประสงค์ที่เฉพาะเจาะจงในการฝึกทักษะใดทักษะหนึ่งหรือประสบการณ์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งและ ต้องมีผู้สอนร่วมด้วย  จะเห็นว่าการออกแบบและการเรียนการสอนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ผ่านการพัฒนาการมา อย่างต่อเนื่อง ตามพัฒนาการและความเจริญก้าวหน้าของสังคม 

 การออกแบบการเรียนการสอน
 เมื่อนำคำทั้งสองคือ “การออกแบบ” และ “การเรียนการสอน” มารวมกันเป็น “การออกแบบ การเรียนการสอน” (instructional design) นักการศึกษาด้านการออกแบบการเรียนการสอนได้ให้ ความหมายไว้ดังนี้
 ดิคและแครี (Dick & Carey, 1985, p. 5) ให้ความหมาย การออกแบบการเรียนการสอน คือ กระบวนการวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเรียนการสอนที่ต้องการ โดยตอบคำถามให้ได้ว่าจะสอนอะไรและสอนอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมาย และจะทราบได้ อย่างไรว่าบรรลุเป้าหมายแล้ว  ซีลส์ และกลาสโกว์ (Seels & Glasgow, 1990, p.4) ให้ความหมาย การออกแบบการเรียน การสอน คือกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบที่นำเอาทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีการสอนมาทำให้ การเรียนการสอนมีคุณภาพ  แชมบอช และมาเกลียโร (Shambaugh & Magliaro, 1997, p. 24) ให้ความหมายของ   การออกแบบการเรียนการสอน คือ กระบวนการเชิงระบบที่ใช้ในการวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน เพื่อจัดหาสิ่งที่จะช่วยให้นักออกแบบการเรียนการสอนสร้างสิ่งที่เป็นไปได้เพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้เรียน 
สมิทและราแกน (Smith & Ragan, 1999, p. 2) ให้ความหมาย การออกแบบการเรียนการสอน คือ กระบวนการที่เป็นระบบในการน าหลักการเรียนรู้และหลักการสอนไปวางแผนสื่อ วัสดุ อุปกรณ์  การเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน  กานเย เวเกอร์ โกลาส และเคลเลอร์ (Gagné, Wager, Golas, & Keller, 2005, p. 1) ให้ความหมาย ของการออกแบบการเรียนการสอน เป็นการนำหลักการเรียนรู้ไปออกแบบเหตุการณ์ ที่ประกอบด้วย กิจกรรมต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นอย่างมีเป้าประสงค์ชัดเจน หรือที่เรียกว่า การเรียนการสอนให้มี ประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่คาดหวัง  จากแนวคิดของนักการศึกษาดังกล่าว สรุปได้ว่า การออกแบบการเรียนการสอนมีลักษณะที่ สำคัญ คือ เป็นกระบวนการที่เป็นระบบที่นำมาใช้ในการศึกษาความต้องการของผู้เรียนและปัญหาการเรียน การสอนเพื่อแสวงหาแนวทางที่จะช่วยแก้ปัญหาการเรียนการสอน ซึ่งอาจเป็นการปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่หรือ สร้างสิ่งใหม่โดยนำหลักการเรียนรู้และหลักการสอนมาใช้ในการดำเนินการ เป้าหมายของการออกแบบ การเรียนการสอนคือการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน  จากความหมายข้างต้นอาจมีผู้สงสัยว่า การออกแบบการเรียนการสอนมีความเหมือนหรือ แตกต่างจากการวางแผนการเรียนการสอนอย่างไร หากย้อนไปดูที่ลักษณะสำคัญของการออกแบบตาม ที่โรว์แลนด์ ได้กล่าวไว้ในตอนต้นในเรื่องลักษณะสำคัญของการออกแบบก็จะพบคำตอบว่า การวางแผน การเรียนการสอนโดยทั่วไปอาจจะไม่มีการออกแบบการเรียนการสอน แต่การออกแบบการเรียน     การสอนต้องมีการวางแผนการเรียนการสอนเสมอ ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องมีทั้งความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์


ประวัติของการออกแบบการสอน

ความเป็นมาของการออกแบบการเรียนการสอน



การออกแบบการเรียนการสอนมีจุดเริ่มต้นจากความต้องการในการวิจัยและพัฒนาสื่อที่ใช้สำหรับฝึกอบรมกำลังคนที่ทำงานในด้านต่างๆ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และต่อมามีความตื่นตัวในการพัฒนาบทเรียนแบบโปรแกรมทำให้งานด้านการออกแบบการเรียนการสอนเป็นงานที่ได้รับความสนใจมากขึ้น ผู้ที่ทำงานในด้านการออกแบบการเรียนการสอนในช่วงปี ค.ศ. 1970 ได้แก่ บุคคลที่เรียกตัวเองว่านักจิตวิทยาการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ หรือนักออกแบบการฝึกอบรม คำว่า “การออกแบบการเรียนการสอน” เพิ่งจะนำมาใช้เมื่อช่วงปี ค.ศ. 1980 และเริ่มต้นในภาคเอกชนที่อยู่ในสายธุรกิจและ อุตสาหกรรม ก่อนที่จะเข้ามาสู่ภาครัฐ เช่น ในงานด้านการสาธารณสุข การศึกษาและการทหาร สำหรับประเทศไทย คำว่า “การออกแบบการเรียนการสอน” เป็นคำที่มีการนำมาใช้อย่างกว้างขวางในช่วงของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษแรก (พ.ศ. 2540-2550) และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยคุรุสภา (2556) ได้กำหนดให้การออกแบบและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เป็นมาตรฐานความรู้และประสบการณ์ วิชาชีพของครู จะเห็นว่าการออกแบบการเรียนการสอน ได้มีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งเป็นไปในทิศทาง เดียวกันทั้งการศึกษาของไทยและสากล ดังที่ ริชี เคลน และเทรซี (Richey, Klein, & Tracy, 2011, p. 1) กล่าวว่า การออกแบบการเรียนการสอนได้กลายเป็นวิชาชีพหนึ่ง เช่นเดียวกับที่เป็นศาสตร์การศึกษาสาขาหนึ่ง ในฐานะของวิชาชีพการออกแบบการเรียนการสอน ผู้ที่ประกอบวิชาชีพนี้จะต้องมีความชำนาญในการทางานหรือมีสมรรถนะของวิชาชีพที่ระบุไว้ชัดเจน ในฐานะเป็นศาสตร์สาขาหนึ่ง การออกแบบการเรียนการสอนอาศัยการวิจัยและทฤษฎีเป็นฐานในการสร้างความรู้



ประมวลรายวิชา (Course Syllabus)


ประมวลรายวิชา (Course Syllabus)

ชื่อรายวิชา  
การจัดการเรียนรู้ และการจัดการในชั้นเรียน  
หมวดวิชา  
วิชาเฉพาะ
ระดับวิชา  
ปริญญาตรี                                         
รหัสวิชา  
๓๑๓๐๐๓๐๖
หน่วยกิต  
 (๓-๐-๖)                            
ภาคเรียนที่  
/๒๕๖๐
เงื่อนไขรายวิชา  
ไม่มี                    
ประเภทวิชา  
กลุ่มวิชาชีพครู
อาจารย์ผู้สอน  
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา  ธงพานิช


๑. คำอธิบายรายวิชา
       ความหมาย กระบวนการของการออกแบบและการจัดการเรียนรู้   ทฤษฎีการเรียนรู้ และการสอน การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑ สภาพปัจจุบัน และปัญหาที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ในประเทศไทย การวิเคราะห์ผู้เรียน และวิธีที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี การกำหนดจุดประสงค์ของการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ การบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนร่วม การพัฒนา และเลือกใช้สื่อนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ การวัด และประเมินผลตามสภาพจริงและเทคนิควิทยาการการจัดการเรียนรู้ การจัดทำแผนการเรียนรู้ในระดับต่างๆ

๒. วัตถุประสงค์
          ๑. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ กระบวนการเรียนรู้ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และสภาพการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบัน
          ๒. เพื่อให้ผู้เรียนฝึกกระบวนการต่างๆ รูปแบบการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
          ๓. เพื่อให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาที่เรียน และวิชาชีพครู โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
          ๔. เพื่อให้ผู้เรียนบูรณาการเนื้อหาในสาระการเรียนรู้ และการเลือกสื่อนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ และเทคนิควิทยาการจัดการเรียนรู้ การจัดแผนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓. เนื้อหาวิชากับเวลาที่กำหนดให้เรียน

สัปดาห์ที่
หัวข้อรายละเอียด
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอนและสื่อที่ใช้
ชื่อผู้สอน
แนะนำรายวิชาและคำอธิบายรายวิชาการจัดการเรียนการสอน
บรรยาย
ผศ.ดร.พิจิตรา
บทที่ ๑ แนวคิดการออกแบบและการจัดการเรียนรู้
. ความต้องการจำเป็นสำหรับการออกแบบและการจัดการเรียนรู้
๑.๒ นิยามการออกแบบและการจัดการเรียนรู้
๑.๓ ประโยชน์ของการออกแบบและการจัดการเรียนรู้
๑.๔ แบบจำลองการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ทั่วไป
๑.๕ บทบาทของผู้ออกแบบและการจัดการเรียนรู้
๑.๖ งานและผลผลิตสมรรถภาพของการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ สรุป
บรรยาย
อภิปราย
เอกสารประกอบ
การสอน
ผศ.ดร.พิจิตรา
-
บทที่ ๒ วิธีการสอนและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๒.๑ วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๒.๒ รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๒.๓ เทคนิควิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๒.๔ การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๒.๕ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
บรรยาย
อภิปราย
เอกสารประกอบ
การสอน
ผศ.ดร.พิจิตรา
๕-๖
บทที่ ๓ รูปแบบการเรียนการสอน
๓.๑ รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
๓.๒ รูปแบบการเรียนการสอนและกระบวนการเรียนการสอนปกติ
๓.๓  กระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
บรรยาย
อภิปราย
เอกสารประกอบ
การสอน
ผศ.ดร.พิจิตรา
บทที่ ๔ กลยุทธ์การเรียนการสอน
๔.๑ สภาวการณ์เรียนการสอนพื้นฐาน
ของการเรียนการสอน
๔.๒ ความต้องการทฤษฎีการเรียนการสอน
๔.๓ ธรรมชาติของทฤษฎีการเรียนการสอน
๔.๔ ทฤษฎีการเรียนการสอน
๔.๕ หลักการเรียนรู้
๔.๖ การวิจัยการเรียนรู้
๔.๗ ความเข้าใจผู้เรียนและการเรียน
๔.๘ การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
๔.๙ รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
บรรยาย
อภิปราย
เอกสารประกอบ
การสอน
ผศ.ดร.พิจิตรา
สอบกลางภาค
ผศ.ดร.พิจิตรา
๙-๑๐
บทที่ ๕ การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
๕.๑ ความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา
๕.๒ แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา
๕.๓การปฏิรูปการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
๕.๔ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๕.๕ บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา
บรรยาย
อภิปราย
เอกสารประกอบ
การสอน
ผศ.ดร.พิจิตรา
๑๑-๑๒
บทที่ ๖ การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและแผนจัดการเรียนรู้
๖.๑ บทบาทของผู้ออกแบบ
๖.๒ ประเภทของสื่อ
๖.๓ การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อ
บรรยาย
อภิปราย
เอกสารประกอบ
การสอน
ผศ.ดร.พิจิตรา
๑๓-๑๕
บทที่ ๗ การวางแผนการเขียนแผนการสอนและแผนจัดการเรียนรู้
๗.๑ ความหมายของการวางแผนการสอน
๗.๒ ความจำเป็นของการวางแผนการสอน
๗.๓ ข้อมูลที่ถูกต้องใช้ในการวางแผนการสอน
๗.๔ แนวทางการวางแผนการสอน
๗.๕ การเขียนแผนจัดการเรียนรู้
๗.๖ แผนจัดการเรียนรู้
๗.๗ การวัดและการประเมินผล
บรรยาย
อภิปราย
เอกสารประกอบ
การสอน
ผศ.ดร.พิจิตรา
๑๖
สอบปลายภาค
ผศ.ดร.พิจิตรา
รวมจำนวนชั่วโมงตลอดภาคการเรียน
๔๘

กิจกรรมการเรียนการสอน
        ๑.ศึกษาเอกสารประกอบการเรียนการสอนและตำราเกี่ยวกับ วิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการในชั้นเรียน
        ๒.บรรยายและสรุปสาระการเรียนรู้โดยอาจารย์ประจำวิชา
        ๓.อภิปราย วิเคราะห์ วิจารณ์และซักถาม
        ๔.ศึกษาเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
        ๕.ปฏิบัติกิจกรรมรวมกลุ่มและกิจกรรมรายบุคคล
        ๖.ทดสอบปลายภาคเรียน

สื่อการเรียนการสอน
        ๑.เอกสารประกอบการสอน ตำรา สิ่งพิมพ์ต่างๆ
        ๒.วีดีทัศน์เกี่ยวกับการสอนและเรื่องที่เกี่ยวข้อง
        ๓.กิจกรรมรวมกลุ่ม คำถามท้ายบท
        ๔.สื่อสไลด์ Power Point

๖. เอกสารประกอบการศึกษาค้นคว้า
๑.วิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการในชั้นเรียน

๗. การเตรียมด้านการวัดผล
        ๑.สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรมของผู้เรียน
             ๑.๑  การเข้าเรียนและความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมโดยสม่ำเสมอ
             ๑.๒  การมีส่วนร่วมในการอภิปรายและแสดงความคิดเห็น
             ๑.๓  การทำงานกลุ่ม
             ๑.๔  การร่วมแสดงกิจกรรม
        ๒.การตรวจผลงาน
             ๒.๑  ตรวจรายงานบุคคล
             ๒.๒  ตรวจรายงานกลุ่ม
             ๒.๓  ตรวจคำถามท้ายบทและประเมินผลงาน

๘. เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล
        ๑.การวัดผล
        ๒.คะแนนรวมระหว่างภาค                                                              ร้อยละ ๗๐
             ๒.๑  ศึกษาเอกสารและรายงานหน้าชั้น                                            ร้อยละ ๑๐
             ๒.๒  ประเมินกิจกรรมเทคนิคออกแบบกาจัดการเรียนรู้                          ร้อยละ ๑๐
             ๒.๓  ประเมินผลจากการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้                             ร้อยละ ๒๐
             ๒.๔  ความสนใจและเข้าเรียน                                                        ร้อยละ ๑๐
             ๒.๕  คะแนนสอบกลางภาคเรียน                                                    ร้อยล่ะ ๒๐
        ๓.คะแนนสอบปลายภาค                                                                ร้อยละ ๓๐
        ๔.ขาดเรียนครบกำหนด 4 ครั้ง ไม่มีสิทธิ์สอบและปรับผลประเมินเป็น F ในรายวิชานี้

๙. เกณฑ์การประเมินผล
ค่าคะแนนที่ได้ (ร้อยละ)
ค่าระดับผลการเรียน
๘๐ – ๑๐๐
๗๕ – ๗๙
๗๐ – ๗๔
๖๕ – ๖๙
๖๐ – ๖๔
๕๕ – ๕๙
๕๐ – ๕๔
ไม่ส่งงาน / ขาดสอบ
A
B+
B
C+
C
D+
D
I
๑๐ติดต่อกับอาจารย์ผู้สอนได้ในเวลาที่มหาวิทยาลัยเปิดทำการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช  E-mail : jeab1107@hotmail.com
ชั้น 3 ห้องสาขาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม