ประเภทของสื่อ
ผู้ออกแบบสามารถที่จะเลือกชนิดของสื่อให้มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งและมีอิทธิพลต่อ ประสิทธิผลของการเรียนรู้ที่คาดว่าจะเกิดได้ ถ้าผู้ออกแบบรับรู้ชนิดของสื่อที่มีอยู่ รวมทั้งข้อดีและ ข้อเสียด้วย ดังนั้น ผู้ออกแบบก็จะเป็นผู้ที่อยู่ในฐานะที่เป็นผู้ที่รู้จักเลือกชนิดของสื่อได้อย่างเหมาะสม เราสามารถจําแนกสื่อได้ สี่ ประเภท คือ สื่อทางหู (audio) ทางตา (Visual) ทางหูและทางตารวมกัน (audio- visual ) และสัมผัส (tactile) ผู้ออกแบบสามารถเลือกสื่อที่เหมาะสมที่สุดจากประเภทของสื่อ ต่างๆ สําหรับภาระงานการเรียนการสอนที่มีความเฉพาะเจาะจงสื่อต่างๆทั้ง 4 ประเภทและตัวอย่างที่ เกี่ยวข้อง มีดังต่อไปนี้
1. สื่อทางหู ได้แก่ เสียงของผู้ฝึก ห้องปฏิบัติการทางเสียง การเตรียมเทปสําหรับผู้ฝึกเทป แผ่นเสียง วิทยุกระจายเสียง
2. สื่อทางตา ได้แก่ กระดานชอล์ก กระดานแม่เหล็ก กราฟ คอมพิวเตอร์ วัตถุต่างๆ ที่เป็น ของจริงรูปภาพ แผนภูมิ กราฟภาพถ่าย หุ่นจําลอง สิ่งที่ครูแจกให้ หนังสือ ฟิล์ม สไลค์ แผ่นใส่
3. สื่อทางหูและทางตา ได้แก่ เทปวีดิโอ ทีวีวงจรปิด โปรแกรมโสตทัศนวัสดุ สไลด์ เทป ภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม ทีวีทั่วไป เทคโนโลยีอื่นๆ เช่น ดิจิตอล วีดิโอ อินเตอร์แอคทิฟเทคโนโลยี (digital video interactive technology)
4. สื่อทางสัมผัส ได้แก่ วัตถุของจริง แบบจําลองในการทํางาน เช่น ผู้แสดงสถานการณ์ จําลอง
ข้อดีและข้อเสียของสื่อบางประเภท
ในการเลือกสื่อที่มีความเหมาะสมที่สุดสําหรับภาระงานการเรียนรู้ที่มีความเฉพาะเจาะจง ผู้ออกแบบจําเป็นต้องรู้ถึงความเป็นไปได้ในข้อดีและข้อเสียที่เกี่ยวข้องกับสื่อแต่ละประเภท ตารางที่ 10.1 จะแสดงให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของตัวอย่างสื่อจากประเภทของสื่อสําคัญ 4 ประเภทและ ตารางที่ 10.2 แสดงประเภทและคุณสมบัติของสื่อการเรียนการสอน การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการ
การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการและสื่อ
บางครั้งเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ในบางเวลาจะเลือก วิธีการก่อน และเลือกสื่อที่จําเป็นในการใช้ที่หลัง ดูแกน เลียด (Dugan laird: 180) เปรียบเทียบวิธีการว่าเป็นเหมือนทางหลวง (highway) ที่นําไปสู่จุดหมายปลายทาง (จุดประสงค์) และสื่อ (วัสดุฝึก) เป็น สิ่งที่เพิ่มเติม (accessories) บนทางหลวง เช่น สัญญาณ แผนที่ ซึ่งทําให้การเดินทางสะดวกขึ้น
วิธีการ เป็นกลยุทธ์การเรียนการสอนที่มีระดับความชี้เฉพาะมาก เป็นวิธีการเรียนการสอนที่ ตัดสินธรรมชาติของบทเรียน จอยส์และวีล (Joyce and Weil, 1980) เรียกสิ่งเหล่านี้ว่าแบบจําลองการ ตอน (model of teaching) แบบจําลองเป็นวิธีการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ในระดับบทเรียน มากกว่าที่จะเป็นระดับหน่วยในหลักสูตร
ออซูเบล (ausabel, 1968) กล่าวว่า มีความแตกต่างระหว่างวิธีการสําคัญ 2 วิธี คือ การเรียนรู้ เพื่อค้นพบ (discovery leaning) และการเรียนรู้เพื่อรับความคิด (reception learning) 1. การเรียนรู้เพื่อ รับความคิด คือ การเรียนรู้จากการบรรยาย หรือการเรียนรู้จากโสตทัศนูปกรณ์ ซึ่งเสนอสารสนเทศ 2. การเรียนรู้เพื่อค้นพบคือ การสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนมีอิสระที่จะสํารวจ และไม่ได้กําหนด จุดหมายปลายทางของการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้า การเรียนรู้เพื่อค้นพบมีองค์ประกอบทั้งการค้นพบและ การรับรู้ที่มากไปกว่า การที่จะบอกแต่เพียงนักเรียนจะต้องเรียนอะไร นักเรียนจะได้รับคําแนะนํา ซึ่งจะนําไปสู่การค้นพบ ออซูเบลเชื่อว่า วิธีการจะกลายเป็นสิ่งที่มีความหมาย
ผู้ออกแบบสามารถเลือกวิธีการ เช่น การบรรยาย การใช้ห้องปฏิบัติการ การอภิปราย การอ่าน การทัศนศึกษา การจดบันทึก การสาธิต บทเรียนสําเร็จรูป กรณีศึกษาบทบาทสมมติ การศึกษาด้วยตัวเอง และสถานการณ์จําลอง วิธีการแต่ละวัยเหล่านี้มีรูปแบบให้เลือกมากมาย (Secols and Glasgow, 1990: 181) การบรรยายอาจะเป็นบทละคร เป็นการเสนอด้วย โสตทัศนูปกรณ์ การ อภิปรายมีหลายรูปแบบ เช่น การสนทนาถกเถียงปัญหา (panel) การประชุม โต้เถียงกัน (open foruun) และการระดมพลังสมอง (brainstorming) กรณีศึกษามีหลากหลายจากกรณีประวัติศาสตร์จนกระทั่ง ถึงการแก้ปัญหา และเช่นเดียวกับบทบาทสมมติ เป็นแบบหนึ่งของสถานการณ์จําลอง
บทเรียนสําเร็จรูปต้องการคําตอบหรือการตอบสนองบ่อยๆและให้ข้อมูลป้อนกลับอย่าง ทันทีทันใด และสามารถเสนอผ่านทางหนังสือ แบบฝึกหัด หรือคอมพิวเตอร์ แบบของโปรแกรม อาจจะเป็นเส้นตรง เส้นสาขา หรือบ้างกรณีเป็นคอมพิวเตอร์ แบบฝึกหัด ปฏิบัติแบบติว และแบบ สถานการณ์จําลอง การสาธิตสามารถนําเสนอด้วยปฏิกิริยาสัมพันธ์และการอภิปรายการศึกษาด้วย ตัวเอง ทําได้ด้วยการใช้โมดูล (modules) ใช้ชุดของสื่อ (media kits) หรือใช้วิธีการติวด้วยอุปกรณ์โสต
ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น