แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา
การจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษายึดหลักการตามพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดผู้เรียนเป็น สําคัญ และมุ่งประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน ซึ่งเป็นความหมายเดียวกันกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง คือ การยึดผู้เรียนเป็นหลักวิธีนี้ ได้พัฒนาเป็นเวลานานมากกว่า 80 ปี แล้วปัจจุบันได้มีผู้ นําเสนอแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสําคัญ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่จะทําให้ผู้เรียน ไปสู่จุดหมายปลายทางที่พึงประสงค์ได้ 2 วิธี คือ
1. การจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยผู้เรียนจะเป็นผู้ทํากิจกรรมเพื่อให้เกิด การเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้สอนเป็นผู้อํานวยความสะดวก ความรู้เป็นผลพลอยได้จากการทํากิจกรรม ระหว่างทํากิจกรรมเด็กผู้เรียนก็จะได้พัฒนาตนเอง ทางการคิด การปฏิบัติ การแก้ปัญหา การทํางาน ร่วมกัน การวางแผนการจัดการ และเทคนิควิธีการต่าง ๆ ที่เรียกว่าเรียนรู้วิธีการหาความรู้
2. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นกระบวนการ หมายถึง การมีขั้นตอนต่างๆ ให้ ผู้เรียนได้แสดงออกหรือปฏิบัติโดยใช้ร่างกาย ความคิด การพูด เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ คือ ความรู้หลังจาก ทํากิจกรรมและมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคุณสมบัติทางความรู้ ความคิด ทักษะความสามารถ ทางการปฏิบัติ ตลอดทั้งเกิดเจตนาคติค่านิยมที่ดีงาม
นอกจากนี้สํานักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ (2543, หน้า 7) ได้สรุปประเด็น สาระสําคัญของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญไว้ดังนี้
ประเด็นที่ 1 การเรียนรู้โดยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง หมายถึง การเรียนรู้ที่เป็น กระบวนการสร้างประสบการณ์และสิ่งต่างๆ ที่ให้ความหมายต่อตนเองจากการปฏิสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อม โดยใช้กระบวนการคิดและแสวงหาความรู้ควบคู่ไปกับการปฏิบัติจริง ให้ผู้เรียนค้นพบ องค์ความรู้และประสบการณ์ด้วยตนเอง ครูเป็นผู้อํานวยการเรียนรู้ จัดบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมและ แหล่งวิทยาการให้เอื้อต่อการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการเรียนรู้
ประเด็นที่ 2 การเรียนรู้เรื่องของตนเอง ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การเรียนรู้เพื่อ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจของตนเองการรับรู้และตระหนักในตนเอง สามารถ ปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมให้สอดคล้องกับค่านิยมที่ดีงาม ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม มี ความเพียรพยายามในการทําความดีอย่างไม่ย่อท้อ การเสริมสร้างลักษณะนิสัยและสุนทรียภาพความดี งามในตนเอง การเรียนรู้เพื่อให้สามารถดํารงชีวิตอยู่ได้อย่างสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพสังคม การ ตระหนักถึงคุณค่าและพัฒนาคุณภาพธรรมชาติสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ดังนี้
3.1 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการดํารงชีวิต หมายถึง การเรียนรู้ที่ทําให้ผู้เรียนมีทักษะ ชีวิตที่สําคัญและจําเป็น ดังต่อไปนี้ การรู้จักคิดวิเคราะห์วิจารณ์มีความคิดสร้างสรรค์ มีความ ตระหนักรู้ในตนเอง มีความเห็นใจผู้อื่น มีความภูมิใจในตนเอง มีความรับผิดชอบต่อสังคม รู้จักการ สร้างสัมพันธภาพและการสื่อสาร รู้จักตัดสินใจและแก้ปัญหา รู้จักจัดการกับอารมณ์และความเครียด
3.2 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพ หมายถึง การเรียนรู้เพื่อค้นพบและ ใช้ศักยภาพของตน เพื่อเตรียมตัวประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับตนเอง รู้จักวิธีเลือกประกอบอาชีพที่ สุจริตเหมาะสม สามารถพึ่งตนเอง และเลี้ยงตนเองได้อย่างพอเพียงแก่อัตภาพ
ประเด็นที่ 4 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหาโดยเน้นประสบการณ์และ การฝึกปฏิบัติ หมายถึง การใช้ทักษะการคิดเพื่อค้นหาคําตอบในสถานการณ์ต่างๆ โดยอาศัย ประสบการณ์และการฝึกปฏิบัติจริง เพื่อให้สามารถเผชิญและผจญกับปัญหาและจัดการกับภาวะต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมเป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม
ประเด็นที่ 5 การเรียนรู้โดยผสมผสานความรู้ คุณธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ หมายถึง การเรียนรู้ที่มุ่งให้มีความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ควบคู่กับการพัฒนาตนเอง ทางจิตใจ บุคคลิกภาพ และลักษณะนิสัย
ประเด็นที่ 6 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาประชาธิปไตย หมายถึง การเรียนรู้ในเรื่องสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและการปฏิบัติตามหน้าที่ของตน การเคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น โดยคํานึงถึง ความคิดเห็นและผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก
ประเด็นที่ 7 การเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม หมายถึง การเรียนรู้เพื่อให้เกิด ความรู้ ความเข้าใจความตระหนักในคุณค่าของความรู้ต่าง ๆ ที่ได้คิดค้นและสั่งสมประสบการณ์โดย ภูมิปัญญาไทย ตลอดจนมีความรัก ชื่นชมและหวงแหนในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทย สามารถ นําไปใช้ประโยชน์ในชีวิตและสืบสานให้ยั่งยืนตลอดจนเชื่อมโยงสู่สากล
ประเด็นที่ 8 การวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ หมายถึง การศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อ นํามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปผล เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของสถานศึกษา
ประเด็นที่ 9 การเรียนรู้โดยความร่วมมือของครอบครัวและชุมชน หมายถึง การที่ครอบครัว ชุมชนและสถานศึกษามีบทบาทร่วมกันในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เพื่อให้เรียนรู้ได้ อย่างเต็มตามศักยภาพ
ประเด็นที่ 10 การประเมินผลผู้เรียน หมายถึง กระบวนการพิจารณาตัดสินคุณภาพ คุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้เรียนว่าเป็นไปตามจุดประสงค์การเรียนรู้หรือไม่อย่างไร
1. ต้องคํานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. ต้องยึดความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก
3. ต้องพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน
4. ต้องเป็นที่น่าสนใจ ไม่ทําให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่าย
5. ต้องดําเนินไปด้วยความเมตตา กรุณาต่อผู้เรียน
6. ต้องท้าทายให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้
7. ต้องตระหนักถึงเวลาที่เหมาะสมที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้
8. ต้องสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง
9. ต้องสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้
10. ต้องมีจุดมุ่งหมายของการสอน
11. ต้องสามารถเข้าใจผู้เรียน
12. ต้องคํานึงถึงภูมิหลังของผู้เรียน
13. ต้องไม่ยึดวิธีการใดวิธีหนึ่งเท่านั้น
14. การเรียนการสอนที่ดีเป็นพลวัตร (Dynamic) คือ มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ได้ ตลอดเวลาทั้งในด้านของการจัดกิจกรรม การสร้างบรรยากาศ รูปแบบ เนื้อหาสาระ เทคนิควิธี
15. ต้องสอนในสิ่งที่ไม่ไกลตัวผู้เรียนมากเกินไป
14. การเรียนการสอนที่ดีเป็นพลวัตร (Dynamic) คือ มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ได้ ตลอดเวลาทั้งในด้านของการจัดกิจกรรม การสร้างบรรยากาศ รูปแบบ เนื้อหาสาระ เทคนิควิธี
15. ต้องสอนในสิ่งที่ไม่ไกลตัวผู้เรียนมากเกินไป
16. ต้องมีการวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น