การจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา
โฉมหน้าการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน มุ่งไปสู่การให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ซึ่งการ เรียนรู้มิใช่เป็นเพียงการเรียนเพื่อรู้เท่านั้น แต่เป็นการเรียนเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์เรียนเพื่อรู้จัก ตนเอง เรียนเพื่อรู้จักอยู่ร่วมกับผู้อื่น เรียนรู้เพื่อการเจริญงอกงามทั้งร่างกายและจิตใจ เรียนรู้เพื่อการ ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ต่างๆ ได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นแกนหลักของการปฏิรูป และเป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา ดังที่ ประเวศ วะสี (2541, หน้า 68) กล่าวว่า การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้เป็นหัวใจของการปฏิรูป การศึกษาเพราะเป็นการปฏิรูปแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษา จากเดิมที่การมองคนเป็นวัตถุที่จะต้องหล่อ หลอมปั้นตกแต่งโดยการสั่งสอน อบรม ไปเป็นการมองคนในฐานะคนเป็นผู้มีศักยภาพในการเรียนรู้ และงอกงามอย่างหลากหลาย
สําหรับประเทศไทยได้จัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษามาระยะหนึ่ง โดยมี พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 เป็นแม่บท หรือเทศทางและนําลงสู่การปฏิบัติด้วยการกําหนดเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องและสําคัญหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 และพัฒนาเป็นหลักสูตรสถานศึกษาสําหรับสถานศึกษาแต่ละ แห่งตามความเหมาะสม จากผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษานี้ พบว่า บางพื้นที่ยังมี ปัญหาอยู่บ้าง ตัวอย่างเช่น ผลการวิจัยของสําราญ ตติชรา (2547, หน้า 1) การศึกษาปัญหาการ จัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสํานักงานการ ประถมศึกษาอําเภอเมืองตราด พบว่า การจัดการเรียนการสอนหรือการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูป การศึกษาของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสํานักงานการประถมศึกษาอําเภอเมืองตราด ยังมี ปัญหาอยู่หลายประเด็นตามลําดับ คือ การประชาสัมพันธ์การสอน การจัดทําหลักสูตรท้องถิ่น การ สอนที่เน้นกระบวนการคิด วิเคราะห์ การจัดสภาพแวดล้อมทางการสอน การให้ชุมชนมีส่วนร่วมใน การจัดการเรียนการสอน การประเมินผลตามสภาพจริง การสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสําคัญ การทํา อในชั้นเรียน การให้ผู้เรียนค้นคว้าด้วยตนเอง และเมื่อเปรียบเทียบปัญหาต่างๆ ในการจัดการ นรู้ปรากฏว่าผลของปัญหาไม่แตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามการปฏิรูปการศึกษาจําเป็นจะต้องศึกษาและทําความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานเรื่องนี้ อย่างถ่องแท้ จนสามารถนําไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น