วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561

การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่่อ



การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อ

           สื่อเป็นวิธีการซึ่งมีการนําเสนอสารสนเทศและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในขณะที่สือเป็น คําที่ใช้อ้างถึงแบบของการเรียนการสอน (mode of delivery) จึงเป็นความจําเป็นที่ต้องมีวัสดุอุปกรณ์ ที่จะส่งผ่านแบบการเรียนการสอนนั้น ในทางตรรกแล้วเป็นความจําเป็นทั้งส่วนที่เป็นอุปกรณ์ (hardware )และส่วนที่เป็นวัสดุ (software) สําหรับการเรียนรู้ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นฐานเช่นเดียวกัน กับสื่อโทรทัศน์ที่ต้องอาศัยโปรแกรมเป็นฐาน

         การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อสามารถทําได้ก่อน ทําตามหลัง หรือทําไปพร้อมๆกับการตกลงใจ เกี่ยวกับวิธีการโดยทั่วๆ ไปแล้ว จะทําตามหลังหรือทําไปพร้อมๆกัน การบรรยายอาจจะต้องการ องค์ประกอบของสื่อ หรืออาจจะอยู่ในรูปแบบของโปรแกรมโทรทัศน์ ในสมัยก่อนวัสดุอุปกรณ์ส่วน ใหญ่จะเป็นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์

         ในตอนนี้จะได้กล่าวถึงการแบ่งวิธีการ/สื่อ ออกเป็นสามประเภท คือ วิธีการ (methods) สื่อดั้งเดิม (traditional media) และเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า (newer technology) ในด้านวิธีการดําเนิน หลักสูตรโดยทั่วไป ซึ่งอาจจะรวมๆกัน แต่จะใช้สื่อรวมๆ กัน ส่วนสื่อเดิมๆจะรวมถึงงานพิมพ์ (print) และสื่อโสตทัศน์ (audiovisual media) และสําหรับเทคโนโลยีใหม่ คือ การสื่อสารโทรคมนาคมและ ไมโครโพรเซสเซอร์ (microprocessor) สือ (media) สามารถจัดกลุ่มเป็นวัสดุสิ่งพิมพ์ (print materials) ทัศน์วัสดุไม่ฉาย (nonprojected visuals) ทัศน์วัสดุฉาย (projected visuals) สื่อประเภทเสียง (audio media) ระบบสื่อผสม (multimedia systems) ภาพยนตร์ (films) และโทรทัศน์ (television) สือแต่ละ ประเภทเหล่านี้สามารถแตกออกให้เลือกได้ในหลายรูปแบบ

การตัดสินใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่
             เทคโนโลยีใหม่ ประกอบด้วย การเรียนการสอนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน (computer-based instruction) และการเรียนรู้ทางไกล ที่อาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเป็น พื้นฐาน (telecommunications-based distance learning technologies) การเรียนรู้ทางไกลเกิดขึ้นเมื่อ ผู้เรียนอยู่ในสถานที่หนึ่ง เทคโนโลยีใหม่มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ดังแสดงที่ตาราง 19 นิยามศัพท์เฉพาะสื่อและเทคโนโลยี 

             การพิจารณาเลือกสื่อ
             มีหลักการทั่วไปจํานวนมาก และข้อพิจารณาอื่นๆ ในการเลือกสื่อที่เหมาะสมสําหรับการ เรียนการสอน คือ กฏในการเลือกสื่อและปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสื่อ

กฎในการเลือกสื่อ
            การเลือกสื่อมีกฎอยู่ (6 ข้อ หรือเรียกว่าหลักการทั่วไปในการพิจารณาก่อนที่จะตัดสิน อย่างไม่เป็นทางการในการเลือกสื่อ
           กฏที่ 1 การเรียนการสอนโดยทั่วไปแล้วต้องการสื่อสองทาง (two way medium) นักเรียนจะ เรียนได้ดีที่สุดเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ สื่อการเรียนการสอน ครู สมุดทํางาน หรือ โปรแกรม คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
          กฎที่ 2 สื่อทางเดียว (one-way media) ควรจะได้รับการสนับสนุน โดยสื่อที่ให้ข้อมูล ป้อนกลับ ตัวอย่างคือ ภาพยนตร์ หรือวีดิทัศน์ จะให้ประสิทธิผลมากกว่า เมื่อมีคู่มือการใช้ควบค์ ไปด้วย หรือมีแบบฝึกปฏิบัติควบคู่ไปด้วย หรือมีครู ซึ่งสามารถที่จะถามคําถามและตอบคําถามได้
         กฎที่ 3 การเรียนรู้ของแต่ละบุคคล ต้องการสื่อที่มีความยืดหยุ่น ตัวอย่างคือ ผู้ที่เรียนเช้า อาจจะต้องการสื่อการเรียนที่แตกแขนงออกไปเป็นพิเศษ เช่นการฝึกเสริม (remedial exercises) ตัวอย่างเสริมเป็นพิเศษ สื่อภาพยนตร์ ควรจะส่งเสริมโดยการเยียวยาแก้ไขหรือมีกิจกรรมที่เหมาะสม กับความต้องการของแต่ละบุคคล โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถที่จะสนองตอบได้อย่างดี เลิศในความยืดหยุ่นที่มีต่อปัจจัยบุคคล
       กฎที่ 4 การนําเสนอ โลกแห่งความเป็นจริง ต้องการสื่อทางทัศนะวัสดุ ตัวอย่างนักเรียน พยาบาลเรียนรู้วิธีการตัดไหม จําเป็นต้องเห็นการสาธิต (ภาพยนตร์ วีดิทัศน์ การสาธิตของจริง) มากกว่าที่จะเขียนออกมาเป็นรายการของวิธีการตัดไหม
        กฎที่ 5 พฤติกรรมที่คาดหวังหลังจากการเรียนการสอน ควรจะให้มีการฝึกปฏิบัติในระหว่าง ที่มีการเรียนการสอน การได้ยิน หรือการได้เห็นทักษะที่แสดงออกมาไม่เป็นการเพียงพอ ตัวอย่าง ผู้ปฏิบัติจําเป็นต้องทําการตัดไหมตามที่เห็นในวีดิทัศน์ ไม่ว่าจะเป็นการตัดไหมเทียมๆหรือตัดไหม จริงๆ
       กฎที่ 6 เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ของบทเรียนอื่นๆ อาจต้องการการเลือกสื่อที่มีความ แตกต่างกัน ตัวอย่าง ทฤษฎีที่อยู่บนหลักการของวิธีการทําหมัน อาจจะต้องการวัสดุอุปกรณ ที่เป็นสิ่งพิมพ์ ในขณะที่วิธีการตัดไหม อาจจะต้องการสาธิตที่มีความเป็นจริงมากกว่า (วีดีทัศน ภาพยนตร์ ฯลฯ) 
 
        ปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการเลือกสื่อ
        ได้มีการเรียนรู้กฎซึ่งจําเป็นในการพิจารณา เมื่อมีการเลือกสื่อการเรียนการสอน เป็นความจําที่มองหาปัจจัยอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกสื่อ

แบบจําลองการเลือกสื่อ
            แบบจําลองการเลือกสื่อการเรียนการสอนมีหลายแบบ สําหรับการพิจารณาแต่ละแบบ วิธีการเลือกสื่อที่ต่างกัน สิ่งที่น่าสังเกตคือ แต่ละแบบมีความต่างกันอย่างไร และพิจารณาว่ามีอะไ. เป็นนัยของความต่าง แต่ละแบบจําลองพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการเลือกและการใช้ประโยชน์จาก ให้สังเกตภาพที่ 7 ซึ่งไม่ได้นํามาเสนอวิธีการเลือกสื่อที่ตายตัว และภาพที่ 8 ซึ่งใช้สําหรับโครง การพัฒนาการเรียนสอนของกองทัพอากาศ 

แบบจําลองของวิลเลี่ยม ออลเลน
             ในแบบจําลองของวิลเลี่ยม ออลเลน (William allen) ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้อง ตัดสินใจเกี่ยวกับการจําแนกจุดประสงค์และการจําแนกความสามารถสูงสุดของสื่อการเรียนสอนที่จะ พลิกแพลงให้เข้ากับจุดประสงค์ ออลเลน ได้ตรวจสอบประสิทธิผล สื่อสําหรับวัดชนิดของการเรียนรู้ ด้วยเหตุผลนี้ ออลเลน ได้สร้างตารางแจกแจงสองทาง ซึ่งจําแนกสื่อที่ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง และต่ํา ตามชนิดของการเรียนรู้ เมื่อใช้แบบจําลองนี้ ผู้ออกแบบควรพยายามหลีกเลี่ยงสื่อที่ ให้ผลสัมฤทธิ์ต่ํากับชนิดของการเรียนรู้ (aien, 1967 : 27-31) อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ออกแบบเลือกสื่อที่ ให้ผลสัมฤทธิ์ต่ําหรือปานกลางผู้ใช้ควรรับรู้ข้อจํากัด
             วิธีการที่แสดงด้วยภาพต่อไปนี้ สามารถที่จะช่วยให้เห็นกระบวนการของการตรวจสอบ จุดประสงค์และตัดสินใจว่าสื่อชนิดใดมีความเหมาะสม 

แบบจําลองของเยอร์ลาชและอีลี
             แบบจําลองเยอร์ลาชและอีลี (Gerlach and Ely) ได้เป็นที่รู้จักกันในปี ค.ศ. 1971 ในตําราที่ ชื่อว่าการสอนและสื่อ เยอร์ลาชและอีลีได้นําเสนอเกณฑ์ ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการเลือกสื่อการ เรียนการสอน หลังจากที่ระบุจุดประสงค์และระบุพฤติกรรมความพร้อมที่จะรับการสอน (entering behaviors) แล้วเกณฑ์ดังกล่าวประกอบด้วยประการที่ 1 ความเหมาะสมทางปัญญา (สื่อสามารถ ส่งผ่านตัวกระตุ้นตามเจตนารมณ์ของจุดประสงค์หรือไม่) ประการที่ 2 ระดับของความเข้าใจ (สอทา ให้ผู้เรียนเข้าใจหรือไม่) ประการที่ 3 ราคา ประการที่ 4 ประโยชน์ (เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุ ประโยชน์หรือไม่) และประการที่ 5 คุณภาพทางเทคนิค (คุณลักษณะทางการฟังและการดูของผลิตมีคุณภาพเพียงพอหรือไม่) (Gerlach and Ely,1980) ภาพที่ 12 จะแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของ จุดประสงค์กับทางเลือกในการเลือกสื่อตําราของเยอร์ลาชและอีลีได้มีการพิมพ์ครงการ ปี ค.ศ. 1980 โดยที่ผู้เขียนตั้งใจเขียนขึ้นสําหรับครูทุกระดับ

สรุป
             สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสําคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่ เป็นตัวนําความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียน เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สื่อการสอนจะ ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ทํากิจกรรมหลายๆ รูปแบบ ช่วยให้ครูผู้สอนได้สอนตรงตามจุดมุ่งหมาย การเรียนการสอน และยังช่วยในการขยายเนื้อหาที่เรียนทําให้การสอนง่ายขึ้น และยังจะช่วย ประหยัดเวลาในการสอน นักเรียนจะได้มีเวลาในการทํากิจกรรมการเรียนมากขึ้น ในการเลือกสื่อการ เรียนการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อการเรียนการสอนนั้น ผู้สอนจําเป็นต้องคํานึงถึง องค์ประกอบในการเลือกสื่อ ได้แก่ จุดมุ่งหมายของการสอน รูปแบบและระบบของการเรียนการสอน ลักษณะของผู้เรียน เกณฑ์เฉพาะของสื่อ วัสดุอุปกรณ์และตลอดจนสิ่งอํานวยความสะดวกที่มีอยู่ นอกจากนี้ยังต้องคํานึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของสื่อกับคุณสมบัติเฉพาะและจุดประสงค์ ของการเรียนการสอน


ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น