วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561

การปฎิรูปการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ



การปฏิรูปการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสําคัญ

          คําว่า ผู้เรียนเป็นสําคัญ มาจากบทบัญญัติในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ ที่บัญญัติไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในเรียนรู้และ พัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสําคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษา ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ สําหรับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญนี้ เป็นหลักการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีการเรียนรู้หลายทฤษฎี เช่น พุทธปรัชญา จิตวิทยาสาขามนุษยนิยม (Humanistic Approach) ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning) ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้มีนักคิดกล่าวไว้หลายท่าน (กรมวิชาการ, 2543, หน้า 3-4) เช่น

          พระราชวรมณี (ประยูร ธมมจิตโต, 2540, หน้า 13) กล่าวว่า เด็กเป็นศูนย์กลางแห่งการ เรียนรู้ครูต้องสร้างความใฝ่รู้ขึ้นในจิตใจของเด็กให้ได้ คือ ให้มีธรรม ฉันทะ คือ ความใฝ่รู้และกัตศ กมยตาฉันทะ คือ ความใฝ่ทํา เด็กมีความสุขในการเรียนรู้ ครูสร้างบรรยากาศในโรงเรียนให้เป็น สัปปุริสสังเสวะ หมายความว่า ครูเป็นกัลยาณมิตร คือ เพื่อนที่ดี มีเมตตา ให้ความรักความอบ ผู้เรียน ครูอาจจะใช้วิธีการการเสริมแรงทางบวกให้มากขึ้น จัดการเรียนการสอนโดยคํานึงถึงความ แตกต่างระหว่างบุคคล โดยถือว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนใน สอดคล้องกับความสนใจและความสามารถของผู้เรียน

            ส่วนประเวศ วะสี (2541, หน้า 1) มองในเชิงหลักการว่า การจัดการเรียนรู้ที่เอาชีวิตจริง ของผู้เรียนเป็นตัวตั้ง เรียนรู้เพื่อสร้างปัญญาให้รู้จักตนเอง รู้จักโลก สามารถพึ่งตนเองได้ทั้งทาง เศรษฐกิจ จิตใจ สังคม อยู่ร่วมกันอย่างมีคุลยภาพ เรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง มีความสุข สนุกสนาน และ เกิดฉันทะในการเรียนรู้

           สําหรับสุมน อมรวิวัฒน์ (2547, หน้า 12) มีแนวคิดว่า การเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีอิสรภาพได้รับ การพัฒนาเต็มศักยภาพของความเป็นมนุษย์เรียนรู้อย่างมีความสุข เน้นกระบวนการคิด ปฏิบัติได้จริง สอดคล้องกับความถนัด ความสอดคล้องกับคติสอนให้ทํา นําให้คิด ลงมือทํา เรียนรู้สอนตนเอง เอาความจริงเป็นตัวตั้งเอาวิชาเป็นตัวประกอบ

           แต่โกวิท ประวาลพฤกษ์ (2545, หน้า 8) มีแนวคิดสู่ปฏิบัติการให้เกิดจริงว่าการเรียนรู้ที่ เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญที่สุด ภายหลังจากการเรียนรู้ต้องการให้ผู้เรียนมีแนวความคิดบางอย่าง และลงมือปฏิบัติได้ถูกต้องแม่นยํา ด้วยความรู้สึกชื่นชมยินดี อันเป็นการสร้างบุคลิกภาพที่ดี คุณธรรมและพัฒนาการรอบด้านของผู้เรียน ถ้าการศึกษาจัดได้ครบถ้วนด้วยกระบวนการดังกล่าว มาแล้ว ผู้เรียนก็จะเป็นผู้คิดได้เอง ตัดสินใจได้เอง ลงมือปฏิบัติควบคุมตนเองได้ มีศักยภาพในการ ตัดสินใจ และทําตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมเป็นประจํา คิดและทําเพื่อประโยชน์ของสังคมไทย โดยส่วนรวมอันเป็นค่านิยมที่พึงประสงค์ของชาติสืบไป

           และทิศนา แขมมณี (2548, หน้า 32) มีแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าการเรียนการสอนโดยยึด ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หมายถึง การเรียนการสอนที่ผู้เรียนมีบทบาทสําคัญที่สุด กล่าวคือ ผู้เรียนเป็นผู้ มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้งทางร่างกาย ปัญญา สังคมและอารมณ์ ได้มีโอกาสแสวงหา ความรู้ ข้อมูลคิดวิเคราะห์ และสร้างความหมายความเข้าใจในสาระและกระบวนการต่าง ๆ ด้วย ตนเองรวมทั้งได้ลงมือปฏิบัติและนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน

           จากแนวคิดของผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าว สามารถสรุปเป็นความหมายเชิงปรัชญาและเชิง ปฏิบัติการได้ ดังนี้

           1. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสําคัญที่สุดหรือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นการจัดการเรียนรู้ ที่เอาชีวิตจริงและเงื่อนไขการรับรู้ของผู้เรียนเป็นตัวตั้ง ผู้เรียนมีอิสรภาพ ได้รับการส่งเสริมให้พัฒนา เต็มศักยภาพของความเป็นมนุษย์ทั้งจิตใจ ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม ผู้เรียนได้รับการพัฒนา แบบองค์รวมได้รับการฝึกให้มีศักยภาพในการสร้างรูปแบบคิด ผู้เรียน เป็นผู้กระทํากิจกรรมการ เรียนรู้ได้ถูกต้องแม่นยําด้วยความรู้สึกที่ดีงามอันเป็นการสร้างบุคลิกภาพที่ดีงาม เรียนรู้วิธีการเรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติของตนเอง คิดอย่างมีระบบและมีวิจารณญาณอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข เรียนรู้ตลอดชีวิตและเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
           2. เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริง ได้พัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์ ศึกษาค้นคว้า ทดลอง และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ตามความถนัดความสนใจด้วย วิธีการ กระบวนการและใช้แหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งในและนอกห้องเรียน ผู้เรียนมีผลการ เรียนรู้ได้มาตรฐานตามที่หลักสูตรกําหนด มีความรู้ชื่นชมยินดีในผลการปฏิบัติของตน สามารถนํา ความรู้และประสบการณ์ไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน สังคมและส่วนร่วม
          3. เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้จัดหรือครูผู้สอนดําเนินการให้สอดคล้องกับผู้เรียนตามความ แตกต่างระหว่างบุคคล ความสามารถทางด้านปัญญา วิธีการเรียนรู้ โดยบูรณาการคุณธรรม ค่านิยม อันพึงประสงค์ วางแผนการจัดกิจกรรม และประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ให้ผู้เรียนได้ พัฒนาสติปัญญา อารมณ์ และทักษะการปฏิบัติส่งเสริมสนับสนุนการนําความรู้ไปใช้ให้มีการ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในสถานศึกษาให้พัฒนากระบวนการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ ครูผู้สอนทําวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนให้เหมาะสมกับผู้เรียนและสนับสนุนด้านทรัพยากร การลงทุน เพื่อการศึกษาพร้อมทั้งดูแลตรวจสอบกระบวนการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตลอดชีวิต

           จากข้อสรุปและแนวคิดของผู้ทรงวุฒิต่างๆ ข้างต้น ในขณะนี้ทุกหน่วยงานทั้งในและนอก กระทรวงศึกษาธิการได้ตระหนักในความสําคัญของการปฏิรูปการเรียนรู้จึงได้พัฒนาแนวทางการ จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญอย่างหลากหลาย และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อาทิ หน่วยงาน ต่างๆ ดังต่อไปนี้
          สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2545, หน้า 8-10) ได้สรุปการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียน เป็นสําคัญ ไว้ดังนี้
          1. การจัดการศึกษาต้องเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและ ประสบการณ์การเรียนรู้ ยึดหลักดังนี้
          1.1 ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ดังนั้นจึงต้องจัด สภาพแวดล้อมบรรยากาศรวมทั้งแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ให้หลากหลายเพื่อเอื้อต่อความสามารถของแต่ละ บุคคล เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติที่สอดคล้องกับความถนัดและความสนใจเหมาะสม แก่วัยและศักยภาพของผู้เรียน เพื่อให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่และเป็นการเรียนรู้กัน และกัน อันก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง ชุมชน สงคม และประเทศชาติโดยการประสานความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองบุคคล ชุมชน และทุกส่วนของสังคม
          1.2 ผู้เรียนมีความสําคัญที่สุด การเรียนการสอนมุ่งเน้นประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสําคัญ จึงต้องจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกให้เกิดการใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

         2. มุ่งปลูกฝังและสร้างลักษณะที่พึงประสงค์ให้กับผู้เรียน โดยเน้นความรู้ คุณธรรม ค่านิยม ที่ดีงามและบูรณาการความรู้ในเรื่องต่างๆ อย่างสมดุล รวมทั้งการฝึกทักษะกระบวนการคิดการ จัดการอย่างมีวิจารณญาณ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ใช้ความรู้โดยให้ผู้เรียนมีความรู้ และประสบการณ์ในเรื่องต่างๆ ดังนี้
          2.1 ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคม โลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของสังคมไทยและ ระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
         2.2 ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและ ประสบการณ์ เรื่องการจัดการบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
        2.3 ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปวัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการรู้จัก ประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
        2.4 ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
        2.5 ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดํารงชีวิตอย่างมีความสุข
        3. กระบวนการเรียนรู้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้กําหนดแนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของสถานศึกษาและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
         3.1 จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรม ให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคํานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
        3.2 ให้มีการฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ เผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
        3.3 จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทําได้คิดเป็น ทําเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
       3.4 จัดการเรียนการสอน โดยผสมผสานความรู้ต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้ง ปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
       3.5 ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมสื่อการสอนและ อํานวยความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วน หนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
        3.6 ผู้เรียนและผู้สอนเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการ
ประเภทต่างๆ
        3.7 การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา เกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
         สํานักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร (อ้างใน สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543,หน้า 36-37) ได้ระบุถึงการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสําคัญ และมุ่งพัฒนาศักยภาพ ของผู้เรียนให้เป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข โดยมีกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทั้งหมด 11 กิจกรรม คือ
          1. กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านมนุษยสัมพันธ์ 
          2. กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านวิทยาศาสตร์และมิติสัมพันธ์ 
          3. กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านเหตุผลคณิตศาสตร์ 
          4. กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านภาษา 
          5. กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านดนตรี 
          6. กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านศิลปะ 
          7. กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านพลศึกษา 
          8. กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 
          9. กิจกรรมศูนย์เพื่อนเด็ก จิตวิทยาแนะนําและสภาพแวดล้อมในโรงเรียน 
         10. กิจกรรมศูนย์วิทยาการเป็นแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน 
         11. กิจกรรมการวัดและประเมินผลที่เสริมสร้างศักยภาพผู้เรียน
         สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2543, หน้า 31-32) ในฐานะหน่วย ปฏิบัติที่ดูแลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา ได้กําหนดแนวทางการ จัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสําคัญที่สุด เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ลักษณะ คือ
          1. การเรียนรู้อย่างมีความสุข เป็นสภาพการจัดการเรียนการสอนในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย มีอิสระยอมรับความแตกต่างของบุคคลมีหลากหลายในวิธีการเรียนรู้
          2. การเรียนรู้แบบองค์รวม เป็นการเรียนรู้สิ่งต่างๆ อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงต่อเนื่องกลมกลืน กันทั้งในเรื่องใกล้ตัวในท้องถิ่น สิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ เรื่องของสากล การเปลี่ยนแปลงและ แนวโน้มต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมโลก
          3. การเรียนรู้จากการเกิดและการปฏิบัติจริง เป็นการจัดการเรียนให้ได้ฝึกคิดและปฏิบัติจริง โดยฝึกจากประสบการณ์ตรงจากแหล่งความรู้ สื่อ เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบตัวต่างๆ แล้วสรุปเป็นองค์ความรู้แก่ตนเอง
          4. การเรียนรู้ร่วมกับบุคคลอื่น เป็นกระบวนการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กันโดยมีการ ถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ วัฒนธรรม อารมณ์และสังคมร่วมกันทําให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย
          5. การเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ของตนเอง เป็นการรับรู้ลีลาการเรียนรู้และความถนัดของ ตนเอง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนวิเคราะห์ ประเมินจุดดีจุดด้อย และปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ของ ตนเอง เพื่อ
นําไปสู่การปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ให้เหมาะสม
           จากแนวคิดและหลักการของการปฏิรูปการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสําคัญที่นําเสนอในข้างต้น สามารถนํามาเป็นกรอบในการออกแบบวิธีการจัดการเรียนรู้หรือวิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาได้ หลากหลายวิธี ได้แก่
             1. วิธีสอนแบบโครงงาน 
             2. วิธีสอนแบบ 4 Mat 
             3. วิธีสอนแบบร่วมมือ 
             4. วิธีสอนแบบซิปปา 
             5. วิธีสอนแบบบูรณาการ 
             6. วิธีสอนแบบใช้เส้นเล่าเรื่อง 
            7. วิธีสอนแบบปุจฉาวิสัชนา 
             8. วิธีสอนแบบโครงสร้างความรู้


ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น