วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2561

กิจกรรมท้ายบทที่ 7



1. จากการศึกษาข้อมูลในบทที่ 7 ท่านคิดว่าการวางแผนการเขียนแผนการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้นั้นมีความยากหรือง่ายเพียงใดและขั้นตอนการเขียนแผนจัดการเรียนรู้สำหรับตัวท่านแล้วขั้นตอนใดมีความยากหรือง่ายที่สุดในการพัฒนา 3 อันดับแรก เพราะเหตุใดจงอธิบาย
ตอบ
1. รูปแบบการสอนหรือเทคนิคการสอน
2. สื่อการสอน
3. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
            

2. ในประโยคที่ว่าในปัจจุบันการวัดผลไม่ได้ไม่ใช่เพียงแค่การทดสอบหรือการสอบอย่างเดียวแต่ยังต้องประเมินสภาพแท้จริงของผู้เรียนสำหรับท่านประโยคนี้มีความหมายอย่างไรและมีวิธีการปฏิรูปจึงได้อย่างไร
ตอบ  หลักสูตรได้ระบุสิ่งที่คาดหวังจะให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน  กำหนดคุณลักษณะที่ต้องการของ    ผู้เรียน  รวมทั้งแนวทางในการดำเนินให้บรรลุเป้าหมาย  ในการนำหลักสูตรไปใช้  ผู้ใช้หลักสูตร  จึงต้องวิเคราะห์จุดหมายของหลักสูตรให้เป็นจุดประสงค์การเรียนการสอนที่ชัดเจนเพื่อจะได้จัด  กิจกรรมหรือกระบวนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ตามที่จุดประสงค์ การเรียนการสอนกำหนด  และการที่ผู้ใช้หลักสูตรจะตรวจสอบหรือทราบว่าผลเกิดจากการเรียนการสอนเป็นอย่างไร  มีสิ่งใดบ้างต้องปรับปรุงแก้ไข  และผู้เรียนได้บรรลุหรือพัฒนาความก้าวหน้าตรงตามจุดประสงค์การเรียนการสอนที่ตั้งไว้หรือไม่เพียงใดนั้น  ก็ต้องมีการวัดและประเมินผล  การเรียนรู้ของผู้เรียน  การวัดและประเมินผลการเรียนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและขาดเสียมิได้


3. จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ 7 เรื่อง การวางแผนการเขียนแผนการสอนและแผนจัดการเรียนรู้โดยอยู่ในรูปแบบแผนผังความคิด Mind Mapping โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอเนื้อหาให้สมบูรณ์ที่สุด
ตอบ


กิจกรรมท้ายบทที่ 6


             1. สื่อการเรียนการสอนคืออะไรมีประโยชน์อย่างไร ท่านเคยมีความประทับใจจากการที่ได้รับประสบการณ์เรียนรู้ในรายวิชาที่มีการใช้สื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพหรือไม่และผู้สอนใช้สื่อการเรียนการสอนนั้น  อย่างไรจงอธิบาย
ตอบ  
สื่อการสอน (Instruction Media) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการใด ๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษมีคุณค่าในตัวของมันเองในการเก็บ และแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาทั้งยังมีเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ
          มีประโยชน์เพราะช่วยให้การเรียนการสอนง่ายขึ้นเเละเข้าใจได้ง่ายรวดเร็ว น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ ตื่นเต้นเเปลกใหม่กับการศึกษา ส่วนใหญ่ผู้สนอชอบ อธิบายจากใบงาน พาเวอร์พ้อย หรือนำวิดีโอมาเปิดให้ดู ซึ่งมันน่าเบื่อและจำได้ไม่ค่อยได้เท่ากับการได้ลงมือทำและเรียนรู้โดยวิธีอื่นๆ เช่น เล่นเกมส์

       2. หากท่านมีโอกาสได้จัดการเรียนการสอนเรื่องอาหารพื้นเมืองอีสานให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ท่านจะเลือกใช้สื่อการสอนอย่างไร  เพราะเหตุใดจงอธิบาย
ตอบ  
เป็นการเรียนการสอนโยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทุกตนภายในทุกซึ่งมีการศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมเเละมีการจด ตวรจสอบ วิเคราะห์ แก้ปัญหา และสรุป ข้อเท็จจริง

       3. จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ เรื่อง   การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้อยู่ในรูปแบบของแผนผังความคิด Mind Mapping โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอเนื้อหาให้สมบูรณ์ที่สุด
ตอบ



กิจกรรมท้ายบทที่ 5

1. ตามความเข้าใจของท่าน การจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีความหมายว่าอย่างไรและเหตุผลใดการปฏิรูปการศึกษาจึงสำคัญกับการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว
ตอบ การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนี้ ผู้เรียนจะได้รับการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบและมีส่วนร่วมต่อการเรียนรู้ของตนเอง ซึ่งแนวคิดแบบผู้เรียนเป็นสำคัญจะยึด การศึกษาแบบก้าวหน้าของผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนแต่ละคนมีคุณค่าสมควรได้รับการเชื่อถือไว้วางใจแนวทางนี้จึงเป็นแนว ทางที่จะ ผลักดันผู้เรียนไปสู่การบรรลุศักยภาพของตน โดยส่งเสริมความคิดของผู้เรียนและอำนวยความสะดวกให้เขาได้พัฒนาศักยภาพของตน เองอย่างเต็มที่การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นการ จัดกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ที่มีลักษณะแตกต่างจากการจัดกระบวนการเรียนรู้ แบบดั้งเดิมทั่วไป
        การปฏิรูปการศึกษาจึงสำคัญ
1.ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของคนไทย
2. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนความเข้มแข็งของสังคมไทย
3. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและบริบทการเรียนรู้ในยุคโลกาภิวัตน์การ
4. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน
5. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายการปฏิรูปการเรียนรู้


2. จากตัวอย่างของวิธีการจัดการสอนตามเส้นทางดำเนิน เรื่องในหน้า 203 และ231 ในหัวข้อเรื่องป่าไม้ท่านคิดว่าผู้เรียนจะได้พัฒนาตนเองในด้านใดบ้าง ที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จงอธิบายและให้เหตุผล
ตอบ เป็นการเรียนการสอนโยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทุกตนภายในทุกซึ่งมีการศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมเเละมีการจด ตวรจสอบ วิเคราะห์ แก้ปัญหา และสรุป ข้อเท็จจริง

3. จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระของบทที่ 5 เรื่อง การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาให้อยู่ในรูปแบบของแผนผังความคิด Mind Mapping โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอเนื้อหาให้สมบูรณ์ที่สุด





กิจกรรมท้ายบทที่ 4

1.ในฐานะที่ท่านเป็นผู้ออกแบบการเรียนการสอนท่านคิดว่ากลยุทธ์การเรียนการสอนมีประโยชน์ต่อตัวท่านและผู้เรียนอย่างไรจงอธิบายและให้เหตุผลสนับสนุน
ตอบ  มีประโยชน์ในการสอนและเป็นการสอนที่มุ่งเน้นประโยชน์สูงสุดของผู้เรียน สนองความแตกต่างระหว่างบุคคลผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แท้จริง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ได้จริง

2.จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ กลยุทธ์การเรียนการสอนให้อยู่ในรูปแบบแผนผังความคิด Mind Mapping โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด
ตอบ


กิจกรรมท้ายบทที่ 3

1. จากการศึกษาเนื้อหาในบทที่ รูปแบบการเรียนการสอนจะพบว่ามีรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายเป็นอย่างมากท่านคิดว่ารูปแบบการเรียนการสอนแบบใดที่มีความน่าสนใจในการพัฒนาการเรียนการสอนมากที่สุด อันดับแรกเพราะเหตุใดจงอธิบายและให้เหตุผลสนับสนุนคำตอบ
ตอบ
         
 1. รูปแบบการเรียนการสอนเบบบรูณการ เพราะ มีการนำเนื้อหาวิชาอื่นมาสอนร่วม
           2.รูปแบบการเรียนการสอนเเบบจิ๊กซอร์ เพราะ มีการคละเด็กที่มีความสามารถต่างกันมาอยู่ร่วมกันและมีดารเเลกเปลี่ยนความรู้ให้กันช่วยเหลือกันภายในกลุ่มซึงเป็นการพัฒนาหลายด้าน
           3. รูปแบบการเรียนการสอนแบบ จี. ไอ เพราะ มีการศึกษาหาข้อมูลที่เเตกต่างกันออกไปและนำมาอภิปรายภายในกลุ่มซึ่งทำให้ผู้เรียนได้ความรู้เเปลกใหม่

 2. จงหาตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้จำนวน แผ่นที่ได้นำแนวทางการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอนแบบต่างๆที่ปรากฏในเนื้อหาในบทที่ โดยค้นหาและดาวน์โหลดจากงานวิจัยตามมาตรฐานของข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ Thailis หรือแหล่งสืบค้นวิทยานิพนธ์ตามเว็บไซต์ของมหาลัยภายในประเทศเช่นมหาลัยเชียงใหม่มหาลัยสารคามเป็นต้นและออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
ตอบ  
  http://www.rpu.ac.th/Library_web/doc/RC_RR/2553_M.Ed_Pithplern-Wichit.pdf
           
3. จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ เรื่องรูปแบบการเรียนการสอนให้อยู่ในรูปแบบของแผนผังความคิด Mind Mapping โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอเนื้อหาให้สมบูรณ์ที่สุด
ตอบ



กิจกรรมท้ายบทที่ 2


1. จากเนื้อหาในบทที่ 2 โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเราจะเห็นได้ว่ามีวิธีการสอนและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญหลากหลายท่านคิดว่าวิธีการสอนแบบใดที่มีความน่าสนใจต่อตัวท่านมากที่สุดมา 3 อันดับแรกเพราะเหตุใดจงอธิบายและให้เหตุผล
ตอบ 
           1.วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา (Problem-Solving Method)
            เพราะวิธีการสอนแบบแก้ปัญหานี้จะมีวิธีการที่ทำให้เรานั้นสามารถได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา
          2.วิธีการสอนแบบแสดงบทบาท (Role Playing)
         เพราะวิธีการสอนแบบแสดงบทบาท เป็นการสอนที่กําหนดให้ผู้เรียน แสดงบทบาทตาม สมมติขึ้นเทียบเคียงกับสภาพที่เป็นจริงหรือแสดงออกตามแนวที่คิดว่าควรจะเป็น เพื่อให้ผู้ดูเกิด ความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นการแสดงบทบาทสมมติจะช่วยให้เกิดความสนใจ ฝึกความกล้า ที่จะแสดงออก เป็นการผ่อนคลายอารมณ์ตรึงเครียดของเด็ก การแสดงบทบาทสมมติต่างจากเกม จําลองสถานการณ์ ตรงที่ไม่มีเกณฑ์และการแข่งขัน
           3.วิธีการสอนแบบทดลอง (The Laboratory Method)
            เพราะวิธีการสอนแบบทดลองนั้น มีลักษณะคล้ายกับวิธีการสอนแบบวิทยาศาสตร์ แต่มี การปรับปรุงหลักการบางส่วนเพื่อความเหมาะสมกับการเรียนวิชาอื่นๆ เช่น ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์
วิธีการสอนแบบทดลอง แสดงข้อเท็จจริง จากการสืบสวน ค้นคว้าและทดลอง
วิธีการสอนแบบนี้ยังต่างจากการสอนแบบสาธิตด้วย เพราะการสอนแบบสาธิตเป็น ผู้ทดลองให้นักเรียนดูส่วนการสอนแบบทดลองนักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง


2 .ท่านคิดว่าวิธีการสอนและจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีความสำคัญและประโยชน์ต่อนักเรียนครูผู้สอนและสถาบันศึกษาอย่างไรจงอธิบายและให้เหตุผลที่สอดคล้องกัน
ตอบ มีประโยชน์เป็นอย่างมาก เพราะการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีการออกแบบไว้หลายวิธี ซึ่งแต่ล่ะวิธีนั้นก็สามารถนำมาใช้ได้เกิดประโยชน์ในทางการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง และประสบผลสำเร็จ


3.จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ 2 เรื่องวิธีการสอนและการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้อยู่ในรูปแบบผังความคิด Mind Mapping โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอเนื้อหาให้สมบูรณ์ที่สุด
ตอบ




กิจกรรมท้ายบทที่ 1



1. เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาหา เรื่อง แนวคิดการออกแบบการเรียนรู้การสอนในบทที่ 1 ท่านคิดว่า การออกแบบการเรียนการสอนมีความสำคัญต่อนักเรียน ครูผู้สอนและสถานศึกษาอย่างไร จงอธิบายและให้เหตุผลที่สอดคล้องกัน
ตอบ การออกแบบการเรียนการสอน มีความสำคัญต่อนักเรียน ครูผู้สอนและสถานศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพราะการออกแบบการเรียนการสอนนั้นเป็นกระบวนการวางแผนการเรียนการสอนอย่างมีระบบ โดยมีการวิเคราะห์องค์ประกอบการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนการสอน สื่อกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ รวมถึงการประเมินผล เพื่อให้ผู้สอนสามารถถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียนผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และการออกแบบการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้สอนวางแผนการสอนอย่างมีระบบ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดมุ่งหมาย และประสบความสำเร็จผู้สอนต้องพิจารณาหลักการในการออกแบบการเรียนการสอน

2. ท่านคิดว่าการเรียนการออกแบบดั้งเดิมและการเรียนการสอนเชิงระบบมีข้อดี และ ข้อเสียอย่างไร จงอธิบายและให้เหตุผลสนับสนุนคำตอบ
ตอบ การสอนแบบดั้งเดิมนั้นจะเป็นการสอนที่ไม่ค่อยจะบอกกล่าวถึงจุดประสงค์ของการเรียนรู้ และไม่ค่อยมีการวางแผน และไม่ค่อยจะสนใจผู้เรียนมากนัก ส่วนการสอนแบบเชิงระบบนั้นจะแจ้งถึงจุดประสงค์การเรียนรู้ บอกที่ไปที่มาของการเรียนการสอน และเอาใจใส่นักเรียนเป็นอย่างดี

3.จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ 1 เรื่องแนวคิดการออกแบบการเรียนการสอนให้อยู่ในรูปแบบของแผนผังความคิด Mind Mapping โดยใช้การคิดสร้างสรรค์และนำเสนอเนื้อหาในให้สมบูรณ์ที่สุด
ตอบ






วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2561

การวัดและการประเมินผล

การวัดและประเมินผล


        การวัดและประเมินผลเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับผู้สอน ด้วยเหตุผลที่ว่าการวัดและประเมินผลจะเป็นวิธีการที่ประเมินความรู้ ความสามารถของผู้เรียน ตลอดจนใช้เป็นวิธีการในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้สอนได้ว่า ได้ดำเนินการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมาย หรือจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ดังนั้นผู้สอนจึงจำเป็นจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถดำเนินการวัดและประเมินผลได้เป็นอย่างดี
        การวัดเป็นกระบวนการเชิงปริมาณในการกำหนดค่าเป็นตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่มีความหมายแทนคุณลักษณะของสิ่งที่วัดโดยอาศัยกฎเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
        ส่วนคำว่า การประเมินผล เป็นการตัดสินเกี่ยวกับคุณภาพหรือคุณค่าของวัตถุสิ่งของโครงการการศึกษาพฤติกรรมการทำงานของคนงานหรือความรู้ความสามารถของนักเรียน


ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

แผนการจัดการเรียนรู้



แผนการจัดการเรียนรู้


                 คุณภาพของนักเรียนเป็นผลที่เกิดจากการจัดการเรียนการสอนของครู คุณภาพของการเรียนการสอนมาจากการออกแบบแผนการสอนหรือแผนการเรียนรู้ที่ดีและนำไปใช้กับนักเรียนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การออกแบบแผนการรนสอนจึงเป็นตัวชี้วัดสมรรถภาพที่สำคัญของผู้ประกอบวิชาชีพครู เราจึงขอนำเสนอลักษณะของแผนการเรียนรู้ที่ดีมาฝากกันค่ะ
ลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี ควรมีดังนี้
1. มีความละเอียด ชัดเจน มีหัวข้อและส่วนประกอบต่าง ๆ ครอบคลุมตามหลักการของการสอน
1.1 สอนเกี่ยวกับอะไร (หน่วยการเรียนรู้ หัวเรื่อง ความคิดรวบยอดหรือสาระสำคัญ)
1.2 เพื่อจุดประสงค์อะไร (จุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งควรเขียนเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม)
1.3 สาระอะไร (เนื้อหา / โครงร่างเนื้อหา)
1.4 ใช้วิธีการใดในการสอน (กิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ)
1.5 ใช้เครื่องมืออะไรในการสอน (วัสดุอุปกรณ์ สื่อและแหล่งการเรียนรู้)
1.6 เราจะทราบได้อย่างไรว่าแผนการเรียนรู้ที่เราออกแบบจะประสบความสำเร็จ (การวัดและประเมินผล)
2. แผนการจัดการเรียนรู้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
3. ส่วนประกอบต่าง ๆ ของแผนการจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องสัมพันธ์เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน เช่น
3.1 จุดประสงค์การเรียนรู้ครอบคลุมสาระ / เนื้อหา และเป็นจุดที่พัฒนาผู้เรียนในด้านความรู้ ทักษะ กระบวนการและเจตคติ
3.2 กิจกรรมการเรียนรู้ ควรสอดคล้องกับจุดประสงค์และเนื้อหา / สาระ
3.3 วัสดุอุปกรณ์ สื่อ และแหล่งการเรียนรู้ ควรสอดคล้องสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้
3.4 การวัดผลและประเมินผล ควรสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้




ภาพ : shutterstock.com


           แผนการจัดการเรียนรู้ที่ดีต้องเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนี้
1. มีการวิเคราะห์หลักสูตร จัดทำตารางวิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา หรือวิเคราะห์สาระการเรียนรู้ จัดทำหน่วยการเรียนรู้ และจัดทำกำหนดการสอนหรือโครงการสอน
2. มีการวิเคราะห์ผู้เรียน โดยการจัดกลุ่มผู้เรียนตามความรู้ ความสามารถ ความสนใจ และความถนัด แล้วนำไปเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพของผู้เรียนเพื่อเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3. มีการกำหนดเนื้อหาสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ศักยภาพของผู้เรียน และความต้องการของท้องถิ่น รวมทั้งการบูรณาการระหว่างวิชา
4. มีการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียน มีการบูรณาการ เน้นการคิด (ทักษะการคิด ลักษณะการคิด และกระบวนการคิด) การฝึกทักษะ การปฏิบัติจริง และการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
5. มีการกำหนดสื่อ /นวัตกรรม/แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง กิจกรรมการเรียนรู้ วัยและความสามารถของผู้เรียน และให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเลือก จัดหาและจัดทำสื่อ/แหล่งการเรียนรู้
6. มีการกำหนดการวัดผลและประเมินผล สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและกิจกรรมการเรียนรู้ มีการวัดผลตามสภาพจริง ให้ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติ
7. มีองค์ประกอบสำคัญครบถ้วน เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น เน้นคุณธรรม จริยธรรม และมีการบูรณาการตามความเหมาะสม
8. มีความสมบูรณ์ถูกต้อง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ
ประโยชน์ของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี
1. ทำให้เกิดการวางแผนวิธีสอนวิธีเรียนที่มีความหมายยิ่งขึ้น เพราะเป็นการจัดทำอย่างมีหลักการที่ถูกต้อง
2. ช่วยให้ครูมีคู่มือการสอนที่ทำด้วยตนเอง ทำให้เกิดความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน ทำให้สอนได้ครบถ้วนตรงตามหลักสูตร และสอนได้ทันเวลา
3. เป็นผลงานวิชาการที่สามารถเผยแพร่เป็นตัวอย่างได้
4. ช่วยให้ความสะดวกแก่ครูผู้มาสอนแทนในกรณีที่ผู้สอนไม่สามารถเข้าสอนได้


ตัวอย่างรูปแบบการสอนแบบเรียงหัวข้อ


แผนการจัดการเรียนรู้ 

วิชา..............................................                                               ชั้น.................................................
หน่วยที่…………………………เรื่อง………………………เวลาเรียน…………….........คาบ/ชั่วโมง
หัวเรื่อง..............................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................
ความคิดรวบยอด..............................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม..................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
เนื้อหา .............................................................................................................................................…………………………………………………………….……….….…….................................
.........................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
กิจกรรมการเรียนการสอน.................................................................................……......................
.........................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
สื่อการเรียนการสอน.........................................................................................................................
.........................................................................................................................................................

ประเมินผล........................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
หมายเหตุ..........................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................

การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้

การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้


 การเขียนแผนการสอน
องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
ประจวบจิตร คำจัตุรัส (2550 : 6/54) กล่าวถึงองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ ส่วนได้แก่
1) 
ชื่อวิชาหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับชั้น ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ชื่อเรื่อง และระยะเวลาที่สอน
2) 
สาระการเรียนรู้หรือหัวเรื่อง เป็นการเขียนระบุเนื้อหาของบทเรียน หรือเรื่องที่จะสอนการเรียงลำดับสาระการเรียนรู้ หรือหัวเรื่อง จะต้องจัดลำดับตามเนื้อหาที่ต้องการก่อน หลัง และตามลำดับความยากง่าย
3) 
สาระสำคัญ หรือมโนมติ เป็นการเขียนหัวข้อเรียงลำดับตามสาระการเรียนรู้หรือหัวเรื่องหรือเขียนเป็นความเรียง โดยระบุเฉพาะส่วนที่แก่นของบทเรียนนั้น
4) 
จุดประสงค์การเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เป็นการระบุความคาดหวังที่แสดงพฤติกรรมของผู้เรียนที่คาดหวัง หลังจบบทเรียน ซึ่งต้องครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ และเจตคติ เขียนเป็นข้อๆ เรียงลำดับตามหัวข้อสาระการเรียนรู้
5) 
สื่อและแหล่งเรียนรู้เป็นการเขียนรายการวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ และแหล่งเรียนรู้ ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมของแผนการจัดการเรียนรู้นั้น
6) 
การประเมินผล เป็นการเขียนระบุวิธีการประเมินผล ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการประเมินผลทำได้หลายวิธี เช่นการให้ตอบคำถาม การสังเกต การปฏิบัติกิจกรรมหรือปฏิบัติการ
ทดลอง การเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม การตรวจผลงานหรือผลการทดลอง การให้ทำแบบฝึกหัด การทดสอบ ทั้งนี้ต้องระบุชนิดของเครื่องมือ และเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินด้วย
7) 
หมายเหตุ เป็นการเขียนบันทึกปัญหา อุปสรรคที่พบ และข้อเสนอแนะที่ได้หลังจากการสอนเมื่อจบบทเรียนแล้ว ข้อมูลต่างๆเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ครั้งต่อไป
ประโยชน์ของการเขียนแผนการสอน
     1. เป็นคู่มือในการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามที่กำหนด          
     2. เป็นคู่มือจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
     3. เป็นคู่มืออธิบายรายละเอียดแนวคิดและขั้นตอนการวัดผลประเมินผลการจัดการเรียนรู้
     4. เป็นเครื่องชี้วัดประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ และข้อบกพร่องในการจัดการเรียนรู้
     5. เป็นหลักฐานในการปฏิบัติการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

แนวทางการวางแผนการสอน

แนวทางการวางแผนการสอน


การวางแผนการสอน
             เป็นการเตรียมการสอนล่วงหน้า  ทำให้ครูมีแนวทางในการสอน ได้ทราบว่าจะสอนเนื้อหาใด  ในเวลาเท่าใด  เพื่อจุดประสงค์ใด  สอนโดยวิธีใด ใช้สื่ออะไรประกอบการสอนและวัดผลประเมินผลโดยวิธีใด  การวางแผนการสอนจัดทำได้ใน 2 ลักษณะ  คือ จัดทำเป็นกำหนดการสอนหรือแผนระยะยาว และจัดทำเป็นแผนการสอนหรือแผนระยะสั้น ในการจัดทำต้องศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตร  ศึกษาแนวการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับวิสัยทัศน์  คุณภาพผู้เรียน จะช่วยให้การจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับหลักการ  จุดหมายของหลักสูตรเพื่อให้การสอนบรรลุผลสำเร็จตามจุดประสงค์  ผู้สอนควรได้วางแผนและเขียนแผนการสอนด้วยตนเองอย่างรอบคอบ ชัดเจนถึง แนวทางการนำหลักสูตรไปใช้ในรูปของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กันขององค์ประกอบของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการสอนตามหลักสูตร  เมื่อนำแผนการสอนไปใช้ควรได้ดำเนินการสอนตามแผนที่วางไว้ ก็จะเป็นการวางแผนการสอนที่ให้คุณค่าอย่างแท้จริง
ความหมายของกำหนดการสอน
              เอกรินทร์ สี่มหาศาล (2545, หน้า 409) กล่าวว่า แผนการจัดการเรียนรู้ (Lesson Plan) เป็นวัสดุหลักสูตรที่ควรพัฒนามาจากหน่วยการเรียนรู้ (UNIT PLAN) ที่กำหนด ไว้ เพื่อให้การจัดการสอบบรรลุเป้าประสงค์ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร หน่วยการเรียนรู้จึงเปรียบเสมือนโครงร่าง หรือพิมพ์เขียวที่กล่าวถึงประสบการณ์การเรียนรู้ตามหัวข้อการจัดการเรียนรู้และกระบวนการวัดผลที่สอดคล้องสัมพันธ์กัน ส่วนแผนการเรียนรู้จะแสดงการจัดการเรียนรู้ตามบทเรียน (lesson) และประสบการณ์การเรียนรู้เป็นรายวัน หรือรายสัปดาห์ดังนั้นแผนการจัดการเรียนรู้ จึงเป็นเครื่องมือหรือแนวทางในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนตามกำหนดไว้ในสาระการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่ม

ข้อมูลที่ถูกต้องใช้ในการวางแผนการสอน

ข้อมูลที่ถูกต้องใช้ในการวางแผนการสอน

         ในการวางแผนการสอนนั้น ผู้สอนหรือผู้วางแผนต้องศึกษารายละเอียดขอลข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องและนำมาพิจารณาในการวางแผนการสอน ข้อมูลเหล่านี้ได้แก่
1. สภาพปัญหาและทรัพยากร เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการเรียนการสอนที่ผู้สอนรวบรวมได้จากการสำรวจปัญหาและตรวจสอบทรัพยากรในแง่กำลังคน งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ข้อมูลส่วนนี้จะทำให้ผู้วางแผนกำหนดรูปแบบการสอน กิจกรรมการเรียน และสื่อการสอนได้ชัดเจนขึ้น
2. การวิเคราะห์เนื้อหา เป็นข้อมูลที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการกำหนดเรื่องที่สอนโดยกำหนดเป็นระดับหน่วยใหญ่ที่อาจต้องสอนหลายครั้ง ระดับหน่วยย่อยที่เป็นปลีกย่อยของหน่วยใหญ่และระดับบทเรียนที่เป็นเนื้อหาของการสอน 1 ครั้ง สำหรับเนื้อหาของบทเรียนก็ต้องวิเคราะห์ออกเป็นหัวเรื่อง และหัวข้อย่อยเช่นเดียวกัน
3. การวิเคราะห์ผู้เรียน เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับอายุ ระดับความพร้อมและความรู้เดิมของผู้เรียนข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้เรียนมีความจำเป็นสำหรับการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับผู้เรียนในระดับต่างๆ
4. ความคิดรวบยอด เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับสาระ หรือแก่นของเนื้อหา ที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับอาจเปรียบได้ง่ายๆกับการปรุงอาหารที่ต้องมีการกำหนดความสมดุลของสารอาหารที่ผู้บริโภคจะได้รับโดยไม่คำนึงถึงกากหรือเนื้ออาหาร การสอนก็เช่นเดียวกัน ผู้สอนต้องกำหนดให้เด่นชัดก่อนว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับควาามคิดรวบยอดที่เป็นแก่นสารของเนื้อหาอะไรบ้าง
5. วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์เป็นเป้าหมายแห่งการสำเร็จในส่วนของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในตัวผู้เรียนที่ผู้สอนกำหนดไว้ การกำหนดจุดประสงค์ต้องมีทั้งวัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุประสงค์เฉพาะก็นิยมกำหนดไว้ในรูปวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
6. กิจกรรมการเรียน เป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะให้ผู้เรียนประกอบกิจกรรมการเรียนอะไรบ้าง โดยคำนึงถึงกิจกรรมกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อยและกิจกรรมรายบุคคล กิจกรรมการเรียนต้องจัดไว้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
7. สื่อการสอน เป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าเช่นเดียวกัน โดยพิจารณากิจกรรมการเรียนเป็นหลัก
8. การประเมินผล เป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องคาดการณ์ไว้ว่าจะตรวจสอบ พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไร ทั้งในส่วนที่เป็นพฤติกรรมเดิม (ความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว) พฤติกรรมต่อเนื่อง(พฤติกรรมย่อยที่ผู้สอนต้องให้ผู้เรียนเรียนรู้ไปทีละน้อย) และพฤติกรรมขั้นสุดท้าย(พฤติกรรมที่เป็นผลลัพธ์ซึ่งผู้สอนคาดหมายไว้)

ความจําเป็นของการวางแผนการสอน



ความจำเป็นของการวางแผนการสอน


          การวางแผนการสอนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสอนที่ดี เพราะการวางแผนการสอนเป็นการเลือก และตัดสินใจเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีการจัดเตรียมเนื้อหาโดยนำเนื้อหามาบูรณาการกัน ทำให้ง่านต่อการศึกษาทำความเข้าใจ นอกจากนี้การวางแผนการสอนล่วงหน้านี้ ยังมีความจำเป็นในแง่ช่วยให้ผู้สอนเข้าใจถึงจุดประะสงค์ในการเรียนการสอนอย่างชัดเจนและสามารถจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ผู้สอนมีโอกาสได้ทราบเจตคติและความรู้พื้นฐานของผู้เรียน ทำให้สามารถเลือกวิธีการสอน และการประเมินผลได้ถูกต้อง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้สอนไม่สามารถเข้าสอนได้ผู้สอนท่านอื่นก็สามารถที่จะเข้าสอนแทนได้โดยง่าย

ความหมายของการวางแผนการสอน



ความหมายของการวางแผนการสอน




             แผนการสอน คือ การนำวิชาหรือกลุ่มประสบการณ์ที่ต้องทำการสอน ตลอดภาคเรียนมาสร้างเป็นแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อ อุปกรณ์การสอน การวัดและการประเมินผล สำหรับเนื้อหาสาระและจุดประสงค์การเรียนการสอนย่อยๆ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือจุดเน้นของหลักสูตร สภาพผู้เรียน ความพร้อมของโรงเรียนในด้านวัสดุอุปกรณ์ และตรงกับชีวิตจริงในท้องถิ่น ซึ่งถ้ากล่าวอีกนัยหนึ่ง แผนการสอนคือ การเตรียมการสอนเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ล่วงหน้า หรือ คือการบันทึกการสอนตามปกตินั่นเอง (กรมวิชาการ. 2545 : 3)

           นิคม ชมภูหลง (2545 : 180) ให้ความหมายของแผนการสอนว่า แผนการสอน หมายถึง แผนการหรือโครงการที่จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้ในการปฏิบัติการสอนในรายวิชาใดวิชาหนึ่ง เป็นการเตรียมการสอนอย่างมีระบบและเป็นเครื่องมือช่วยให้ครูพัฒนาการจัดการเรียนการสอนไปสู่จุดประสงค์และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            ภพ เลาหไพฑูรย์ (2540 : 357) ให้ความหมายของแผนการสอนว่าแผนการสอน หมายถึงลำดับขั้นตอนและกิจกรรมทั้งหมดของผู้สอนและผู้เรียน ที่ผู้สอนกำหนดไว้เป็นแนวทางในการจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์

        วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2542 : 1) ให้ความหมายของแผนการสอนว่าแผนการสอน หมายถึง แผนการหรือโครงการที่จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้ในการปฏิบัติการสอนในรายวิชาใดวิชาหนึ่ง เป็นการเตรียมการสอนอย่างมีระบบและเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูพัฒนาการจัดการเรียนการสอนไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้ และจุดหมายของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

       สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543 : 133) ให้ความหมายของแผนการสอนว่า หมายถึง การวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเป็นแนวดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละครั้งโดยกำหนดสาระสำคัญ จุดประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอนสื่อ ตลอดจนการวัดผลและการประเมินผล

          สถาบันพัฒนาความก้าวหน้า (2545 : 69) ได้ให้ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้ว่าเป็นแผนงานหรือโครงการที่ครูผู้สอนได้เตรียมการจัดการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้ปฏิบัติการเรียนรู้ในรายวิชาใดวิชาหนึ่งอย่างเป็นระบบระเบียบ โดยใช้เป็นเครื่องมือสำหรับจัดการเรียนรู้เพื่อนำผู้เรียนไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้และจุดหมายของหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ

          กรมวิชาการ (2545 : 73) ได้ให้ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้ คือผลของการเตรียมการวางแผนการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบโดยนำสาระและมาตรฐานการเรียนรู้

           คำอธิบายรายวิชา และกระบวนการเรียนรู้ โดยเขียนเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน

       สรุปว่า แผนการสอนคือ การวางแผนการจัดกิจกรรมเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ล่วงหน้าอย่างละเอียด เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งมีเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอน และวิธีวัดผลประเมินผลที่ชัดเจน


       สุพล วังสินธ์ (2536 : 5–6) กล่าวว่า แผนการจัดการเรียนรู้เป็นกุญแจดอกสำคัญที่ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งสรุปความไว้ ดังนี้

1. ทำให้เกิดการวางแผนวิธีเรียนที่ดี ผสมผสานความรู้และจิตวิทยาการศึกษา

2. ช่วยให้ครูมีคู่มือการสอนที่ทำด้วยตนเองล่วงหน้ามีความมั่นใจในการสอน

3. ส่งเสริมให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในด้านของหลักสูตร วิธีสอนการวัดผลและ

ประเมินผล

4. เป็นคู่มือสำหรับผู้มาสอนแทน

5. เป็นหลักฐานแสดงข้อมูลที่ถูกต้องเที่ยงตรง เป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษา

6. เป็นผลงานทางวิชาการแสดงความชำนาญความเชี่ยวชาญของผู้ทำ

        ลักษณะที่ดีของแผนการจัดการเรียนรู้

สมนึก ภัททิยธนี (2546 : 5) ได้กล่าวถึงลักษณะที่ดีของแผนต้องมีขั้นตอน ดังนี้

1. เนื้อหาต้องเขียนเป็นรายคาบ หรือรายชั่วโมงตารางสอน โดยเขียนให้สอดคล้องกับชื่อเรื่องให้อยู่ในโครงการสอน และเขียนเฉพาะเนื้อหาสาระสำคัญพอสังเขป (ไม่ควรบันทึกแผนการสอนอย่างละเอียดมาก ๆ เพราะจะทำให้เกิดความเบื่อหน่าย)

2. ความคิดรวบยอด (Concept) หรือหลักการสำคัญ ต้องเขียนให้ตรงกับเนื้อหาที่จะสอนส่วนนี้ถือว่าเป็นหัวใจของเรื่องครูต้องทำความเข้าใจในเนื้อหาที่จะสอนจนสามารถเขียนความคิดรวบยอดได้อย่างมีคุณภาพ

3. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ต้องเขียนให้สอดคล้อง กลมกลืนกับความคิดรวบ

ยอด มิใช่เขียนตามอำเภอใจไม่ใช่เขียนสอดคล้องเฉพาะเนื้อหาที่จะสอนเท่านั้นเพราะจะได้เฉพาะ

พฤติกรรมที่เกี่ยวกับความรู้ความจำ สมองหรือการพัฒนาของนักเรียนจะไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร

4. กิจกรรมการเรียนการสอน โดยยึดเทคนิคการสอนต่างๆ ที่จะช่วยให้นักเรียน

เกิดการเรียนรู้

5. สื่อที่ใช้ควรเลือกให้สอดคล้องกับเนื้อหา สื่อดังกล่าวต้องช่วยให้นักเรียนเกิด

ความเข้าใจในหลักการได้ง่าย

6. วัดผลโดยคำนึงถึงเนื้อหา ความคิดรวบยอด จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมและช่วงที่ทำการวัด (ก่อนเรียน ระหว่างเรียน หลังเรียน) เพื่อตรวจสอบว่าการสอนของครูบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่

       ประโยชน์ของแผนการจัดการเรียนรู้

      ถ้าครูได้ทำแผนการสอนและใช้แผนการสอนที่จัดทำขึ้น เพื่อนำไปใช้สอนในคราวต่อไป แผนการสอนดังกล่าวจะเกิดประโยชน์ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2544 : 134)

1. ครูรู้วัตถุประสงค์ของการสอน

2. ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยความมั่นใจ

3. ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน

4. ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ

5. ถ้าครูประจำชั้นไม่ได้สอน ครูที่มาทำการสอนแทนสามารถสอนแทนได้ตาม

การวางแผนการเขียนแผนการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้



การวางแผนการเขียนแผนการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้

        ในการจัดการเรียนการสอนนั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ ซึ่งในแต่ล่ะรูปแบบนั้นได้นำวิธีการจัดระบบการเรียนการสอนเข้ามาใช้เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพบรรลุตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ เช่นเดียวกับการประกอบกิจการงานทั่วๆไป หากงานใดได้นำวิธีการจัดระบบการทำงานเข้าไปใช้แล้ว งานย่อมดำเนินไปด้วยดีและมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน การใช้วิธีการจัดระบบงานต่างๆ รวมทั้งงานที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนนี้ ส่วนใหญ่จะต้องเริ่มต้นจากการวางแผน ซึ่งการวางแผนการสอนหรือการวางแผนการจัดการเรียนรู้ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการสอนที่เน้นการเตรียมการสอนล่วงหน้าก่อนสอนโดยศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องแล้วจึงเขียนเป็นแผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้อย่างมีระบบและสามารถตรวจสอบขั้นตอนต่างๆได้

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561

การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่่อ



การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อ

           สื่อเป็นวิธีการซึ่งมีการนําเสนอสารสนเทศและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในขณะที่สือเป็น คําที่ใช้อ้างถึงแบบของการเรียนการสอน (mode of delivery) จึงเป็นความจําเป็นที่ต้องมีวัสดุอุปกรณ์ ที่จะส่งผ่านแบบการเรียนการสอนนั้น ในทางตรรกแล้วเป็นความจําเป็นทั้งส่วนที่เป็นอุปกรณ์ (hardware )และส่วนที่เป็นวัสดุ (software) สําหรับการเรียนรู้ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นฐานเช่นเดียวกัน กับสื่อโทรทัศน์ที่ต้องอาศัยโปรแกรมเป็นฐาน

         การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อสามารถทําได้ก่อน ทําตามหลัง หรือทําไปพร้อมๆกับการตกลงใจ เกี่ยวกับวิธีการโดยทั่วๆ ไปแล้ว จะทําตามหลังหรือทําไปพร้อมๆกัน การบรรยายอาจจะต้องการ องค์ประกอบของสื่อ หรืออาจจะอยู่ในรูปแบบของโปรแกรมโทรทัศน์ ในสมัยก่อนวัสดุอุปกรณ์ส่วน ใหญ่จะเป็นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์

         ในตอนนี้จะได้กล่าวถึงการแบ่งวิธีการ/สื่อ ออกเป็นสามประเภท คือ วิธีการ (methods) สื่อดั้งเดิม (traditional media) และเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า (newer technology) ในด้านวิธีการดําเนิน หลักสูตรโดยทั่วไป ซึ่งอาจจะรวมๆกัน แต่จะใช้สื่อรวมๆ กัน ส่วนสื่อเดิมๆจะรวมถึงงานพิมพ์ (print) และสื่อโสตทัศน์ (audiovisual media) และสําหรับเทคโนโลยีใหม่ คือ การสื่อสารโทรคมนาคมและ ไมโครโพรเซสเซอร์ (microprocessor) สือ (media) สามารถจัดกลุ่มเป็นวัสดุสิ่งพิมพ์ (print materials) ทัศน์วัสดุไม่ฉาย (nonprojected visuals) ทัศน์วัสดุฉาย (projected visuals) สื่อประเภทเสียง (audio media) ระบบสื่อผสม (multimedia systems) ภาพยนตร์ (films) และโทรทัศน์ (television) สือแต่ละ ประเภทเหล่านี้สามารถแตกออกให้เลือกได้ในหลายรูปแบบ

การตัดสินใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่
             เทคโนโลยีใหม่ ประกอบด้วย การเรียนการสอนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน (computer-based instruction) และการเรียนรู้ทางไกล ที่อาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเป็น พื้นฐาน (telecommunications-based distance learning technologies) การเรียนรู้ทางไกลเกิดขึ้นเมื่อ ผู้เรียนอยู่ในสถานที่หนึ่ง เทคโนโลยีใหม่มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ดังแสดงที่ตาราง 19 นิยามศัพท์เฉพาะสื่อและเทคโนโลยี 

             การพิจารณาเลือกสื่อ
             มีหลักการทั่วไปจํานวนมาก และข้อพิจารณาอื่นๆ ในการเลือกสื่อที่เหมาะสมสําหรับการ เรียนการสอน คือ กฏในการเลือกสื่อและปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสื่อ

กฎในการเลือกสื่อ
            การเลือกสื่อมีกฎอยู่ (6 ข้อ หรือเรียกว่าหลักการทั่วไปในการพิจารณาก่อนที่จะตัดสิน อย่างไม่เป็นทางการในการเลือกสื่อ
           กฏที่ 1 การเรียนการสอนโดยทั่วไปแล้วต้องการสื่อสองทาง (two way medium) นักเรียนจะ เรียนได้ดีที่สุดเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ สื่อการเรียนการสอน ครู สมุดทํางาน หรือ โปรแกรม คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
          กฎที่ 2 สื่อทางเดียว (one-way media) ควรจะได้รับการสนับสนุน โดยสื่อที่ให้ข้อมูล ป้อนกลับ ตัวอย่างคือ ภาพยนตร์ หรือวีดิทัศน์ จะให้ประสิทธิผลมากกว่า เมื่อมีคู่มือการใช้ควบค์ ไปด้วย หรือมีแบบฝึกปฏิบัติควบคู่ไปด้วย หรือมีครู ซึ่งสามารถที่จะถามคําถามและตอบคําถามได้
         กฎที่ 3 การเรียนรู้ของแต่ละบุคคล ต้องการสื่อที่มีความยืดหยุ่น ตัวอย่างคือ ผู้ที่เรียนเช้า อาจจะต้องการสื่อการเรียนที่แตกแขนงออกไปเป็นพิเศษ เช่นการฝึกเสริม (remedial exercises) ตัวอย่างเสริมเป็นพิเศษ สื่อภาพยนตร์ ควรจะส่งเสริมโดยการเยียวยาแก้ไขหรือมีกิจกรรมที่เหมาะสม กับความต้องการของแต่ละบุคคล โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถที่จะสนองตอบได้อย่างดี เลิศในความยืดหยุ่นที่มีต่อปัจจัยบุคคล
       กฎที่ 4 การนําเสนอ โลกแห่งความเป็นจริง ต้องการสื่อทางทัศนะวัสดุ ตัวอย่างนักเรียน พยาบาลเรียนรู้วิธีการตัดไหม จําเป็นต้องเห็นการสาธิต (ภาพยนตร์ วีดิทัศน์ การสาธิตของจริง) มากกว่าที่จะเขียนออกมาเป็นรายการของวิธีการตัดไหม
        กฎที่ 5 พฤติกรรมที่คาดหวังหลังจากการเรียนการสอน ควรจะให้มีการฝึกปฏิบัติในระหว่าง ที่มีการเรียนการสอน การได้ยิน หรือการได้เห็นทักษะที่แสดงออกมาไม่เป็นการเพียงพอ ตัวอย่าง ผู้ปฏิบัติจําเป็นต้องทําการตัดไหมตามที่เห็นในวีดิทัศน์ ไม่ว่าจะเป็นการตัดไหมเทียมๆหรือตัดไหม จริงๆ
       กฎที่ 6 เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ของบทเรียนอื่นๆ อาจต้องการการเลือกสื่อที่มีความ แตกต่างกัน ตัวอย่าง ทฤษฎีที่อยู่บนหลักการของวิธีการทําหมัน อาจจะต้องการวัสดุอุปกรณ ที่เป็นสิ่งพิมพ์ ในขณะที่วิธีการตัดไหม อาจจะต้องการสาธิตที่มีความเป็นจริงมากกว่า (วีดีทัศน ภาพยนตร์ ฯลฯ) 
 
        ปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการเลือกสื่อ
        ได้มีการเรียนรู้กฎซึ่งจําเป็นในการพิจารณา เมื่อมีการเลือกสื่อการเรียนการสอน เป็นความจําที่มองหาปัจจัยอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกสื่อ

แบบจําลองการเลือกสื่อ
            แบบจําลองการเลือกสื่อการเรียนการสอนมีหลายแบบ สําหรับการพิจารณาแต่ละแบบ วิธีการเลือกสื่อที่ต่างกัน สิ่งที่น่าสังเกตคือ แต่ละแบบมีความต่างกันอย่างไร และพิจารณาว่ามีอะไ. เป็นนัยของความต่าง แต่ละแบบจําลองพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการเลือกและการใช้ประโยชน์จาก ให้สังเกตภาพที่ 7 ซึ่งไม่ได้นํามาเสนอวิธีการเลือกสื่อที่ตายตัว และภาพที่ 8 ซึ่งใช้สําหรับโครง การพัฒนาการเรียนสอนของกองทัพอากาศ 

แบบจําลองของวิลเลี่ยม ออลเลน
             ในแบบจําลองของวิลเลี่ยม ออลเลน (William allen) ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้อง ตัดสินใจเกี่ยวกับการจําแนกจุดประสงค์และการจําแนกความสามารถสูงสุดของสื่อการเรียนสอนที่จะ พลิกแพลงให้เข้ากับจุดประสงค์ ออลเลน ได้ตรวจสอบประสิทธิผล สื่อสําหรับวัดชนิดของการเรียนรู้ ด้วยเหตุผลนี้ ออลเลน ได้สร้างตารางแจกแจงสองทาง ซึ่งจําแนกสื่อที่ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง และต่ํา ตามชนิดของการเรียนรู้ เมื่อใช้แบบจําลองนี้ ผู้ออกแบบควรพยายามหลีกเลี่ยงสื่อที่ ให้ผลสัมฤทธิ์ต่ํากับชนิดของการเรียนรู้ (aien, 1967 : 27-31) อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ออกแบบเลือกสื่อที่ ให้ผลสัมฤทธิ์ต่ําหรือปานกลางผู้ใช้ควรรับรู้ข้อจํากัด
             วิธีการที่แสดงด้วยภาพต่อไปนี้ สามารถที่จะช่วยให้เห็นกระบวนการของการตรวจสอบ จุดประสงค์และตัดสินใจว่าสื่อชนิดใดมีความเหมาะสม 

แบบจําลองของเยอร์ลาชและอีลี
             แบบจําลองเยอร์ลาชและอีลี (Gerlach and Ely) ได้เป็นที่รู้จักกันในปี ค.ศ. 1971 ในตําราที่ ชื่อว่าการสอนและสื่อ เยอร์ลาชและอีลีได้นําเสนอเกณฑ์ ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการเลือกสื่อการ เรียนการสอน หลังจากที่ระบุจุดประสงค์และระบุพฤติกรรมความพร้อมที่จะรับการสอน (entering behaviors) แล้วเกณฑ์ดังกล่าวประกอบด้วยประการที่ 1 ความเหมาะสมทางปัญญา (สื่อสามารถ ส่งผ่านตัวกระตุ้นตามเจตนารมณ์ของจุดประสงค์หรือไม่) ประการที่ 2 ระดับของความเข้าใจ (สอทา ให้ผู้เรียนเข้าใจหรือไม่) ประการที่ 3 ราคา ประการที่ 4 ประโยชน์ (เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุ ประโยชน์หรือไม่) และประการที่ 5 คุณภาพทางเทคนิค (คุณลักษณะทางการฟังและการดูของผลิตมีคุณภาพเพียงพอหรือไม่) (Gerlach and Ely,1980) ภาพที่ 12 จะแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของ จุดประสงค์กับทางเลือกในการเลือกสื่อตําราของเยอร์ลาชและอีลีได้มีการพิมพ์ครงการ ปี ค.ศ. 1980 โดยที่ผู้เขียนตั้งใจเขียนขึ้นสําหรับครูทุกระดับ

สรุป
             สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสําคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่ เป็นตัวนําความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียน เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สื่อการสอนจะ ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ทํากิจกรรมหลายๆ รูปแบบ ช่วยให้ครูผู้สอนได้สอนตรงตามจุดมุ่งหมาย การเรียนการสอน และยังช่วยในการขยายเนื้อหาที่เรียนทําให้การสอนง่ายขึ้น และยังจะช่วย ประหยัดเวลาในการสอน นักเรียนจะได้มีเวลาในการทํากิจกรรมการเรียนมากขึ้น ในการเลือกสื่อการ เรียนการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อการเรียนการสอนนั้น ผู้สอนจําเป็นต้องคํานึงถึง องค์ประกอบในการเลือกสื่อ ได้แก่ จุดมุ่งหมายของการสอน รูปแบบและระบบของการเรียนการสอน ลักษณะของผู้เรียน เกณฑ์เฉพาะของสื่อ วัสดุอุปกรณ์และตลอดจนสิ่งอํานวยความสะดวกที่มีอยู่ นอกจากนี้ยังต้องคํานึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของสื่อกับคุณสมบัติเฉพาะและจุดประสงค์ ของการเรียนการสอน


ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

ประเภทของสื่อ


ประเภทของสื่อ

           ผู้ออกแบบสามารถที่จะเลือกชนิดของสื่อให้มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งและมีอิทธิพลต่อ ประสิทธิผลของการเรียนรู้ที่คาดว่าจะเกิดได้ ถ้าผู้ออกแบบรับรู้ชนิดของสื่อที่มีอยู่ รวมทั้งข้อดีและ ข้อเสียด้วย ดังนั้น ผู้ออกแบบก็จะเป็นผู้ที่อยู่ในฐานะที่เป็นผู้ที่รู้จักเลือกชนิดของสื่อได้อย่างเหมาะสม เราสามารถจําแนกสื่อได้ สี่ ประเภท คือ สื่อทางหู (audio) ทางตา (Visual) ทางหูและทางตารวมกัน (audio- visual ) และสัมผัส (tactile) ผู้ออกแบบสามารถเลือกสื่อที่เหมาะสมที่สุดจากประเภทของสื่อ ต่างๆ สําหรับภาระงานการเรียนการสอนที่มีความเฉพาะเจาะจงสื่อต่างๆทั้ง 4 ประเภทและตัวอย่างที่ เกี่ยวข้อง มีดังต่อไปนี้

           1. สื่อทางหู ได้แก่ เสียงของผู้ฝึก ห้องปฏิบัติการทางเสียง การเตรียมเทปสําหรับผู้ฝึกเทป แผ่นเสียง วิทยุกระจายเสียง

          2. สื่อทางตา ได้แก่ กระดานชอล์ก กระดานแม่เหล็ก กราฟ คอมพิวเตอร์ วัตถุต่างๆ ที่เป็น ของจริงรูปภาพ แผนภูมิ กราฟภาพถ่าย หุ่นจําลอง สิ่งที่ครูแจกให้ หนังสือ ฟิล์ม สไลค์ แผ่นใส่

          3. สื่อทางหูและทางตา ได้แก่ เทปวีดิโอ ทีวีวงจรปิด โปรแกรมโสตทัศนวัสดุ สไลด์ เทป ภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม ทีวีทั่วไป เทคโนโลยีอื่นๆ เช่น ดิจิตอล วีดิโอ อินเตอร์แอคทิฟเทคโนโลยี (digital video interactive technology)

          4. สื่อทางสัมผัส ได้แก่ วัตถุของจริง แบบจําลองในการทํางาน เช่น ผู้แสดงสถานการณ์ จําลอง

ข้อดีและข้อเสียของสื่อบางประเภท

         ในการเลือกสื่อที่มีความเหมาะสมที่สุดสําหรับภาระงานการเรียนรู้ที่มีความเฉพาะเจาะจง ผู้ออกแบบจําเป็นต้องรู้ถึงความเป็นไปได้ในข้อดีและข้อเสียที่เกี่ยวข้องกับสื่อแต่ละประเภท ตารางที่ 10.1 จะแสดงให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของตัวอย่างสื่อจากประเภทของสื่อสําคัญ 4 ประเภทและ ตารางที่ 10.2 แสดงประเภทและคุณสมบัติของสื่อการเรียนการสอน การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการ

การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการและสื่อ 
         บางครั้งเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ในบางเวลาจะเลือก วิธีการก่อน และเลือกสื่อที่จําเป็นในการใช้ที่หลัง ดูแกน เลียด (Dugan laird: 180) เปรียบเทียบวิธีการว่าเป็นเหมือนทางหลวง (highway) ที่นําไปสู่จุดหมายปลายทาง (จุดประสงค์) และสื่อ (วัสดุฝึก) เป็น สิ่งที่เพิ่มเติม (accessories) บนทางหลวง เช่น สัญญาณ แผนที่ ซึ่งทําให้การเดินทางสะดวกขึ้น
       
       วิธีการ เป็นกลยุทธ์การเรียนการสอนที่มีระดับความชี้เฉพาะมาก เป็นวิธีการเรียนการสอนที่ ตัดสินธรรมชาติของบทเรียน จอยส์และวีล (Joyce and Weil, 1980) เรียกสิ่งเหล่านี้ว่าแบบจําลองการ ตอน (model of teaching) แบบจําลองเป็นวิธีการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ในระดับบทเรียน มากกว่าที่จะเป็นระดับหน่วยในหลักสูตร

          ออซูเบล (ausabel, 1968) กล่าวว่า มีความแตกต่างระหว่างวิธีการสําคัญ 2 วิธี คือ การเรียนรู้ เพื่อค้นพบ (discovery leaning) และการเรียนรู้เพื่อรับความคิด (reception learning) 1. การเรียนรู้เพื่อ รับความคิด คือ การเรียนรู้จากการบรรยาย หรือการเรียนรู้จากโสตทัศนูปกรณ์ ซึ่งเสนอสารสนเทศ 2. การเรียนรู้เพื่อค้นพบคือ การสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนมีอิสระที่จะสํารวจ และไม่ได้กําหนด จุดหมายปลายทางของการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้า การเรียนรู้เพื่อค้นพบมีองค์ประกอบทั้งการค้นพบและ การรับรู้ที่มากไปกว่า การที่จะบอกแต่เพียงนักเรียนจะต้องเรียนอะไร นักเรียนจะได้รับคําแนะนํา ซึ่งจะนําไปสู่การค้นพบ ออซูเบลเชื่อว่า วิธีการจะกลายเป็นสิ่งที่มีความหมาย

           ผู้ออกแบบสามารถเลือกวิธีการ เช่น การบรรยาย การใช้ห้องปฏิบัติการ การอภิปราย การอ่าน การทัศนศึกษา การจดบันทึก การสาธิต บทเรียนสําเร็จรูป กรณีศึกษาบทบาทสมมติ การศึกษาด้วยตัวเอง และสถานการณ์จําลอง วิธีการแต่ละวัยเหล่านี้มีรูปแบบให้เลือกมากมาย (Secols and Glasgow, 1990: 181) การบรรยายอาจะเป็นบทละคร เป็นการเสนอด้วย โสตทัศนูปกรณ์ การ อภิปรายมีหลายรูปแบบ เช่น การสนทนาถกเถียงปัญหา (panel) การประชุม โต้เถียงกัน (open foruun) และการระดมพลังสมอง (brainstorming) กรณีศึกษามีหลากหลายจากกรณีประวัติศาสตร์จนกระทั่ง ถึงการแก้ปัญหา และเช่นเดียวกับบทบาทสมมติ เป็นแบบหนึ่งของสถานการณ์จําลอง

            บทเรียนสําเร็จรูปต้องการคําตอบหรือการตอบสนองบ่อยๆและให้ข้อมูลป้อนกลับอย่าง ทันทีทันใด และสามารถเสนอผ่านทางหนังสือ แบบฝึกหัด หรือคอมพิวเตอร์ แบบของโปรแกรม อาจจะเป็นเส้นตรง เส้นสาขา หรือบ้างกรณีเป็นคอมพิวเตอร์ แบบฝึกหัด ปฏิบัติแบบติว และแบบ สถานการณ์จําลอง การสาธิตสามารถนําเสนอด้วยปฏิกิริยาสัมพันธ์และการอภิปรายการศึกษาด้วย ตัวเอง ทําได้ด้วยการใช้โมดูล (modules) ใช้ชุดของสื่อ (media kits) หรือใช้วิธีการติวด้วยอุปกรณ์โสต

ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

บทบาทของผู้ออกแบบ



บทบาทของผู้ออกแบบ


             ผู้ออกแบบมีหน้าที่หลายอย่างที่จะเติมเต็มความสมบรูณ์ในระหว่างขั้นตอนการตัดสินใจ นระยะนีผู้ออกแบบมีหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจเลือกวิธีการสื่อเช่นเดียวกับตํารวจ ที่มองเห็นว่าคําแนะนํา ในการออกแบบการเรียนการสอนนําไปใช้ได้หรือเป็นเหมือนผู้จัดการผู้ซึ่งริเริ่ม และประเมินผลผลิต พบกันจะเกี่ยวกับบทบาทของผู้ออกแบบที่มองเห็น การเลือกวิธีการสื่อที่มีประโยชน์ เราจะเลือกสือ อย่างไร จะรับวัสดุอุปกรณ์ทางการค้าอย่างไร และจะริเริ่มและเฝ้าระวังกระบวนการผลิตอย่างไร
            
           ผู้ออกแบบต้องจํากัดบทบาทในการทําหน้าที่ ต้องสามารถปฏิบัติให้แล้วเสร็จและมี ประสิทธิภาพ ต้องรับรู้การกระทําหน้าที่เป็นผู้ผลิตสื่อ ผู้ถ่ายภาพ หรือผู้วางโปรแกรมด้วยและเป็นการท้าทายสําหรับผู้ออกแบบในการที่จะพยายามทําให้ผู้อื่นเข้าใจได้ โดยลําพังตนเองแล้วไม่สามารถที่จะผลิตสื่อได้ทั้งหมดหรืออาจต้องการคําแนะนําเพิ่มจากผู้ร่วมงานในทีมมากกว่าที่จะทําคนเดียว ความรับผิดชอบที่จําเป็นคือ การตัดสินใจเลือกวิธีการสื่อในขณะที่สมาชิกของทีมหรือผู้นําทีมริเริ่ม หรือแนะนํากระบวนการผลิต ผู้ออกแบบจะทําสิ่งนี้ได้ดีถ้ารู้จักทําหน้าที่ในลักษณะของผู้วิจัย ผู้เขียน สคริป ผู้ถ่ายภาพ และผู้เรียบเรียง สิ่งเหล่านี้ไม่ได้หมายความว่าไม่เคยผลิตหรือไม่เคยช่วยเรียบเรียงแต่ หมายความว่า รับรู้หน้าที่ในการให้คําแนะนําและจํากัดทักษะตัวอย่างเช่น มีการพัฒนาทักษะ กระบวนการกลุ่มมากขึ้น และใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นกว่าทักษะด้านการถ่ายภาพ


ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน



การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน

            คําว่า สื่อ (medium หรือ media) ในที่นี้มีความหมายกว้างมาก การเรียนการสอนในบางครั้ง อาจเกิดขึ้นจากเสียงของผู้สอน ตํารา เทป วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ และคอมพิวเตอร์ medium หรือ media มาจากภาษาลาติน หมายถึง บางสิ่งบางอย่างที่อยู่ตรงกลาง (intermediate หรือ middle) หรือเครื่องมือ (instrument) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นวิธีการของการสื่อสารที่ส่งไปถึงประชาชน เป็นพาหนะของการ โฆษณา (Guralnikjv07, 1970) ดังนั้น เมื่อพิจารณาในด้านของการสื่อสารแล้ว สื่อจึงหมายถึง สิ่งที่เป็น พาหนะนําความรู้หรือสารสนเทศจากแหล่งกําเนิดไปสู่ผู้รับ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ รูปภาพ วัสดุฉาย สิ่งพิมพ์ และสิ่งดังกล่าวนี้ เมื่อนํามาใช้กับการเรียนการสอน เราเรียกว่าสื่อการเรียนการสอน
           มีอยู่บ่อยครั้งที่ผู้ออกแบบจํากัดการเลือกสื่อของตนเอง เพราะว่าได้ตัดสินใจไปเรียบร้อย แล้ว (เช่น การพิจารณานโยบายงบประมาณ) สิ่งที่จะกล่าวต่อไปไม่ได้เป็นเพียงสถานการณ์ใน อุดมคติเท่านั้น การเลือกสื่อควรจะได้มีการกระทําหลังจากที่ได้มีการวิเคราะห์เนื้อหาวิชาแล้ว ในสถานการณ์เช่นนี้ ผู้ออกแบบสามารถที่จะเลือกสื่อที่เหมาะสม เพื่อการสื่อสารเหตุการณ์ต่างๆ ในการเรียนการสอน
        กลยุทธ์การสอนและการตัดสินใจเลือกสื่อ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างกัน และควรจะทําไป พร้อมกันหลังจากที่ได้มีการพัฒนาจุดประสงค์ของการเรียนการสอนแล้ว แบบจําลองในการเลือกซื้อ มีทั้งแบบที่มีความเรียบง่าย และแบบที่มีความซับซ้อน โรเบิร์ต เมเจอร์ (Robert Mager) (Knirk and Gustafson, 1986 : 169) ผู้ซึ่งเป็นนักออกแบบการสอน เพื่อการค้าที่ประสบความสําเร็จ ได้กล่าวว่า กระดาษเป็นตัวกลางอย่างหนึ่งของการเลือก นอกจากว่าในกรณีที่ดีที่จะสามารถเลือกใช้สิ่งที่ทําจาก อย่างอื่น วัสดุที่เป็นกระดาษมีราคาแพงในการออกแบบและผลิต ง่ายที่จะผลิตเพิ่มใช้ง่าย และนักเขียน ส่วนใหญ่มีความเข้าใจ สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างของแบบจําลองง่ายๆ สําหรับการเลือกซื้อ ส่วนแบบจําลองที่ซับซ้อนเป็นวิธีการที่ส่วนใหญ่ควรจะหลีกเลี่ยงเท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อเปรียบเทียบ กับหลักเกณฑ์ของทหาร ก็คือ อย่าโง่เลย ทําให้ดูง่ายๆ เถอะ (KISS : Keep It Simple, stupid)
         การนําเสนอสื่อการเรียนการสอน ควรเป็นการกระตุ้นทางการเรียนการสอนทีม ประสิทธิภาพ ง่ายแก่การเข้าใจ สื่อที่ซับซ้อนมีแนวโน้มของการสิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่ายสูงและ บ่อยครั้งพิสูจน์ได้ว่ามีประสิทธิภาพและเชื่อถือไม่ได้ ควรใช้สื่อการเรียนการสอนที่ถูกที่สุดที่ทําให้ ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ตามเจตนารมณ์ภายในระยะเวลาที่สมเหตุสมผล อย่างไรก็ตามข้อควรจํา คือ การสื่อราคาย่อมเยาที่ผลิตไม่ดีทําให้การเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการใช้สื่อที่ ซับซ้อนดังกล่าวแล้วเช่นกัน
          การเลือกและการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน เป็นเรื่องสําคัญอีกประการหนึ่งใน
การออกแบบการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ นักออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจ เรี่ยวกับการเลือกวิธีการ/สื่อ หรือเลือกวิธีการ เลือกวัสดุอุปกรณ์ ระบุประโยชน์ของวัสดุอุปกรณ์ทาง
การค้าริเริ่มและเฝ้าระวัง
           กระบวนการผลิตสื่อ นักออกแบบอาจจะทําเพียงการวางแผนมโนทัศน์ สคริปและนานๆ อาจจะผลิตวัสดุ (software) สําหรับจําหน่ายความจํากัดสําหรับบทบาทของผู้ออกแบบในการ ตัดสินใจเกี่ยวกับวิธี สื่อ จะหลากหลายไปตามสถานการณ์ และแม้ว่าจะมีวิธีการหลายวิธีในการ จําแนกสื่อเป็นประเภทๆ ก็ตาม ก็ยังไม่มีอนุกรมภิธานสื่อ (taxonomy of media) ที่พัฒนาขึ้นจนเป็นที่ น่าพอใจ (Seels and Glasgow, 1990 : 179) ในบทนี้จึงเป็นการเสนอสื่อ 3 ประเภท คือ วิธีการ สื่อ ดั้งเดิม เทคโนโลยีใหม่ภายในแต่ละประเภทจะมีทางเลือกและรูปแบบมาก เช่น กราฟฟิก และฟิล์ม หรือโทรทัศน์เฉพาะกราฟิกก็มีหลายรูปแบบ ได้แก่ แผนภูมิ การ์ตูน และภาพประกอบการเลือก วิธีการ สื่อ อยู่บนพื้นฐานของเกณฑ์จะมีความเหมาะสมสําหรับผู้เรียนสิ่งที่เรียนและข้อจํากัด คุณลักษณะของผู้เรียน จุดประสงค์ สถานการณ์การเรียนรู้ และข้อจํากัดนั้นต้องระบุขึ้นก่อนที่จะเลือก วิธีการและสื่อหลังจากที่ได้มีการระบุวิธีการสื่อแล้วผู้ออกแบบต้องแสวงหาสื่อจากดัชนีสื่อจากสื่อที่ สร้างขึ้นเพื่อการค้าซึ่งสามารถที่จะนํามาใช้หรือนํามาปรับใช้ได้ถ้าสื่อเหล่านั้นไม่มีประโยชน์ก็ต้อง ผลิตสื่อขึ้นเอง
            ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจว่าใครจะเป็นผู้ผลิตสื่อทีม ในการผลิตควรจะ ประกอบไปด้วยใครบ้าง ผู้ออกแบบต้องริเริ่ม เฝ้าระวังติดตามกระบวนการผลิต เป็นความรับผิดชอบ ของผู้ออกแบบที่จะต้องมีความแน่ใจในบูรณาภาพของการออกแบบและคุณภาพของวัสดุอุปกรณ์ด้วย การเฝ้าระวังติดตามการผลิต

วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561

บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฎิรูปการศึกษา



บทบาทของผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา

          การจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัย ความร่วมมือของหลายฝ่าย ร่วมมือกันพัฒนาและปรับปรุง ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ศึกษานิเทศก์ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กร สถาบันวิชาการ หน่วยงานและสื่อมวลชน

          พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 24 กําหนดบทบาทของผู้เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้อย่างชัดเจน โดยการประสานเชื่อมโยง บทบาทของทุกคนให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาโดยมีลักษณะสําคัญดังนี้

         บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา 
          1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารจัดการเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้
          2. กําหนดแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาโรงเรียนไว้ในธรรมนูญ โรงเรียน มีแผน ยุทธศาสตร์ในการปฏิรูปการเรียนรู้ตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวด 4 ที่ว่าด้วยแนวทางการจัดการศึกษา
         3. ปรับปรุงการบริหารจัดการให้เอื้ออํานวยความสะดวกให้ครูผู้สอนได้มีเสรีภาพในการคิด พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ ทําการวิจัยในชั้นเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในระหว่างเพื่อนครู การ ทํางาน โดยการผนึกกําลังของกลุ่มวิชาต่างๆ เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ให้ได้มาตรฐานหลักสูตร ที่สุด
         4. พัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้มีบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสําคัญ
        5. จัดให้มีระบบนิเทศภายใน ช่วยเหลือครูในด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

         บทบาทของครูผู้สอน 
         1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดให้เอื้อต่อการปฏิรูปการเรียนรู้ เป็นตัวอย่างในการพัฒนาวินัยในตนเอง
         2. พัฒนาตนเองอยู่เสมอให้มีความรู้และความสามารถในการปลูกฝังค่านิยมที่ดีและ จริยธรรมให้ผู้เรียนให้ความรักความเมตตาต่อผู้เรียน
         3. ออกแบบการจัดการเรียนรู้และการวัดประเมินผลตามสภาพจริง 
        4. ทําวิจัยในชั้นเรียนควบคู่กับการเรียนการสอนนําผลมาพัฒนาปรับปรุง
       5.สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกําหนดบทบาทของผู้เรียน
       6.ช่ววยให้ผู้เรียนยอมรับและพัฒนาตนเอง มีความเข้าใจตนเอง ยอมรับความรู้สึกของตนเอง มีความเชื่อมั่นในตนเองว่าเป็นคนมีคุณค่า
       7.ให้คําปรึกษาในด้านการเรียน การวางแผนชีวิต และแนวทางการพั สนาตนเองสู่อาชีพ ช่วยให้ผู้เรียนตั้งจุดมุ่งหมายในชีวิตตามสภาพความเป็นจริงที่เป็นไปได้
       8. ช่วยให้ผู้เรียนมีวุฒิภาวะ รู้จักข้อดี ข้อเสียของตนเอง 
      9. กระตุ้นให้ผู้เรียนกล้าเผชิญปัญหาและ สถานการณ์ต่างๆ
     10. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจลีลาการเรียนรู้ของตนเอง เข้าใจกระบวนการเรียนรู้และรู้จักวิธีการ พัฒนาตนเองให้เป็นผู้ใฝ่รู้อยู่เสมอ
       11. ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง ประเมินตนเองและทบทวนการ ปฏิบัติเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
     12. เป็นกัลยาณมิตรกับนักเรียน เพื่อนครู และบุคลากรในโรงเรียน 
   
       บทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครอง 
         1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ 
         2. ให้ความรักและความอบอุ่น
         3. ให้การอบรมเลี้ยงดู เอาใจใส่ในการสร้างสุขนิสัยที่ดี พัฒนาพฤติกรรม สุขภาพและ ป้องกันปัญหาต่างๆ
        4. เป็นตัวอย่างแก่บุตรธิดา และปลูกจิตสํานักในเรื่องวินัยในตนเอง ความรับผิดชอบ ความ ปลอดภัย
        5. สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในบ้าน 
        6. ทําหน้าที่ให้คําปรึกษาแนะนําและการเสริมแรง 
        7. ร่วมมือกับโรงเรียนในการให้ข้อมูลและประเมินผู้เรียน 
        8. เป็นแบบอย่างที่ดีในการดําเนินชีวิต 

        บทบาทของชุมชน 
         1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดความเชื่อในเรื่องการปฏิรูปการศึกษา 
         2. ให้ความร่วมมือในการระดมทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ 
         3. ร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในการพัฒนาสถานศึกษาในทุก ๆ ด้าน
        4. ประสานสัมพันธ์กับสถานศึกษาเพื่อสร้างบรรยากาศให้ชุมชน เป็นแหล่งการเรียนรู้และ
พัฒนาชุมชนเป็นสังคมแห่งปัญญา
         5. ดูแลเอาใจใส่พฤติกรรมของเด็กและเยาวชนในชุมชน

          บทบาทของผู้เรียน
          ความมุ่งหวังของการปฏิรูปการเรียนรู้ คือ ต้องการให้ผู้เรียนมีลักษณะเก่ง ดี มีความสุข ผู้เรียนจึงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้จากผู้รับความรู้มาเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจและความสามารถของตนเอง ดังนั้นบทบาทหน้าที่ของผู้เรียนควรมีดังนี้
           1. กําหนดเป้าหมายการศึกษาให้สอดคล้องกับความสามารถ ความถนัดและความสนใจของ
ตนเอง
           2. มีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ วางแผนการเรียนรู้ของตนเอง ร่วมกับผู้ปกครองและครู
          3. รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง รู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์บริหารจัดการ เรียนรู้ของตนเอง
         4. ตระหนักถึงความสําคัญของการศึกษาที่มีความสําคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต 
        5. ปฏิบัติตนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้รู้วิธีแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง 
        6. รู้จักประเมินตนเองและผู้อื่น 
        7.ศรัทธาต่อผู้สอน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับครูและเพื่อน
สรุป
           การปฏิรูปการศึกษาครั้งสําคัญในปัจจุบัน มุ่งเน้นการปฏิรูปการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดยองค์รวม ดังนั้น การจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา จึงเป็น การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ เน้นการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตาม ธรรมชาติและเต็มศักยภาพโดยให้มีลักษณะเป็นการเรียนรู้ที่สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง เรียนรู้เรื่องด้วยตนเอง ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการดํารงชีวิตการ ประกอบชีวิต การพัฒนากระบวนการคิด การผสมผสานความรู้ การพัฒนาประชาธิปไตย เรียนรู้ เรื่องภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม ครอบครัวและชุมชน นอกจากนี้ยังมีการเสนอแนะประเด็นต่างๆ ที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสําคัญ จากหน่วยงานนักวิชาการและนักการศึกษาอีก มากมาย ดังที่ได้นําเสนอไว้ในข้างต้น รวมทั้งทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สําคัญ อาทิ ทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีพุทธินิยม และทฤษฎี มนุษยนิยม ตลอดจนบทบาทของบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องที่จะทําให้การจัดการเรียนรู้ตามแนวการ ปฏิรูปการศึกษาประสบผลสําเร็จ

ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ



ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ

          ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญมีทฤษฎีที่มีความเกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
         1. ทฤษฎีการสรรค์สร้างความรู้ (Constructivism) เป็นทฤษฎีที่มุ่งความสนใจไปที่บทบาท องผู้เรียนในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ นักจิตวิทยาการเรียนรู้แนวคอนสตรัคติวิซึมที่มีชื่อเสียงกลุ่มนี้ ได้แก่ Dewey, Piaget, Vigosky และ Ausubel เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นการพยายามเชิงสังคม เป็นการ เรียนรู้แบบร่วมมือกัน ซึ่งเน้นความสําคัญของการสร้างความรู้โดยกลุ่มคน ซึ่งกล่าวโดยสรุปได้ว่า ทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมมีแนวคิดพื้นฐาน ดังนี้
      1.1 ผู้เรียนสร้างระบบความเข้าใจด้วยตนเองมากกว่าการส่งผ่านหรือการถ่ายทอดจาก ผู้สอน
      1.2 การเรียนรู้ใหม่สร้างบนพื้นฐานของการเรียนรู้ที่ผ่านมา (Prior Under - Standing) ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้โดยอาศัยประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
     1.3 การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Social Interaction) ซึ่งการมี ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจะทําให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทําความเข้าใจกับ แนวคิดต่าง ๆ และทําให้ผู้เรียนได้มีโอกาสประเมินความเข้าใจของตนเอง
    1.4 การเรียนรู้ด้วยประสบการณ์จริง สร้างเสริมให้การเรียนรู้ที่มีความหมาย (Meaningful learning) การเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิซึม นั้นยอมรับข้อมูลที่มีอยู่เดิมและ ข้อมูลใหม่ที่เกิดขึ้น

      2. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavionsm) เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากพลังกระตุ้น จากภายนอกในรูปของการให้รางวัลและการลงโทษ ผู้เรียนมีบทบาทคอยรับ (Passive) สิ่งเร้าและมี บฎสมพันธ์ ส่วนผู้สอนมีบทบาทในการควบคุมและกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่คาดหมายด้วยการให้ รางวัลหรือการลงโทษ

        3. ทฤษฎีพุทธินิยม (Cognitivism) เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการรับข่าวสาร ขอเกบข่าวสารและการนําข่าวสารออกมาใช้ ผู้เรียนต้องตื่นตัว (Active) ในการพัฒนากลยุทธ์ที่จะสร้างความไม่
เข้าใจอย่างมีความหมาย ส่วนผู้สอนถือเป็นผู้ร่วมกระบวนการพัฒนากลยุทธ์และการใช้กลยุทธ์อย่างมีความหมาย

         4.ทฤษฎีมนุษยนิยม (Humanism) เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดความพร้อมกับความ "ควมาแต่กําเนิด มีอิสระที่จะนําตนเองและพึ่งตนเองได้ มีความคิดสร้างสรรค์ที่จะทําประโยชน์ "งคม มีอิสระในการเลือกทําสิ่งต่างๆ ที่จะไม่ทําให้ผู้ใดเดือนร้อน ในการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีนี้ควรให้ผู้เรียนมีสมรรถภาพในด้านความรู้ อารมณ์ ความรู้สึก และทักษะไปพร้อมๆ กัน ซึ่ง หมายความว่า ครูควรฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิด รู้จักใช้เหตุผล มีความชื่นชมต่อสิ่งที่เรียน และให้ผู้เรียน ลงมือทํากิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง



ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

วิธีการสอนตามแนวปฎิรูปการศึกษา



 วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา

          วิธีการสอนในปัจจุบันตามแนวปฏิรูปการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) เรียกว่า วิธีการจัดการเรียนรู้ซึ่งในมาตรา 22 ระบุว่าการจัด การศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ โดยมีหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ 2551 เป็นกรอบหรือทิศทางมุ่งให้แสวงหาวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ มุ่งให้เกิดความสมดุลทั้งด้านปัญญา ความคิด และด้านอารมณ์ โดยความสามารถ ทางปัญญาและ ความคิด ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ และความคิดวิจารณญาณ ส่วนความสามารถทางอารมณ์ 

           การสอนแบบโครงงาน (Project Design)
           เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นหาความสามารถ ความ ถนัด และความสนใจของตนเองในด้านต่างๆ มาจากแนวคิดพื้นฐานของการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็น ศูนย์กลาง (Child Center) และการเรียนรู้ตามสภาพจริง โดยมีการศึกษาหลักการ และวิธีเกี่ยวกับ โครงงานที่เลือกศึกษา วิเคราะห์ วางแผนการทํางาน ลงมือทํางาน และปรับปรุง เพื่อให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ ในกระบวนการเรียนการสอนได้ใช้ทักษะกระบวนการ สอดแทรกคุณธรรม ทำงานเป็นกลุ่ม ฝึกปฎิบัติจริง เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วม มีครูเป็นผู้ชี้แนะ ให้คําปรึกษาตลอดเวลา เน้นฝึกคนให้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

ประโยชน์ของการจัดทําโครงงาน
        1. ทํางานตามความถนัด ความสนใจของตนเอง
        2. ฝึกทักษะกระบวนการทํางานด้วยตนเอง หรือร่วมกันทํางานเป็นกลุ่ม
        3. สามารถวางแผนการทํางานเป็นระบบ
        4. พัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
       5. ศึกษา ค้นคว้า และแก้ปัญหาจากการทํางาน
       6. เป็นสิ่งยืนยันว่าเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในโครงงานที่ทําจริง ใน กรณีที่ต้องนําแสดงต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
ความหมายของโครงงาน
        โครงงาน หมายถึง การกําหนดรูปแบบในการทํางานอย่างเป็นระเบียบ มีกระบวนการ ทํางานที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถผลิตชิ้นงาน / ผลงานที่สัมพันธ์กับหลักสูตรและนําไปใช้ประโยชน์ กับชีวิตจริงประเภทของโครงงาน แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ (ชูชาติ เชิงฉลาด, 2546, หน้า 245)
         1. ประเภทการศึกษาทดลอง เป็นการศึกษาเปรียบเทียบหรือพิสูจน์ความจริงตามหลัก วิชาการอย่างเป็นเหตุเป็นผลหรือค้นหาข้อเท็จจริงในสิ่งที่ต้องการรู้ เช่น แสงมีผลต่อการเจริญเติบโต ของพืช, อาหารพื้นบ้านกับการเจริญเติบโตของไก่
        2. ประเภทสํารวจข้อมูล เป็นการสํารวจรวบรวมข้อมูลแล้วนําข้อมูลนั้นๆ มาจําแนกเป็น หมวดหมู่ และนําเสนอในรูปแบบต่างๆ เพื่อนําไปใช้ในการวางแผนหรือพัฒนางาน หรือปรับปรุงงาน เช่น การสํารวจการขาดสารไอโอดีนในชุมชน, การสํารวจการเรียนต่อของเยาวชนอําเภอสําโรงทาบ ในปี 2542
        3. ประเภทสิ่งประดิษฐ์ เป็นการผลิตชิ้นงานใหม่ และศึกษาคุณภาพ ประสิทธิภาพ ประโยชน์คุณค่าของชิ้นงานนั้นๆ เช่น เครื่องฟักไข่ ระบบน้ําหยดเพื่องานเกษตร โดยใช้กระป๋อง น้ํามันเครื่อง
        4. ประเภทพัฒนาผลงาน เป็นการค้นคว้าหรือพัฒนาชิ้นงานให้สามารถใช้ประโยชน์ได้มาก - หรือมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น การประดิษฐ์อุปกรณ์นับจํานวนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ นกมาทของผู้เรียนการสอนแบบโครงงาน (Project Design)
1. โครงงาน
2. ศึกษาข้อมูล
3. วิเคราะห์ข้อมูล
4. ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
5. เขียนโครงงานวางแผนการทํางาน
6. ปฏิบัติตามโครงงาน
7. ประเมินผลโครงงาน 

วิธีการสอนแบบ 4 MAT
          เป็นนวัตกรรมการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับแนวคิดใน แตกต่างระหว่างบุคคลการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางรวมทั้งการพัฒนา ผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญา รวมทั้งมีความสุข แนวคิดนี้มาจากเบอร์นิส แมคคาร์ที ซึ่งใน สังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน และผลการศึกษาด้านพัฒนาสมอ ได้แก่ ความสามารถของสมองซีกขวา คือการคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การใช้สามอง การคิดแบบหลากหลาย และความสามารถของสมองซีกซ้าย คือ การคิดวิเคราะห์ การคิดหาเห การคิดแบบปรนัย การคิดแบบมีทิศทาง การตอบสนองการพัฒนาศักยภาพทุกด้านของผู้เรียนที่มี รูปแบบและลักษณะการเรียนรู้แตกต่างกัน ดังนี้ (ชูชาติ เชิงฉลาด, 2546, หน้า 232)
          ขั้นที่ 1 การนําเสนอประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กับผู้เรียนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ขั้นย่อย ดังนี้
          1.1 การเสริมสร้างประสบการณ์
          1.2 การวิเคราะห์ประสบการณ์ที่ได้
        ขั้นที่ 2 การเสนอเนื้อหา สาระ ข้อมูลแก่ผู้เรียน สามารถแบ่งเป็น 2 ขั้นย่อย ดังนี้
         2.1 การบูรณาการประสบการณ์สร้างความคิดรวบยอด
         2.2 การพัฒนาเป็นความคิดรวบยอด
         ขั้นที่ 3 การฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาความคิดรวบยอด แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนย่อย ดังนี้
         3.1 การปฏิบัติงานตามขั้นตอน
         3.2 การนําเสนอผลการปฏิบัติ 
          ขั้นตอนที่ 4 การนําความคิดรวบยอดไปสู่การประยุกต์ใช้ แบ่งเป็น 2 ขั้นย่อย ดังนี้
          4.1 การนําความรู้ไปประยุกต์ใช้หรือการพัฒนางาน
          4.2 การนําเสนอผลงานหรือการเผยแพร่ 

วิธีการสอนการสอนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
         สเปนเซอร์ คาบกัน (Spenser Kagan) นักศึกษาชาวสหรัฐอเมริกา ได้ทําการวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) อย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1985 และได้เผยแพร่ผลงานอย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกาและในหลายประเทศในแถบเอเชีย โดยมีการ 1.การเรียนการสอนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์และได้ แนวคิดหลักที่จะนําไปสู่การเรียนรู้แบบร่วมอย่างมีประสิทธิผลไว้ 6 ประการดังนี้
          1. การจัดกลุ่ม (TEAMS) หมายถึง การจัดกลุ่มผู้เรียนที่จะเข้าร่วมกิจกรรมด้วยกันเพื่อให้ เกิดประสิทธิผลมากที่สุด ซึ่งควรจัดผู้เรียนเข้ากลุ่มไว้ดังนี้
          1. จํานวนผู้เรียนในกลุ่ม 4 คน 
          2. ประกอบด้วยผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง และต่ําคละกันไป 
          3. จัดให้มีผู้เรียนทั้งชายและหญิงในกลุ่มเดียวกัน 
         4. จัดให้ผู้เรียนอยู่ในกลุ่มเดียวกันประมาณ 6 สัปดาห์
         5. บางกรณีอาจจัดกลุ่มโดยวิธีอื่นๆ เช่นจัดกลุ่มผู้เรียนที่มีความสนใจเหมือนๆกันใน เรื่องเดียวกันในการศึกษาเฉพาะกรณีเช่นการทําโครงงานวิทยาศาสตร์หรือจัดกลุ่มแบบสุ่มเมื่อ ต้องการทบทวนความรู้

          2. ความมุ่งมั่น (will) หมายถึงความมุ่งมั่นและอุดมการณ์ของผู้เรียนที่จะทํางานร่วมกันซึ่ง จะต้องมีความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้และมีความกระตือรือร้นในการทํากิจกรรมต่างๆ ร่วมกันเพื่อให้เกิด ประสิทธิผลร่วมกันสามารถสร้างความมุ่งมั่นร่วมกันให้เกิดขึ้นได้โดยใช้กิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่ กิจกรรมทางวิชาการ เช่น การเล่นเกมการสัมภาษณ์โดยใช้วิธีการต่อไปนี้
          2.1 สร้างความมุ่งมั่นของกลุ่มที่จะทํางานร่วมกัน 2.2 สร้างความมุ่งมั่นของชั้นเรียน
           2.3 การทํางานร่วมกันโดยเลือกกิจกรรมที่คนเดียวไม่สามารถทําได้สําเร็จ

       3. การจัดการ (management) หมายถึงการจัดการกลุ่มไห้สามารถทํากิจกรรมได้อย่างมี บระสทธิภาพและรวมถึงการจัดการของผู้เรียนเพื่อให้การทํากิจกรรมของกลุ่มประสบผลสําเร็จอย่างมี ประสิทธิภาพเช่น
        3.1 การจัดที่นั่งของนักเรียนในกลุ่ม 
        3.2 การแบ่งงานกันภายในกลุ่ม 
        3.3 การสร้างกฏของห้อง (class rule) 
        3.4 การให้สัญญาณเงียบ (Quiet Signal) 
        3.5 การดูแลกลุ่มไม่ให้วุ่นวายกับกลุ่มเพื่อน
      
        4.ทักษะทางสังคม (social skills)หมายถึง การพัฒนาให้เด็กมีทักษะในการทํางานทํา กรรมร่วมกันให้มีการร่วมมือช่วยเหลือกันอย่างจริงใจ

        5. กฎพื้นฐาน 4 ข้อ (Basics principles : Pies ) หมายถึง หลักการพื้นฐานของการเรียนรู้ แบบร่วมใจกันซึ่งจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบที่สําคัญ 4 ประการ อย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้
        5.1.การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 
        5.2 การยอมรับความสามารถซึ่งกันและกัน 
        5.3 ความเสมอภาค
        5.4 การมีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง

        6. รูปแบบของกิจกรรม (structures) หมายถึง รูปแบบของกิจกรรมในการทํางานกลุ่ม หลากหลายทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาหรือสถานการณ์ที่จะศึกษา วิธีสอนแบบซิปปา (cippa model)เป็นวิธีสอนหรือการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้มี องค์ประกอบสําคัญ 5 ประการคือ (ชูชาติ เชิงฉลาด, 2546, หน้า 229)
        1. C Construct หมายถึง การสร้างความรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ความรู้
(constructivism) 
        2. I interaction หมายถึง การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว 
        3. P physical participation หมายถึง การมีส่วนรวมทางกาย
       4. P process learning หมายถึง การเรียนรู้กระบวนการต่างๆ ที่เป็นทักษะต่อการ
ดํารงชีวิต 
       5. A application หมายถึง การนําความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์
ต่างๆ
         การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแบบซิปปา มีองค์ประกอบสําคัญ 5 ประการดังกล่าวแล้ว ครูผู้สอนสามารถเลือกรูปแบบวิธี การจัดการเรียนรู้ หรือกิจกรรมใดก็ได้ที่สามารถจัดกิจกรรมใด ก่อน-หลังได้โดยไม่ต้องเรียงลําดับ วิธีสอนแบบบูรณาการ
วิธีสอนแบบบูรณาการ 
          เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยเชื่อมโยงระหว่าง ประสบการณ์-เดิมและประสบการณ์ใหม่ และเป็นประสบการณ์ตรงที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ใน วิชาการหลายๆแขนงในลักษณะสหวิทยาการโดยใช้กระบวนการเรียนรู้กระบวนการคิดกระบวนการ แก้ปัญหาและกระบวนการแสวงหาความรู้ที่เชื่อมโยงทั้งหลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนรู้ตลอดจน แนวคิดของผู้เรียนเพื่อให้เกิดความรู้แบบองค์รวมเพื่อนําไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจําวัน

วิธีการสอนแบบบูรณาการมีขั้นตอนในการสอนดังต่อไปนี้ (ชาตรี เกิดธรรม, 2546, หน้า 99)
          1. กําหนดหัวข้อสาระการเรียนรู้ 
          2. กําหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ 
          3. กําหนดเนื้อหาของเรื่อง
         4. กําหนดขอบเขตการเรียนรู้ 
         5. ดําเนินกิจกรรม
         6. ประเมินผล 

วิธีการสอนแบบเล่าเรื่อง
            คําว่าวิธีการสอนแบบเล่าเรื่องตรงกับคําภาษาอังกฤษว่า STORY LINE นํามาใช้กับ ภาษาไทยว่าเล่าเรื่อง คําเนินเรื่อง เรื่องราว โครงเรื่อง เป็นวิธีสอนวิธีหนึ่งที่จะจัดเนื้อหาสาระของแต่ ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ มาบูรณาการกัน โดยใช้กลุ่มสาระการเรียนรู้ใดกลุ่มสาระการเรียนรู้หนึ่งเป็น แกนเรื่อง ส่วนมากจะยึดเนื้อหาสาระสังคมศึกษาหรือวิทยาศาสตร์หรือสุขศึกษาเป็นแกนเรื่อง แล้วนํา กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ในหลักสูตรมาบูรณาการ ทั้งภาษาไทย ศิลปะ คณิตศาสตร์การจัดการ เรียนรู้แบบนี้จะเป็นการสมมติเรื่องราวหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้สอดคล้องกันเนื้อหาสาระที่จะ เรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการจัดการเรียนรู้โดยใช้เล่าเรื่อง มีหลักการจัดการเรียนรู้ดังนี้
            1. สร้างหน่วยการเรียน โดยใช้กลุ่มสาระการเรียนใดกลุ่มสาระการเรียนรู้หนึ่งเป็นแกนเรื่อง และกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นมาบูรณาการด้วยการสร้างแผนผังสาระการเรียนรู้และกิจกรรมก่อนอื่น ครูผู้สอนจะต้องกําหนดชื่อเรื่องหรือหัวเรื่องที่จะจัดการเรียนรู้และกําหนดหัวข้อย่อยโดยบูรณาการ เนื้อหาสาระกิจกรรมแล้วกําหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้ชัดเจน
            2. สร้างสถานการณ์หรือเรื่องราวจากหน่วยการเรียน ผู้สอนต้องสมมติสถานการณ์หรือ เรื่องราวขึ้น ซึ่งต้องมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ ฉาก ตัวละคร วิถีชีวิต เหตุการณ416
กก ตัวละคร วิถีชีวิต เหตุการณ์และสถานการณ์ที่ สนองต่อผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
            3. การจัดการเรียนรู้ต้องจัดทําเส้นทางการดําเนินเรื่อง คําถามนํา กิจกรรม สื่อการ และลักษณะการเรียน โดยทําเป็นแผนการเรียนรู้
          4. การสอนตามแผนการเรียนรู้จะแบ่งเวลาการเรียนตามเส้นทางการดําเนินเรื่องในตาราง แผนการเรียนรู้อาจกําหนดเวลาการเรียนแต่ละเส้นทางการดําเนินเรื่อง ซึ่งอาจใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง
วิธีสอนแบบใช้เส้นเล่าเรื่องตามตัวอย่างแผนการเรียนรู้ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่าผู้เรียนจะ ลงมือปฏิบัติ ความรู้จากการเรียนเป็นความรู้ที่เป็นองค์รวม (Holistic Knowledge) และการนํา สถานการณ์ไปใช้ในชีวิตจริง จะใช้เวลาค่อนข้างมาก เพราะผู้เรียนต้องค้นคว้า ทดลอง ครูผู้สอนจะเปลี่ยนบทบาทของครูผู้สอนจะเป็นผู้บอกความรู้มาเป็นผู้จัดกิจกรรม และสภาพการเรียนรู้สื่อการ เรียนรู้ บทบาทของครูผู้สอนจะเป็นผู้เพิ่มเติมความคิดความรู้ให้กับผู้เรียน
 
วิธีการสอนแบบปุจฉาวิสัชนา
            วิธีการสอนแบบปุจฉาวิสัชนา เป็นการเรียนรู้แบบถามตอบ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิด และรู้จักหาคําตอบด้วยตนเอง การตั้งคําถามผู้ตั้งคําถามจะต้องใช้ความคิดในการตั้งคําถาม ขณะเดียวกันผู้ตั้งคําถามจะต้องมีคําตอบอยู่ในใจ การสอนแบบนี้ ในการจัดการเรียนรู้จึงส่งเสริมให้ ผู้เรียนได้คิด วิเคราะห์ วิจารณ์ และผู้เรียนรู้เกี่ยวกับภาษาในการสื่อสารวิธีการสอนแบบนี้ปุจฉา วิสัชนา จะใช้ในการเรียนรู้ได้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ (ชูชาติ เชิงฉลาด, 2546 หน้า 251)
           ขั้นตอนการสอนแบบปุจฉาวิสัชนามี 6 ขั้นตอน ดังนี้
           ขั้นที่ 1 แนะนํารูปแบบการเรียน ผู้สอนกับผู้เรียนจะกําหนดหัวข้อการเรียนและจุดประสงค์ การเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและขั้นตอนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนกําหนดหัวข้อของการตั้ง คําถามให้ตรงจุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนกําหนดหัวข้อของการตั้งคําถามให้ตรงจุดประสงค์
          ขั้นที่ 2 อ่านหรือดูสื่อเพื่อหาความรู้และเตรียมคําถาม ผู้เรียนศึกษาความรู้จากแหล่งต่างๆ หรือสื่อที่ผู้สอนเตรียมไว้ให้ โดยแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน ผู้เรียนศึกษาสื่อและตั้งคําถาม ลักษณะของคําถามจะแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
             1.เป็นคําถามที่เป็นข้อเท็จจริง 
             2. คําถามที่ต้องการคําอธิบายชี้แจง
             3. คําถามเกี่ยวกับการประเมินคุณค่าเนื้อหาหรือความคิด
         ขั้นที่ 3 วางแผนและการจัดกลุ่มคําถาม ผู้เรียนแต่ละกลุ่มจะจัดกลุ่มคําถามของตนตาม เนื้อหาสาระที่เป็นเรื่องเดียวกันเข้าด้วยกันคัดเลือกประเด็นคําถามที่ไม่ตรงประเด็นออก แล้วนําคําถาม ขอทุกกลุ่มมารวมกัน
         ขั้นที่ 4 ดําเนินการถามตอบ ควรมีการจัดที่นั่งในการดําเนินการ โดยผู้ตอบคําถามจะนั่งหน้า ชั้นส่วนผู้ถามจะนั่งด้านข้างของผู้ตอบคําถามมุมใดมุมหนึ่งของห้องเรียน
         ขั้นที่ 5 ทบทวนและสรุปความรู้ ครูผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันสรุปเนื้อหาสาระตามประเด็น คําถาม โดยจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาสาระความรู้เข้าด้วยกัน และตั้งเป็นหัวข้อเรื่องที่เป็นคําตอบ คล้ายกันเข้าด้วยกัน
          ขั้นที่ 6 กิจกรรมสร้างสรรค์ เมื่อตอบประเด็นคําถามหมดทุกประเด็นแล้ว ผู้เรียนแต่ละ กลุ่มจะประชุมเพื่อวางแผนกิจกรรม เช่น ทําสมุดถามตอบ เขียนบทความ ประกวดสมุดบันทึกความรู้ เขียนบทวิจารณ์ เขียนแผนภูมิด้วยแผนความคิด (Mind Mapping) จัดทําป้ายนิเทศ สรุปความคิด
รวมกันทั้งชั้น

วิธีการสอนแบบโครงสร้างความรู้
         วิธีการสอนแบบโครงสร้างความรู้ หรือ แผนผังความคิด (Graphic Organizer) เป็นการ ศึกให้ผู้เรียนรวบรวมข้อมูล หรือ ความรู้จากการศึกษาค้นคว้า การอ่าน การฟังคํา บรรยาย แล้วนํา ข้อมูลมาจัดกลุ่ม เขียนเป็นภาพแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างความคิด กระบวนการคิด และ ความสัมพันธ์ของ กระบวนการ โดยใช้รูปภาพ ซึ่งสามารถแสดงโครงสร้างความคิดได้หลายรูปแบบ (ชาตรี เกิดธรรม, 2546 หน้า 86) ดังนี้
        1. แผนผังความคิด ( Mind Mapping หรือ Mind Map)
        แผนผังความคิดแผนที่ความคิด เป็นรูปแบบที่ใช้แสดงการเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใด เรื่องหนึ่ง ระหว่าง การคิด กระบวนการคิด และความสัมพันธ์ของกระบวนการคิดตั้งแต่ต้นจนจบซึ่ง จะช่วยทําให้มองเห็นภาพรวมของความคิดและโครงสร้างของความคิดในเรื่องที่กําลังคิดมองเห็น ความสัมพันธ์ ระหว่างความคิดหลัก ความคิดรองและความคิดย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหากศึกษา จากภาพที่ 7 จะช่วยให้เข้าใจมากขึ้น
 ภาพที่ 7 ลักษณะการเขียนแผนผังความคิด


         จากภาพที่ 7 ลักษณะการเขียนแผนผังความคิด จะเห็นว่าจากความคิดหลักจะเชื่อ ความคิดรองในหลายประเด็นก็จะประกอบด้วย ความคิดย่อยและจากความคิดย่อย ๆ ประกอบด้วยความคิดย่อยลงไปอีกก็ได้

          2.ผังแสดงความสัมพันธ์แบบโครงสร้างต้นไม้ (Tree Structure)
         ผังแสดงความสัมพันธ์แบบโครงสร้างต้นไม้ จะใช้ในการแสดงความสัมพันธ์ของเรื่องที่ส ความสําคัญลดหลั่งกันเป็นลําดับจากใหญ่ไปหาจุดเล็กๆ รูปร่างของการเขียนจะมีโครงสร้างลักษณะ คล้ายต้นไม้ที่มีกิ่งก้าน หรืออาจจะมีลักษณะคล้ายแผนภูมิการบริหารองค์กรวิธีการเขียนให้เริ่มต้น หัวข้อเรื่องไว้ข้างบนหรือตรงกลางแล้วลากเส้นให้เชื่อมโยงกับความคิดรวมยอดอื่นๆ ที่มีความสําคัญ รองๆ ลงไปตามลําดับ ดังในภาพที่ 8

ภาพที่ 8 ลักษณะการเขียนผังแสดงความสัมพันธ์แบบโครงสร้างต้นไม้


        จากภาพที่ 8 ลักษณะการเขียนผังแสดงความสําพันธ์แบบโครงสร้างต้นไม้ จะเห็นวางบน รูปแบบที่เหมาะสมในการนําไปใช้ในการนําเสนอโครงสร้างของเรื่องที่ต้องเรียงลําดับ ความสัมพันธ ของข้อมูลอย่างเป็นระบบและมีการสรุปเป็นประเด็นๆ ของแต่ละเรื่อง

        3. แผนผังความคิดแบบเวนน์ (Venn Diagram)
       แผนผังความคิดแบบเวนน์นี้เป็นแผนผังที่ไว้แสดงข้อมูลเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดที่ หมายถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ของบุคคล สถานที่ หรือสิ่งของในลักษณะต่างๆ เป็น การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของแนวคิด ตั้งแต่ 2 แนวคิดขึ้นไป โดยสามารถเขียนแผนผังแสดง ความคิดดังต่อไปนี้

ภาพที่ 9 แผนผังความคิดของเวนน์

          จากภาพที่ 9 แผนผังความคิดของเวนน์ จะเห็นว่า ผู้หญิงและผู้ชายมีลักษณะที่เหมือนกัน คือ เป็นสิ่งที่มีชีวิตที่เรียกว่า คน เหมือนกัน ส่วนลักษณะอื่นๆ จะแตกต่างกัน

         4. แผนผังความคิดแบบวงจร หรือแบบวัฏจักร (Cycle Graph)
         แผนผังความคิดแบบวงจร หรือแบบวัฏจักร เป็นการคิดแบบวงจร ที่ใช้แสดงข้อมูลที่มี ความสัมพันธ์กันระหว่างเหตุการณ์ต่างๆ กับระยะเวลาที่มีการเรียงลําดับการเคลื่อนไหว ของข้อมูลที่ เป็นวัฏจักรที่ไม่มีจุดเริ่มต้น ณ ที่ใดที่หนึ่ง ดังในภาพที่ 10 ต่อไปนี้


รูปที่ 10 รูปแบบของกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์




       5. แผนผังก้างปลา (fish boone)
       แผนผังก้างปลาเป็นแผนผังความคิดที่นิยมเพื่อแสดงสาเหตุ และผลต่างๆ ของปัญหาที่ 3กคขนนน จะเห็นว่า การเขียนแผนผังก้างปลา เพื่อแสดงสาเหตุของปัญหาจะทําให้มองเห็นสาเหตุ ของปัญหาได้ละเอียดรอบคอบครบถ้วน เหมาะสมในการนําไปใช้ในการระดมความคิดเพื่อหาสาเหตุ ของปัญหา ทั้งที่เป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม
      6. แผนผังแบบลําดับขั้นตอน (sequence chart)
แผนผังแบบลําดับขั้นตอนเป็นแผนผังที่แสดงให้เห็นถึงสภาพเหตุการณ์หรือเนื้อหาสาระที่ เป็นกระบวนการเรียงลําดับขั้นตอน เป็นแผนผังที่แสดงให้เห็นถึงสภาพเหตุการณ์หรือเนื้อหาสาระที่ เป็นกระบวนการเรียงตามลําดับต่อเนื่อง ภาพที่ 11 ต่อไปนี้
ภาพที่ 11 กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ


       จากภาพที่ 11 กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ที่แสดงด้วยแผนผังแบบ ลําดับเป็นขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มต้น โดยมีเครื่องหมายลูกศรแสดงเส้นทางของลําดับขั้นตอนให้เห็นอย่าง ชัดเจน

แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพการสอน
         การสอนเน้นกระบวนการกระทําหรือการจัดประสบการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ อย่างคุ้มค่า และให้ได้รับประสบการณ์ตามความคาดหวังหรือวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้เพื่อเป็น แนวทางในการกําหนดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ดําเนินไปตามวัตถุประสงค์ของการสอนผส ควรพิจารณาเลือกวิธีสอนต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนนั้นๆ โดยอาศัยปัจจัยต่างๆ อาทิ เหมาะสมกับเนื้อหาที่จะสอน วัย ความสามารถ ประสบการณ์ และความสําคัญ

       การประเมินประสิทธิภาพการสอน นอกจากจะใช้วิธีเทียบเคียงกับหลักและลักษณะการสอนที่ดีในข้างต้นแล้ว อาจจะใช้เกณฑ์ในการพิจารณาจากความหมายของประสิทธิภาพการสอนที่ที่หมายถึง ผลของการสอนที่ทําให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยอาศัยความสามารถในการ ๑ะการสอนของผู้สอน หรือการดําเนินการสอน ในการวางแผนการเรียนรู้ออกแบบ และเลือก 4 จัดการการเรียนรู้ ตลอดบุคคลิก ลักษณะหรือพฤติกรรมต่างๆ ของผู้สอนที่จะทําให้การเรียน การสอนนั้นๆ บรรลุผลสําเร็จอย่างราบรื่นตามความมุ่งหมาย ส่วนวิธีการที่จะได้มาซึ่งข้อมูลนั้น อาจ ได้มาจากการพูดคุย สัมภาษณ์ สังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ในที่นี้ขอนําเสนอการได้มา ซึ่งข้อมูลในการประเมินประสิทธิภาพการสอนจาก 4 แหล่ง คือ
      1. ประเมินตนเอง (teacher self-report) 
      2. การสังเกตการณ์สอนในชั้นเรียน (observation reports) 
      3. การประเมินโดยผู้เรียน (student report) 
      4. การประเมินจากกลุ่มเพื่อน (teacher peers)
       การประเมินประสิทธิภาพการสอนไม่ว่าจะใช้วิธีใด หรือจากแหล่งข้อมูลในการประเมิน ประสิทธิภาพการสอนควรมุ่งพิจารณาในประเด็นต่างๆ ดังนี้
       1. จุดมุ่งหมายของการสอน 
       2. วิธีสอนเป็นเทคนิคหรือกลวิธีที่ผู้สอนจะต้องเลือกใช้
       3. สื่อการสอนเป็นส่วนประกอบที่ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ที่สมบูรณ์แก่ผู้เรียน 
       4. การวัดผลเป็นกระบวนการติดตามผลการปฏิบัติการสอนว่า ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะต่างๆ 
       5. ควรพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อคุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้สอนการจัดการเรียนการสอน

กิจกรรมการเรียนการสอน
        กิจกรรมการเรียนการสอน หมายถึง การจัดกิจกรรมโดยวิธีต่างๆ อย่างหลากหลายที่มุ่งให้ " เรียนรู้อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จําเป็นสําหรับการเป็น องสังคมของประเทศชาติต่อไป การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนจึงต้องใช้เทคนิควิธีการเรียนรู้รูปแบบการสอนหรือกระบวนการเรียนการสอนใน หลากหลายวิธี

กิจกรรมการเรียนการสอนตามขั้นตอนของการใช้ในการเรียนการสอน
         กิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนหรือในการสอนแต่ละครั้งมักถูกออกแบบเป็น 3 ขั้นตอน คือ กิจกรรมขั้นนําเข้าสู่บทเรียน กิจกรรมขั้นการสอน และกิจกรรมขั้นสรุป โดย กิจกรรมมีรายละเอียดดังนี้
        1. กิจกรรมขั้นนําเข้าสู่บทเรียน เป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ ดึงดูดชักนําให้ ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเรียนเนื้อหาที่ผู้สอนจําเป็นจะต้องให้เสริมประสบการณ์ใดก่อนหรือไม่ และในการนํากิจกรรมต่างๆ ไปใช้นี้ก็ควรได้มีการพิจารณาเรื่องของการแบ่งเวลาให้เหมาะสมไม่ใช้ เวลามากจนเกินไป กิจกรรมที่นําเข้าสู่บทเรียนมีได้ หลากหลาย ตัวอย่างเช่น กิจกรรมเล่าเรื่องต่างๆ
       2. กิจกรรมขั้นการสอนผู้สอนสามารถนํามาใช้ได้หลายรูปแบบตามวิธีการสอนต่างๆ โดย ผู้สอนจะต้องพิจารณาตามความสมควรเหมาะสมในการนํามาใช้ โดยพิจารณาตามหลักทฤษฎีต่างๆ และข้อจํากัดของการสอนนั้นๆ กิจกรรรมการสอนมีหลายวิธีการด้วยกัน เช่น การสอนแบบรายงาน การสอนแบบการแก้ปัญหา หรือการสอนแบบวิทยาศาสตร์การสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ การสอนโดยกระบวนการเป็นกลุ่ม การสอนแบบศูนย์การเรียนการสอนแบบหน่วยเป็นต้น
        3. กิจกรรมขั้นสรุป เป็นการประมวลสาระสําคัญ ของบทเรียนแต่ระบทเรียนที่ได้เรียนจบ ลงเพื่อให้ผู้เรียนได้แนวคิดที่ถูกต้องในบทเรียนนั้นๆ และเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้ในเนื้อหาต่อไป โดยทั่วไปแล้วการสรุปบทเรียนส่วนใหญ่จะเป็นเพื่อสรุปใจความสําคัญแต่ละตอนในระหว่าง บทเรียนหรือสรุปเมื่อจบบทเรียน หรือเมื่อผู้เรียนฝึกปฏิบัติจบลงก็เป็นไปได้ กิจกรรมขั้นสรุป บทเรียนหรือเนื่องหาที่สอนนี้สามารถทําได้หลายวิธี ดังนี้
       3.1 การสรุปทบทวน 
       3.2 การสรุปจากการปฏิบัติ 
       3.3 สรุปการใช้อุปกรณ์
       3.4 สรุปจากการสร้างสถานการณ์ 

ลักษณะของกิจกรรมการเรียนการสอนที่ดี
        1. กิจกรรมที่จัดขึ้นต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์ของการเรียนการสอน 
        2. ต้องเป็นกิจกรรมที่สามารถทําให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอด 
        3. ควรมีการจัดลําดับชั้นของกิจกรรมจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยาก 
       4. ต้องเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย 
       5. ต้องมีลักษณะของกิจกรรมที่ท้าทาย 
       6. ควรเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดกว้าง 
       7. เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการใช้ความคิด
       8. ควรเป็นกิจกรรมที่ผู้สอนมีบทบาทเพียงผู้ชี้แนะ



ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.