วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561

ความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฎิรูปการศึกษา



ความจําเป็นในการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา

           สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2543, หน้า 4-5) จําเป็นในการจัดการเรียนรู้หรือปฏิรูปการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา ซึ่งสามารถสังเคราะห์ได้ ดังนี้

         1. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของคนไทย การปฏิรูปวัฒนธรรมการ 4. ช่วยพัฒนาคนไทยให้เป็นคนที่มีความรู้คู่คุณธรรม ตระหนักในคุณค่าของตนเอง ผู้อื่นและสรรพสิ่งทั้งหลาย รู้จักควบคุมตนเองให้อยู่ในครรลองแห่งความดีงาม รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน ๆ เหตุผลยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพกติกาของสังคม มีความขยัน ซื่อสัตย์ และเสียง ส่วนรวม มีความสามารถในการใช้ศักยภาพของสมองได้ทั้งซีกซ้ายและซีกขวาอย่างได้สัดส่วน กัน คือ ความสามารถในด้านการใช้ภาษาสื่อสาร การคิดคํานวณ การคิดวิเคราะห์แบบวิทยาศาสต คิดเป็นระบบ สามารถใช้สติปัญญาอย่างเฉลียวฉลาดลึกซึ้งเพื่อเรียนรู้ให้บรรลุ ความจริง ความดี ความงามของสรรพสิ่ง เป็นคนที่มีสุขภาพกายดี มีวุฒิภาวะทางอารมณ์บุคคลิกภาพร่าเริง แจ่มใส จิตใจอ่อนโยนและเกื้อกูล มีมนุษยสัมพันธ์ดี เผชิญและแก้ปัญหาได้ ดํารงชีวิตอย่างอิสระและอยู่ ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

        2. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนความเข้มแข็งของสังคมไทย ให้สมาชิกของสังคมมีจิตสํานึก ร่วมกันในการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหาของส่วนรวม มีการบริหารอย่างถูกต้องแยบยน ลด ความขัดแย้ง ทุกคนมีความรับผิดชอบที่จะนําพาสังคมให้ก้าวหน้าและเข้มแข็ง

        3. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและบริบทการเรียนรู้ในยุคโลกาภิวัตน์ การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องจัดให้สอดคล้องกับโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่วิทยาการเจริญรุดหน้า ความรู้ และสรรพวิทยาการเดินทางไปในที่ต่าง ๆ ด้วยความรวดเร็วข้อมูลและข่าวสารต่างๆ เกิดขึ้น และ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผู้เรียนต้องมีความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และรู้จักสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสารเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตของ ตน ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ

        4. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน การปฏิรูปการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ครู ผู้สอน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และสังคมไทย ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการค"
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 เป็น เปิดแนวทางให้ครู พ่อแม่ ผู้ปกครองและชุมชนมีอิสระในการอบรมเลี้ยงดูให้การศึกษา จัดหลก อันจะเป็นการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน

         5. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย การปฏิรูปการเรียนรู้เป็นหัวใจของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 จึงเป็นภารกิจที่มีกฎหมายรองรับ ครูอาจารย์และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องถือปฏิบัติให้บรรลุผลสําเร็จตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย




ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น