วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561

วิธีการสอนตามแนวปฎิรูปการศึกษา



 วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา

          วิธีการสอนในปัจจุบันตามแนวปฏิรูปการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) เรียกว่า วิธีการจัดการเรียนรู้ซึ่งในมาตรา 22 ระบุว่าการจัด การศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ โดยมีหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ 2551 เป็นกรอบหรือทิศทางมุ่งให้แสวงหาวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ มุ่งให้เกิดความสมดุลทั้งด้านปัญญา ความคิด และด้านอารมณ์ โดยความสามารถ ทางปัญญาและ ความคิด ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ และความคิดวิจารณญาณ ส่วนความสามารถทางอารมณ์ 

           การสอนแบบโครงงาน (Project Design)
           เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นหาความสามารถ ความ ถนัด และความสนใจของตนเองในด้านต่างๆ มาจากแนวคิดพื้นฐานของการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็น ศูนย์กลาง (Child Center) และการเรียนรู้ตามสภาพจริง โดยมีการศึกษาหลักการ และวิธีเกี่ยวกับ โครงงานที่เลือกศึกษา วิเคราะห์ วางแผนการทํางาน ลงมือทํางาน และปรับปรุง เพื่อให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ ในกระบวนการเรียนการสอนได้ใช้ทักษะกระบวนการ สอดแทรกคุณธรรม ทำงานเป็นกลุ่ม ฝึกปฎิบัติจริง เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วม มีครูเป็นผู้ชี้แนะ ให้คําปรึกษาตลอดเวลา เน้นฝึกคนให้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

ประโยชน์ของการจัดทําโครงงาน
        1. ทํางานตามความถนัด ความสนใจของตนเอง
        2. ฝึกทักษะกระบวนการทํางานด้วยตนเอง หรือร่วมกันทํางานเป็นกลุ่ม
        3. สามารถวางแผนการทํางานเป็นระบบ
        4. พัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
       5. ศึกษา ค้นคว้า และแก้ปัญหาจากการทํางาน
       6. เป็นสิ่งยืนยันว่าเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในโครงงานที่ทําจริง ใน กรณีที่ต้องนําแสดงต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
ความหมายของโครงงาน
        โครงงาน หมายถึง การกําหนดรูปแบบในการทํางานอย่างเป็นระเบียบ มีกระบวนการ ทํางานที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถผลิตชิ้นงาน / ผลงานที่สัมพันธ์กับหลักสูตรและนําไปใช้ประโยชน์ กับชีวิตจริงประเภทของโครงงาน แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ (ชูชาติ เชิงฉลาด, 2546, หน้า 245)
         1. ประเภทการศึกษาทดลอง เป็นการศึกษาเปรียบเทียบหรือพิสูจน์ความจริงตามหลัก วิชาการอย่างเป็นเหตุเป็นผลหรือค้นหาข้อเท็จจริงในสิ่งที่ต้องการรู้ เช่น แสงมีผลต่อการเจริญเติบโต ของพืช, อาหารพื้นบ้านกับการเจริญเติบโตของไก่
        2. ประเภทสํารวจข้อมูล เป็นการสํารวจรวบรวมข้อมูลแล้วนําข้อมูลนั้นๆ มาจําแนกเป็น หมวดหมู่ และนําเสนอในรูปแบบต่างๆ เพื่อนําไปใช้ในการวางแผนหรือพัฒนางาน หรือปรับปรุงงาน เช่น การสํารวจการขาดสารไอโอดีนในชุมชน, การสํารวจการเรียนต่อของเยาวชนอําเภอสําโรงทาบ ในปี 2542
        3. ประเภทสิ่งประดิษฐ์ เป็นการผลิตชิ้นงานใหม่ และศึกษาคุณภาพ ประสิทธิภาพ ประโยชน์คุณค่าของชิ้นงานนั้นๆ เช่น เครื่องฟักไข่ ระบบน้ําหยดเพื่องานเกษตร โดยใช้กระป๋อง น้ํามันเครื่อง
        4. ประเภทพัฒนาผลงาน เป็นการค้นคว้าหรือพัฒนาชิ้นงานให้สามารถใช้ประโยชน์ได้มาก - หรือมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น การประดิษฐ์อุปกรณ์นับจํานวนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ นกมาทของผู้เรียนการสอนแบบโครงงาน (Project Design)
1. โครงงาน
2. ศึกษาข้อมูล
3. วิเคราะห์ข้อมูล
4. ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
5. เขียนโครงงานวางแผนการทํางาน
6. ปฏิบัติตามโครงงาน
7. ประเมินผลโครงงาน 

วิธีการสอนแบบ 4 MAT
          เป็นนวัตกรรมการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับแนวคิดใน แตกต่างระหว่างบุคคลการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางรวมทั้งการพัฒนา ผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญา รวมทั้งมีความสุข แนวคิดนี้มาจากเบอร์นิส แมคคาร์ที ซึ่งใน สังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน และผลการศึกษาด้านพัฒนาสมอ ได้แก่ ความสามารถของสมองซีกขวา คือการคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การใช้สามอง การคิดแบบหลากหลาย และความสามารถของสมองซีกซ้าย คือ การคิดวิเคราะห์ การคิดหาเห การคิดแบบปรนัย การคิดแบบมีทิศทาง การตอบสนองการพัฒนาศักยภาพทุกด้านของผู้เรียนที่มี รูปแบบและลักษณะการเรียนรู้แตกต่างกัน ดังนี้ (ชูชาติ เชิงฉลาด, 2546, หน้า 232)
          ขั้นที่ 1 การนําเสนอประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กับผู้เรียนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ขั้นย่อย ดังนี้
          1.1 การเสริมสร้างประสบการณ์
          1.2 การวิเคราะห์ประสบการณ์ที่ได้
        ขั้นที่ 2 การเสนอเนื้อหา สาระ ข้อมูลแก่ผู้เรียน สามารถแบ่งเป็น 2 ขั้นย่อย ดังนี้
         2.1 การบูรณาการประสบการณ์สร้างความคิดรวบยอด
         2.2 การพัฒนาเป็นความคิดรวบยอด
         ขั้นที่ 3 การฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาความคิดรวบยอด แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนย่อย ดังนี้
         3.1 การปฏิบัติงานตามขั้นตอน
         3.2 การนําเสนอผลการปฏิบัติ 
          ขั้นตอนที่ 4 การนําความคิดรวบยอดไปสู่การประยุกต์ใช้ แบ่งเป็น 2 ขั้นย่อย ดังนี้
          4.1 การนําความรู้ไปประยุกต์ใช้หรือการพัฒนางาน
          4.2 การนําเสนอผลงานหรือการเผยแพร่ 

วิธีการสอนการสอนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
         สเปนเซอร์ คาบกัน (Spenser Kagan) นักศึกษาชาวสหรัฐอเมริกา ได้ทําการวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) อย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1985 และได้เผยแพร่ผลงานอย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกาและในหลายประเทศในแถบเอเชีย โดยมีการ 1.การเรียนการสอนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์และได้ แนวคิดหลักที่จะนําไปสู่การเรียนรู้แบบร่วมอย่างมีประสิทธิผลไว้ 6 ประการดังนี้
          1. การจัดกลุ่ม (TEAMS) หมายถึง การจัดกลุ่มผู้เรียนที่จะเข้าร่วมกิจกรรมด้วยกันเพื่อให้ เกิดประสิทธิผลมากที่สุด ซึ่งควรจัดผู้เรียนเข้ากลุ่มไว้ดังนี้
          1. จํานวนผู้เรียนในกลุ่ม 4 คน 
          2. ประกอบด้วยผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง และต่ําคละกันไป 
          3. จัดให้มีผู้เรียนทั้งชายและหญิงในกลุ่มเดียวกัน 
         4. จัดให้ผู้เรียนอยู่ในกลุ่มเดียวกันประมาณ 6 สัปดาห์
         5. บางกรณีอาจจัดกลุ่มโดยวิธีอื่นๆ เช่นจัดกลุ่มผู้เรียนที่มีความสนใจเหมือนๆกันใน เรื่องเดียวกันในการศึกษาเฉพาะกรณีเช่นการทําโครงงานวิทยาศาสตร์หรือจัดกลุ่มแบบสุ่มเมื่อ ต้องการทบทวนความรู้

          2. ความมุ่งมั่น (will) หมายถึงความมุ่งมั่นและอุดมการณ์ของผู้เรียนที่จะทํางานร่วมกันซึ่ง จะต้องมีความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้และมีความกระตือรือร้นในการทํากิจกรรมต่างๆ ร่วมกันเพื่อให้เกิด ประสิทธิผลร่วมกันสามารถสร้างความมุ่งมั่นร่วมกันให้เกิดขึ้นได้โดยใช้กิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่ กิจกรรมทางวิชาการ เช่น การเล่นเกมการสัมภาษณ์โดยใช้วิธีการต่อไปนี้
          2.1 สร้างความมุ่งมั่นของกลุ่มที่จะทํางานร่วมกัน 2.2 สร้างความมุ่งมั่นของชั้นเรียน
           2.3 การทํางานร่วมกันโดยเลือกกิจกรรมที่คนเดียวไม่สามารถทําได้สําเร็จ

       3. การจัดการ (management) หมายถึงการจัดการกลุ่มไห้สามารถทํากิจกรรมได้อย่างมี บระสทธิภาพและรวมถึงการจัดการของผู้เรียนเพื่อให้การทํากิจกรรมของกลุ่มประสบผลสําเร็จอย่างมี ประสิทธิภาพเช่น
        3.1 การจัดที่นั่งของนักเรียนในกลุ่ม 
        3.2 การแบ่งงานกันภายในกลุ่ม 
        3.3 การสร้างกฏของห้อง (class rule) 
        3.4 การให้สัญญาณเงียบ (Quiet Signal) 
        3.5 การดูแลกลุ่มไม่ให้วุ่นวายกับกลุ่มเพื่อน
      
        4.ทักษะทางสังคม (social skills)หมายถึง การพัฒนาให้เด็กมีทักษะในการทํางานทํา กรรมร่วมกันให้มีการร่วมมือช่วยเหลือกันอย่างจริงใจ

        5. กฎพื้นฐาน 4 ข้อ (Basics principles : Pies ) หมายถึง หลักการพื้นฐานของการเรียนรู้ แบบร่วมใจกันซึ่งจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบที่สําคัญ 4 ประการ อย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้
        5.1.การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 
        5.2 การยอมรับความสามารถซึ่งกันและกัน 
        5.3 ความเสมอภาค
        5.4 การมีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง

        6. รูปแบบของกิจกรรม (structures) หมายถึง รูปแบบของกิจกรรมในการทํางานกลุ่ม หลากหลายทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาหรือสถานการณ์ที่จะศึกษา วิธีสอนแบบซิปปา (cippa model)เป็นวิธีสอนหรือการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้มี องค์ประกอบสําคัญ 5 ประการคือ (ชูชาติ เชิงฉลาด, 2546, หน้า 229)
        1. C Construct หมายถึง การสร้างความรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ความรู้
(constructivism) 
        2. I interaction หมายถึง การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว 
        3. P physical participation หมายถึง การมีส่วนรวมทางกาย
       4. P process learning หมายถึง การเรียนรู้กระบวนการต่างๆ ที่เป็นทักษะต่อการ
ดํารงชีวิต 
       5. A application หมายถึง การนําความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์
ต่างๆ
         การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแบบซิปปา มีองค์ประกอบสําคัญ 5 ประการดังกล่าวแล้ว ครูผู้สอนสามารถเลือกรูปแบบวิธี การจัดการเรียนรู้ หรือกิจกรรมใดก็ได้ที่สามารถจัดกิจกรรมใด ก่อน-หลังได้โดยไม่ต้องเรียงลําดับ วิธีสอนแบบบูรณาการ
วิธีสอนแบบบูรณาการ 
          เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยเชื่อมโยงระหว่าง ประสบการณ์-เดิมและประสบการณ์ใหม่ และเป็นประสบการณ์ตรงที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ใน วิชาการหลายๆแขนงในลักษณะสหวิทยาการโดยใช้กระบวนการเรียนรู้กระบวนการคิดกระบวนการ แก้ปัญหาและกระบวนการแสวงหาความรู้ที่เชื่อมโยงทั้งหลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนรู้ตลอดจน แนวคิดของผู้เรียนเพื่อให้เกิดความรู้แบบองค์รวมเพื่อนําไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจําวัน

วิธีการสอนแบบบูรณาการมีขั้นตอนในการสอนดังต่อไปนี้ (ชาตรี เกิดธรรม, 2546, หน้า 99)
          1. กําหนดหัวข้อสาระการเรียนรู้ 
          2. กําหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ 
          3. กําหนดเนื้อหาของเรื่อง
         4. กําหนดขอบเขตการเรียนรู้ 
         5. ดําเนินกิจกรรม
         6. ประเมินผล 

วิธีการสอนแบบเล่าเรื่อง
            คําว่าวิธีการสอนแบบเล่าเรื่องตรงกับคําภาษาอังกฤษว่า STORY LINE นํามาใช้กับ ภาษาไทยว่าเล่าเรื่อง คําเนินเรื่อง เรื่องราว โครงเรื่อง เป็นวิธีสอนวิธีหนึ่งที่จะจัดเนื้อหาสาระของแต่ ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ มาบูรณาการกัน โดยใช้กลุ่มสาระการเรียนรู้ใดกลุ่มสาระการเรียนรู้หนึ่งเป็น แกนเรื่อง ส่วนมากจะยึดเนื้อหาสาระสังคมศึกษาหรือวิทยาศาสตร์หรือสุขศึกษาเป็นแกนเรื่อง แล้วนํา กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ในหลักสูตรมาบูรณาการ ทั้งภาษาไทย ศิลปะ คณิตศาสตร์การจัดการ เรียนรู้แบบนี้จะเป็นการสมมติเรื่องราวหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้สอดคล้องกันเนื้อหาสาระที่จะ เรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการจัดการเรียนรู้โดยใช้เล่าเรื่อง มีหลักการจัดการเรียนรู้ดังนี้
            1. สร้างหน่วยการเรียน โดยใช้กลุ่มสาระการเรียนใดกลุ่มสาระการเรียนรู้หนึ่งเป็นแกนเรื่อง และกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นมาบูรณาการด้วยการสร้างแผนผังสาระการเรียนรู้และกิจกรรมก่อนอื่น ครูผู้สอนจะต้องกําหนดชื่อเรื่องหรือหัวเรื่องที่จะจัดการเรียนรู้และกําหนดหัวข้อย่อยโดยบูรณาการ เนื้อหาสาระกิจกรรมแล้วกําหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้ชัดเจน
            2. สร้างสถานการณ์หรือเรื่องราวจากหน่วยการเรียน ผู้สอนต้องสมมติสถานการณ์หรือ เรื่องราวขึ้น ซึ่งต้องมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ ฉาก ตัวละคร วิถีชีวิต เหตุการณ416
กก ตัวละคร วิถีชีวิต เหตุการณ์และสถานการณ์ที่ สนองต่อผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
            3. การจัดการเรียนรู้ต้องจัดทําเส้นทางการดําเนินเรื่อง คําถามนํา กิจกรรม สื่อการ และลักษณะการเรียน โดยทําเป็นแผนการเรียนรู้
          4. การสอนตามแผนการเรียนรู้จะแบ่งเวลาการเรียนตามเส้นทางการดําเนินเรื่องในตาราง แผนการเรียนรู้อาจกําหนดเวลาการเรียนแต่ละเส้นทางการดําเนินเรื่อง ซึ่งอาจใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง
วิธีสอนแบบใช้เส้นเล่าเรื่องตามตัวอย่างแผนการเรียนรู้ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่าผู้เรียนจะ ลงมือปฏิบัติ ความรู้จากการเรียนเป็นความรู้ที่เป็นองค์รวม (Holistic Knowledge) และการนํา สถานการณ์ไปใช้ในชีวิตจริง จะใช้เวลาค่อนข้างมาก เพราะผู้เรียนต้องค้นคว้า ทดลอง ครูผู้สอนจะเปลี่ยนบทบาทของครูผู้สอนจะเป็นผู้บอกความรู้มาเป็นผู้จัดกิจกรรม และสภาพการเรียนรู้สื่อการ เรียนรู้ บทบาทของครูผู้สอนจะเป็นผู้เพิ่มเติมความคิดความรู้ให้กับผู้เรียน
 
วิธีการสอนแบบปุจฉาวิสัชนา
            วิธีการสอนแบบปุจฉาวิสัชนา เป็นการเรียนรู้แบบถามตอบ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิด และรู้จักหาคําตอบด้วยตนเอง การตั้งคําถามผู้ตั้งคําถามจะต้องใช้ความคิดในการตั้งคําถาม ขณะเดียวกันผู้ตั้งคําถามจะต้องมีคําตอบอยู่ในใจ การสอนแบบนี้ ในการจัดการเรียนรู้จึงส่งเสริมให้ ผู้เรียนได้คิด วิเคราะห์ วิจารณ์ และผู้เรียนรู้เกี่ยวกับภาษาในการสื่อสารวิธีการสอนแบบนี้ปุจฉา วิสัชนา จะใช้ในการเรียนรู้ได้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ (ชูชาติ เชิงฉลาด, 2546 หน้า 251)
           ขั้นตอนการสอนแบบปุจฉาวิสัชนามี 6 ขั้นตอน ดังนี้
           ขั้นที่ 1 แนะนํารูปแบบการเรียน ผู้สอนกับผู้เรียนจะกําหนดหัวข้อการเรียนและจุดประสงค์ การเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและขั้นตอนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนกําหนดหัวข้อของการตั้ง คําถามให้ตรงจุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนกําหนดหัวข้อของการตั้งคําถามให้ตรงจุดประสงค์
          ขั้นที่ 2 อ่านหรือดูสื่อเพื่อหาความรู้และเตรียมคําถาม ผู้เรียนศึกษาความรู้จากแหล่งต่างๆ หรือสื่อที่ผู้สอนเตรียมไว้ให้ โดยแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน ผู้เรียนศึกษาสื่อและตั้งคําถาม ลักษณะของคําถามจะแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
             1.เป็นคําถามที่เป็นข้อเท็จจริง 
             2. คําถามที่ต้องการคําอธิบายชี้แจง
             3. คําถามเกี่ยวกับการประเมินคุณค่าเนื้อหาหรือความคิด
         ขั้นที่ 3 วางแผนและการจัดกลุ่มคําถาม ผู้เรียนแต่ละกลุ่มจะจัดกลุ่มคําถามของตนตาม เนื้อหาสาระที่เป็นเรื่องเดียวกันเข้าด้วยกันคัดเลือกประเด็นคําถามที่ไม่ตรงประเด็นออก แล้วนําคําถาม ขอทุกกลุ่มมารวมกัน
         ขั้นที่ 4 ดําเนินการถามตอบ ควรมีการจัดที่นั่งในการดําเนินการ โดยผู้ตอบคําถามจะนั่งหน้า ชั้นส่วนผู้ถามจะนั่งด้านข้างของผู้ตอบคําถามมุมใดมุมหนึ่งของห้องเรียน
         ขั้นที่ 5 ทบทวนและสรุปความรู้ ครูผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันสรุปเนื้อหาสาระตามประเด็น คําถาม โดยจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาสาระความรู้เข้าด้วยกัน และตั้งเป็นหัวข้อเรื่องที่เป็นคําตอบ คล้ายกันเข้าด้วยกัน
          ขั้นที่ 6 กิจกรรมสร้างสรรค์ เมื่อตอบประเด็นคําถามหมดทุกประเด็นแล้ว ผู้เรียนแต่ละ กลุ่มจะประชุมเพื่อวางแผนกิจกรรม เช่น ทําสมุดถามตอบ เขียนบทความ ประกวดสมุดบันทึกความรู้ เขียนบทวิจารณ์ เขียนแผนภูมิด้วยแผนความคิด (Mind Mapping) จัดทําป้ายนิเทศ สรุปความคิด
รวมกันทั้งชั้น

วิธีการสอนแบบโครงสร้างความรู้
         วิธีการสอนแบบโครงสร้างความรู้ หรือ แผนผังความคิด (Graphic Organizer) เป็นการ ศึกให้ผู้เรียนรวบรวมข้อมูล หรือ ความรู้จากการศึกษาค้นคว้า การอ่าน การฟังคํา บรรยาย แล้วนํา ข้อมูลมาจัดกลุ่ม เขียนเป็นภาพแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างความคิด กระบวนการคิด และ ความสัมพันธ์ของ กระบวนการ โดยใช้รูปภาพ ซึ่งสามารถแสดงโครงสร้างความคิดได้หลายรูปแบบ (ชาตรี เกิดธรรม, 2546 หน้า 86) ดังนี้
        1. แผนผังความคิด ( Mind Mapping หรือ Mind Map)
        แผนผังความคิดแผนที่ความคิด เป็นรูปแบบที่ใช้แสดงการเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใด เรื่องหนึ่ง ระหว่าง การคิด กระบวนการคิด และความสัมพันธ์ของกระบวนการคิดตั้งแต่ต้นจนจบซึ่ง จะช่วยทําให้มองเห็นภาพรวมของความคิดและโครงสร้างของความคิดในเรื่องที่กําลังคิดมองเห็น ความสัมพันธ์ ระหว่างความคิดหลัก ความคิดรองและความคิดย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหากศึกษา จากภาพที่ 7 จะช่วยให้เข้าใจมากขึ้น
 ภาพที่ 7 ลักษณะการเขียนแผนผังความคิด


         จากภาพที่ 7 ลักษณะการเขียนแผนผังความคิด จะเห็นว่าจากความคิดหลักจะเชื่อ ความคิดรองในหลายประเด็นก็จะประกอบด้วย ความคิดย่อยและจากความคิดย่อย ๆ ประกอบด้วยความคิดย่อยลงไปอีกก็ได้

          2.ผังแสดงความสัมพันธ์แบบโครงสร้างต้นไม้ (Tree Structure)
         ผังแสดงความสัมพันธ์แบบโครงสร้างต้นไม้ จะใช้ในการแสดงความสัมพันธ์ของเรื่องที่ส ความสําคัญลดหลั่งกันเป็นลําดับจากใหญ่ไปหาจุดเล็กๆ รูปร่างของการเขียนจะมีโครงสร้างลักษณะ คล้ายต้นไม้ที่มีกิ่งก้าน หรืออาจจะมีลักษณะคล้ายแผนภูมิการบริหารองค์กรวิธีการเขียนให้เริ่มต้น หัวข้อเรื่องไว้ข้างบนหรือตรงกลางแล้วลากเส้นให้เชื่อมโยงกับความคิดรวมยอดอื่นๆ ที่มีความสําคัญ รองๆ ลงไปตามลําดับ ดังในภาพที่ 8

ภาพที่ 8 ลักษณะการเขียนผังแสดงความสัมพันธ์แบบโครงสร้างต้นไม้


        จากภาพที่ 8 ลักษณะการเขียนผังแสดงความสําพันธ์แบบโครงสร้างต้นไม้ จะเห็นวางบน รูปแบบที่เหมาะสมในการนําไปใช้ในการนําเสนอโครงสร้างของเรื่องที่ต้องเรียงลําดับ ความสัมพันธ ของข้อมูลอย่างเป็นระบบและมีการสรุปเป็นประเด็นๆ ของแต่ละเรื่อง

        3. แผนผังความคิดแบบเวนน์ (Venn Diagram)
       แผนผังความคิดแบบเวนน์นี้เป็นแผนผังที่ไว้แสดงข้อมูลเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดที่ หมายถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ของบุคคล สถานที่ หรือสิ่งของในลักษณะต่างๆ เป็น การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของแนวคิด ตั้งแต่ 2 แนวคิดขึ้นไป โดยสามารถเขียนแผนผังแสดง ความคิดดังต่อไปนี้

ภาพที่ 9 แผนผังความคิดของเวนน์

          จากภาพที่ 9 แผนผังความคิดของเวนน์ จะเห็นว่า ผู้หญิงและผู้ชายมีลักษณะที่เหมือนกัน คือ เป็นสิ่งที่มีชีวิตที่เรียกว่า คน เหมือนกัน ส่วนลักษณะอื่นๆ จะแตกต่างกัน

         4. แผนผังความคิดแบบวงจร หรือแบบวัฏจักร (Cycle Graph)
         แผนผังความคิดแบบวงจร หรือแบบวัฏจักร เป็นการคิดแบบวงจร ที่ใช้แสดงข้อมูลที่มี ความสัมพันธ์กันระหว่างเหตุการณ์ต่างๆ กับระยะเวลาที่มีการเรียงลําดับการเคลื่อนไหว ของข้อมูลที่ เป็นวัฏจักรที่ไม่มีจุดเริ่มต้น ณ ที่ใดที่หนึ่ง ดังในภาพที่ 10 ต่อไปนี้


รูปที่ 10 รูปแบบของกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์




       5. แผนผังก้างปลา (fish boone)
       แผนผังก้างปลาเป็นแผนผังความคิดที่นิยมเพื่อแสดงสาเหตุ และผลต่างๆ ของปัญหาที่ 3กคขนนน จะเห็นว่า การเขียนแผนผังก้างปลา เพื่อแสดงสาเหตุของปัญหาจะทําให้มองเห็นสาเหตุ ของปัญหาได้ละเอียดรอบคอบครบถ้วน เหมาะสมในการนําไปใช้ในการระดมความคิดเพื่อหาสาเหตุ ของปัญหา ทั้งที่เป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม
      6. แผนผังแบบลําดับขั้นตอน (sequence chart)
แผนผังแบบลําดับขั้นตอนเป็นแผนผังที่แสดงให้เห็นถึงสภาพเหตุการณ์หรือเนื้อหาสาระที่ เป็นกระบวนการเรียงลําดับขั้นตอน เป็นแผนผังที่แสดงให้เห็นถึงสภาพเหตุการณ์หรือเนื้อหาสาระที่ เป็นกระบวนการเรียงตามลําดับต่อเนื่อง ภาพที่ 11 ต่อไปนี้
ภาพที่ 11 กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ


       จากภาพที่ 11 กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ที่แสดงด้วยแผนผังแบบ ลําดับเป็นขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มต้น โดยมีเครื่องหมายลูกศรแสดงเส้นทางของลําดับขั้นตอนให้เห็นอย่าง ชัดเจน

แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพการสอน
         การสอนเน้นกระบวนการกระทําหรือการจัดประสบการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ อย่างคุ้มค่า และให้ได้รับประสบการณ์ตามความคาดหวังหรือวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้เพื่อเป็น แนวทางในการกําหนดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ดําเนินไปตามวัตถุประสงค์ของการสอนผส ควรพิจารณาเลือกวิธีสอนต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนนั้นๆ โดยอาศัยปัจจัยต่างๆ อาทิ เหมาะสมกับเนื้อหาที่จะสอน วัย ความสามารถ ประสบการณ์ และความสําคัญ

       การประเมินประสิทธิภาพการสอน นอกจากจะใช้วิธีเทียบเคียงกับหลักและลักษณะการสอนที่ดีในข้างต้นแล้ว อาจจะใช้เกณฑ์ในการพิจารณาจากความหมายของประสิทธิภาพการสอนที่ที่หมายถึง ผลของการสอนที่ทําให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยอาศัยความสามารถในการ ๑ะการสอนของผู้สอน หรือการดําเนินการสอน ในการวางแผนการเรียนรู้ออกแบบ และเลือก 4 จัดการการเรียนรู้ ตลอดบุคคลิก ลักษณะหรือพฤติกรรมต่างๆ ของผู้สอนที่จะทําให้การเรียน การสอนนั้นๆ บรรลุผลสําเร็จอย่างราบรื่นตามความมุ่งหมาย ส่วนวิธีการที่จะได้มาซึ่งข้อมูลนั้น อาจ ได้มาจากการพูดคุย สัมภาษณ์ สังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ในที่นี้ขอนําเสนอการได้มา ซึ่งข้อมูลในการประเมินประสิทธิภาพการสอนจาก 4 แหล่ง คือ
      1. ประเมินตนเอง (teacher self-report) 
      2. การสังเกตการณ์สอนในชั้นเรียน (observation reports) 
      3. การประเมินโดยผู้เรียน (student report) 
      4. การประเมินจากกลุ่มเพื่อน (teacher peers)
       การประเมินประสิทธิภาพการสอนไม่ว่าจะใช้วิธีใด หรือจากแหล่งข้อมูลในการประเมิน ประสิทธิภาพการสอนควรมุ่งพิจารณาในประเด็นต่างๆ ดังนี้
       1. จุดมุ่งหมายของการสอน 
       2. วิธีสอนเป็นเทคนิคหรือกลวิธีที่ผู้สอนจะต้องเลือกใช้
       3. สื่อการสอนเป็นส่วนประกอบที่ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ที่สมบูรณ์แก่ผู้เรียน 
       4. การวัดผลเป็นกระบวนการติดตามผลการปฏิบัติการสอนว่า ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะต่างๆ 
       5. ควรพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อคุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้สอนการจัดการเรียนการสอน

กิจกรรมการเรียนการสอน
        กิจกรรมการเรียนการสอน หมายถึง การจัดกิจกรรมโดยวิธีต่างๆ อย่างหลากหลายที่มุ่งให้ " เรียนรู้อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จําเป็นสําหรับการเป็น องสังคมของประเทศชาติต่อไป การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนจึงต้องใช้เทคนิควิธีการเรียนรู้รูปแบบการสอนหรือกระบวนการเรียนการสอนใน หลากหลายวิธี

กิจกรรมการเรียนการสอนตามขั้นตอนของการใช้ในการเรียนการสอน
         กิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนหรือในการสอนแต่ละครั้งมักถูกออกแบบเป็น 3 ขั้นตอน คือ กิจกรรมขั้นนําเข้าสู่บทเรียน กิจกรรมขั้นการสอน และกิจกรรมขั้นสรุป โดย กิจกรรมมีรายละเอียดดังนี้
        1. กิจกรรมขั้นนําเข้าสู่บทเรียน เป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ ดึงดูดชักนําให้ ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเรียนเนื้อหาที่ผู้สอนจําเป็นจะต้องให้เสริมประสบการณ์ใดก่อนหรือไม่ และในการนํากิจกรรมต่างๆ ไปใช้นี้ก็ควรได้มีการพิจารณาเรื่องของการแบ่งเวลาให้เหมาะสมไม่ใช้ เวลามากจนเกินไป กิจกรรมที่นําเข้าสู่บทเรียนมีได้ หลากหลาย ตัวอย่างเช่น กิจกรรมเล่าเรื่องต่างๆ
       2. กิจกรรมขั้นการสอนผู้สอนสามารถนํามาใช้ได้หลายรูปแบบตามวิธีการสอนต่างๆ โดย ผู้สอนจะต้องพิจารณาตามความสมควรเหมาะสมในการนํามาใช้ โดยพิจารณาตามหลักทฤษฎีต่างๆ และข้อจํากัดของการสอนนั้นๆ กิจกรรรมการสอนมีหลายวิธีการด้วยกัน เช่น การสอนแบบรายงาน การสอนแบบการแก้ปัญหา หรือการสอนแบบวิทยาศาสตร์การสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ การสอนโดยกระบวนการเป็นกลุ่ม การสอนแบบศูนย์การเรียนการสอนแบบหน่วยเป็นต้น
        3. กิจกรรมขั้นสรุป เป็นการประมวลสาระสําคัญ ของบทเรียนแต่ระบทเรียนที่ได้เรียนจบ ลงเพื่อให้ผู้เรียนได้แนวคิดที่ถูกต้องในบทเรียนนั้นๆ และเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้ในเนื้อหาต่อไป โดยทั่วไปแล้วการสรุปบทเรียนส่วนใหญ่จะเป็นเพื่อสรุปใจความสําคัญแต่ละตอนในระหว่าง บทเรียนหรือสรุปเมื่อจบบทเรียน หรือเมื่อผู้เรียนฝึกปฏิบัติจบลงก็เป็นไปได้ กิจกรรมขั้นสรุป บทเรียนหรือเนื่องหาที่สอนนี้สามารถทําได้หลายวิธี ดังนี้
       3.1 การสรุปทบทวน 
       3.2 การสรุปจากการปฏิบัติ 
       3.3 สรุปการใช้อุปกรณ์
       3.4 สรุปจากการสร้างสถานการณ์ 

ลักษณะของกิจกรรมการเรียนการสอนที่ดี
        1. กิจกรรมที่จัดขึ้นต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์ของการเรียนการสอน 
        2. ต้องเป็นกิจกรรมที่สามารถทําให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอด 
        3. ควรมีการจัดลําดับชั้นของกิจกรรมจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยาก 
       4. ต้องเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย 
       5. ต้องมีลักษณะของกิจกรรมที่ท้าทาย 
       6. ควรเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดกว้าง 
       7. เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการใช้ความคิด
       8. ควรเป็นกิจกรรมที่ผู้สอนมีบทบาทเพียงผู้ชี้แนะ



ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น