วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561

บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฎิรูปการศึกษา



บทบาทของผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา

          การจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัย ความร่วมมือของหลายฝ่าย ร่วมมือกันพัฒนาและปรับปรุง ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ศึกษานิเทศก์ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กร สถาบันวิชาการ หน่วยงานและสื่อมวลชน

          พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 24 กําหนดบทบาทของผู้เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้อย่างชัดเจน โดยการประสานเชื่อมโยง บทบาทของทุกคนให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาโดยมีลักษณะสําคัญดังนี้

         บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา 
          1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารจัดการเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้
          2. กําหนดแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาโรงเรียนไว้ในธรรมนูญ โรงเรียน มีแผน ยุทธศาสตร์ในการปฏิรูปการเรียนรู้ตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวด 4 ที่ว่าด้วยแนวทางการจัดการศึกษา
         3. ปรับปรุงการบริหารจัดการให้เอื้ออํานวยความสะดวกให้ครูผู้สอนได้มีเสรีภาพในการคิด พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ ทําการวิจัยในชั้นเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในระหว่างเพื่อนครู การ ทํางาน โดยการผนึกกําลังของกลุ่มวิชาต่างๆ เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ให้ได้มาตรฐานหลักสูตร ที่สุด
         4. พัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้มีบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสําคัญ
        5. จัดให้มีระบบนิเทศภายใน ช่วยเหลือครูในด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

         บทบาทของครูผู้สอน 
         1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดให้เอื้อต่อการปฏิรูปการเรียนรู้ เป็นตัวอย่างในการพัฒนาวินัยในตนเอง
         2. พัฒนาตนเองอยู่เสมอให้มีความรู้และความสามารถในการปลูกฝังค่านิยมที่ดีและ จริยธรรมให้ผู้เรียนให้ความรักความเมตตาต่อผู้เรียน
         3. ออกแบบการจัดการเรียนรู้และการวัดประเมินผลตามสภาพจริง 
        4. ทําวิจัยในชั้นเรียนควบคู่กับการเรียนการสอนนําผลมาพัฒนาปรับปรุง
       5.สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกําหนดบทบาทของผู้เรียน
       6.ช่ววยให้ผู้เรียนยอมรับและพัฒนาตนเอง มีความเข้าใจตนเอง ยอมรับความรู้สึกของตนเอง มีความเชื่อมั่นในตนเองว่าเป็นคนมีคุณค่า
       7.ให้คําปรึกษาในด้านการเรียน การวางแผนชีวิต และแนวทางการพั สนาตนเองสู่อาชีพ ช่วยให้ผู้เรียนตั้งจุดมุ่งหมายในชีวิตตามสภาพความเป็นจริงที่เป็นไปได้
       8. ช่วยให้ผู้เรียนมีวุฒิภาวะ รู้จักข้อดี ข้อเสียของตนเอง 
      9. กระตุ้นให้ผู้เรียนกล้าเผชิญปัญหาและ สถานการณ์ต่างๆ
     10. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจลีลาการเรียนรู้ของตนเอง เข้าใจกระบวนการเรียนรู้และรู้จักวิธีการ พัฒนาตนเองให้เป็นผู้ใฝ่รู้อยู่เสมอ
       11. ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง ประเมินตนเองและทบทวนการ ปฏิบัติเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
     12. เป็นกัลยาณมิตรกับนักเรียน เพื่อนครู และบุคลากรในโรงเรียน 
   
       บทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครอง 
         1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ 
         2. ให้ความรักและความอบอุ่น
         3. ให้การอบรมเลี้ยงดู เอาใจใส่ในการสร้างสุขนิสัยที่ดี พัฒนาพฤติกรรม สุขภาพและ ป้องกันปัญหาต่างๆ
        4. เป็นตัวอย่างแก่บุตรธิดา และปลูกจิตสํานักในเรื่องวินัยในตนเอง ความรับผิดชอบ ความ ปลอดภัย
        5. สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในบ้าน 
        6. ทําหน้าที่ให้คําปรึกษาแนะนําและการเสริมแรง 
        7. ร่วมมือกับโรงเรียนในการให้ข้อมูลและประเมินผู้เรียน 
        8. เป็นแบบอย่างที่ดีในการดําเนินชีวิต 

        บทบาทของชุมชน 
         1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดความเชื่อในเรื่องการปฏิรูปการศึกษา 
         2. ให้ความร่วมมือในการระดมทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ 
         3. ร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในการพัฒนาสถานศึกษาในทุก ๆ ด้าน
        4. ประสานสัมพันธ์กับสถานศึกษาเพื่อสร้างบรรยากาศให้ชุมชน เป็นแหล่งการเรียนรู้และ
พัฒนาชุมชนเป็นสังคมแห่งปัญญา
         5. ดูแลเอาใจใส่พฤติกรรมของเด็กและเยาวชนในชุมชน

          บทบาทของผู้เรียน
          ความมุ่งหวังของการปฏิรูปการเรียนรู้ คือ ต้องการให้ผู้เรียนมีลักษณะเก่ง ดี มีความสุข ผู้เรียนจึงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้จากผู้รับความรู้มาเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจและความสามารถของตนเอง ดังนั้นบทบาทหน้าที่ของผู้เรียนควรมีดังนี้
           1. กําหนดเป้าหมายการศึกษาให้สอดคล้องกับความสามารถ ความถนัดและความสนใจของ
ตนเอง
           2. มีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ วางแผนการเรียนรู้ของตนเอง ร่วมกับผู้ปกครองและครู
          3. รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง รู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์บริหารจัดการ เรียนรู้ของตนเอง
         4. ตระหนักถึงความสําคัญของการศึกษาที่มีความสําคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต 
        5. ปฏิบัติตนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้รู้วิธีแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง 
        6. รู้จักประเมินตนเองและผู้อื่น 
        7.ศรัทธาต่อผู้สอน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับครูและเพื่อน
สรุป
           การปฏิรูปการศึกษาครั้งสําคัญในปัจจุบัน มุ่งเน้นการปฏิรูปการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดยองค์รวม ดังนั้น การจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา จึงเป็น การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ เน้นการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตาม ธรรมชาติและเต็มศักยภาพโดยให้มีลักษณะเป็นการเรียนรู้ที่สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง เรียนรู้เรื่องด้วยตนเอง ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการดํารงชีวิตการ ประกอบชีวิต การพัฒนากระบวนการคิด การผสมผสานความรู้ การพัฒนาประชาธิปไตย เรียนรู้ เรื่องภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม ครอบครัวและชุมชน นอกจากนี้ยังมีการเสนอแนะประเด็นต่างๆ ที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสําคัญ จากหน่วยงานนักวิชาการและนักการศึกษาอีก มากมาย ดังที่ได้นําเสนอไว้ในข้างต้น รวมทั้งทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สําคัญ อาทิ ทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีพุทธินิยม และทฤษฎี มนุษยนิยม ตลอดจนบทบาทของบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องที่จะทําให้การจัดการเรียนรู้ตามแนวการ ปฏิรูปการศึกษาประสบผลสําเร็จ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น