3. ประโยชน์ของการออกแบบการเรียนการสอน
การลงทุน ที่ประสบความสําเร็จ หมายถึงการที่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนได้ประโยชน์ หากเปรียบเทียบกับการทํางาน
ทางธุรกิจแล้ว ประโยชน์ย่อมหมายถึงกําไร เจ้าของกิจการ ได้กําไร ลูกค้าพอใจในราคา คุณภาพ และบริการ คนงาน
และลูกจ้างได้รับค่าจ้างแรงงานที่เหมาะสม และมี ความรู้สึกที่ดีต่อบริษัท ในทํานองเดียวกัน นักศึกษาที่เกี่ยวข้อง
กับการเรียนการสอนย่อมได้ประโยชน์ จากการเรียนการสอน ไม่มากก็น้อย ดังที่ ไชยยศ เรืองสุวรรณ ได้กล่าวว่า
1. ผู้บริหารหรือผู้จัดการโปรแกรมการศึกษาและการเรียนการสอนย่อมต้องการความมั่นใจ ในประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลของการเรียนโดยใช้งบประมาณประหยัดที่สุด
2. นักออกแบบการสอน ย่อมต้องการความมั่นใจว่า โปรแกรมที่ออกแบบไว้เป็นโปรแกรม ที่น่าพอใจ ซึ่งตัวบ่งชี้
ที่สําคัญในความพอใจก็คือผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ในเวลาที่เหมาะสม
3. ครูผู้สอนย่อมต้องการที่จะเห็นผู้เรียนได้รับความรู้ ความสามารถอื่นๆ ที่จําเป็น รวมทั้ง ต้องการมีความสัมพันธ์
ที่ดีกับผู้เรียน
4. ผู้เรียนต้องการความสําเร็จในการเรียน ได้รับประสบการณ์การเรียนด้วยความสนุกสนาน และพอใจ
(ไชยยศ, 2533 : 14)
ออร์แลนสกี และสตริง (Oransky and Stering, 1981) ได้สรุปผลจากการวิจัยการสอน รายวิชาเทคนิคต่างๆ
ด้านการทหารที่มีการออกแบบระบบการเรียนการสอนเป็นอย่างดีว่าสามารถ ลดเวลาการสอนราชวิชาเหล่านั้นลง
ได้จาก 25.30 สัปดาห์ เหลือเพียง 9.6 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม รายวิชาดังกล่าวที่เป็นรายงานผลการวิจัยนั้น เป็นรายวิชา
ด้านการทหาร ยังไม่มีรายงานผลการวิจัย รายวิชาอื่น (ในต่างประเทศ) ที่พัฒนาขึ้นมาโดยกระบวนการออกแบบ
การเรียนการสอนแล้วกดเวลา การสอนได้ สําหรับในประเทศไทยอาจกล่าวได้ว่า ระบบการสอนของโครงการส่งเสริม
สมรรถภาพ การสอน (Reduce Instructional Time : RIT) นั้นเป็นการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน
ที่ผลการวิจัยระบุว่าสามารถลดเวลาการสอนของครู และเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี (ไชยยศ, 2533 : 14)
เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีบางคนได้แย้งว่า การออกแบบการเรียนการสอนไม่ส่งเสริมให้เกิดการ สร้างสรรค์
ในการสอนหรือการออกแบบการเรียนการสอนเป็นการวางแผนการสอนที่ดูเหมือนว่าคน เป็นเครื่องจักรกล
มากกว่าที่จะเป็นวิถีทางของมนุษย์ ซึ่งไชยยศ เรืองสุวรรณ ได้แสดงแนวคิดต่อข้อได้ แย้งดังกล่าวว่า ถ้าการสร้างสรรค์
หมายถึง การกําหนด การพัฒนาและการแสดงออก ซึ่งแนวคิดใหม่เพื่อนําไปแก้ปัญหาต่างๆ แล้ว กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนย่อมเป็นการสร้างสรรค์ ทั้งนี้ เพราะกระบวนการดังกล่าวมีความยืดหยุ่น ซึ่งหมายความว่า องค์ประกอบต่างๆ ในระบบการเรียน การสอนนั้นสามารถพัฒนาได้หลายรูปแบบแตกต่างกันตามแนวคิดของนักออกแบบการเรียน การสอนแต่ละคน การสร้างสรรค์อาจจะเกิดในช่วงใดก็ได้ การออกแบบการเรียนการสอนคํานึงถึง การสอนตามวิธีมนุษย์นิยมที่พิจารณาความเป็นปัจเจกบุคคล และความแตกต่างของบุคคล ในด้านต่างๆ และยังไม่ได้เน้นต่อไปอีกว่า คําอธิบายของคนอาจมีข้อโต้แย้งเช่นกัน และวิธีขจัด ข้อโต้แย้งที่ดีวิธีหนึ่ง คือ การนําไปทดลองใช้ (ไชยยศ. 2533 :15)
สําหรับผู้เขียน เห็นว่าการออกแบบการเรียนการสอนเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่อบุคลากร ทางการศึกษาทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประโยชน์ต่อผู้เรียน เพราะการออกแบบการเรียนการสอน จะเน้นที่ความแตกต่างระหว่างบุคคล ดังเห็นได้จากมีการประเมินความต้องการจําเป็นของผู้เรียนใน ด้านกลวิธีการสอนเน้นที่การเรียนการสอนรายบุคคล เป็นส่วนใหญ่และการประเมินผลเน้นที่ การประเมินเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน และใช้การประเมินในลักษณะของการประเมินแบบ อิงเกณฑ์ ซึ่งถ้าแยกพิจารณาโดยละเอียด อาจเป็นดังนี้
ความแตกต่างระหว่างบุคคล จากข้อความจริงที่ว่า บุคคลย่อมแตกต่างกัน ไม่มีคนสองคน ใดเหมือนกันทุกประการ นักเรียนบางคนเรียนเพื่อหาวิชาได้เร็วมาก บางคนเรียนได้ช้า บางคนเรียน ได้ดีที่สุดด้วยการปฏิบัติ บางคนเรียนได้ดีเมื่อมีกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น บางคนเรียนได้ดีด้วยการสังเกต ด้วยการอ่าน บางคนเรียนได้ดีเมื่อมีกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น บางคนเรียนได้ดีด้วยการสังเกต ด้วยการอ่าน บางเรียนได้ดีที่สุดด้วยตนเอง บางคนรู้จักประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนในชีวิตประจําวัน การที่ผู้สอนจะ เพิกเฉยต่อแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน (different learning style) ของแต่ละบุคคลจะทําให้ ประสิทธิภาพในการเรียนการสอนไม่เกิดผลเท่าที่ควร เป็นการเสียเวลาทั้งครูและนักเรียนที่ได้ พยายามมาโดยตลอด การออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเอกัตภาพของผู้เรียนแต่ละคน จะช่วยสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลได้
กลยุทธ์การสอน การออกแบบการเรียนการสอนที่เน้นการสอนรายบุคคล โดยอาศัยสือ ต่างๆ เข้าช่วย ทั้งที่เป็นสื่อประเภทที่มีความซับซ้อนน้อย เช่น กระดาษ ดินสอ สื่อที่มีความซับซ้อน ปานกลาง เช่น โสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ และสื่อที่มีความซับซ้อนมาก ซึ่งหมายถึงสื่อที่มีปฏิกิริยา สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยอาศัยสื่อโทรคมนาคม (interactive learning media) และคอมพิวเตอร์ เข้าช่วย การเรียนการสอนรายบุคคลทําให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ พัฒนามโนทัศน์ของตนเอง เป็นการเสาะแสวงหาความสามารถพิเศษของผู้เรียน และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ศักยภาพของคนที่ ซ่อนเร้นอยู่ภายใน ทําให้ผู้เรียนช้าไม่เหนี่ยวรั้งผู้เรียนเร็ว และผู้เรียนเร็วสามารถไปได้ไกลที่สุดจนสุด พรมแดนความรู้ตนเอง การออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคนจะช่วยในจุดนี้
การประเมินผลเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน จะทําให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนปรับปรุงตนเอง อยู่เสมอ เพราะการประเมินผลเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนอาศัยการประเมินตัวต่อตัว ประเมินคน ย่อยและการทดลองภาคสนาม การออกแบบการเรียนการสอนจะทําให้การประเมินในลักษณะนี้มี ความชัดเจนขึ้น และใช้การประเมินแบบอิงเกณฑ์ โดยประเมินผู้เรียนแต่ละคนเปรียบเทียบกับเกณฑ์ มาตรฐานที่กําหนดไว้ หรือเปรียบเทียบกับจุดประสงค์ ในลักษณะนี้จะทําให้ผู้เรียนเรียนด้วยความ ร่วมมือกันมากกว่าที่จะแข่งขันกัน เพราะการสร้างสถานการณ์ในชั้นเรียน หรือในสถานศึกษาให้ ผู้เรียนเรียนด้วยความร่วมมือกันนั้นย่อมมีประโยชน์ต่อผู้เรียนมากกว่าการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียน เกิดการแข่งขันกันแน่นอน เพราะไม่ต้องมีผู้แพ้ให้เกิดปมด้อย ไม่ต้องมีการสร้างศัตรู และที่สําคัญคือ ผู้เรียนสามารถทํางานของตนเองด้วยความสบายใจ ไม่ต้องพะวงว่าจะสู้คนอื่นไม่ได้ ในขณะเดียวกัน หากเพื่อนมาขอความช่วยเหลืออันใด ก็จะยินดีให้ความร่วมมือด้วยดี โดยไม่ต้องเกรงว่าเพื่อนจะดีกว่า ตน นอกจากนี้ยังเป็นการเพาะนิสัยที่พึงปรารถนา ให้แก่ผู้เรียนอีกด้วย เพราะหากจัดการเรียนการ สอนแบบร่วมมือกันเป็นพื้นฐานแล้ว ผู้เรียนจะติดนิสัยการให้ความร่วมมือกับผู้อ่านในภายหน้า จะทําให้สังคมได้เยาวชน นักการเมือง และผู้ประกอบวิชาชีพในสาขาต่างๆ ที่เห็นแก่ส่วนรวม มีความเป็นประชาธิปไตย ยอมรับความคิดเห็น และปฏิบัติตามมติของกลุ่ม แม้ว่าตนเอง จะไม่เห็นด้วย รู้จักช่วยให้กลุ่มประสบความสําเร็จในงาน เพราะงานบางอย่าง บางประเภท ไม่อาจ ทําสําเร็จได้โดยลําพังผู้เดียว ต้องอาศัยความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ส่วนการแข่งขันนั้น บางครั้งเพราะนิสัยเห็นแก่ตัว หรือเอาตัวรอดให้กับเด็กได้ และหากจะยังมีการแข่งขันกันอยู่ การแข่งขันนั้นควรจะเป็นการเสริมแรงทางบวก คือ การแข่งขันกับตนเองเพื่อที่จะเอาชนะใจตนเอง มีวินัยในตนเอง และพัฒนาตนเองในที่สุด ซึ่งการออกแบบการเรียนการสอนจะสนองความต้องการ ของผู้เรียนและผู้สอนในจุดนี้ได้ด้วยการวางแผนออกแบบการเรียนการสอนที่สมบูรณ์ (กาญจนาและ ลัดดา, 2537)
ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น