วันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2561

สมรรถภาพของผู้ออกแบบการเรียนการสอน






7. สมรรถภาพของผู้ออกแบบการเรียนการสอน

           การออกแบบการเรียนการสอนเป็นกระบวนการทางเชาว์ปัญญา ที่ต้องการทักษะความคิด ในระดับสูง (Nelson, Macliaro and Sherman, 1998 : 29-35) ในการปฏิบัติกิจกรรมนี้จําเป็นต้อง เกี่ยวข้องกับทักษะ และความถนัดตลอดจนการฝึกอบรมและการศึกษา วอลลิงตัน (Wallington 100 : 28-33) ได้ให้รายการทักษะที่จําเป็นในการปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอน ซึ่งเป็นทักษะ ระหว่างบุคคล ทักษะในการสื่อสาร ทักษะในการแก้ปัญหา และทักษะในการสกัดและดูดซึม สารสนเทศ และทําให้สิ่งเหล่านั้นอยู่ในกรอบของความมีเหตุมีผล การประยุกต์หลักการทาง พฤติกรรมศาสตร์ และการค้นหาสารสนเทศที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบในระบบ ในการพัฒนา สมรรถภาพของการออกแบบการเรียนการสอน ผู้พัฒนาพยายามที่จะปรับปรุงความถนัดพื้นฐานใน สาขาของตน เช่น การเขียนและการเรียบเรื่องทักษะต่างๆ
จากการทํางานอย่างต่อเนื่องในสาขาที่คนมี สมรรถภาพทางวิชาชีพนั้น

7.1 ความถนัดของบุคคล

           การออกแบบการเรียนการสอนต้องอาศัยความถนัด (aptitude) ด้วย ผู้ออกแบบการเรียนการ สอนจําเป็นต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการคิดทั้งในเชิงรูปธรรมและนามธรรม งานการออกแบบที่ ยิ่งใหญ่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบความคิดที่มีความคงเส้นคงวา มีเหตุมีผล ในเวลาเดียวกัน นักออกแบบก็ต้องมองดูสิ่งที่เป็นเรื่องทั่วๆ ไป และสิ่งที่เป็นนามธรรมด้วย อย่างไรก็ตามนักออกแบบ ต้องให้ความสนใจกับรายละเอียดอย่างเต็มที่ โดยคลอด เพื่อผลิตผลที่มีคุณภาพด้วยเหมือนกัน
           ผู้ออกแบบต้องมีความสนุกสนานในการทํางานด้วยแบบจําลอง ที่นําเสนอด้วยทัศนะและ การเขียน เพราะว่างานการออกแบบที่ดีจํานวนมากต้องอาศัยการเขียน และการเรียบเรียง ถ้านักออกแบบไม่ชอบที่จะเขียนหรือทํางานกับทัศนวัสดุ ก็ไม่ควรจะเป็นนักออกแบบการเรียน การสอน


7.2 ประกาศนียบัตร
           เราจําเป็นต้องรู้ถึงสมรรถภาพของนักออกแบบการเรียนการสอนตามต้องการ เพื่อที่จะได้ เพิ่มพูนสมรรถภาพเหล่านั้น สมาคมเพื่อการปฏิบัติและการเรียนการสอนแห่งชาติ (The National Society for Performance and Instruction) และ แผนกการพัฒนาการเรียนการสอนของสมาคมเพื่อการ สื่อสาร และเทคโนโลยีการศึกษา (The Division of Instructional Development of Association for Educational Communication and Technology) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ตั้งคณะกรรมการ ดําเนินงานเพื่อสืบสวนความเป็นไปได้และความสามารถตามต้องการของการให้คํารับรอง (certifying) นักออกแบบการเรียนการสอน
           คณะกรรมการดําเนินงานได้ตั้งมูลนิธิเพื่อช่วยส่งเสริมความพยายามดังกล่าวนี้ ในแต่ละ องค์กรได้มีการแสดงทัศนะตอบโต้กันถึงความต้องการประกาศนียบัตร จนเป็นที่กระจ่างว่า ใครควร จะได้รับการรับรอง ใครควรเป็นผู้ให้การรับรอง และทําไม อย่างไร และพฤติกรรมอะไรที่แท้จริงที่ ระบุว่าเป็นสมรรถภาพ
         คณะกรรมการได้เสนอรายการของสมรรถภาพสําหรับประกาศนียบัตร ดังแสดงในตาราง ที่ 8 ตําแหน่งการออกแบบการเรียนการสอนบางตําแหน่งไม่ได้กําหนดสมรรถภาพทั้งหมดเหล่านี้ เช่น ทักษะการวางแผนการเฝ้าระวังติดตาม (การจัดการโครงการ) หรืออีกนัยหนึ่ง มีสมรรถภาพต่างๆ มากมายในหลายสาขาวิชา เช่น การออกแบบการเรียนการสอนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน ซึ่งใน รายการดังกล่าวนี้ไม่ได้แนะนําไว้ และเนื่องจากว่า สาขาวิชาการออกแบบการเรียนการสอนมีการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงจําเป็นต้องปรับปรุงรายการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง



ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น