วันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2561

นิยามการออกแบบการเรียนการสอน



2. นิยามการออกแบบการเรียนการสอน



           ริตา ริชชีย์ (Rita Richey, 1986 : 9) ได้นิยามการออกแบบการเรียนการสอนว่า หมายถึง วิทยาศาสตร์การสร้างสรรค์รายละเอียดที่ชี้เฉพาะเพื่อการพัฒนา การประเมินผลและการบํารุงรักษา สถานการณ์ หรือเงื่อนไขที่อํานวยความสะดวกให้กับการเรียนรู้ในหน่วยของเนื้อหาวิชา (Unit of subject matter) ทั้งหน่วยใหญ่และหน่วยย่อย การนิยามของริชชีย์เป็นการให้ความกระจ่างกับ ความสัมพันธ์ของนักวิจัยซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับ การออกแบบการเรียนการสอน แต่เป็นผู้ให้ความ ช่วยเหลือบนพื้นฐานของความรู้ ในขณะที่ไชยยศ เรืองสุวรรณ ได้นิยามว่า การออกแบบการเรียนการ สอน เป็นการวางแผนการเรียนการสอนอย่างมีระบบ เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุจุดหมาย จุดเริ่มต้นของการออกแบบการเรียนการสอนควรเป็นการพิจารณาองค์ปรกอบเบื้องต้นของระบบ และพิจารณาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการเรียนการสอน และไชยยศ เรืองสุวรรณ (ไชยยศ, 2533 : 12) ยังได้เสนอกรอบแนวคิดของกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนด้วยว่า มีองค์ประกอบสี่ประการ คือ ผู้เรียน จุดหมาย วิธีสอน และการประเมินผล โดยตั้งคําถามที่คล้ายคลึงกับคําถามของไทเลอร์ (Tyler, 1974 : 1) คือ 1.จะออกแบบและพัฒนาโปรแกรมนี้ไว้เพื่อใครเป็นการพิจารณาคุณลักษณะ ผู้เรียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรม 2.ต้องการให้ผู้เรียน หรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้อะไร หรือมี ความสามารถที่จะทําอะไรได้บ้าง เป็นการกําหนดจุดหมายของการเรียน 3. ผู้เรียนจะเรียนรู้ เนื้อหาวิชาหรือทักษะต่างๆ ได้ดีที่สุดอย่างไร เป็นการกําหนดวิธีการสอนและกิจกรรมของการเรียน การสอน และ 4. จะได้รู้อย่างไรว่า ผู้เรียนประสบผลสําเร็จในการเรียนรู้ เป็นการกําหนดกระบวนการ ประเมินผล ส่วนชีลส์ และกลาสไคว์ ได้นิยามว่า การออกแบบการเรียนการสอน เป็นทั้งกระบวนการ และสาขาวิชา (process and discipline) ในฐานะที่เป็นกระบวนการจะเป็นการพัฒนาระบบการเรียน การสอนเฉพาะที่ใช้การเรียนรู้และทฤษฎีการเรียนการสอนที่ให้ความแน่ใจในคุณภาพของการเรียน การสอน ในฐานะที่เป็นสาขาวิชา (discipline of an area of study) จะเป็นสาขาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ การวิจัยและทฤษฎีเกี่ยวกับความเฉพาะเจาะจงในเรื่องของการเรียนการสอนและกระบวนการ ในการพัฒนาความเฉพาะเจาะจงนั้นๆ การออกแบบการเรียนการสอนรวมถึง การสร้างสรรค์ความ เฉพาะเจาะจงสําหรับสถานการณ์การเรียนการสอนและเพื่อการพัฒนา การประเมิน การบํารุงรักษา การเผยแพร่สถานการณ์เหล่านั้น การออกแบบการเรียนการสอนมีขอบเขตตั้งแต่หน่วยหรือชุด(module) บทเรียน (lesson) หรือประสบการณ์ระดับเล็กๆ น้อยๆ ที่ได้จากหลักสูตรหรือสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงระดับใหญ่ๆ คุณลักษณะสําคัญสี่ประการของการออกแบบการเรียนการสอนคือ 1. เนื้อหาวิชาที่เลือกมาจากข้อมูลในสาขาวิชานั้นๆ 2. ยุทธวิธีการเรียนการสอนที่อยู่บนพื้นฐานของ การวิจัยและทฤษฎี 3. ข้อมูลการทดสอบที่อยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานการปฏิบัติ และ 4. เทคโนโลยี ที่ใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและราคา (Seels and Glassgow, 1990 : 4) ส่วนกาเย่ บริกส์และวาเกอร์ (Gagne, Briggs and Wager 1992 : 20) ได้ให้ความหมายของการออกแบบ การเรียน การสอน โดยเริ่มตั้งแต่การนิยามระบบการเรียนการสอน (instructional systems) โดยนิยามว่าระบบ การเรียนการสอนเป็นการจัดทรัพย์กรและวิธีการที่ใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบการเรียน การสอนมีรูปแบบเฉพาะที่หลากหลายและเกิดขึ้นในหลายสถาบัน เช่น ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ระบบ การเรียนการสอนจะเป็นที่ได้รู้จักอย่างกว้างขวาง ในกองทหารก็มีระบบการเรียนการสอนซึ่งอาจ กล่าวได้ว่า เป็นระบบการเรียนการสอนที่ใหญ่ที่สุด ในวงการอุตสาหกรรมที่มีระบบการเรียนการ สอนด้วยเช่นกัน และบ่อยครั้งเรียกว่าเป็นระบบการฝึกอบรม (training systems) สถาบันใดๆ ก็ตามที่ มีจุดหมายในการพัฒนาความสามารถของมนุษย์ อาจกล่าวได้ว่าสถาบันนั้นๆ มีเรื่องของระบบการ เรียนการสอนควบคู่อยู่ด้วย
           การออกแบบระบบการเรียนการสอน (instructional systems design) เป็นกระบวนการเชิง ระบบของการวางแผนระบบการเรียนการสอนและการพัฒนาการเรียนการสอน (instructional development) เป็นกระบวนการของการนําแผนไปใช้ เมื่อรวมหน้าที่ทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน ก็จะ กลายเป็นองค์ประกอบของเทคโนโลยีการเรียนการสอน (instructional technology) ซึ่งเป็นคําที่กว้าง กว่าระบบการเรียนการสอน และอาจนิยามได้ว่า เป็นการประยุกต์ระบบของทฤษฎีและความรู้ที่ใช้ใน ภาระงานของการออกแบบการเรียนการสอนและการพัฒนา เทคโนโลยีการสอน หมายรวมถึงคําถาม ที่เป็นความรู้ใหม่เกี่ยวกับว่า บุคคลเรียนรู้อย่างไร และจะออกแบบระบบการเรียนการสอน หรือวัสดุ อุปกรณ์อย่างไรจึงจะดีที่สุด
           การออกแบบการเรียนการสอน อาจเรียกได้หลายชื่อ เช่น การออกแบบระบบการเรียน การสอน (Instructional Systems Designs : ISD) การพัฒนาระบบการเรียนการสอน (Instructional Systems Designs : ISD) การออกแบบการเรียนรู้ (Learning Systems Designs : LSD) การเรียน การสอนแบบสมรรถภาพ (Competency-Based Instruction) การเรียนการสอนแบบอิงเกณฑ์(Criterion reference instruction) และ เทคโนโลยีการปฏิบัติ (performance technology) (ไชยยศ, 2533: 13)
           อาจสรุปได้ว่า การออกแบบการเรียนการสอน หมายถึง กระบวนการแก้ปัญหาการเรียน การสอนโดยการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือเงื่อนไขการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แล้วจึงวางแผนการ เรียนการสอนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดหมาย โดยอาศัยความรู้จากหลายๆ ทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนการสอน ทฤษฎีการติดต่อสื่อสาร ตลอดจนทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์




ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น