วันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2561

ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอน



1. ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอน

           คิดและคาเรย์ กล่าวว่า ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอน คือ ความจำเป็นเร่งด่วนทันทีทันใด โดยยกตัวอย่างว่า นักออกแบบการเรียนการสอน จํานวน 12 คน ที่ทำงานเกี่ยวกับเตาปฏิกรณ์ปรมาณูในท้องถิ่นต้องมีปริญญาทางเทคโนโลยีการเรียนการสอนและต้องรับผิดชอบเพื่อที่จะให้เกิดความแน่ใจในคุณภาพของการเรียนการสอนทุกระดับ (Disk and Carey 1995:8)
           การประกาศรับสมัครในตําแหน่งดังกล่าวนี้ ได้จัดทําขึ้นโดยบริษัทคู่สัญญาหลังจากเกิดอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ขึ้นที่เกาะทรี ไมล์และเชอร์โนบิล (Three mile and Chernobyl) ซึ่งแสดงให้เห็นความกดดันเกี่ยวกับคุณภาพการเรียนการสอนที่พบในหลายๆ สถานการณ์ วิธีการหนึ่งที่ ข้อผูกพันที่มีต่อคุณภาพการเรียนการสอนที่พบในหลายๆ สถานการณ์ คือ การผ่านการรับรองใน เรื่องของการพัฒนา และการเฝ้าระวังติดตามการเรียนการสอน การออกแบบการเรียนการสอนเป็น การแก้ปัญหาคุณภาพ การเรียนการสอนในสถานการณ์ต่างๆ ที่ หลากลาย
           ในกรณีของเตาปฏิกรณ์ปรมาณู (nuclear power plants) มีความต้องการที่ควบคุมการเรียน การสอนให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ทั้งในด้านการป้องกันและความพยายามที่จะป้องกันอุบัติเหตุ สถาบันปฏิบัติการพลังงานนิวเคลียร์และการอุตสาหกรรมในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ก่อตั้งองค์กร เพื่อจัดทํานโยบายของตนเอง โดยมีมาตรฐานคําสั่งสําหรับโปรแกรมการฝึกอบรมมาตรฐาน ประกอบด้วยการใช้กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน สถาบันจะ เป็นผู้ประเมินและรับรองการปฏิบัติทางปฏิกรณ์ปรมาณู และรวมถึงองค์ประกอบของการฝึกอบรม ในเรื่องดังกล่าวนี้ด้วย (Vandergrit, 1983)
           งานของผู้ออกแบบการเรียนการสอน คือ นําจุดประสงค์และการเรียงลําดับของจุดประสงค์ ไปสู่กระบวนการวางแผนการเรียนการสอนเพื่อที่จะให้เกิดความแน่ใจที่คุณภาพของการเรียนการ สอน วิธีการในลักษณะนี้จะแล้วเสร็จได้ด้วยการประยุกต์ใช้กระบวนการเชิงระบบ และใช้การวิจัย และความรู้ทางทฤษฎีจากการออกแบบการเรียนการสอน และจากสาขาวิชาอื่นๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ จิตวิทยา และศิลปะ (Vandergrift, 1983) ดังข้อสันนิษฐานของกาเย่ บริกส์ และ เวเกอร์ (Gagne, Briggs, and Wager) ที่มีต่อการออกแบบการเรียนการสอนว่า เป็นวิธีการหนึ่งที่เชื่อว่ามีความเป็นไปได้และมีคุณค่าโดยมีการออกแบบการเรียนการสอนต้องอาศัยคุณสมบัติที่เกี่ยวข้อง ดังนี้คือ (1) มีจุดหมายที่จะช่วยการเรียนรู้ของปัจเจกบุคคล (2) เป็นแผนระยะสั้นและระยะยาว ที่จะให้ผลในการพัฒนามนุษย์ (3) ควรดําเนินการด้วยวิธีการเชิงระบบที่สามารถให้ผลอันยิ่งใหญต่อ การพัฒนามนุษย์ และ (4) ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ว่ามนุษย์มีการเรียนรู้ได้อย่างไร (Gagne Briggs, and Wager, 1992 : 4-5)
           ดังนั้นอาจสรุปได้ว่าความต้องการจําเป็นในการออกแบบการเรียนการสอน คือ การ แก้ปัญหาคุณภาพการเรียนการสอนในสถานการณ์ที่หลากหลาย เพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ ด้วยวิธีการเชิงระบบที่ให้ผลอันยิ่งใหญ่ต่อการพัฒนาปัจเจกบุคคล และมนุษย์โดยทั่วไปและตั้งอยู่บน พื้นฐานของความรู้ว่ามนุษย์เรียนรู้ได้อย่างไร



ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น