ความต้องการทฤษฎีการเรียนการสอน
เหตุผลต่อการเพิกเฉยต่อทฤษฎีการสอนเป็นเรื่องที่น่าสนใจ การตรวจสอบเหตุผลที่จะ กล่าวต่อไปนี้อาจจะช่วยในการตัดสินใจว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่ทฤษฎีการสอนจะมีการก่อตัวขึ้นและ เป็นไปตามต้องการ
ศิลปะกับวิทยาศาสตร์ บางครั้งความพยายามที่พัฒนาทฤษฎีการสอนดูเหมือนว่าจะเป็นนัย ของการพัฒนาวิทยาศาสตร์ด้วย แต่ผู้เขียนบางคนปฏิเสธความคิดในเรื่องของวิทยาศาสตร์การสอน ไฮเจท (Highet) ได้เขียนหนังสือ “ศิลปะการสอน” และกล่าวว่า
....เพราะผมเชื่อว่า การสอนเป็นศิลปะไม่ใช่วิทยาสาสตร์ มันดูเหมือนว่าเป็นเรื่องที่น่าอันตรายใน การมากในการที่จะประยุกต์จุดหมายและวิธีการทางวิทยาศาสตร์กับแต่ละบุคคล แม้ว่าหลักการทางสถิติ สามารถที่จะใช้การอธิบายพฤติกรรมในกลุ่มใหญ่และวินิจฉัยโครงสร้างทาง กายภาพโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้ก็ตาม เรียงลําดับในการวางแผนงานให้ถูกต้องแม่นยำ โดยปกติแล้วมีคุณค่ามาก...แน่นอนที่สุด ที่เป็นความจําเป็นของครูบางคนที่จะ เรียงลำดับในการวางแผนงานให้ถูกต้องแม่นยํา โดยอาศัยข้อ ความจริงแต่สิ่งนั้นไม่ได้ทําให้การสอนเป็น “วิทยาศาสตร์” การสอนเกี่ยวข้องกับอารมณ์ซึ่งไม่สามารถจะประเมินได้อย่างเป็นระบบและใช้งานได้ เป็นค่านิยมของมนุษย์ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมของวิทยาศาสตร์ การใช้วิทยาศาสตร์การสอนหรือแม้แต่วิชาที่เป็นวิทยาศาสตร์จะไม่เป็นการเพียงพอเลย ตราบที่ทั้งครูและนักเรียนยังคงเป็นมนุษย์อยู่ การสอน ไม่ เหมือนกับการพิสูจน์ปฏิกิริยาทางเคมี การสอนมากไปกว่าการวาดภาพ หรือการทําชิ้นส่วนของเครื่องดนตรี หรือการปลูกพืชหรือการเขียนจดหมาย (Highet, 1955 requoted from Gage, 1964.270)
ไฮเจท ได้โต้แย้ง คัดค้าน ต่อต้านพัฒนาการของวิทยาศาสตร์การเรียนรู้ โดยโต้แย้งว่าใน การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสอนไม่มีความจําเป็นที่จะต้องพิจารณาวิทยาศาสตร์การสอนโดยเห็นว่าไม่ สมควรจะให้ความเท่าเทียมกันในความพยายามเกี่ยวกับกิจกรรม กับความพยายามที่จะขจัด ปรากฏการณ์เกี่ยวกับนิสัย และคุณลักษณะทางศิลปะ การวาดภาพ การเรียบเรียง และแม้แต่การ เขียนจดหมาย และการสนทนา เป็นเรื่องที่สืบทอดกันมาและถูกกฎหมาย และสามารถเป็น เนื้อหาวิชาที่จะวิเคราะห์ทางทฤษฎีได้ จิตรกรแม้จะมีศิลปะอยู่ในงานที่ทํา บ่อยครั้งที่แสดงให้เห็น จากการแสดงออกของผู้เรียนว่าในงานศิลปะของนักเรียนจะมีเรื่องทฤษฎีของสี สัดส่วนที่เห็น ความสมดุลหรือนามธรรมรวมอยู่ด้วย จิตรกรผู้เต็มไปด้วยความเป็นจิตรกรอย่างถูกต้องไม่ได้เป็น โดยอัตโนมัติ ยังคงต้องการขอบเขตที่กว้างขวางสําหรับความฉลาดและความเป็นส่วนบุคคล กระบวนการและผลผลิตของจิตรกร ไม่จําเป็นต้องขึ้นอยู่กับผู้รู้หรือผู้คงแก่เรียน
การสอนก็เช่นเดียวกัน แม้ว่าจะต้องการความเป็นศิลปะแต่ก็สามารถที่จะได้รับการ วิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ได้ด้วย พลังในการอธิบาย ทํานาย และควบคุม เป็นผลจากการพินิจ วิเคราะห์ ไม่ใช่ผลจากเครื่องจักรการสอน เช่น วิศวกรสามารถที่จะคงความเชื่ออยู่ภายในทฤษฎีที่ว่า ด้วยความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับความร้อน ครูจะมีห้องสําหรับความหลากหลายทางศิลปะในทฤษฎีที่ ศึกษาวิทยาศาสตร์การสอนที่อาจจะจัดทําขึ้น และสําหรับงานของผู้ที่ฝึกหัด จ้าง และนิเทศครูทฤษฎี และความรู้ที่อาศัยการสังเกตการสอนจะเป็นการจัดเตรียมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
ทฤษฎีการเรียนรู้เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ว่าผู้เรียนทําอะไร แต่การเปลี่ยนแปลงทาง การศึกษาต้องขึ้นอยู่กับว่าส่วนใหญ่แล้วครูทําอะไร นั้นคือ ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงอย่างไรในธุรกิจการ เรียนรู้ที่เกิดขึ้น ตอบสนองต่อพฤติกรรมของครูหรืออื่นๆ ที่อยู่ในวงของการศึกษา ครูเท่านั้นที่จะ เป็นผู้นําความรู้ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติ และวิธีการต่างๆ ที่ครูจะทําให้ความรู้ เหล่านี้เกิดผลประกอบขึ้นเป็นส่วนของวิชาทฤษฎีการสอนในช่วงเวลาที่ยังไม่พัฒนาทฤษฎีการเรียน การสอน ดังนั้น ครูจะกระทําตามนัยเหล่านี้เพื่อที่จะปรับปรุงการเรียนรู้ ทฤษฎีการสอนและ การศึกษาเกี่ยวกับการสอนอาจจะสามารถทําให้เกิดการใช้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ที่ดีกว่าได้
ทฤษฎีการสอนควรเกี่ยวข้องกับการอธิบาย การทํานาย และการควบคุมทิศทางครูที่ครู ปฏิบัติที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ภาพที่เป็นลักษณะนี้ทําให้มีพื้นที่ (room) มากพอสําหรับ ทฤษฎีการสอน ดังนั้นทฤษฎีการสอนก็คงเกี่ยวข้องกับขอบเขตทั้งหมดของ ปรากฏการณ์ที่ไม่ได้รับ การเอาใจใส่หรือถูกละเลยจากทฤษฎีการเรียนรู้ด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น