วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2561

ความเข้าใจผู้เรียนแะการเรียนรู้


ความเข้าใจผู้เรียนและการเรียนรู้

          การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ถาวรเนื่องจากการฝึกปฏิบัติหรือประสบการณ์ การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับปัจจัยสามปะการคือ ประการแรกความสามารถของผู้เรียน ประการที่สอง ระดับ ของแรงจูงใจ และประการสุดท้าย ธรรมชาติของภาระงานการเรียนรู้มีกระบวนการดังนี้ คือ 1. แรงจูงใจภายในทําให้ผู้เรียนรับความคิดง่าย 2. เป้าประสงค์ทําให้มีสําคัญได้ถึงความต้องการจําเป็นใน สิ่งที่เรียน 3. ผู้เรียนเสาะหาวิธีการที่เหมาะสมในการแก้ปัญญา 4. ผลของความก้าวหน้าจากการเลือก แก้ปัญหาที่ลดความตึงเครียด และ 5. การขจัดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

          ขอบเขตของการเรียนรู้สี่ประการ

          บลูม และเพื่อนๆ เป็นที่รู้จักกันดีในการแบ่งการเรียนรู้ออกเป็นสามประเภท คือ ด้านปัญญา หรือพุทธพิสัยด้านทักษะพิสัย และด้านพิสัย พุทธพิสัยรวมถึงการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะพิสัยรวมถึงการพัฒนาเสรีทางกายและทักษะที่ต้องการใช้กล้ามเนื้อสัมพันธ์กับประสาทจิตพิสัย เกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งเจตคติ ความซาบซึ้งและค่านิยม การเรียนรู้ทั้งสามประการนี้ควรได้รับการ พิจารณาในการวางแผนผลที่ได้รับจากการเรียนรู้ที่ได้จากการเรียนการสอน ในการที่จะประสบ ผลสําเร็จตามเป้าหมายของการศึกษาขอบเขตการเรียนรู้ทั่วสามนี้ต้องได้รับการบูรณาการเข้าไว้ในทุก

ลักษณะของการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตรซึ่งจะทําให้ผู้เรียนกลายเป็น จุดโฟกัสของกระบวนการเรียนการสอนการเรียนรู้ดังภาพที่ 6





ภาพที่ 6 บูรณาการของพุทธพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย 

          อนุกรมภิธาน เป็นระบบของการแยกแยะบางสิ่งบางอย่าง ดังนั้น อนุกรมภิธานของ การศึกษาจึงแยกแยะพฤติกรรมที่นักเรียนสามารถคาดหวังที่จะทําให้ได้ภายหลังจากที่ได้เรียนรู้แล้ว อนุกรมภิธานเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด คือ อนุกรมภิธานด้านพุทธิพิสัยของบลูมและเพื่อนๆ

          พุทธิพิสัย รวมถึง ความรู้ ความเข้าใจการนําไปประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และ การประเมินค่า พุทธิพิสัยแต่ละประเภทในอนุกรมภิธานประกอบด้วยองค์ประกอบบางประการของ ประเภทความรู้ที่ต้องมาก่อนอนุกรมภิธานนี้มีประโยชน์สําหรับการออกแบบหลักสูตรและการสร้าง แบบทดสอบ



ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น