วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2561

หลักการเรียนรู้


หลักการเรียนรู้

          การเรียนการสอนเป็นการทําให้ผู้เรียนมีความตั้งใจต่อภาระงานเป็นการจูงใจผู้เรียนด้วยการ การเรียนรู้เดิม อธิบายประโยชน์ของสัมฤทธิ์ผลตามจุดประสงค์ และโยงความสัมพันธ์ของการเรียนรู้ใหม่ๆ เข้ากับ

          การนําเสนอนี้จะมุ่งไปที่เหตุการณ์ระหว่างที่มีการนําสารสนเทศ ข้อความจริงมโนทัศน์ หลักการ หรือวิธีการไปสู่นักเรียน ข้อกําหนดของการเสนอจะมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับแบบของ การเรียนรู้ที่จะประสบผลสําเร็จและระดับพฤติกรรมความพร้อมที่จะรับการสอนของผู้เรียน

         การแนะนาบทเรียน
          การแนะนําบทเรียน กิจกรรมเริ่มแรกของกระบวนการสอนการเรียนรู้ คือ ทําให้ผู้ตั้งใจเรียน และเตรียมผู้เรียนไปสู่การฝึกปฏิบัติ ในการแนะนําบทเรียนควรอธิบายจดประสงค์ของการเรียนก เรียนรู้ใหม่กับความรู้เดิม สอน พรรณนาประโยชน์ของการบรรลุผลสําเร็จตามจุดประสงค์และโยงความสัมพันธ์สําหรับสิ่งที่ผู้เรียนรู้ใหม่กับความรู้เดิม

          ผู้เรียนจะประสบผลสําเร็จตามจุดประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า ถ้าได้รับรู้ว่าการเรียนการสอนจะเริ่มต้นเมื่อไร และคาดหวังอะไร เมื่อรู้แล้วจะสามารถพุ่งความสนใจไปที่กิจกรรมที่จะนําไปสู่ความสําเร็จตามจุดประสงค์ ตัวอย่างเช่น ถ้าจะศึกษาเกี่ยวกับโภชนาการซึ่งอาจจะ การให้ความชัดเจนกับผู้เรียนกว่า จุดประสงค์ในการเรียนว่าเพื่อระบุชื่ออาหารแต่ละอย่าง ในแต่ละกลุ่ม
          การนําเสนอเนื้อหาใหม่
          การนําเสนอเนื้อหาใหม่เมื่อมีการเรียนรู้ใหม่ บทเรียนควรนําเสนอข้อความจริง มโนทัศน์ และกฎหรือพรรณนาสาธิตทักษะการนําเสนอเนื้อหาใหม่ๆ ให้จดจําได้ง่ายควรนําเสนออย่างมีลําดับ มีแบบของโครงสร้างจะทําให้มีความหมายต่อผู้เรียนมาก การขจัดสารสนเทศแทรกซ้อน ไม่เป็นที่ ต้องการและขจัดเนื้อหาที่สับสนและไม่เกี่ยวข้องออกไปจะก่อผลดีต่อผู้เรียน
ในการวางแผนเพื่อนําเสนอ ควรหลีกเลี่ยงสารสนเทศที่มากจนเกินไป ผลการวิจัยเสนอแนะ ว่าสารสนเทศที่ให้ในจํานวนมากจํากัดจะเก็บไว้ในหน่วยความจําได้มากกว่า จํานวนที่เหมาะสมของ สารสนเทศขึ้นอยู่กับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน พร้อมทั้งความคล้ายคลึงในเนื้อหาและอัตราการ ส่งผ่านความรู้ของครู การสอนที่เร่งรีบก่อให้เกิดการเพิ่มจํานวนสารสนเทศให้ดูมากเกินไป

         การฝึกปฏิบัติ
         การฝึกปฏิบัติ การเรียนรู้เป็นกระบวนการของการตื่นตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อ ผู้เรียนได้มีการผลิต มีการปฏิบัติ หรือมีการพยายามใช้มือกับภาระการงานที่ได้เรียนรู้การฝึกปฏิบัติ เป็นส่วนผสมที่สําคัญที่สุดของการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ช่วยเร่งการเรียนรู้ช่วยให้จดจําได้ นาน และให้ความสะดวกในการระลึกได้
          การเรียนการสอนจะลดประสิทธิภาพลง เมื่อไม่มีโอกาสปฏิบัติภาระงานหรือเมื่อการปฏิบัติ เลื่อนช้าออกไปจนกระทั่งการเรียนการสอนนั้นเสร็จสมบูรณ์แล้ว โชคร้ายที่การเรียนการสอนส่วนใหญ่ในชั้นเรียนของเรามีการจัดเตรียมโอกาสสําหรับให้มีการฝึกปฏิบัติน้อยหรือไม่มีโอกาสเลย
บ่อยครั้งมากที่มีการเรียนการสอนได้ออกแบบเพื่อให้นักเรียนได้รับสารสนเทศแบบเฉื่อยชา ด้วยการฟังบรรยาย อ่านตํารา หรือเฝ้าดูการสาธิต

          การปฏิบัติที่เปิดเผยหรือไม่เปิดเผย การปฏิบัติอาจเป็นได้ทั้งการตอบสนองอย่างเปิดเผย เผยการตอบสนองแบบเปิดเผย เช่นการเขียนคําตอบ การแสดงวิธีการ การกล่าวคําหรือวลีซ้ําซึ่งเป็นสิ่งที่สังเกตได้ ส่วนการตอบสนองที่ไม่เปิดเผย เช่นการคิดคําตอบ การปฏิบัติทางเกี่ยวกับโซ่ของคำพูดที่จะออกมาเป็นคำบรรยายหรือท่องปากเปล่าหรือความเงียบในการเลือกคำตอบที่ถูกต้องจากทางเลือกต่างๆ กระบวนการเหล่านี้เป็นซึ่งสังเกตไม่ได้

          ตารางการฝึกปฏิบัติ โดยทั่วไปแล้วยิ่งผู้เรียนมีโอกาสตอบสนองมากเท่าไร การเรียนรู้สิ่งที่ เกิดมากขึ้นเท่านั้น โอกาสในการฝึกปฏิบัติไม่ควรจะมากในช่วงเวลาเดียว การท่องหนังสือเพื่อการ สอบเป็นตัวอย่างการปฏิบัติที่มากในครั้งเดียว การท่องหนังสืออาจให้ผลในการทําแบบทดสอบได้ คะแนนสูง แต่อาจลืมเนื้อหาวิชาได้อย่างรวดเร็วในการที่จะคงทนความจําในเนื้อหาวิชาไว้ให้นาน การฝึกปฏิบัติควรกระจายไปตามช่วงเวลาทั้งหมดและมีช่วงเวลาของการพักระหว่างเวลาด้วยในแต่ละ โอกาสของการปฏิบัติการกระจายการฝึกปฏิบัติเป็นสิ่งที่ดีกว่าสําหรับการเรียนรู้ทุกประเภท และเป็น สิ่งที่ต้องการจําเป็นมากสําหรับผู้ที่มีความสามารถน้อย จําเป็นสําหรับการเรียนรู้เรื่องยาวๆและจําเป็น สําหรับภาระงานและทักษะที่ยากๆ
          
          การปฏิบัติเชิงเปลี่ยนแปลง เป็นสะพานข้ามช่องว่างระหว่างพฤติกรรมระดับความพร้อมที่ จะรับการสอน และการปฏิบัติตามเกณฑ์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นการเรียนรู้ที่เพิ่มจากระดับความ พร้อมที่จะรับการสอนไปถึงเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติให้ได้เป็นความตั้งใจที่จะจัดเตรียมผู้เรียนล่วงหน้าใน การเรียนรู้ด้วยสถานการณ์ที่ผู้เรียนสามารถจะรับได้ การฝึกปฏิบัติต้องค่อยเป็นค่อยไป ควรเริ่มจาก ง่ายๆ ทีละเล็กละน้อย และค่อยๆยากขึ้นๆจนกระทั่งผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้ถึงระดับที่เป็นเกณฑ์หรือ กล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า การปฏิบัติเริ่มต้นจากความง่าย และจบลงที่ความยาก



ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น