วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2561

ธรรมชาติของทฤษฎีการเรียนการสอน



 ธรรมชาติของทฤษฎีการเรียนการสอน

          ทฤษฎีการเรียนการสอน (theory of instruction) เป็นกฎที่เกี่ยวข้องกับวิธีการที่มี ประสิทธิภาพที่สุดของการประสบความสําเร็จในความรู้หรือทักษะ ทฤษฎีการเรียนการสอนเกี่ยวข้อง กับความปรารถนาที่จะสอนให้ผู้เรียนเรียนรู้ให้ดีที่สุดได้อย่างไรด้วยการปรับปรุงแทนที่จะพรรณนา การเรียนรู้

         ทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีการพัฒนาการมีความสัมพันธ์กับทฤษฎีการเรียนการสอน ตาม ความเป็นจริงแล้วทฤษฎีการเรียนการสอนต้องเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และพัฒนาการดีเท่าๆ กับ เนื้อหาวิชาและต้องมีความสมเหตุสมผลท่ามกลางทฤษฎีอื่นๆ ที่มีอยู่หลากหลาย ทุกทฤษฎีจะมี ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน สําหรับทฤษฎีการเรียนการสอนมีลักษณะสําคัญสี่ประการ คือ (Bruner, 1964:306-308)

          ประการแรก ทฤษฎีการเรียนการสอนควรชี้เฉพาะประสบการณ์ซึ่งปลูกฝังบ่มเฉพาะบุคคล ให้โอนเอียงสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ หรือเป็นการเรียนรู้ที่สุด หรือเป็นการเรียนรู้ชนิดพิเศษ ตัวอย่างเช่นความสัมพันธ์ชนิดใดที่มีโอกาสต่อโรงเรียนและต่อสิ่งต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน อนุบาล ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทําให้เด็กตั้งใจและสามารถเรียนรู้เมื่อเข้าโรงเรียน

          ประการที่สอง ทฤษฎีการเรียนการสอนต้องชี้เฉพาะวิธีการจัดโครงสร้างองค์ความรู้เพื่อให้เกิดความพร้อมที่สุดสําหรับผู้เรียนที่จะตักตวงความรู้นั้น ความดีของโครงสร้างขึ้นอยู่กับพลังใจ ทำสารสนเทศให้มีความง่ายในการให้ข้อความใหม่ ที่ต้องพิสูจน์และเพื่อเพิ่มการถ่ายเทองค์ความรู้ มีอยู่เสมอที่โครงสร้างต้องสัมพันธ์กับสถานภาพและพรสวรรค์ของผู้เรียนด้วย

           ประการที่สาม ทฤษฎีการเรียนการสอนควรชี้เฉพาะขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพที่สุดใน นาเสนอสิ่งที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ ตัวอย่างเช่น ผู้สอนคนหนึ่งปรารถนาที่จะสอนโครงสร้างทอง ฟิสิกส์สมัยใหม่ เขาทําอย่างไร เขานําเสนอสาระที่เป็นรูปธรรมก่อนด้วยวิธีการใช้คําถามเพื่อน ความจริงเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่ผู้เรียนต้องนําไปคิดซึ่งทําให้ง่ายขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับการนําเสนอกฏนี้อีกครั้งในภายหลัง

          ประการสุดท้าย ทฤษฎีการเรียนรู้ควรชี้เฉพาะธรรมชาติและช่วงก้าวของการให้รางวัลและ การลงโทษในกระบวนการเรียนรู้และการสอน ในขณะที่กระบวนการเรียนรู้มีจุคที่ดีกว่าที่จะเปลี่ยน จากรางวัลภายนอก (extrinsic rewards) เช่น คํายกย่องสรรเสริญจากครู ไปเป็นรางวัลภายใน (intrinsic rewards) โดยธรรมชาติในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนสําหรับตนเอง ดังนั้น การให้รางวัล ทันทีทันใด ควรแทนที่ด้วยรางวัลของการปฏิบัติตามหรืออนุโลมตาม (deferred rewards) อัตราการ เคลื่อนย้ายหรือการเปลี่ยนแปลงจากรางวัลภายนอกไปสู่รางวัลภายในและจะได้รางวัลทันใดไปสู่ รางวัลการอนุโลมตาม เป็นเรื่องที่เข้าใจยากและมีความสําคัญอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างเช่น ไม่ว่าการ เรียนรู้จะเกี่ยวข้องกับการบูรณาการของการกระทําที่มีขั้นตอนยาวหรือไม่ การเปลี่ยนแปลงควรจะทํา ให้เร็วที่สุดจากการให้รางวัลทันทีทันใดเป็นการอนุโลมตาม และจากรางวัลภายนอกเป็นรางวัล ภายใน

          

ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น