วันจันทร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2561

ประโยชน์ของการออกแบบการสอน

ประโยชน์และข้อจำกัดของการใช้ระบบการเรียนการสอน

          ระบบการเรียนการสอนและวิธีการเชิงระบบ ได้มีบทบาทสำคัญในการออกแบบและ พัฒนาการเรียนการสอน  อย่างไรก็ตามพบว่าระบบการเรียนการสอนและวิธีการเชิงระบบที่ใช้อยู่เดิมแม้ จะมีประโยชน์อย่างมากแต่ก็มีข้อจำกัดบางประการ ซึ่งนำไปสู่แนวคิดใหม่ในการออกแบบระบบการ เรียนการสอน และรูปแบบของการออกแบบการเรียนการสอน ดังนี้

ประโยชน์ของการใช้ระบบการเรียนการสอน
 ระบบการเรียนการสอนมีประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน ดังนี้ (Smith & Ragan, 1999, pp. 8-9., Dick, carey, Carey, 2001, p.11)
 1) ระบบการเรียนการสอนเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวที่จัดวางองค์ประกอบของการเรียนการสอน ต่าง ๆ ไว้อย่างเป็นระเบียบ ทำให้ครูรู้จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน การดำเนินการจัดการเรียนการสอน และการวัดผลผู้เรียน ซึ่งอำนวยความสะดวกแก่ครูในการเตรียมการสอนทำให้เกิดความพร้อมในการ ดำเนินงาน
          2) ส่งเสริมให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ คือสามารถควบคุมการดำเนินงานให้ บรรลุจุดมุ่งหมายได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มีคุณภาพ และประหยัดทรัพยากร รวมทั้งเวลา ดีกว่าการ
จัดการเรียนการสอนที่ขาดระบบ เพราะจะทำให้เกิดความสับสน เพราะไม่ทราบจุดมุ่งหมายชัดเจนและ ไม่สามารถควบคุมการดำเนินงานได้
          3) ช่วยให้ครูทราบปัญหาและหาแนวทางในการแก้ปัญหาการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม  เพราะมีระบบควบคุมกระบวนการดำเนินการทำให้ทราบว่าผลการเรียนรู้ของนักเรียนเกิดจากปัญหาการ ดำเนินงานในส่วนใด เพื่อหาทางแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
 4) ช่วยให้ครูได้นำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ไปใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุง การเรียนการสอนให้มีคุณภาพดีขึ้น
  5) การน าวิธีการเชิงระบบไปใช้ในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ทาง การศึกษาต่าง ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีคุณภาพ เป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้อย่าง กว้างขวาง 

 ข้อจำกัดของการใช้ระบบการเรียนการสอน
นักออกแบบการเรียนการสอน มีความเห็นว่าระบบการเรียนการสอนแบบเดิมที่จัด องค์ประกอบการเรียนการสอนแบบเส้นตรง มีข้อจำกัดในการนำไปใช้ ดังนี้
 1) การน าแนวคิดระบบและวิธีการเชิงระบบมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนนั้นมี ค่าใช้จ่ายสูง และใช้ระยะเวลาในการดำเนินการนานกว่าจะเสร็จสมบูรณ์ตามขั้นตอนการดำเนินงานที่ กำหนด แม้ว่าจะมีคุณค่า จึงไม่เหมาะกับการพัฒนาการเรียนการสอนที่ทำในระบบที่ต้องการการปรับตัว อย่างรวดเร็ว เช่น การออกแบบสื่อคอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์ที่ต้องมีการปรับตัวตามความก้าวหน้าของ เทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
 2) ระบบการเรียนการสอนแบบเดิมมีความซับซ้อน ยุ่งยาก เพราะ เน้นการรวบรวมข้อมูลเชิง ประจักษ์มากมายเกินความจำเป็น เนื่องจากเน้นคุณภาพของผลผลิต เป็นสำคัญ จึงเป็นกระบวนการที่ไม่ เหมาะสมในการปฏิบัติจริงในระบบเล็ก ๆ เช่นการพัฒนาการเรียนการสอนของครูในห้องเรียน

          3) ระบบการเรียนการสอนที่กำหนดไว้ตายตัว ไม่สอดคล้องกับบริบทที่มีเงื่อนไขแตกต่างกัน การพัฒนาการเรียนการสอน ควรเริ่มต้นจากความเป็นไปได้ ณ จุดเริ่มต้นใดก็ได้ ตามเงื่อนไขของเวลา และทรัพยากรที่มีอยู่ และค่อย ๆ ปรับปรุงกระบวนการไปตามบริบทและเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงไป

ที่มา : https://sites.google.com/site/bthreiyn1234/prayochn-laea-khx-cakad-khxng-kar-chi-rabb-kar-reiyn-kar-sxn

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น